ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุโขทัยเสื่อมและตกเป็นส่วนหนึ่ง

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ปัจจัยที่กำหนดความเสื่อมถอยของสุโขทัย คือ สภาพภูมิศาสตร์ และภัยคุกคามจากรัฐรอบข้าง โดยเฉพาะอยุธยา ปัจจัยที่กำหนดความเจริญของสุโขทัย คือ การรับสืบทอดภูมิปัญญาในด้านต่าง ๆ และภาวะผู้นำในการปรับตัวอาณาจักรเพื่อความอยู่รอด ขณะที่อาณาจักรคู่แข่ง คือ อยุธยา มีปัจจัยที่กำหนดความเจริญซึ่งซ้ำเติมปัจจัยความเสื่อมของสุโขทัยทุกประการ ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด  มฐ ส4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย

ตัวชี้วัด  ป.4/1      อธิบายพัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัยโดยสังเขป

ตัวชี้วัด  ป.4/3      อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญสมัยสุโขทัยที่น่าภาคภูมิใจและควรค่าแก่การอนุรักษ์

จุดประสงค์

          1. ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

                   - ระบุปัจจัยที่ส่งผลต่อความเจริญและความเสื่อมของอาณาจักรสุโขทัยได้

          2. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

                   - นำเสนอปัจจัยที่ส่งผลต่อความเจริญและความเสื่อมของอาณาจักรสุโขทัยได้

          3. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

                   - เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมของไทยในทางด้านการเมืองการปกครอง

การวัดผลและประเมินผล

1 ใบงานที่ 8 เรื่อง เมื่อสุโขทัยดับแสง

2 การถาม-ตอบ      

3 การเล่นเกม

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุโขทัยเสื่อมและตกเป็นส่วนหนึ่ง

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุโขทัยเสื่อมและตกเป็นส่วนหนึ่ง

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุโขทัยเสื่อมและตกเป็นส่วนหนึ่ง
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุโขทัยเสื่อมและตกเป็นส่วนหนึ่ง
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุโขทัยเสื่อมและตกเป็นส่วนหนึ่ง

                    
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุโขทัยเสื่อมและตกเป็นส่วนหนึ่ง
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุโขทัยเสื่อมและตกเป็นส่วนหนึ่ง
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุโขทัยเสื่อมและตกเป็นส่วนหนึ่ง
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุโขทัยเสื่อมและตกเป็นส่วนหนึ่ง


ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุโขทัยเสื่อมและตกเป็นส่วนหนึ่ง

       อาณาจักร สุโขทัยมีการพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองมาโดยตลอด โดยเฉพาะสมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงวาง รากฐานการปกครองแบบปิตุราชา (พ่อปกครองลูก) และในสมัยกรุงสุโขทัย ตอนปลาย ได้นำหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง เป็นการปกครองแบบธรรมราชา ทำให้อาณาจักรสุโขทัยมีกำลังทหารเข้มแข็ง จนกระทั่งสิ้นสมัยพ่อขุนรามคำ แหงมหาราช อาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจและสูญเสียอำนาจโดยถูกผนวก เข้า เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในที่สุด เนื่องมาจากสาเหตุดังนี้

๑. การแตกแยกทางการเมืองภายในราชธานี เป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากการ แย่งชิงอำนาจ ระหว่างเจ้านายในราชวงศ์ของอาณาจักรสุโขทัย จนถึงมีการ รบพุ่งกันเองทำให้เกิดความอ่อนแอทางการเมืองภายในราชธานี เป็นเหตุให้ อาณาจักรอยุธยาเข้าแทรกแซงอำนาจได้

๒. สุโขทัยมีการปกครองแบบกระจายอำนาจที่หละหลวม พระมหากษัตริย์ของ อาณาจักรสุโขทัย ได้ให้อำนาจกับเจ้าเมืองต่างๆ ในการบริหารและควบคุม กำลังคนภายในเมืองของตนอย่างเต็มที่ เป็นเหตุให้หัวเมืองเหล่านั้นแยกตัว เป็นอิสระได้โดยง่าย

๓. สุโขทัยมีข้อเสียเปรียบทางเศรษฐกิจ เนื่องจากสุโขทัยมีสภาพที่ตั้งลึกเข้า ไปในแผ่นดินซึ่งอยู่ห่างจากทะเลมาก ทำให้ไม่มีเมืองท่าเป็นของตนเอง เมื่อมี ีการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้ากับต่างชาติ ต้องอาศัยผ่านเมืองเมาะตะมะ หรือ ผ่านเมืองต่างๆ ตามแม่น้ำเจ้าพระยา ไปสู่ทะเลอ่าวไทย

๔. อาณาจักรอยุธยาก่อตั้งขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาณาจักรอยุธยาที่ ก่อตั้งขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มีกำลังทหารและเศรษฐกิจที่ เข้มแข็งกว่าสุโขทัย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาได้ยกทัพมาตีอาณาจักรสุโขทัย จน ได้เป็นประเทศราช และต่อมาอาณาจักรสุโขทัยถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ อาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. ๑๙๘๑

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุโขทัยเสื่อมและตกเป็นส่วนหนึ่ง


ที่มา  http://www.sema.go.th/files/Content/Social/k4/0042/Introduce%20Kingdom%20of%20thai/webpage/webpage/16.html

การเสื่อมอำนาจของอาณาจักรสุโขทัย

นับตั้งแต่สิ้นรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง อาณาจักรสุโขทัยเริ่มอ่อนแอ พระมหาธรรมราชา ที่ 1 (พญาลิไท) ทรงใช้พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือช่วยเสริมสร้างเพื่อให้อาณาจักรสุโขทัยมีความมั่นคงขึ้นบ้าง ระยะต่อมาสถานการณ์ทรุดหนักลง เป็นเหตุทำให้อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมสิ้นสุดลงโดยถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยา ด้วยสาเหตุสำคัญดังนี้

1. ข้อเสียเปรียบทางเศรษฐกิจ
อาณาจักรสุโขทัยมีที่ตั้งอยู่ห่างจากทะเลมาก ทำให้ไม่มีเมืองท่าเป็นของตนเอง และไม่สามารถติดต่อค้าขายกับต่างประเทศโดยตรงได้ ต้องอาศัยผ่านเมืองมอญ และไปทางใต้ทางเมืองเพชรบุรี และนครศรีธรรมราช นอกจากนั้นอาณาจักรสุโขทัย ยังถูกอาณาจักรอยุธยาปิดกั้น โดยสิ้นเชิงด้วยการให้เมืองเหล่านั้นประกาศเอกราชหรือถูกรวมเข้ากับกรุงศรีอยุธยา ทำให้เศรษฐกิจสุโขทัยทรุดโทรม ขาดรายได้ทั้งการค้ากับต่างประเทศ และการค้าระหว่างเมืองต่างๆ เมื่อเศรษฐกิจทรุดโทรมย่อมนำมาซึ่งความเสื่อมโทรมทางการปกครองด้วย

2. ความแตกแยกทางการเมือง
อันเป็นปัญหาสืบเนื่องจากการขาดความสามัคคีภายในอาณาจักรมีการแย่งชิงราชสมบัติ ระหว่างเจ้านายภายในราชวงศ์สุโขทัยด้วยกันเอง เช่นก่อนที่พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) ขึ้นครองราชสมบัติความห่างเหินระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครองมีมากขึ้น เนื่องจากการมีประชากรมากขึ้น ความใกล้ชิดของกษัตริย์ต่อราษฎรได้ลดลงไป ประกอบกับแนวความคิดการปกครองจากพ่อปกครองลูกได้แปรเปลี่ยนเป็นธรรมราชา เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางการเมืองนอกจากนั้นวัฒนธรรมอินเดียได้เข้ามามีอิทธิพล ทำให้เกิดความห่างเหินมีมากยิ่งขึ้น จนกลายเป็นแยกกันอยู่คนละส่วน อำนาจในการตัดสินเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์เพียงผู้เดียว

3. การปกครองแบบกระจายอำนาจ
อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจอย่างรวดเร็ว มาจากจุดอ่อนรูปแบบการปกครองที่มีโครงสร้างค่อนข้างเป็นการกระจายอำนาจที่หละหลวม เจ้าเมืองต่างๆ มีอำนาจในการบริหารและการควบคุมกำลังคนภายในเมืองของตนเกือบจะเต็มที่ ราชธานีไม่สามารถควบคุมหัวเมืองได้อย่างรัดกุม จึงเปิดโอกาสให้หัวเมืองเหล่านั้นแยกตัวเป็นอิสระได้โดยง่าย

4. ปัญหาทางการเมืองภายนอก
บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้มีการก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาและทางตอนเหนือได้มีอาณาจักรล้านนาที่นับว่ามีแต่ความเก่าแก่ บีบอยู่ถึง 2 ด้านโดยเฉพาะอาณาจักรอยุธยาได้เข้ามารุกรานชายแดนสุโขทัยหลายครั้ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 1914 เป็นต้นมา จนถึงสมัยของ พระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งอาณาจักรสุโขทัย ต้องออกมาอ่อนน้อมยินยอมเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา
ในปี พ.ศ.1921 เมื่ออาณาจักรสุโขทัยตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา พระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัย เสด็จมาประทับที่เมืองสองแคว จนถึงปีพ.ศ.1962 พระมหาธรรมราชาที่ 3 เสด็จสวรรคตที่เมืองสองแคว ได้เกิดจราจลแย่งชิงราชสมบัติระหว่าง พญาบานเมืองกับพญารามคำแหง โดยสมเด็จพระนครินทราธิราชแห่งอาณาจักรอยุธยา
ได้เสด็จขึ้นมาระงับเหตุการณ์ ทั้งสองพระองค์ต้องออกมาถวายบังคม จึงโปรดเกล้าฯ
ให้พญาบานเมืองเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 4 ครองเมืองสองแคว เมื่อสิ้นรัชกาลนี้แล้วไม่ปรากฏผู้จะปกครองต่อไป อาณาจักรสุโขทัยมีเมืองหลวงอยู่ที่ เมืองสองแคว จึงรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. 1981 โดยมีสมเด็จพระราเมศวร (พระบรมไตรโลกนาถ) ขึ้นมาปกครองดูแล อาณาจักรสุโขทัยจึงนับว่าได้สิ้นสุดลง

สรุปได้ว่า การที่อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจอย่างรวดเร็ว มีสาเหตุมาจากจุดอ่อน ในรูปแบบการปกครองที่มีโครงสร้างแบบกระจายอำนาจ วิธีการควบคุมกำลังคนไม่กระชับรัดกุม ทำเลอาณาจักรไม่เหมาะสม เศรษฐกิจไม่มั่งคั่ง ตลอดจนการเป็นรัฐกันชนระหว่างอาณาจักรล้านนาและกรุงศรีอยุธยา จึงทำให้อาณาจักรสุโขทัยสิ้นสุดลง