อำนาจ ของ นายจ้าง ในการบริหาร แรงงานสัมพันธ์ มี อะไร บ้าง

องค์การฝ่ายนายจ้าง 

    มายจ้างหรือลูกจ้างสามารถรวมตัวกัน เพื่อรักษาผลประโยชน์เกี่ยวกับกาจาง 4999 และผลงานที่จะได้รับ มีเสรีภาพในการรวมตัวกับองค์การเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน หลักการนี้เป็นที่ ยอมรับกันทั่วโลก โดยเฉพาะองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งเรียกกันว่า ILO (International Labour Organization) ได้ตราอนุสัญญาเรื่องเสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการ ดําเนินการขององค์การ โดยกําหนดว่า ลูกจ้างและนายจ้างมีสิทธิเสรีภาพในการก่อตั้งและ ดําเนินการภายในองค์การของตนได้ โดยปราศจากการแทรกแซงหรือควบคุมของรัฐ โดยเฉพาะ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ฉบับปัจจุบัน มาตรา 64 วรรคแรก บัญญัติไว้ว่า “บุคคล ย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การ พัฒนาเอกชนหรือหมู่คณะอื่น”

    สําหรับองค์การฝ่ายนายจ้าง ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ได้กําหนด องค์การฝ่ายนายจ้างไว้มี 3 ระดับ

    1. สมาคมนายจ้าง 

    2. สหพันธ์นายจ้าง 

    3. สภาองค์การนายจ้าง

สมาคมนายจ้าง

    สมาคมนายจ้าง หมายความว่า “องค์การของนายจ้าง ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติแรงงาน สัมพันธ์ พ.ศ. 2518” 

    สมาคมนายจ้างที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้ จะต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหา และคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับการจ้าง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และระหว่างนายจ้างด้วยกันเอง

 ผู้มีสิทธิขอจดทะเบียนสมาคมนายจ้าง กฎหมายกําหนดให้นายจ้างที่ประกอบกิจการประเภท เดียวกัน บรรลุนิติภาวะและมีสัญชาติไทย จํานวนไม่น้อยกว่า 3 คนเป็นผู้เริ่มก่อการยื่นคําขอต่อนายทะเบียน พร้อมด้วยร่างข้อบังคับของสมาคมนายจ้างอย่างน้อย 3 ฉบับ คําขอต้องระบุชื่อ อายุ อาชีพหรือวิชาชีพ และที่อยู่ของผู้เริ่มก่อการทุกคน

    อํานาจหน้าที่ของสมาคมนายจ้าง

    อํานาจหน้าที่ของสมาคมนายจ้างคือ

    1. เรียกร้องเจรจา ทําความตกลงและรับทราบคําชี้ขาด หรือทําข้อตกลงกับสหภาพแรงงาน หรือลูกจ้างในกิจการของสมาชิกได้

    2. จัดการและดําเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ ทั้งนี้ภายใต้บังคับของวัตถุประสงค์ ของสมาคมนายจ้าง

    3. จัดให้มีบริการสนเทศเพื่อให้สมาชิกมาติดต่อเกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจ

    4. จัดให้มีบริการให้คําปรึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาหรือขจัดข้อขัดแย้ง เกี่ยวกับการบริหารงานและ การทํางาน

    5. จัดให้มีการให้บริการเกี่ยวกับการจัดสรรเงินหรือทรัพย์สินเพื่อสวัสดิการของสมาชิก หรือเพื่อสาธารณประโยชน์ ทั้งนี้ตามที่ที่ประชุมใหญ่เห็นสมควร

    6. เรียกเก็บเงินค่าสมาคมเป็นสมาชิก และเก็บค่าบํารุงตามอัตราที่กําหนดในข้อบังคับของ สมาคมนายจ้าง

    อํานาจหน้าที่ของสมาคมนายจ้างดังกล่าวนี้ ก็เพื่อแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับ สภาพการจ้าง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และระหว่างนายจ้างด้วยกันเอง

สหพันธ์นายจ้าง

    ได้กล่าวมาแล้วว่าองค์การฝ่ายนายจ้างระดับล่างสุดคือ สมาคมนายจ้าง ระดับสูงขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ขององค์การฝ่ายนายจ้าง คือ สหพันธ์นายจ้าง ดังที่กฎหมายกําหนดไว้ว่า “สมาคมนายจ้างตั้งแต่ 2 สมาคมขึ้นไปที่มีสมาชิกประกอบกิจการประเภทเดียวกันอาจรวมกันจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสหพันธ์นายจ้าง เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาคมนายจ้าง และคุ้มครองผลประโยชน์ของสมาคมนายจ้าง และนายจ้างได้” 

จากหลักกฎหมาย สมาคมนายจ้าง สามารถจัดตั้งสหพันธ์นายจ้างได้ โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

 1. มีสมาคมนายจ้าง ที่ประกอบกิจการประเภทเดียวกันตั้งแต่ 2 สมาคมขึ้นไป เช่น สมาคมผู้ผลิตวิทยุกระจายเสียง และสมาคมผู้ผลิตวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ รวม 2 สมาคม และประกอบกิจการอาชีพเดียวกัน

    2. รวมกันเพื่อขอจดทะเบียนกับนายทะเบียนจัดตั้งเป็นสหพันธ์นายจ้าง

 3. มีวัตถุประสงค์ของสหพันธ์นายจ้าง เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาคมนายจ้าง คุ้มครองผลประโยชน์ของสมาคมนายจ้างและกิจกรรมของนายจ้างด้วยกันเท่านั้น จะตั้งเพื่อมีวัตถุประสงค์อื่น

มิได้

    4. เมื่อทําการจดทะเบียนถูกต้องแล้ว ให้สหพันธ์นายจ้าง มีฐานะเป็นนิติบุคคล 

    5. สมาชิกของสหพันธ์นายจ้าง คือ สมาคมนายจ้างอย่างน้อยตั้งแต่ 2 สมาคมขึ้นไป ดังนั้น สมาคมนายจ้างในฐานะเป็นสมาชิกของสหพันธ์นายจ้าง จึงมีสิทธิส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมและดําเนินการ ของสหพันธ์นายจ้างได้ตามจํานวนที่กําหนดไว้ในข้อบังคับของสหพันธ์นายจ้าง ผู้ดําเนินกิจการของสหพันธ์ นายจ้างก็ได้แก่ ผู้แทนของสมาคมนายจ้างนั่นเอง รวมทั้งคณะกรรมการสหพันธ์นายจ้างก็จะเลือกตั้ง มาจากผู้แทนของสมาคมนายจ้างนั้น 

    6. การจัดตั้ง การจดทะเบียน การดําเนินการ มีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกันกับสมาคมนายจ้าง 

สภาองค์การนายจ้าง

    องค์การฝ่ายนายจ้างอีกระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นระดับสูงสุดคือ สภาองค์การนายจ้าง กฎหมายกําหนดไว้ดังนี้

    สมาคมนายจ้างหรือสหพันธ์นายจ้างไม่น้อยกว่า 5 แห่ง อาจจัดตั้งสภาองค์การนายจ้าง เพื่อส่งเสริม สภาการศึกษาและส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ได้สภาองค์การนายจ้างต้องมีข้อบังคับ และต้องจดทะเบียน ต่อนายทะเบียน เมื่อได้ทะเบียนแล้วให้สภาองค์การนายจ้างเป็นนิติบุคคล 

    จากหลักกฎหมายสภาองค์การนายจ้าง จึงเป็นองค์การสงสดของนายจ้าง การตั้งสภาองค์การ นายจ้าง อาจตั้งได้ 2 กรณี คือ สมาคมนายจ้างไม่น้อยกว่า 5 แห่ง ร่วมกันจัดตั้งหรือสหพันธ์นายจาง ไม่น้อยกว่า 5 แห่ง ร่วมกันจัดตั้ง เช่นเดียวกัน ด้วยการจัดทําข้อบังคับของสภาองค์การนายจาง แล้วนําไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียน เมื่อจดทะเบียนแล้ว สภาองค์การนายจ้างก็มีฐานะเป็นนิติบุคคล “

    วัตถุประสงค์ของสภาองค์การนายจ้างก็เพื่อส่งเสริมการศึกษา และส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ เท่านั้น คือ ให้การศึกษาให้ความรู้เกี่ยวกับสมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง และส่งเสริมให้องค์การฝ่าย นายจ้างทุกระดับมีความพร้อม มีความสมบูรณ์ต่อการปฏิบัติงาน และมีการร่วมงานกับองค์การฝ่ายลูกจ้าง ได้เป็นอย่างดี การจัดตั้ง การจดทะเบียน การดําเนินการ ตลอดจนการควบคุมสภาองค์การนายจ้าง มีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับสมาคมนายจ้างและสหพันธ์นายจ้าง

ข้อมูลเพิ่มเติม