เหตุผลในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้แก่ข้อใด

รายละเอียด

เหตุผลในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้แก่ข้อใด

 สินค้าและบริการต่าง ๆ ในปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายอย่าง  และมีลักษณะแตกต่างตามความต้องการของคนเรา  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วความต้องการขั้นพื้นฐานของคนเรา  แบ่งได้ 2 ลักษณะดังนี้
     1.  ความต้องการด้านร่างกาย  ได้แก่  อาหาร  ยารักษาโรค  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย
     2.  ความต้องการด้านจิตใจ  ได้แก่  ความต้องการสประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน  ความต้องการการยอมรับจากผู้อื่น  ความต้องการด้านความบันเทิงและความสะดวกสบาย

     1.  การเลือกซื้อสินค้าและบริการ
          การเลือกซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ของคนเราขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ  ดังนี้
          1.  รายได้  รายได้ของผู้บริโภคจะแตกต่างกัน  ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการเลือกซื้อสินค้าและบริการแตกต่างกันด้วย
          2.  ราคา  ถ้าสินค้าราคาถูกและมีคุณภาพ  จะทำให้คนเลือกซื้อมากกว่าสินค้าราคาเดียวกันแต่ไม่มีคุณภาพ
          3.  รสนิยม  หรือความชอบส่วนบุคคล  เช่น  คนภาคอีสานนิยมกินข้าวเหนียวมากกว่าข้าวเจ้า  ดังนั้นการทำนาในภาคอีสานก็จะปลูกข้าวเหนียวเป็นส่วนใหญ่
          4.  ขนบธรรมเนียม  ประเพณี  ความเชื่อ  เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ผลิตควรพิจารณา  เช่น  ชาวมุสลิมไม่บริโภคเนื้อหมู

     2.  หลักการเลือกซื้อสินค้าและบริการ
          การเลือกซื้อสินค้าและบริการ  เราควรปฏิบัติตามหลักการ  ดังนี้
          1.  พิจารณางบประมาณ  การเลือกซื้อสินค้าควรสำรองงบประมาณว่ามีเท่าใดเพียงพอต่อการซื้อสินค้าหรือไม่  ถ้าสินค้ามีราคาแพงให้เลือกซื้อสินค้าที่มีราคาถูก 
               แต่สามารถใช้ประโยชน์ทดแทนกันได้
          2.  ความจำเป็นในการซื้อ  พิจารณาว่าสินค้าที่จะซื้อมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด  และควรคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากสินค้าเป็นสำคัญ
          3.  สำรวจราคาของสินค้า  ก่อนซื้อสินค้า  ควรเปรียบเทียบราคาของสินค้าที่มีลักษณะเดียวกันจากร้านค้าหลาย ๆ แห่ง  ว่าร้านใดจำหน่ายสินค้าที่ราคาถูกกว่ากัน
          4.  คุณภาพของสินค้า  ควรศึกษาความรู้เกี่ยวกับลักษณะของสินค้าว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร  เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจ
          5.  การให้บริการ  ควรคำนึงถึงการให้บริการก่อนและหลังการขายว่ามีหรือไม่และเป็นอย่าไรบ้าง
          6.  ระยะเวลาในการซื้อสินค้า  ควรเลือกซื้อสินค้าที่มีตามฤดูกาล  เพราะจะได้สินค้าที่มีราคาถูก  เช่น  ผัก  ผลไม้  เป็นต้น
          7.  พิจารณาคำแนะนำและฉลากของสินค้า  ก่อนเลือกซื้อสินค้าควรพิจารณาคำแนะนำและฉลากของสินค้า  โดยสังเกตจากประโยชน์ให้รอบคอบก่อนตัดสินใจซิ้อสินค้าชนิดนั้น

 ที่มา เอกรินทร์  สี่มหาศาล  และคณะ . การงานอาชีพและเทคโนโลยี ป.3 . พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์

ฮิต: 14918

เหตุผลในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้แก่ข้อใด

การรู้ถึงกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค (Consumer Buying Process) จะช่วยให้นักการตลาดเข้าใจในขั้นตอนการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของผู้บริโภคอย่างละเอียดตั้งแต่จุดแรกไปจนถึงสิ้นสุดกระบวนการ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถวางแผนไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่การผลิตสินค้าหรือบริการ การวางแผนการตลาด ตั้งแต่กระบวนการแรกเริ่มไปจนถึงการดึงดูดให้เกิดการกิจกรรมทางการขายขึ้น เรามาทำความรู้จักกับ กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคที่มีอยู่ด้วยกัน 6 ขั้นตอนครับ

เหตุผลในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้แก่ข้อใด

1. การตระหนักรู้ถึงปัญหา (Problem Recognition)

ก่อนจะเกิดการซื้อใดๆก็ตามผู้บริโภคจำเป็นต้องคำนึงถึงเหตุผลที่ลูกค้าจะต้องเชื่อ (Reason to Believe) ในการจะซื้อสินค้าหรือบริการสักอย่างหนึ่งเสมอ หรืออาจนึกถึงสถานที่ที่อยากจะไปสักที่ใดที่หนึ่งซึ่งนับเป็นความปรารถนาที่เกิดขึ้นที่นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหา ณ ปัจจุบันของผู้บริโภค โดยนักการตลาดสามารถกำหนดปัญหาซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่มีอยู่หรือยังไม่ได้ถูกเติมเต็มก็ได้ ด้วยการทำคอนเทนต์ที่เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามผ่านการนำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงของสินค้าหรือบริการ การนำเสนอด้วย Testimonials ของผู้ที่เคยใช้สินค้าหรือบริการเพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคนั้นเริ่มเข้ามาสู่กระบวนการซื้อ และทำให้ผู้บริโภครู้สึกและตระหนักให้ได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยสินค้าหรือบริการของเรา

2. การค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม (Information Search)

เมื่อผู้บริโภครับรู้ถึงปัญหาแล้วก็จะเกิดการอยากรู้และค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อดูว่าอะไรคือสิ่งที่จะมาเติมเต็มปัญหาเหล่านั้นได้ จะมีวิธีการใดๆที่เข้ามาแก้ไขสิ่งที่เป็นปัญหาที่ผู้บริโภคกำลังเผชิญอยู่ โดยในขั้นตอนนี้นักการตลาดก็จำเป็นต้องแสดงความเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้ข้อมูลเชิงลึก หรือวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆผ่านสื่อโฆษณาทั้งออนไลน์โซเชียลมีเดียและออฟไลน์ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายเปิดรับเป็นประจำและใช้ในการค้นหาข้อมูลต่างๆ และสิ่งที่คุณทำนั้นต้องนำเสนอให้แตกต่างจากคู่แข่งอยู่เสมอ

3. ประเมินทางเลือกอื่นๆ (Evaluation of Alternatives)

แม้ว่าคุณจะสร้างความแตกต่างและโดดเด่นในการนำเสนอจากคู่แข่งอย่างไร ผู้บริโภคก็ยังไม่สามารถตัดสินใจที่จะเลือกสินค้าหรือบริการของคุณในทันทีเพราะพวกเขายังคงต้องทำการหาข้อมูลเปรียบเทียบอยู่เสมอ เพื่อหาสิ่งที่ใช่และตรงตามความต้องการมากที่สุด เช่น ในการนำเสนอบริการประกันภัยที่ลูกค้าต้องหาเจ้ามาเปรียบเทียบราคาและผลประโยชน์ที่ได้รับว่าอันไหนคุ้มค่าและจำเป็นกว่ากัน โดยในขั้นตอนนี้เป็นความยากของนักการตลาดในการต้องสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นให้ได้ และยังต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเพื่อดึงดูดให้กลุ่มเป้าหมายยังคงความสนใจในตัวสินค้าของคุณต่อไป

4. เข้าสู่กระบวนการตัดสินใจซื้อ (Purchase Decision)

เมื่อผู้บริโภคได้ค้นหาข้อมูลและเปรียบเทียบจนพบเจอข้อมูลที่พร้อมสำหรับการตัดสินใจแล้ว ก็อาจเกิดการที่ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าหรือบริการของคุณในทันทีหรือเกิดยุติการซื้อสินค้าหรือบริการได้ทุกเมื่อเช่นกัน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ผู้บริโภคนั้นอาจเกิดการลังเลหรือติดใจอะไรอยู่บางอย่างและนั้่นเป็นเหตุผลให้นักการตลาดจำเป็นต้องทำให้พวกเขารู้สึกถึงความปลอดภัยอุ่นใจในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการให้ได้ ซึ่งต้องพยายามโน้มน้าวใจอย่างสุดตัวทั้งข้อมูลความจำเป็นความสำคัญและที่สำคัญที่สุดก็คือ สินค้าหรือบริการสามารถเติมเต็มหรือแก้ปัญหาของพวกเขาได้อย่างไร ทำให้พวกเขารู้สึกว่าขาดสินค้าของคุณไม่ได้ และหากเกิดสถานการณ์ที่พวกเขาเดินหนีไปจากคุณในขั้นนี้คุณก็จำเป็นต้องดึงพวกเขากลับมาด้วยการทำ Retargeting เช่นการส่งอีเมล์หรือ SMS เพื่อกระตุ้นให้พวกเขายังคงคิดถึงสินค้าของคุณอยู่เสมอ

5. ซื้อสินค้าหรือบริการ (Purchase)

ขั้นที่ความต้องการนั้นถูกเติมเต็มเป็นที่เรียบร้อยเมื่อผู้บริโภคกลายเป็นลูกค้าและได้เลือกซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ นับเป็นผลรวมมาจากความพยายามที่คุณได้ทำตั้งแต่ขั้นตอนแรกซึ่งถือว่าเป็นผลสำเร็จแรกเริ่มที่ดี แต่คุณก็ยังจำเป็นต้องระวังเอาไว้อยู่เสมอครับว่าโอกาสการที่ลูกค้าจะยกเลิกหรือหายไปก็ยังมีความเป็นได้อยู่ การทำการตลาดกับขั้นตอนนี้ก็ยังคงมีความสำคัญครับด้วยการลองตรวจสอบดูว่าลูกค้าได้มีการกดยืนยันสั่งซื้อผ่านหน้าเว็บไซต์แล้วจริงๆ หรือมีการสั่งออเดอร์แล้วโอนเงินชำระมาแล้วจริงๆ ซึ่งปัญหาในขั้นตอนนี้ที่อาจทำให้ลูกค้ายกเลิกการซื้อสินค้าก็อาจมาจากปัญหาด้าน UX/UI หรือที่เรียกว่าการออกแบบประสบการณ์ลูกค้าในการเยี่ยมชมเว็บไซต์และการออกแบบหน้าตาเว็บไซต์ หลายๆครั้งเรามักจะเจอปัญหาของความยุ่งยากในการสั่งซื้อและขั้นตอนที่มากจนเกินไปจนเกิดการยกเลิกและรู้สึกแย่กับแบรนด์ของคุณก็ได้

6. การประเมินหลังการซื้อสินค้า (Post-Purchase Evaluation)

ขั้นสุดท้ายก็นับว่าเป็นขั้นที่สำคัญที่สุดขั้นหนึ่งเพราะหลังจากการซื้อสินค้าหรือบริการนั้นจบสิ้นแล้ว ก็เป็นกระบวนการที่คุณจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าให้กลายเป็นลูกค้าที่กลับมาซื้อซ้ำในอนาคตให้ได้ ซึ่งนั่นหมายถึงการที่ลูกค้าจะต้องเกิดความประทับใจและรู้สึกดีกับประสบการณ์ที่ใช้สินค้าหรือบริการของคุณ รวมไปถึงการบริการหลังการขายและการขายของพนักงานคุณ โดยคุณจำเป็นต้องมีการทำแบบสำรวจความคิดเห็นบ้างตามโอกาสหรือนำเสนอสิทธิพิเศษบางอย่างกับลูกค้าก็ได้ และในขั้นตอนนี้คุณต้องทำให้ลูกค้ากลายเป็นลูกค้าที่จงรักภักดี (Loyal Customer) และบอกต่อ (Advocacy) ให้คนอื่นๆมาอุดหนุนสินค้าหรือบริการของคุณต่อไป