ข้อใด ไม่ใช่ หลักการ ของ องค์การสหประชาชาติ

เกี่ยวกับสหประชาชาติในประเทศไทย

สหประชาชาติทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลไทยและประชาชนไทยมากว่า 75 ปี เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาที่ครอบคลุม และยั่งยืนอันสอดคล้องกับวาระสำคัญของประเทศและแผนพัฒนาของชาติ ทีมสหประชาชาติประจำประเทศไทยประกอบด้วยหน่วยงานของสหประชาชาติ 21 หน่วยงาน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหุ้นส่วนความร่วมมืออันทรงคุณค่าของรัฐบาลไทย กระทรวงที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายบริหารระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น ภาคเอกชน นักลงทุนและผู้บริจาค สื่อ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม รวมถึงเยาวชนและประชากรกลุ่มเปราะบาง นอกจากนี้ เรายังทำงานอย่างใกล้ชิดกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียแปซิฟิก (เอสแคป) อีกด้วย

เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

แก่นสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) สามารถสรุปได้ด้วยวลีสั้น ๆ ว่า “การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ซึ่งเป็นหลักการที่ใช้ในทุกภาระกิจของสหประชาชาติในประเทศไทย  เมื่อเดือนมกราคม 2565 ทีมสหประชาชาติประจำประเทศไทยได้ลงนามในกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน วาระปี พ.ศ. 2565-2569 (UNSDCF) กับรัฐบาลไทย กรอบความร่วมมือฯ นี้แจกแจงการสนับสนุนด้านการพัฒนาที่ระบบสหประชาชาติมอบให้กับประเทศไทยเพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายอันสูงส่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใน ค.ศ. 2030 และก้าวขึ้นเป็นประเทศรายได้สูง มีการพัฒนาที่ครอบคลุม ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกันต่อวิกฤต กรอบความร่วมมือฯ ได้รับการออกแบบโดยอิงหลักการของสหประชาชาติที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง หลักสิทธิมนุษยชน หลักความเสมอภาคทางเพศ หลักความยั่งยืน และหลักภูมิคุ้มกันต่อวิกฤต จึงมีความสอดคล้องในระดับสูงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของประเทศไทย และร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 

ข้อใด ไม่ใช่ หลักการ ของ องค์การสหประชาชาติ

ข้อความประกอบ: เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย

หมุดหมายทั้ง 6 ประการ

1

สหประชาชาติได้สนับสนุนรัฐบาลและประชาชนชาวไทยในการรับมือการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งในขีดความสามารถและการให้บริการด้านสาธารณสุข อีกทั้งยังส่งเสริมพันธกิจแห่งการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังด้วยการสนับสนุนรัฐบาลให้เพิ่มเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุ เงินอุดหนุนบุตร และเงินสงเคราะห์ผู้พิการ รวมถึงการติดตามและเฝ้าระวังความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศและความรุนแรงต่อเด็กตามเวลาจริง นอกจากนี้ สหประชาชาติยังสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมใหม่ให้ดีกว่าเดิมด้วยการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคม แรงงาน และอุตสาหกรรม รวมถึงการส่งเสริมความสมานฉันท์ในสังคมด้วยการเข้าถึงผู้คนกว่า 25 ล้านคนในการขยายผลการสื่อสารความเสี่ยง ให้ความรู้เพื่อตอบโต้ข้อมูลเท็จและประทุษวาจาที่สร้างความเกลียดชังระหว่างกลุ่มคนในสังคม และสื่อสารเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีของผู้คนในสังคม

2

สหประชาชาติกำลังเร่งดำเนินการสนับสนุนทางนโยบายและทางวิชาการแก่รัฐบาลไทยในการพลิกกลับแนวโน้มการตั้งครรภ์ในหมู่วัยรุ่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นให้เหลือ 25 รายต่อประชากร 1,000 คนภายในปี 2026 จากอัตราปัจจุบันที่ 50 รายต่อประชากร 1,000 คน

3

สหประชาชาติยังคงดำเนินการส่งเสริมการลงทุนในวิสาหกิจคาร์บอนต่ำ โดยสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ อีกทั้งยังสนับสนุนแผนปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อการบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนด้วยการปรับปรุงการจัดการระบบนิเวศป่าพรุให้เป็นแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ บูรณาการการพัฒนาคาร์บอนต่ำในแผนพัฒนา และสาธิตนวัตกรรมการแก้ปัญหาในพื้นที่เป้าหมาย ตลอดจนส่งเสริมให้บรรจุการเปิดกว้างทางสังคมและเพศสภาพไว้ในกรอบงบประมาณด้านสภาพอากาศ (climate budgeting frameworks) ส่งผลให้ปริมาณการปล่อยคาร์บอนโดยรวมลดลง 14,000 ตัน ขยะมูลฝอยปริมาณกว่า 210,000 ตันต่อปี ถูกใช้ไปผลิตไฟฟ้าได้ 266,000 เมกะวัตต์

4

สหประชาชาติได้ดำเนินการสนับสนุนการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การย้ายถิ่นฐานที่ครอบคลุม โดยได้เผยแพร่ “รายงานว่าด้วยการย้ายถิ่นฐานของประเทศไทย” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของสหประชาชาติในการประเมินความท้าทายที่ผู้ย้ายถิ่นฐานต้องเผชิญ ตลอดจนความคืบหน้าในการให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุม เพื่อให้รัฐบาลไทยใช้เป็นข้อมูลสำหรับการกำหนดนโยบายในอนาคต รายงานได้แสดงให้เห็นความสำคัญของการย้ายถิ่นฐานในประเทศไทยและในภูมิภาคทั้งในมิติทางสังคมและเศรษฐกิจ และบทบาทของสหประชาชาติในการให้คำแนะนำทางวิชาการและการสนับสนุนทางเทคนิค

5

สหประชาชาติในประเทศไทยได้รับการสนับสนุนผ่านโครงการร่วมจาก “กองทุนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนว่าด้วยการคุ้มครองทางสังคม” ในการศึกษาและเสนอแนวทางการแก้ปัญหาเชิงนโยบายแบบบูรณาการสำหรับระบบการคุ้มครองทางสังคมของประเทศไทย เพื่อสนับสนุนรัฐบาลในการขยายเงินอุดหนุนบุตรให้ครอบคลุมถึงเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบจำนวน 2 ล้านคน และเชื่อมโยงเงินอุดหนุนนี้กับการให้บริการทางสังคมอื่น ๆ องค์การสหประชาชาติยังสนับสนุนให้เสริมความมีประสิทธิผลของระบบประกันสังคมในปัจจุบันโดยเสนอทางเลือกทางนโยบายเพื่อการขยายความครอบคลุมให้รวมถึงคนทำงานรับใช้ในบ้านซึ่งรวมถึงแรงงานข้ามชาติด้วย

6

สหประชาชาติและรัฐบาลไทยได้ร่วมกันพัฒนาภาคีความร่วมมือที่โดดเด่นผ่านคณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยโรคไม่ติดต่อ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีและผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทยเป็นประธานร่วม คณะทำงานเฉพาะกิจ ฯ นี้มุ่งแก้ไขภัยคุกคามต่อสุขภาพที่มีมากขึ้นด้วยการบังคับใช้บรรจุภัณฑ์ยาสูบแบบเรียบ แก้ไขปัญหาจากยาสูบ แอลกอฮอล์ มลพิษทางอากาศ และอุตสาหกรรมอาหาร เพิ่มภาษีเครื่องดื่มเติมน้ำตาล และลดความซับซ้อนของระบบภาษีบุหรี่

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนใน ประเทศไทย

การทำงานของหน่วยงานทั้ง 21 แห่งของสหประชาชาติในประเทศไทยครอบคลุมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งหมดในฐานะประเทศผู้มีรายได้ปานกลางระดับสูงจากการประเมินโดยองค์การสหประชาชาติ ทีมสหประชาชาติประจำประเทศจะสนับสนุนกิจกรรมที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนดังต่อไปนี้ ข้อ 1.3 การขยายขอบเขตการคุ้มครองทางสังคม ข้อ 3.4 การแก้ปัญหาเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อ ข้อ 4.1 การช่วยให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษา โดยมุ่งเน้นไปที่เยาวชนอพยพ ข้อ 5.5 การสนับสนุนเพื่อให้สตรีมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองมากขึ้น ข้อ 8.3 การสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและนวัตกรรมโดยเยาวชน ข้อ 10.2 การเปิดรับคนชายขอบ โดยเฉพาะชุมชน LGBTI ข้อ 10.7 การดูแลการโยกย้ายถิ่นฐาน ข้อ 13.2 ยุทธศาสตร์เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ข้อ 16.1 การสนับสนุนความสามัคคีในสังคมเพื่อยุติความรุนแรงในภาคใต้ของประเทศไทย ข้อ 16.9 การผลักดันและสนับสนุนการยุติปัญหาคนไร้สัญชาติ ข้อ 17.7 การเป็นพันธมิตรกับภาคเอกชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และข้อ 17.9 การแบ่งปันประสบการณ์ของประเทศไทยและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดผ่านการแลกเปลี่ยนใต้ – ใต้