ข้อ ใด ไม่ใช่ สาเหตุ ความ เสื่อมอำนาจของอาณาจักรสุโขทัย

การเสื่อมของอาณาจักรสุโขทัย

การเสื่อมอำนาจของอาณาจักรสุโขทัย
                นับตั้งแต่สิ้นรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง  อาณาจักรสุโขทัยเริ่มอ่อนแอ  พระมหาธรรมราชา        ที่ 1 (พญาลิไท) ทรงใช้พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือช่วยเสริมสร้างเพื่อให้อาณาจักรสุโขทัยมีความมั่นคงขึ้นบ้าง ระยะต่อมาสถานการณ์ทรุดหนักลง เป็นเหตุทำให้อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมสิ้นสุดลงโดยถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยา ด้วยสาเหตุสำคัญดังนี้
1. ข้อเสียเปรียบทางเศรษฐกิจ
อาณาจักรสุโขทัยมีที่ตั้งอยู่ห่างจากทะเลมาก ทำให้ไม่มีเมืองท่าเป็นของตนเอง และไม่สามารถติดต่อค้าขายกับต่างประเทศโดยตรงได้ ต้องอาศัยผ่านเมืองมอญ และไปทางใต้ทางเมืองเพชรบุรี และนครศรีธรรมราช นอกจากนั้นอาณาจักรสุโขทัย ยังถูกอาณาจักรอยุธยาปิดกั้น โดยสิ้นเชิงด้วยการให้เมืองเหล่านั้นประกาศเอกราชหรือถูกรวมเข้ากับกรุงศรีอยุธยา ทำให้เศรษฐกิจสุโขทัยทรุดโทรม ขาดรายได้ทั้งการค้ากับต่างประเทศ และการค้าระหว่างเมืองต่างๆ เมื่อเศรษฐกิจทรุดโทรมย่อมนำมาซึ่งความเสื่อมโทรมทางการปกครองด้วย

2. ความแตกแยกทางการเมือง
อันเป็นปัญหาสืบเนื่องจากการขาดความสามัคคีภายในอาณาจักรมีการแย่งชิงราชสมบัติ ระหว่างเจ้านายภายในราชวงศ์สุโขทัยด้วยกันเอง เช่นก่อนที่พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) ขึ้นครองราชสมบัติความห่างเหินระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครองมีมากขึ้น เนื่องจากการมีประชากรมากขึ้น ความใกล้ชิดของกษัตริย์ต่อราษฎรได้ลดลงไป ประกอบกับแนวความคิดการปกครองจากพ่อปกครองลูกได้แปรเปลี่ยนเป็นธรรมราชา เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางการเมืองนอกจากนั้นวัฒนธรรมอินเดียได้เข้ามามีอิทธิพล ทำให้เกิดความห่างเหินมีมากยิ่งขึ้น จนกลายเป็นแยกกันอยู่คนละส่วน อำนาจในการตัดสินเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์เพียงผู้เดียว

3. การปกครองแบบกระจายอำนาจ
อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจอย่างรวดเร็ว มาจากจุดอ่อนรูปแบบการปกครองที่มีโครงสร้างค่อนข้างเป็นการกระจายอำนาจที่หละหลวม เจ้าเมืองต่างๆ มีอำนาจในการบริหารและการควบคุมกำลังคนภายในเมืองของตนเกือบจะเต็มที่ ราชธานีไม่สามารถควบคุมหัวเมืองได้อย่างรัดกุม จึงเปิดโอกาสให้หัวเมืองเหล่านั้นแยกตัวเป็นอิสระได้โดยง่าย

4. ปัญหาทางการเมืองภายนอก
บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้มีการก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาและทางตอนเหนือได้มีอาณาจักรล้านนาที่นับว่ามีแต่ความเก่าแก่ บีบอยู่ถึง 2 ด้านโดยเฉพาะอาณาจักรอยุธยาได้เข้ามารุกรานชายแดนสุโขทัยหลายครั้ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 1914 เป็นต้นมา จนถึงสมัยของ                                      พระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งอาณาจักรสุโขทัย ต้องออกมาอ่อนน้อมยินยอมเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา
ในปี พ.ศ.1921 เมื่ออาณาจักรสุโขทัยตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา พระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัย เสด็จมาประทับที่เมืองสองแคว จนถึงปีพ.ศ.1962             พระมหาธรรมราชาที่ 3 เสด็จสวรรคตที่เมืองสองแคว ได้เกิดจราจลแย่งชิงราชสมบัติระหว่าง    พญาบานเมืองกับพญารามคำแหง โดยสมเด็จพระนครินทราธิราชแห่งอาณาจักรอยุธยา
ได้เสด็จขึ้นมาระงับเหตุการณ์ ทั้งสองพระองค์ต้องออกมาถวายบังคม จึงโปรดเกล้าฯ
ให้พญาบานเมืองเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 4 ครองเมืองสองแคว เมื่อสิ้นรัชกาลนี้แล้วไม่ปรากฏผู้จะปกครองต่อไป อาณาจักรสุโขทัยมีเมืองหลวงอยู่ที่ เมืองสองแคว จึงรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. 1981 โดยมีสมเด็จพระราเมศวร (พระบรมไตรโลกนาถ) ขึ้นมาปกครองดูแล อาณาจักรสุโขทัยจึงนับว่าได้สิ้นสุดลง

สรุปได้ว่า  การที่อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจอย่างรวดเร็ว มีสาเหตุมาจากจุดอ่อน         ในรูปแบบการปกครองที่มีโครงสร้างแบบกระจายอำนาจ  วิธีการควบคุมกำลังคนไม่กระชับรัดกุม ทำเลอาณาจักรไม่เหมาะสม เศรษฐกิจไม่มั่งคั่ง ตลอดจนการเป็นรัฐกันชนระหว่างอาณาจักรล้านนาและกรุงศรีอยุธยา จึงทำให้อาณาจักรสุโขทัยสิ้นสุดลง

ความเป็นมาของอาณาจักรสุโขทัย

ความเป็นมาของอาณาจักรสุโขทัย

 อาณาจักรสุโขทัย 

                 เกิดจากความรักชาติ ความเสียสละ และความสามารถของบรรพบุรุษไทย ในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ได้มีพัฒนาการที่เป็นปึกแผ่นมั่นคง มีความเจริญก้าวหน้า   ด้านการเมืองการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านศิลปวัฒนธรรม จากผลงานและความสามารถของบรรพบุรุษไทยเป็นผู้สร้างมรดกทางวัฒนธรรม และเป็นรากฐานของการพัฒนาชาติบ้านเมืองสืบทอดมาเป็นลำดับ

การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย 
                  อาณาจักรสุโขทัย นับเป็นอาณาจักรของคนไทยที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นราชธานีใน
ปี พ.ศ. 1762 ก่อนหน้าที่จะมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมา ได้มีเมืองสุโขทัยที่มีความเก่าแก่ เจริญรุ่งเรืองมาก่อน ผลจากการตีความในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 ระบุว่าเดิมเมืองสุโขทัยมี      ผู้นำคนไทยชื่อพ่อขุนศรีนาวนำถุม เป็นเจ้าเมืองปกครองอยู่ ภายหลังเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถุมสิ้นพระชนม์แล้ว ขอมสมาดโขลญลำพง* เป็นนายทหารขอมที่เป็นใหญ่ ได้นำกำลังทหารเข้ายึดเมืองสุโขทัยไว้ได้ทางฝ่ายไทยได้มีการเตรียมการเพื่อยึดเมืองสุโขทัยกลับคืนจาก                     ขอมสมาดโขลญลำพง โดยมีผู้นำไทย 2 คน ได้แก่ พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง และ          พ่อขุนผาเมือง  เจ้าเมืองราด พ่อขุนทั้งสอง เป็นสหายสนิทกัน และมีความสัมพันธ์กันทางเครือญาติ ร่วมกันนำกำลังเข้าชิงเมืองสุโขทัยกลับคืนมา เมื่อยึดเมืองสุโขทัยจากขอมได้เรียบร้อยแล้ว             พ่อขุนผาเมืองได้ยกทัพออกจากเมืองสุโขทัย เพื่อให้กองทัพของพ่อขุนบางกลางหาวเข้าสู่เมืองสุโขทัย พร้อมกันนั้น พ่อขุนผาเมืองทรงสถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองสุโขทัย แล้วถวายพระนามของพระองค์ที่ได้รับจากกษัตริย์ขอม คือ ศรีอินทรบดินทราทิตย์          ให้เป็นเกียรติแก่พ่อขุนบางกลางหาว พร้อมทั้งมอบพระขรรค์ไชยศรี แต่พ่อขุนบางกลางหาว      ทรงใช้พระนามใหม่ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง
ของอาณาจักรสุโขทัย  นับตั้งแต่พ.ศ. 1762 เป็นต้นมา อาณาจักรสุโขทัยได้กลายเป็นศูนย์กลางที่มี      อาณาเขตกว้างขวางมีหัวเมืองต่าง ๆ ที่คนไทยรวมตัวกันอยู่เป็นส่วนหนึ่งในอาณาจักรที่ตั้งขึ้นใหม่

ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย 
             1. ขอมเสื่อมอำนาจลง หลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1724-1761) สิ้นพระชนม์ พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 ปกครองต่อมาอ่อนแอ ขาดความเข้มแข็ง จึงเกิดช่องว่างของอำนาจทางการเมืองขึ้นในดินแดนแถบนี้ เปิดโอกาสให้บรรดาหัวเมืองต่างๆเติบโต และตั้งตนเป็นอิสระ
             2. ความสามารถของผู้นำและความสามัคคีของคนไทย ได้แก่ พ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราดและพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ได้ร่วมกันผนึกกำลังต่อสู้นายทหารขอม จนได้รับชัยชนะ สามารถประกาศตนเป็นอิสระจากอิทธิพลของขอม

ข้อ ใด ไม่ใช่ สาเหตุ ความ เสื่อมอำนาจของอาณาจักรสุโขทัย

พระมหาธรรมราชาลิไท (พระมหาธรรมราชาที่ ๑)

พระมหาธรรมราชาลิไท (พระมหาธรรมราชาที่ ๑)

     พระมหาธรรมราชาลิไท เป็นโอรสของพ่อขุนเลอไท และเป็นนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระราชประวัติในช่วงปฐมวัย ไม่ปรากฎ ณ ที่ใด แต่เมื่อทรงพระเจริญวัยแล้วศิลาจารึกสุโขทัยหลายหลักกล่าวถึงเรื่องราวของพระองค์แม้จะไม่สมบูรณ์แต่ก็พอทราบเรื่องราวได้ว่า พระมหากษัตริย์พระองค์นี้ได้ทรงศึกษาศิลปศาสตร์แขนงต่าง ๆ ที่ผู้ปกครองในขณะนั้นต้องเรียนต้องศึกษาได้อย่างแตกฉาน และชำนิชำนาญยิ่ง และทรงปกครองเมืองศรีสัชนาลัย ในฐานะองค์อุปราชหรือรัชทายาทเมืองสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๘๒ และขณะที่ดำรงพระราชสริยยศเป็นรัชทายาท ที่เมืองศรีสัชนาลัยนี่เอง ได้ทรงพระราชนิพนธ์ เรื่องไตรภูมิพระร่วง วรรณคดีชิ้นแรกของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๘๘ หนังสือเรื่องนี้แม้ผู้รจนาได้กล่าไว้ในบางแผนกว่า เพื่อจะเทศนาแก่พระมารดาของพระองค์ แต่เป็นประกาศนียบัตรที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถในความรอบรู้เรื่องพระพุทธศาสนาอย่างยอดเยี่ยมเป็นวิทยานิพนธ์ที่ก้าวล้ำหน้าสมบูรณ์แบบ เพราะที่มีข้ออ้างอิงที่เป็นระบบโดยทรงค้นคว้ามาจากคัมภีร์ต่าง ๆ ทางพุทธศาสนา ถึง ๓๔ เรื่อง ไตรภูมิพระร่วง นอกจากจะให้เนื้อหาสาระทางพระพุทธศาสนา อันเป้าหมายของผู้รจนาแล้ว ยังให้ความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์ รัฐศาสตร์ และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภูมิศาสตร์ของโลกที่คนไทยรู้จักกันในสมัยนั้นถือการแบ่งทวีปทั้ง ๔ อันมี ชมพูทวีป บุพวิเทหะ อุตรกุรุและกมรโคยานี

                หลังจากทรงเป็นรัชทายาทครองเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ ๘ ปี จึงเสด็จมาครองสุโขทัยเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๐ โดยต้องใช้กำลังทหารเข้ามายึดอำนาจเพราะที่สุโขทัยหลังสิ้นรัชกาลพ่อขุนงัวนำถมแล้วเกิดการกบฏการสืบราชบัลลังก์ไม่เป็นไปตามครรลองครองธรรม เมื่อกลับมาครองราชสมบัติสุโขทัยแล้ว พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ คือ การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ เพราะสุโขทัยหลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้วบ้านเมืองแตกแยกแคว้นหลายแคว้นในราชอาณาจักรแยกตัวออกห่างไป ไม่อยู่ในบังคับบัญชาสุโขทัยต่อไป

                พญาลิไททรงคิดจะรวบรวมให้กลับคืนดังเดิม แต่ก็ทรงทำไม่สำเร็จ นโยบายการปกครองที่ใช้ศาสนาเป็นหลักรวมความเป็นปึกแผ่นจึงเป็นนโยบายหลักในรัชสมัยนี้ ทรงสร้างเจดีย์ที่นครชุม (เมืองกำแพงเพชร) สร้างพระพุทธชินราชที่พิษณุโลก และเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๕ ทรงออกผนวช การที่ทรงออกผนวช นับว่าทำความมั่นคงให้พุทธศาสนามากขึ้น ดังกล่าวแล้วว่า หลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยก วงการสงฆ์เองก็แตกแยก แต่ละสำนักแต่ละเมืองก็ปฏิบัติแตกต่างกันออกไป เมื่อผู้นำทรงมีศรัทธาแรงกล้าถึงขั้นออกบวช พสกนิกรทั้งหลายก็คล้อยตามหันมาเลื่อมใสตามแบบอย่างพระองค์ กิตติศัพท์ของพระพุทธศาสนาในสุโขทัยจึงเลื่องลือไปไกล พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่หลายรูปได้ออกไปเผยแพร่ธรรมในแคว้นต่าง ๆ เช่น อโยธยา หลวงพระบาง เมืองน่าน พระเจ้ากือนา แห่งล้านนาไทย ได้นิมนต์พระสมณะเถระไปจากสุโขทัย เพื่อเผยแพร่ธรรมในเมืองเชียงใหม่

                พระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือพญาลิไท มีมเหสีชื่อพระนางศรีธรรม ทรงมีโอรสสืบพระราชบัลลังก์ต่อมาคือ พระมหาธรรมราชาที่สอง  ปีสวรรคตของกษัตริย์พระองค์นี้ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คงอยู่ในระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ. ๑๙๒๑-๑๙๒๗

ข้อ ใด ไม่ใช่ สาเหตุ ความ เสื่อมอำนาจของอาณาจักรสุโขทัย

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

                พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงเล่าพระราชประวัติของพระองค์ด้วยพระองค์เองงว่า พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง กูมีพี่น้องท้องเดียวกันห้าคน ผู้ชายสามผู้หญิงโสง พี่เผื่อผู้อ้ายตายจากเผือ เตียม แต่ยังเล็ก...  ข้อความดังกล่าวไม่ระบุว่าทรงพระราชสมภพเมื่อใด นักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่า พระองค์พระราชสมภาพประมาณปีจอ จุลศักราช ๖๐๐ (พ.ศ. ๑๗๘๑) หรือปีกุล จุลศักราช ๖๐๑ (พ.ศ. ๑๗๘๒) เพราะตามพงศาวดารเมืองเหนือ เช่น พงศาวดารโยนกกล่าวว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระสหายรุ่นราวคราวเดียวกับ พ่อขุนมังราย เจ้าเมืองเชียงใหม่และพ่อขุนงำเมือง เจ้าเมืองพะเยา และเป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกัน คือทรงศึกษาอยู่ในสำนักสุกกทันตฤษี ณ เมืองละโว้ (ลพบุรี) พงศาวดารและจดหมายเหตุเมืองเหนือระบุว่า พ่อขุนมังรายสมภาพในปีกุน จุลศักราช ๖๐๑ (พ.ศ. ๑๗๘๒) และพ่อขุนงำเมืองสมภพในปีจอจุลศักราช ๖๐๐ (พ.ศ. ๑๗๘๑)

                พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงมีพระนามเดิมว่าขุนรามราช เมื่อทรงพระชนมายุได้ ๑๙ ปี ได้ช่วยพระราชบิดาออกสู้รบในการสงครามกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ซึ่งยกทัพมาตีเมืองตาก ทรงเป็นนักรบที่เข้มแข็งสามารถเข้าชนช้างชนะขุนสามชนพวกเมืองฉอดจึงแตกพ่ายไป พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงให้พระนามแก่ขุนรามราช พระรามคำแหง  ซึ่งหมายความว่า พระรามผู้เข้มแข็ง หรือ “เจ้ารามผู้เข้มแข็งดังข้อความความในตอนหนึ่งในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ที่ว่า ...เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาที่เมืองตาก พ่อกูไปรบ ขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้าไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกู หนีญญ่ายพายจแจ๋น กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนก็พุ่งช้างขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนีพ่อกูจึงขึ้นชื่อกูพระรามคำแหง...”  

                พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นกุลบุตรที่ดีอยู่ในโอวาทของพระราชบิดา พระราชมารดา และทรงเป็นพระอนุชาที่จงรักภักดีต่อขุนบานเมืองพระเชษฐา ดังข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ที่ว่า ...กูบำเรอพ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวานอันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นางได้เงือนได้ทองกูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตาย ยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู...

                พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็นรัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์พระร่วงในราวปี พ.ศ. ๑๘๒๒ รัชสมัยของพระองค์ บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่ารัชกาลใด ๆ ในราชวงศ์พระร่วงราชอาณาเขตแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวางประชาชนได้รับความร่มเย็นเป็นสุขทั่วหน้าที่เรียกกันว่า ไพร่ฟ้าหน้าใส การพาณิชย์เจริญก้าวหน้าทรงทำนุบำรุงศิลปวิทยาการให้เจิรญรุ่งเรืองหลายประการ

ข้อ ใด ไม่ใช่ สาเหตุ ความ เสื่อมอำนาจของอาณาจักรสุโขทัย

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

  ชีวิตในเยาว์วัยของผู้สถาปนากรุงสุโขทัย อันเป็นองค์ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงพระองค์นี้ไม่เป็นที่ปรากฏชัด ณ ที่แห่งใด ในศิลาจารึก ตำนาน พงศาวดารและจดหมายเหตุต่าง ๆ ก็ไม่ได้กล่าวถึง ปฐมวัยของผู้นำคนไทยผู้นี้ไว้ที่ใด คงมีเพียงหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่งพระเถระแห่งล้านนาไทย ชื่อ พระรัตนปัญญาเถระ แต่งขึ้นเพื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๐๖๑  ๒๐๗๑ พูดถึงอย่างย่อ ๆ ว่า ...เมื่อพระสัมมาสัมพุทธปรินิพพานแล้วได้ ๑๘๐๐ ปี จุลศักราช ๖๑๘ มีกษัตริย์องค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า โรจราช ครองราชสมบัติอยู่ในเมืองสุโขทัย ประเทศสยาม ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของชมพูทวีป...

                ได้ยินว่า ที่ตำบลบ้านโค ยังมีชายคนหนึ่งรูปงาม มีกำลังมากท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่ง เห็นชายคนนั้นแล้วใคร่จะร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมายาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับนางเทพธิดาองค์นั้น เนื่องจากการร่วมสังวาสของเขาทั้งสองนั้นจึงเกิดบุตรชายคนหนึ่งและบุตรชายคนนั้นมีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายคนนั้น บุตรชายซึ่งครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัยนั้น ปรากฎพระนามในครั้งนั้นว่า โรจราชภายหลังปรากฏพระนามว่า พระเจ้าล่วง...  ศาสตราจารย์ ร.ต.ท. แสงมนวิฑูร ผู้แปลหนังสือเรื่องนี้ให้คำอธิบายว่าพระเจ้าโรจราชสมัย พ.ศ. ๑๘๐๐ นั้น คือ พ่อขุนบางกลางหาว ปฐมกษัตริย์ราชวงพระร่วง ในศิลาจารึกเรียกว่า ศรีอินทราทิตย์บ้านโค นั้นอาจเป็นบ้านโคน หรือเมืองบางคนทีในเขตจังหวัดกำแพงเพชร พระเจ้าล่วงก็คือ พระร่วง

                แม้จะเป็นหลักฐานที่ค่อนข้างเลื่อนลอย ไม่ว่าระยะเวลา สถานที่หรือตัวบุคคลแต่ชินกาลมาลีปกรณ์ เขียนขึ้นหลังเหตุการณ์นั้นประมาณ ๒๐๐ ปี ซึ่งไม่ใช่ระยะเวลาที่ห่างจนเกินไปนัก จึงน่าจะมีเค้าความเป็นจริงปะปนอยู่บ้าง แม้อาจไม่ใช่ทั้งหมด พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปรากฏชัดในประวัติศาสตร์สุโขทัย หลายหลักโดยเฉพาะหลักที่ ๒ หรือหลักวัดศรีชุม กล่าวว่า ก่อนที่จะได้เป็นกษัตริย์ครองสุโขทัยนั้น ได้เป็นผู้นำคนไทยกลุ่มหนึ่งมีชื่อว่าพ่อขุนบางกลางหาว และเมื่อระหว่างปี พ.ศ. ๑๗๖๒-๑๗๘๑ ได้ร่วมมือกับพ่อขุนผาเมือง ผู้นำคนไทยที่สำคัญอีกคนหนึ่ง นำกำลังทหารเข้ายึดเมืองสุโขทัย จากขอมสบาดโขลญลำพง แล้วสถาปนาสุโขทัยเป็นอาณาจักรของคนไทย          

                เชื่อกันว่า อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยในรัชสมัยนี้ ทางทิศเหนือจดเมืองแพร่ทิศใต้จดนครสวรรค์ (พระบาง) ทิศตะวันตกจดเมืองตาก ทิศตะวันออกจดจังหวัดเพชรบูรณ์ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สวรรคตในปีใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด

ข้อ ใด ไม่ใช่ สาเหตุ ความ เสื่อมอำนาจของอาณาจักรสุโขทัย