ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับข้อควรระวังในขณะช่วยเหลือผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดติดอยู่

ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับข้อควรระวังในขณะช่วยเหลือผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดติดอยู่

ไฟช็อต ไฟรั่ว ไฟดูด อะไรน่ากลัวกว่ากัน

ไฟช็อต ไฟรั่ว ไฟดูด เป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากระบบไฟฟ้า ที่สามารถพบเห็นได้บ่อยตามข่าวและสื่อต่างๆ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจจะทำให้เกิดการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถป้องกันได้ ถ้าเราใส่ใจกับระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

แล้วคุณหรือไม่ว่า ไฟช็อต ไฟรั่ว ไฟดูด นั้นต่างกันอย่างไร เรามาทำความรู้จักกับปัญหาเหล่านี้กันก่อนเลย

ไฟรั่ว คืออะไร ?

ไฟรั่วนั้นเป็นอาการที่กระแสไฟฟ้าสามารถรั่วไหลออกจากวงจรไฟฟ้าไปสู่ภายนอกได้ เช่นผิวของสายไฟ โลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งสามารถเกิดได้จากในหลากหลายสาเหตุ อาทิเช่น การเดินระบบไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐานเพียงพอ การใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เสื่อมภาพลง

วิธีสังเกตและทดสอบว่าภายในบ้านมีกระแสไฟรั่ว

  1. เมื่อจับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีโลหะผสมอยู่แล้วถูกไฟดูด

เครื่องใช้ไฟฟ้าเกือบทุกชนิดมักจะมีโลหะเป็นโครงสร้างหรือส่วนประกอบ เมื่อใดที่เราสัมผัสกับอุปกรณ์ดังกล่าวแล้วเกิดไฟดูดนั่นหมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนี้มีกระแสไฟรั่วแล้ว

  1. ค่าไฟสูงขึ้นผิดปกติ

เมื่อมีไฟฟ้ารั่วไหล แน่นอนว่าการใช้งานไฟฟ้าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นอีกด้วย ดังนั้นถ้าเราใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าในแต่ละวันแบบปกติ แต่ยังรู้สึกว่าค่าไฟฟ้าสูงขึ้น จึงควรตรวจสอบว่ามีไฟรั่วเกิดขึ้นหรือไม่

  1. บ้านมีความร้อนสูงกว่าปกติ

หากอยู่ๆ ภายในบ้านมีอุณหภูมิภายในบ้านมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติ ไฟรั่วก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิภายในบ้านสูงขึ้นได้เนื่องจากมีการไหลเวียนไฟฟ้าลงสู่ดินผ่านวัสดุที่นำไฟฟ้าส่งผลให้เกิดความร้อนขึ้น

  1. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านทั้งหมดแล้วมิเตอร์ไฟยังทำงานอยู่

โดยปกติ มิเตอร์วัดการใช้งานไฟฟ้าที่ได้รับการติดตั้งจากการไฟฟ้าจะทำการหมุนทำงาน เมื่อมีการใช้งานไฟฟ้า ซึ่งถ้าเราได้ทำการปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดแล้ว มิเตอร์ยังทำงานอยู่ นั่งหมายความว่าภายในบ้านของคุณมีกระแสไฟรั่วอยู่ ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน

ไฟดูดคืออะไร ?

ไฟดูดเป็นอันตรายที่เกิดขึ้นโดยมีต้นเหตุจากไฟรั่ว โดยกระแสไฟฟ้าดัวกล่าวได้ไหลผ่านร่างกาย เนื่องจากมีการไปสัมผัสกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าวิ่งอยู่ โดยที่อุปกรณ์อยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ แตกหัก ฉนวนชำรุด หรือเปียกน้ำ

ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อภายในร่างกายมีอาการเกร็ง มีแผลไหม้ ชัก หมดสติ ทำให้หัวใจทำงานผิดจังหวะ เต้นอ่อนแรงลง และหยุดเต้นทำให้เสียชีวิตในที่สุด

วิธีการช่วยเหลือผู้ที่กำลังโดนไฟดูด

ไม่ควรสัมผัสกับผู้ถูกไฟดูดโดยตรง และควรจตัดไฟอุปกรณ์ดังกล่าวหรือจะตัดระบบไฟฟ้าก่อนเข้าไปช่วย เพื่อความปลอดภัยของทั้งผู้ช่วยและผุ้ที่ถูกช่วยเหลือจากไฟดูด และห้ามเข้าไปช่วยผู้ถูกไฟดูดในขณะที่ตัวเปียกชื้น เพราะน้ำอาจจะเป็นตัวนำไฟฟ้า และทำให้ผู้เข้าไปช่วยเหลือถูกไฟดูดตามไปอีกด้วย

นอกจากนี้ถ้าหากไม่สามารถตัดไฟได้ ให้ใช้อุปรณ์ที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น ผ้า หนัง ไม้ ทำการดึงผู้ถูกไฟฟ้าดูดออกจากบริเวณที่ถูกไฟฟ้าดูด และทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและส่งโรงพยาบาลทันที

ไฟช็อต คืออะไร ?

ไฟช็อต หรือไฟฟ้าลัดวงจร เป็นการทีไฟฟ้าจากสายไฟเส้นหนึ่งไหลผ่านไปยังอีกเส้นหนึ่งได้ ซึ่งเกิดจากฉนวนไฟฟ้าที่เกิดการชำรุด ส่งผลทำให้เกิดการไหลเวียนของไฟฟ้าแบบผิดปกติ และเกิดความร้อนขึ้นในจุดที่มีการลัดวงจร

โดยไฟช็อตนั้นมักจะมีสาเหตุจากการชำรุดของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สายไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่มีมาตรฐาน ซึ่งไฟช็อตนี้จะเป็นปัญหาหลักๆ ที่ทำให้เกิดอันตรายเป็นอย่างมาก เพราะอาจจะทำให้เกิดไฟไหม้เกิดขึ้นได้อีกด้วย

วิธีป้องกันไฟดูด ไฟรั่ว ไฟช็อต

  1. หมั่นตรวจสอบสายไฟอยู่เสมอ

คอยตรวจสอบว่ามีสายไฟบริเวณไดที่เกิดการชำรุดขึ้น โดยเฉพาะสายไฟในจุดที่มองไม่เห็น อาทิเช่น บนฝ้า ที่อาจจะเกิดสายไฟโดนหนูแทะได้ ซึ่งถ้าพบว่ามีจุดใดสายไฟชำรุดควรรีบเปลี่ยนทันที

  1. ตรวจเช็คเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่เสมอ

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราจะต้องจับต้องในการใช้งาน อาทิเช่น เตาไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า ตู้เย็น ควรใช้อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับในการวัดกระแสไฟฟ้ารั่ว เช่น ไขควงวัดไฟ เพื่อทำการตรวจเช็คไฟรั่ว และถ้าพบว่าไฟรั่วจริง ควรหยุดใช้และส่งซ่อมทันที

  1. ติดตั้งสายดินและระบบตัดไฟอัตโนมัติ

สายดินและระบบตัดไฟอัตโนมัติเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากไฟฟ้า เพราะไฟฟ้าที่รั่วไหลจะถูกตรวจสอบจากอุปกรณ์ตัดไฟ และทำการตัดกระแสไฟฟ้าทันทีเมื่อมีการลัดวงจร ส่วนสายดินจะช่วยนำกระแสไฟฟ้าที่รั่วไหล ให้ไหลไปยังใต้ดิน ทำให้ผู้ที่จับอุปกรณ์ดังกล่าวไม่โดนไฟดูด

และเมื่อเกิดไฟช็อต หรือไฟฟ้าลัดวงจรแล้ว ต้องทำอย่างไร

สิ่งแรกที่ควรทำคือให้รีบตัดกระแสไฟฟ้าในบริเวณนั้นทันที และถ้าหากเกิดความร้อนจนมีประกายไฟ ห้ามนำน้ำใช้ดับไฟเด็ดขาด เพราะน้ำเป็นสื่อนำกระแสไฟ ทำให้ผู้ดับไฟโดนไฟดูดได้