ข้อใด ไม่ใช่ ผลดีจากการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

2. “สามารถแก้ไขความไม่ยุติธรรมในสังคมได้มาก และลดช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างประชาชนในชาติ” เป็นข้อดีของระบบเศรษฐกิจในข้อใด

ก. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

ข. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

ค. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม

ง. เศรษฐกิจพอเพียง

 

3.“เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน มีอิสระในการกำหนดราคาผลผลิตทางการเกษตรของตนเอง แต่เมื่อราคาผลผลิตตกต่ำ

เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน ภาครัฐต้องไปแทรกแซง โดยการประกันราคาพืชผล” เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจแบบใด

ก. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

ข. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

ค. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม

ง. เศรษฐกิจพอเพียง

 

4. ข้อใดเป็นความได้เปรียบระบบเศรษฐกิจแบบผสมที่มีเหนือระบบเศรษฐกิจอื่น

ก. บทบาทของรัฐบาลและเอกชนในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

ข. รัฐบาลและเอกชนต่างมีบทบาทในทางการค้าและการลงทุนได้ทัดเทียมกัน

ค. รัฐบาลและเอกชนต่างร่วมมือกันจัดสวัสดิการตามความต้องการของประชาชนได้มากขึ้น

ง. รัฐบาลและเอกชนสามารถใช้กลไกราคาเป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจประกอบธุรกิจ

 

5. การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านการขนส่ง จัดอยู่ในระบบตลาดใด

ก. ตลาดผูกขาด

ข. ตลาดกึ่งผูกขาด

ค. ตลาดผู้ขายน้อยราย

ง. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์

 

6.หากร้านจัดดอกไม้รับพนักงานที่จบสาขาคหกรรมในระดับปริญญาตรีเข้าทำงานและต้องจ้างในอัตราเงินเดือน

เดือนละ 15,000 บาทส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ตามข้อใด

ก. อุปสงค์เพิ่มขึ้น

ข. อุปสงค์ลด

ค. อุปทานเพิ่ม

ง. อุปทานลด

 

7. ปัจจัยในข้อใดส่งผลให้ผู้ผลิตตัดสินใจเพิ่มปริมาณการผลิต

ก. ธนาคารปรับเพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้

ข. ปรับอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเพิ่มขึ้น

ค. ราคาของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตลดต่ำลง

ง. ราคาของสินค้าที่ทดแทนกันได้ลดต่ำลง

 

8. ณ ระดับราคาดุลยภาพ ปรากฏว่าชาวไร่อ้อยเดือดร้อน จึงทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องช่วยเหลือโดยกำหนดราคาประกัน ข้อใดกล่าวถูกต้อง

ก. รัฐบาลจะต้องรับซื้ออ้อยส่วนเกินจากชาวไร่อ้อย

ข. ชาวไร่อ้อยจะต้องจัดสรรโควตาขายให้โรงงานน้ำตาล

ค. โรงงานน้ำตาลจะซื้ออ้อยได้ในราคาต่ำกว่าราคาดุลยภาพ

ง. โรงงานน้ำตาลจะรวมตัวกันต่อรองราคารับซื้ออ้อยในราคาตลาด

 

9. การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในภาคอุตสาหกรรม ทำให้ประเทศไทยต้องประสบปัญหาใดในปัจจุบันเพราะเหตุใด

ก. ดุลการชำระเงินขาดดุล เพราะต้องใช้เงินตราต่างประเทศมากขึ้นในการนำเข้าเทคโนโลยี

ข. ผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรมมีราคาสูงขึ้น เพราะผู้ผลิตมีอำนาจผูกขาดในการกำหนดราคามากขึ้น

ค. มลพิษทางอากาศและทางน้ำเพราะเกิดจากการผลิตและการบริโภคสินค้าอุตสาหกรรมมากขึ้น

ง. ขาดแคลนบุคลากรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพราะขาดงบประมาณในการพัฒนาการศึกษา

 

10. เกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นต้นมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อแก้ปัญหาใดให้เกษตรกร

ก. การสูญเสียที่ดินทำกิน

ข. การหาช่องทางขยายตลาด

ค. การขาดการรวมกลุ่มเพื่อผลิตสินค้า

ง. การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจได้ผลผลิตน้อย

 

11. หลักการสหกรณ์กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสอดคล้องกันในเรื่องใด

ก. การยึดแนวทางการพึ่งตนเอง

ข. การร่วมมือร่วมใจกันในสังคมระดับท้องถิ่น

ค. การบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ง. การทำกิจกรรมเศรษฐกิจเฉพาะกับสมาชิกหรือคนในชุมชนเดียวกัน

 

12. การดำเนินงานของสหกรณ์ข้อใดที่แสดงให้เห็นถึงการนำหลักประชาธิปไตยมาใช้

ก. ดำเนินงานโดยอิสระ

ข. จดทะเบียนนิติบุคคล

ค. เปิดรับสมาชิกด้วยความสมัครใจ

ง. ไม่ว่าจะถือหุ้นกี่หุ้นก็ออกเสียงได้เพียง 1 เสียง

 

13. ข้อใดแสดงว่าเงินทำหน้าที่ในการวัดมูลค่า

ก. ส้มมีเงินแค่ 20 บาท ซื้อข้าวสารได้ไม่ถึง 1 กิโลกรัม

ข. อ้อนเขียนเช็คส่วนตัวซื้อนาฬิกาข้อมือ 1 เรือน ราคาเรือนละ 30,000 บาท

ค. โอนำธนบัตรไทยชนิดราคา 100 บาท ไปแลกธนบัตรราคา 50 บาท ได้ 2 ใบ

ง. น้อยซื้อโทรทัศน์ 1 เครื่อง โดยการผ่อนชำระ 6 งวด งวดละ 10,000

 

14. เมื่อเปรียบเทียบระหว่างธนบัตรใบละ 1,000 บาท กับสร้อยคอทองคำหนัก 1 บาท สินทรัพย์ใดมีสภาพคล่องสูงกว่า เพราะเหตุใด

ก. ธนบัตร เพราะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปต้องการ

ข. ธนบัตร เพราะนำไปแลกกับสิ่งอื่นๆ ได้ทันที

ค. สร้อยคอทองคำ เพราะสามารถนำไปขายต่อได้รวดเร็ว

ง. สร้อยคอทองคำ เพราะมีมูลค่าสูงกว่าธนบัตร 1,000 บาท

 

15. ถ้าปริมาณเงินทุนหมุนเวียนในประเทศเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจอย่างไร

ก. การลงทุนลดลง

ข. อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น

ค. มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น

ง. เอกชนสามารถลงทุนได้อย่างเสรี

 

16. สภาพการณ์ใดบ่งบอกว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในระบบเศรษฐกิจ

ก. ประชาชนมีรายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้น

ข. สินค้าและบริการต่างๆ มีราคาสูงขึ้น

ค. อำนาจซื้อของเงินที่มีอยู่ในมือของประชาชนลดลง

ง. เงินจำนวนเท่าเดิมไม่สามารถซื้อสินค้าและบริการตามที่ต้องการได้

 

17. การดำเนินการในข้อใดช่วยแก้ปัญหาเงินเฟ้อได้

ก. ลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย

ข. ธนาคารกลางประกาศรับซื้อคืนพันธบัตร

ค. เพิ่มอัตราซื้อลดตั๋วเงินจกธนาคารพาณิชย์

ง. ขึ้นอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากธนาคารพาณิชย์

 

18. ถ้าคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นต่อไปอีกธนาคารกลางจะต้องดำเนินมาตรการใดเพื่อชะลอเงินเฟ้อ

ก. ลดอัตราค่าจ้าง

ข. ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ค. ขึ้นอัตราภาษีดอกเบี้ยเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์

ง. ขึ้นอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากธนาคารพาณิชย์

 

19. ถ้าเกิดสภาวะเงินฝืดจะส่งผลต่อประชาชนอย่างไร

ก. ประชาชนใช้จ่ายเงินมากขึ้น

ข. ประชาชนเสียภาษีให้รัฐมากขึ้น

ค. ประชาชนมีอัตราการว่างงานสูง

ง. ประชาชนมีเงินหมุนเวียนในมือสูง

 

20. ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลควรมีมาตรการทางการคลังอย่างไร

ก. เก็บภาษีเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มเงินคงคลัง

ข. ใช้จ่ายให้มากขึ้น เพื่อกระตุ้นการผลิต

ค. กู้ยืมน้อยลง เพื่อลดภาระงบประมาณ

ง. ชะลอการปล่อยสินเชื่อ เพื่อลดหนี้ของประชากร

 

21. ข้อใดแสดงว่าประเทศมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

ก. สัดส่วนของคนยากจนต่อประชากรลดลง

ข. รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรสูงขึ้น

ค. ประชากรมีสินค้าที่ผลิตจากเทคโนโลยีสมัยใหม่บริโภคมากขึ้น

ง. ประเทศประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม

 

22. ข้อใดถือว่าเป็นมาตรการของนโยบายการค้าเสรี

ก. เก็บภาษีขาเข้าในอัตราต่ำ

ข. ให้เงินอุดหนุนผู้ผลิตในประเทศ

ค. ไม่เก็บภาษีสินค้าที่ส่งไปขายประเทศยากจน

ง. ให้นำเข้าสินค้าจากประเทศต่างๆ ได้ทุกชนิด

 

Show

 23. บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์คือใคร

ก. อริสโตเติล                                                              

ข. อดัม  สมิท

ค. มาร์โค  โปโล                                                       

 ง. จอห์น  ล็อก

 

24.  ข้อความใดให้ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ถูกต้องที่สุด

ก. วิชาที่เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าและบริการ

ข. วิชาที่เกี่ยวกับการสนองตอบต่อความต้องการของสมาชิกในสังคม

ค. วิชาที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเมือง

ง. วิชาที่เกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า

 

25. การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค  พฤติกรรมของผู้ผลิต  จัดอยู่ในขอบข่ายสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ในข้อใด

ก. เศรษฐศาสตร์ระดับประเทศ                               

ข. เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ

ค. เศรษฐศาสตร์จุลภาค                                            

ง. เศรษฐศาสตร์มหภาค

 

26.ข้อใดไม่ใช่ ทุนตามความหมายของทรัพยากรทางเศรษฐศาสตร์

ก. เครื่องจักร                                                               

ข. โรงงาน

ค. เงินตรา                                                                    

ง. อุปกรณ์การผลิต

 

27. ผู้ที่รวบรวมปัจจัยการผลิตคือใคร

ก. ผู้ผลิต                                                                       

ข. ผู้ประกอบการ

ค. ผู้บริโภค                                                                  

ง. ผู้ใช้แรงงาน

 

28. การจัดสรรทรัพยากรที่มีจำกัดไม่สอดคล้องกับความต้องการที่ไม่จำกัดของมนุษย์จะทำให้เกิดอะไรขึ้น

ก. การขาดทุน                                                             

ข. ความขาดแคลน

ค. สินค้าล้นตลาด                                                       

ง. การกักตุนผลผลิต

 

29. ธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของคนไทยคือข้อใด

ก. ธนาคารออมสิน                                                    

ข. ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้

ค. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์                                         

ง. บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด

 

30. ธนาคารออมสินจัดตั้งขึ้นในสมัยใด

ก. รัชกาลที่ 4                                                              

ข. รัชกาลที่ 5

ค. รัชกาลที่ 6                                                              

ง. รัชกาลที่ 7

31. ธนาคารที่ไม่ให้สินเชื่อแก่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเก็งกำไร การผูกขาด การผิดศีลธรรม คือธนาคารใด

ก. ธนาคารพาณิชย์                                                    

ข. ธนาคารอาคารสงเคราะห์

ค. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย                      

ง. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

32. ข้อใดสอดคล้องกับนิยามของคำว่า “สหกรณ์” มากที่สุด

ก. การรวมทุน                                                             

ข. การรวมคน

ค. การรวมอำนาจ                                                       

ง. การรวมกำไร

33. ธนาคารของคนยาก หมายถึงสถาบันการเงินในข้อใด

ก. ธนาคารออมสิน                                                    

ข. โรงรับจำนำ

ค. ธนาคารอาคารสงเคราะห์                                   

ง. กองทุนประกันสังคม

34. ข้อใดไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย

ก. จัดพิมพ์ธนบัตรใหม่

ข. ซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์

ค. ดูแลการซื้อขายเงินตราระหว่างประเทศ

ง. รับฝากเงินจากรัฐบาล หน่วยราชการ และสถาบันการเงินต่างๆ

35. ข้อใดอธิบายเกี่ยวกับโรงรับจำนำไม่ถูกต้อง

ก. ผู้กู้ต้องนำโฉนดตราสารมาค้ำประกัน

ข. เป็นแหล่งเงินกู้ของผู้มีรายได้น้อย

ค. ให้สินเชื่อแก่ผู้กู้รายย่อยที่นำสินทรัพย์มาฝากค้ำประกันไว้

ง. โรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยเทศบาล เรียกว่า สถานธนานุบาล

36. ข้อใดไม่ใช่ผลดีจากการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

ก. ยกระดับฝีมือแรงงานในการผลิต

ข. เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง

ค. เกิดการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ

ง. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ดียิ่งขึ้น

37. แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตรงกับข้อใด

ก. การไม่ยอมใช้จ่าย                                                  

ข. การปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง

ค. การพึ่งตนเอง ไม่ยอมพึ่งผู้อื่น                            

ง. ความอดทนเป็นอย่างยิ่ง

38. หลักการข้อใดที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ก. หลักสันโดษ                                                           

ข. หลักความพอดี

ค. หลักการบริโภคนิยม                                            

ง. หลักการพึ่งตนเอง

39. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงเริ่มปรากฏเมื่อไร

ก.    พ.ศ. 2516                                                              

ข.    พ.ศ. 2517

ค.    พ.ศ. 2518                                                              

ง.    พ.ศ. 2519

40. ทฤษฎีใหม่เป็นแนวปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องใด

ก. เกษตรกรรม                                                           

ข. พาณิชยกรรม

ค. อุตสาหกรรม                                                          

ง. การชลประทาน

41. โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดกาญจนบุรี จัดอยู่ในโครงการตามพระราชดำริด้านใด

ก. การส่งเสริมอาชีพ                                                 

ข. การอนุรักษ์และพัฒนาดิน

ค. การอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งน้ำ                          

ง. การส่งเสริมการเกษตรตามทฤษฎีใหม่

 

เฉลยข้อสอบอย่างละเอียด

   1. ตอบ ง.

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลกันระหว่างความต้องการสินค้าและบริการมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์กับทรัพยากรที่มีอยู่อย่างขีดจำกัด ซึ่งปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจได้แก่ จะผลิตอะไร จำนวนเท่าไร จะผลิตอย่างไร จะผลิตเพื่อใคร จะกระจายสินค้าหรือบริการไปยังบุคคลต่างๆในสังคมได้อย่างไร

2. ตอบ ข.

ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเป็นระบบที่รัฐบาลเข้าไปควบคุมดำเนินการผลิตเน้นการจัดสวัสดิการให้ประชาชน ทำให้มีการจัดสรรทรัพยากรและรายได้ที่เป็นธรรม มีความเท่าเทียมกัน สามารถลดช่องว่างทางเศรษฐกิจของประชาชนได้

3. ตอบ ค.

ระบบเศรษฐกิจแบบผสมเป็นการนำเอาลักษณะบางอย่างของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและสังคมนิยมมาผสมผสานกัน ซึ่งในกรณีนี้ประชาชนสามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการนั้น คือเกษตรกรสามารถเป็นเจ้าของที่ดินและสามารถกำหนดราคาได้ โดยเป็นไปตามกลไกราคา แต่ในบางกรณีรัฐบาลจะเข้าไปแทรกแซงราคาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

4. ตอบ ง.

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม โดยมากรัฐจะเป็นผู้บริหารทรัพยากรในส่วนสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา ส่วนเอกชนจะเป็นผู้บริหารในส่วนสินค้าและบริการทั่วไป ซึ่งระบบเศรษฐกิจแบบผสมจะมีความได้เปรียบในด้านการใช้กลไกราคาในการตัดสินใจประกอบธุรกิจ หรือส่งเสริมบรรยากาศการค้าการลงทุน ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ

5. ตอบ ก.

การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่ใช้บริการด้านการขนส่งภายในประเทศแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่มีเอกชนเข้าไปร่วมแข่งขัน ดังนั้นการบิหารงานดังกล่าวจึงจัดอยู่ในตลาดผูกขาด

6. ตอบ ง.

อุปทานลด เนื่องจากอัตราเงินเดือนดังกล่าวถือเป็นต้นทุนการผลิตอย่างหนึ่งที่ร้านจัดดอกไม้ต้องรับผิดชอบ ส่งผลทำให้เจ้าของธุรกิจดังกล่าวไม่มีความต้องการแรงงานในกลุ่มนี้ อาจจะรับสมัครบุคคลท่จบเพียงระดับชั้นม.6เข้าทำงาน เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าจ้างตามที่รัฐกำหนด

7. ตอบ ค.

การที่ราคาวัตถุดิบลดลงต้นทุนการผลิตก็ลดลง ผู้ผลิตได้กำไรมากขึ้น จึงมีแรงจูงใจในการผลิตเพิ่มขึ้น แต่หากอัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น ได้กำไรน้อยลง ไม่เป็นแรงจูงใจในการเพิ่มการผลิตและหากราคาสินค้าที่ทดแทนกันได้ราคาต่ำลง ทำให้ราคาสินค้านั้นต่ำลงด้วยไม่เป็นแรงจูงใจในการผลิตสินค้า

8. ตอบ ก.

ระดับราคาดุลยภาพที่กำนดราคาอ้อยที่ขายอยู่ในตลาดส่งผลกระทบต่อเกษตรกร รัฐบาลต้องเข้าไปรับซื้ออ้อยส่วนเกินจากเกษตรกร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน หลังจากนั้น รัฐอาจนำสินค้าเก็บไว้ ณ ที่ใดที่หนึ่งและเมื่อถึงช่วงที่ตลาดมีความต้องการสินค้ารัฐก็สามารถนำสินค้าเสนอขายในราคาที่เป็นไปตามกลไกราคาของตลาดได้

9. ตอบ ค.

การนำเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อพัฒนาการผลิตในภาคอุตสาหกรรมถือเป็นผลดีใรการเพิ่มปริมาณผลผลิต และควบคุมสินค้าให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน แต่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมตามมา

10. ตอบ ก.

เกษตรทฤษฎีใหม่ เป้นการจัดการกับที่ดิน ใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนเองให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเพื่อพึ่งพาตนเองได้ โดยการแบ่งที่ดินออกเป็น 4 ส่วน คือส่วนที่1 ขุดสระกักเก็บน้ำ ส่วนที่2 ปลูกข้าว ส่วนที่3 ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น ส่วนที่4 สร้างที่อยู่อาศัย โรงเรือนเลี้ยงสัตว์

11. ตอบ ก.

สอดคล้องกันในเรื่องการยึดแนวทางการพึ่งตนเอง โดยหลักการของสหกรณ์ เป็นองค์กรที่พึ่งตนเอง ดำรงความเป็นอิสระ เอื้ออาทรต่อชุมชน ส่วนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เน้นวิธีการผลิตแบบพึ่งตนเอง ลดการพึ่งพาระบบตลาด ลดการใช้สารเคมี ลดการกู้เงินและลดการพึ่งพาซื้อสินค้าจากสังคมภายนอก เน้นเป็นผู้ผลิตเพื่อการบริโภคในชุมชน

12. ตอบ ข.

สมาชิกสหกรณ์ทุกคนเสมอภาคกัน ไม่ว่าจะถือหุ้นก็ออกเสียงได้เพียง1เสียงหรือ “one man one vote” หมายความว่าการออกเสียงในทุกเรื่องของสหกรณ์สมาชิกมีสิทธิออกเสียงเพียงละ1เสียงเท่านั้น

13. ตอบ ข.

เงินมีหน้าที่สำคัญ คือ เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ การที่อ้อยเขียนเช็คส่วนตัวซื้อนาฬิกาข้อมือ 1 เรือน เรือนละ 30,000 บาทแสดงว่าเงินทำหน้าที่ในการวัดมูลค่าของสินค้า

14. ตอบ ข.

ธนบัตรมีสภาพคล่องสูงกว่าสร้อยคอทองคำ เพราะสามารถนำไปแลกกับสิ่งของอื่นๆได้ทันที เนื่องจากเงินเป็นธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ เป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องมากที่สุด สามารถนำไปแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินอื่นๆได้ง่ายและรวดเร็ว โดยไม่ต้องมีต้นทุนในการแลกเปลี่ยน ส่วนสร้อยคอทองคำหนัก 1บาท แม้จะมีมูลค่าสูงกว่าธนบัตร 1,000 บาทแต่ไม่สะดวกที่จะนำไปซื้อสินค้าเหมือนเงินหรือธนบัตร

15. ตอบ ค.

ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศมีเพิ่มมากขึ้น ส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยลดลง การจ้างงานเพิ่มมากขึ้น ประชาชนมีเงินจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น ผลผลิตและรายได้โดยรวมของประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย

16. ตอบ ค.

ภาวะเงินเฟ้อ เป็นภาวะที่อำนาจซื้อของเงินที่มีอยู่ในมือประชาชนลดลงกล่าวคือ การที่มีจำนวนเงินเท่าเดิมแต่ซื้อสินค้าได้น้อยลง เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับสินค้ามีต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น เป็นสาเหตุของภาวะเงินเฟ้อ

17. ตอบ ค.

เมื่อเกิดปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางจะกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไข โดยเพิ่มอัตราซื้อลดตั๋วเงินจากธนาคารพาณิชย์ทำให้ธนาคารพาณิชย์ได้กำไรน้อยลง จึงไม่อยากรับซื้อตั๋วเงินจากลูกค้าอีกต่อไป ส่งผลให้ปริมาณหมุนเวียนของเงินตราในระบบลดลงด้วย เพราะพ่อค้าต้องถือตั๋วเงินไว้ไม่สามารถใช้เป็นเงินสดได้จนกว่าตั๋วเงินจะครบสัญญาจ่ายเงินจากผู้ซื้อสินค้า เท่ากับเป็นการลดอำนาจซื้อของผู้บริโภคมาตรการนี้จึงช่วยแก้ไขปัญหาได้

18. ตอบ ง.

ธนาคารกลางจะใช้มาตรการขึ้นอัตรารับช่วงซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินจากธนาคารพาณิชย์เพื่อชะลอเงินเฟ้อ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางขึ้นอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ธนาคารพาณิชย์จะกู้เงินลดลง ดังนั้น เงินสดสำรองจึงลดลงมา ธนาคารพาณิชย์สามารถขยายสินเชื่อได้น้อยลง ปริมาณเงินซึ่งรวมถึงเงินฝากจึงลดลง เงินเฟ้อจะลดลงหรือชะลอลงได้

19. ตอบ ค.

การเกิดสภาวะเงินฝืดทำให้เงินออมในระบบมีน้อย เนื่องจากประชาชนมีเงินน้อย ทำให้สถาบันการเงินปล่อยเงินกู้เพื่อธุรกิจน้อย ในขณะที่ธุรกิจชะลอการผลิตลงเนื่องจากราคาสินค้าถูกลงและขาดแคลนเงินทุน ส่งผลกระทบจากการจ้างงานที่ลดลง ทำให้คนต้องตกงานเศรษฐกิจหดตัว อำนาจซื้อของคนจึงมีน้อย

20. ตอบ ข.

ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นค่าใช้จ่ายให้มากขึ้น เพื่อกระตุ้นการผลิต เนื่องจากในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การผลิต การค้าขาย และการลงทุนทำธุรกิจต่างๆ อยู่ในสภาพซบเซา มีการจ้างงานน้อย มีคนว่างงานมาก ประชาชนมีกำลังซื้อน้อย รัฐบาลควรใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว โดยลดอัตราภาษีอากร (เพิ่มอำนาจซื้อให้ประชาชน) หรือเพิ่มรายจ่ายให้รัฐบาลให้มากขึ้น โดยทำงบประมาณขาดดุล (ตั้งงบรายจ่ายให้สูงกว่ารายได้) เน้นพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่ง การชลประทาน และการสาธารณูปโภค

21. ตอบ ข.

รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชาชนสูงขึ้นโดยประเทศที่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จะมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจากสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย(รายได้ประชาชาติ) สูงขึ้นทุกปี ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรสูงเพิ่มขึ้นจึงเป็นเครื่องชี้วัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ

22. ตอบ ก.

นโยบายการค้าเสรีคือ การค้าที่ไม่มีการกีดกันทางการค้ากับประเทศคู่ค้าเช่น โดยการไม่เก็บภาษีคุ้มกัน เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศ แต่คงเก็บภาษีศุลกากรในอัตราต่ำ เพื่อเป็นรายได้ของรัฐ เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศให้เหลือน้อยที่สุด

  1. ตอบข.

อดัม  สมิท ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์  โดยแต่งหนังสือสำคัญเรื่อง ความมั่งคั่งแห่งชาติ (The Wealth of Nations)

  1. ตอบง.

วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด  เพื่อตอบสนองความต้องการอันไม่สิ้นสุดของมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด  หรืออาจกล่าวได้ว่า เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ให้ความสำคัญกับการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่านั่นเอง

  1. ตอบค.

เศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในส่วนย่อยระดับบุคคล  หรือองค์กรธุรกิจหน่วยใดหน่วยหนึ่ง  ดังนั้น การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าและบริการจึงเป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในส่วนย่อยระดับบุคคล

  1. ตอบค.

เงินตราไม่ใช่ทุน เป็นเพียงเครื่องมือที่ผู้ผลิตนำไปซื้อปัจจัยการผลิตมาใช้ผลิตสินค้าและบริการ  ผลตอบแทนจากการลงทุน คือ ดอกเบี้ย

  1. ตอบข.

ผู้ประกอบการคือผู้รวบรวมปัจจัยการผลิต  ได้แก่ ที่ดิน  แรงงาน  และทุน มาผลิตเป็นสินค้าและบริการ

  1. ตอบข.

ความขาดแคลนเกิดจากการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่สมดุลหรือไม่สอดคล้องกับความต้องการที่ไม่จำกัดของมนุษย์ หรือกล่าวง่ายๆ คือ ทรัพยากรมีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ จึงทำให้เกิดความขาดแคลน  ซึ่งความขาดแคลนนี้ บางประเภทอาจเป็นการ  ขาดแคลนถาวร เช่น ที่ดิน  เพราะไม่สามารถหามาเพิ่มได้อีก เป็นต้น

  1. ตอบง.

ธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของคนไทยจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2449 มีชื่อว่า บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด และได้พัฒนามาเป็นธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน

  1. ตอบค.

ธนาคารออมสินจัดตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2456 โดยมีพัฒนาการมาจาก “สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้” จังหวัดพิษณุโลก

  1. ตอบค.

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นธนาคารที่ให้บริการในการทำธุรกรรมทางการเงินที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามเท่านั้น รวมถึงการไม่ให้สินเชื่อแก่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเก็งกำไร การผูกขาด การผิดศีลธรรมและอบายมุข

  1. ตอบก.

สหกรณ์เป็นการระดมทุนโดยใช้วิธีการขายหุ้นแล้วนำเงินนั้นมาปล่อยให้สมาชิกกู้ยืมโดย

คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ  และผลกำไรที่ได้ส่วนหนึ่งจะนำมาจ่ายคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนในรูปเงินปันผล

  1. ตอบข.

เพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย  โดยให้บริการกู้เงินในวงเงินไม่มาก โดยผู้กู้ต้องนำสินทรัพย์มาฝากค้ำประกันไว้ เรียกว่า การจำนำ

 

  1. ตอบข.

การซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์เป็นบทบาทหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ ไม่ใช่ธนาคารแห่งประเทศไทย

  1. ตอบก.

โรงรับจำนำเป็นสถาบันการเงินขนาดเล็กที่ให้บริการกู้เงินในวงเงินไม่มาก ผู้กู้จึงไม่ต้องนำโฉนดมาค้ำประกัน เพียงแต่นำสินทรัพย์ที่เป็นสังหาริมทรัพย์มาฝากค้ำประกันไว้

  1. ตอบข.

การแข่งขันทางเศรษฐกิจหากมีมากเกินไปก็จะทำให้เกิดการนำทรัพยากรมาใช้อย่างสิ้นเปลือง ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนทรัพยากรตามมา และยังเกิดปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติให้หมดไปอย่างรวดเร็วด้วย

  1. ตอบข.

แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

  1. ตอบค.

บริโภคนิยมเป็นการใช้จ่ายโดยไม่คำนึงถึงความพอดี  พอประมาณ  และประโยชน์  แต่จะให้ความสำคัญกับเรื่องความมีหน้ามีตาในสังคม  แม้ว่าสิ่งที่ซื้อมานั้นจะมีราคาแพงก็ตาม

  1. ตอบข.

ดังจะเห็นได้จากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานในโอกาสต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๗ แต่ครั้งนั้นเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในรูปของทฤษฎีใหม่

  1. ตอบก.

ทฤษฎีใหม่เป็นแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเกษตรที่จะช่วยให้เกษตรกรเลี้ยงตนเองได้

  1. ตอบก.

โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริจะใช้พื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรมมาดำเนินการจัดสรรให้ราษฎรผู้ยากจนเข้าไปอาศัยอยู่และประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเอง

 

 

 

อ้างอิง http://www.slideshare.net/suriyawarunya/o-net-24201469

https://beeangle.wordpress.com/%E0%B8%A1-%E0%B9%96-%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2-%E0%B9%92%E0%B9%95%E0%B9%95%E0%B9%95/%E0%B8%A1-6-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-2/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-2-%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A2/