ข้อใดแสดงถึงภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งของอาณาจักรสุโขทัย

ข้อใดแสดงถึงภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งของอาณาจักรสุโขทัย

ข้อใดแสดงถึงภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งของอาณาจักรสุโขทัย
สำหรับผู้สูงอายุ

ทำนบพระร่วง

ระบบชลประทานแห่งแรกของสยาม

ข้อใดแสดงถึงภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งของอาณาจักรสุโขทัย

ทำนบพระร่วง : เขื่อนโบราณสมัยสุโขทัย

     เมืองสุโขทัยโบราณนั้นมีภูมิประเทศเอียงลาดเพราะพื้นที่อยู่ติดภูเขา จนไม่สามารถเก็บน้ำได้ตามธรรมชาติ จำเป็นต้องมีการพัฒนาแหล่งเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง พระร่วงเจ้ากษัตริย์สุโขทัยสมัยนั้นจึงได้สร้างทำนบส่งไปตามลำรางส่งน้ำที่ขุดพบเป็นท่อสังคโลก ซึ่งเรียกว่า “ท่อปู่พญาร่วง” ส่งน้ำเข้าไปในตัวเมือง เพื่อเก็บขังในสระน้ำใหญ่เล็กหลายสระ และมีสระขนาดใหญ่ในกำแพงเมืองหรือที่เรียกว่า “ตระพัง” เช่น ตระพังทอง ตระพังเงิน ตระพังสอ ตระพังตระกวน นอกจากนี้ยังมีการขุดบ่อน้ำกรุอิฐไว้เป็นจำนวนมาก ทำให้พื้นที่ในเมืองสุโขทัยไม่ขาดแคลนน้ำ ดังจะเห็นได้จากจารึกว่า “เมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีน้ำตะพังโพยสี ใสกินดี … ดั่งกินน้ำโขงเมื่อแล้ง”

ข้อใดแสดงถึงภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งของอาณาจักรสุโขทัย

     สำหรับชื่อ “เขื่อนสรีดภงส์” ได้มาจากข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ที่เขียนไว้ว่า “เบื้องหัวนอนเมืองสุโขไทนี้ มีกุฏิ พิหาร ปู่ครูอยู่ มีสรีดภงส์ มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุง ผีเทพดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้” สรีดภงส์ ในคงหมายสมัยโบราณจึงหมายถึงทำนบชลประทานในสมัยพระร่วงเจ้า จึงนับเป็นเขื่อนกั้นน้ำเป็นระบบชลประทานที่ทันสมัยมากเมื่อ ๗๐๐ กว่าปีที่ผ่านมาแล้ว

ข้อใดแสดงถึงภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งของอาณาจักรสุโขทัย

     เขื่อนสรีดภงส์หรือทำนบพระร่วง ถือว่าเป็นเขื่อนแห่งแรกของประเทศไทย สร้างเพื่อการชลประทาน มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นลักษณะทำนบคันดิน หรือเรียกว่าเป็นเขื่อนดินก็ได้ สำหรับกั้นน้ำอยู่ระหว่างซอกเขาคือ เขาพระบาทใหญ่ และเขากิ่วอ้ายมา ที่สร้างขึ้นเพื่อกักน้ำ และชักน้ำไปตามคลองส่งน้ำมาเข้ากำแพงเมืองและพระราชวังในสมัยโบราณ บริเวณด้านหน้าปูด้วยหินโดยตลอด มีฝายน้ำล้นและท่อระบายน้ำอยู่ทางทิศใต้ทำนบ สันทำนบมีความกว้าง ๔ เมตร   มีความยาว ๔๗๘ เมตร สูง ๑๐.๕๐ เมตร ระดับน้ำลึกเต็มที่ ๘ เมตร สามารถเก็บน้ำไว้ ๔๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร และด้วยกรมชลประทานเข้ามาปรับปรุงตามแนวเขื่อนโบราณ ในปัจจุบันมีน้ำขังตลอดปี ยามน้ำในตระพังต่าง ๆ ภายในเขตกำแพงเมืองลดน้อยลง ก็สามารถปล่อยน้ำจากทำนบนี้เข้าสู่ตระพังในกำแพงเมืองให้มีน้ำบริบูรณ์ตลอดปี

ขอขอบคุณเนื้อเรื่องและภาพถ่ายจาก

     องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) สำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร (อพท.๔)

มิวเซียมในจังหวัดสุโขทัย

ข้อใดแสดงถึงภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งของอาณาจักรสุโขทัย

18 พฤศจิกายน 2562

16,245

569

ข้อใดแสดงถึงภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งของอาณาจักรสุโขทัย

28 มิถุนายน 2562

7,553

482

ข้อใดแสดงถึงภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งของอาณาจักรสุโขทัย

01 มีนาคม 2563

11,146

594

ข้อใดแสดงถึงภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งของอาณาจักรสุโขทัย

02 กรกฎาคม 2562

14,159

515

ข้อใดแสดงถึงภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งของอาณาจักรสุโขทัย

25 พฤศจิกายน 2564

9,881

563

ข้อใดแสดงถึงภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งของอาณาจักรสุโขทัย

ข้อใดแสดงถึงภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งของอาณาจักรสุโขทัย

28 มิถุนายน 2562

4,167

505

ข้อใดแสดงถึงภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งของอาณาจักรสุโขทัย

28 มิถุนายน 2562

5,795

271

ข้อใดแสดงถึงภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งของอาณาจักรสุโขทัย

28 มิถุนายน 2562

4,047

245

เศรษฐกิจของสุโขทัยขึ้นอยู่กับการประกอบอาชีพหลัก 3 ประการ คือ

1.  การเกษตรกรรม

2.  การหัตถกรรม

3.  การพาณิชยกรรม

            การเกษตรกรรม

การเพาะปลูกเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจของสุโขทัย แต่ยังคงพึ่งพาฝนฟ้าและแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ดังนั้น การเพาะปลูกจึงทำได้เฉพาะในฤดูฝน ที่ตั้งของสุโขทัยและดินแดนรอบราชธานีมีสภาพเป็นที่ดอน จึงประสบปัญหาเรื่องน้ำใช้ในการเพาะปลูก และการบริโภคในฤดูแล้ง พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าว หมาก  พลู  มะม่วง มะพร้าว และมะขาม สัตว์เลี้ยงที่สำคัญ ส่วนมากเลี้ยงไว้ใช้งานและใช้เป็นอาหาร เช่น ม้า วัว ควาย

การพัฒนาเกษตรกรรมของสุโขทัย การพัฒนาการชลประทาน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการเพาะปลูกมีดังนี้

 1.  สรีดภงส์ หรือทำนบพระร่วง เป็นเขื่อนกั้นน้ำที่แสดงถึงความก้าวหน้าของระบบการชลประทานในสมัยสุโขทัย

2.  ตระพัง เป็นสระน้ำขนาดใหญ่ที่ขุดขึ้นภายในตัวเมืองที่สำคัญ ได้แก่ ตระพังเงิน ตระพังทอง ตระพังสอ

3.  คูคลอง มีการใช้แรงงานคนขุดคูคลองส่งน้ำ ตั้งแต่เมืองศรีสัชนาลัย ผ่านสุโขทัยไปยังกำแพงเพชร  ช่วยให้การทำนาทำไร่ได้ผลผลิตสูงขึ้น

การหัตถกรรม

การประกอบอาชีพหัตถกรรม  เป็นรายได้หลักรองลงมาจากเกษตรกรรม ที่สำคัญได้แก่ การทอผ้า การทำเครื่องจักสาน เครื่องปั้นดินเผา และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เช่น ทำมีด ทำขวาน จอบ เสียม อิฐก่อสร้าง กระเบื้อง ตลอดจนการหล่อพระพุทธรูปลงรักปิดทอง เป็นต้น

          การทำเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า เครื่องสังคโลก โดยได้รับการถ่ายทอดเทคนิคกรรมวิธีจากช่างชาวจีน นับตั้งแต่การเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นต้นมา ลักษณะของเครื่องสังคโลก เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบน้ำยาให้เป็นสีต่างๆ เช่น สีขาว ศรีนวล สีเขียวไข่กา และมีลวดลายสวยงาม การตั้งเตาเผาเครื่องสังคโลก มีการค้นพบซากเตาเผาประมาณ ๒๒๐ เตา ที่สำคัญได้แก่ เตาทุเรียง ในเขตกรุงสุโขทัย เตาป่ายาง และเตาเกาะน้อย ในเขตเมืองศรีสัชนาลัย เป็นต้น การส่งออกเครื่องสังคโลกไปยังดินแดนประเทศใกล้เคียง เช่นมลายู ชวา บอร์เนียว และญี่ปุ่น

  การพาณิชยกรรม

ประชาชนมีเสรีภาพในการค้า โดยไม่จำกัดชนิดของสินค้า และไม่ต้องเสียภาษีผ่านด่านที่เรียกว่า จังกอบ หรือ จกอบ เป็นผลให้มีพ่อค้าต่างเมืองสนใจเข้ามาค้าขายมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจของสุโขทัยเจริญรุ่งเรือง มีตลาดการค้า เรียกว่า ตลาดปสาน เพื่อให้ประชาชนมาติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน มีลักษณะเป็นร้านเรือนแถวเรียงติดต่อกัน การจัดให้มีถนนเป็นเส้นทางคมนาคมทางบก (ทางเกวียน) ถนนสายสำคัญมีชื่อเรียกว่า ถนนพระร่วง จากเมืองศรีสัชนาลัย ผ่านสุโขทัย ไปยังเมืองกำแพงเพชร นอกจากนี้ ยังอาศัยแม่น้ำลำคลองเป็นเส้นทางค้าขายที่สำคัญ

          ลักษณะการค้าระหว่างประเทศ สุโขทัยมีฐานะเป็นตลาดกลาง รับซื้อสินค้าจากหัวเมืองไกลๆที่อยู่ห่างไกลจากเมืองท่าและนำมาส่งต่อให้พ่อค้าชาวต่างชาติ ที่เมืองท่าชายฝั่งทะเล ทำให้สุโขทัยมีกำไรอย่างงดงาม การค้าของสุโขทัยในลักษณะดังกล่าวจะเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจสุโขทัย ต่อเมื่อสุโขทัยมีอำนาจทางการเมืองที่เข้มแข็ง และมีอิทธิพลเหนือท่าชายฝั่งทะเล แต่เมื่อสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง และมีอาณาจักรใกล้เคียง ( กรุงศรีอยุธยา) เป็นคู่แข่ง ทำให้ปริมาณการค้าลดลง ไม่อาจพึ่งเมืองท่าหรือเส้นทางการค้าเดิมได้

         สินค้าเข้าและสินค้าออกที่สำคัญของสุโขทัย

1.       สินค้าออกที่สำคัญ คือ เครื่องสังคโลก หนังสัตว์ ไม้หอม งาช้าง นอแรด ของป่าอื่นๆ

2.       สินค้าข้าที่สำคัญ คือ ผ้าไหม แพร เครื่องเหล็ก และอาวุธต่างๆ เป็นต้น

        ระบบเงินตราสมัยสุโขทัย

1.       สุโขทัยมีแร่ธาตุหลายชนิดที่ใช้ทำเงินตราได้ เช่น ดีบุก ตะกั่ว ทอง และเงิน ต่อมาจึงมีการนำแร่เงินมาใช้ทำ เงินพดด้วง

2.       ระบบเงินตราสุโขทัย แบ่งเป็นหน่วยย่อยๆได้ หน่วยที่มีค่าน้อยที่สุด คือ เบี้ย และหน่วยที่มีค่าสูงสุด คือ ชั่ง

3.       ระบบเงินตราช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า เกิดความสะดวกสบายในการซื้อขายและจูงใจให้ราษฎรประกอบอาชีพค้าขายมากขึ้น เพื่อแสวงหาเงินตราไว้เก็บออมและใช้จ่าย