ข้อ ใด ต่อไปนี้ เป็น ประโยชน์ ของการรู้ เท่าทัน สื่อ

       คนรู้เท่าทันสื่อเป็นอย่างดี จะควบคุมการใช้สื่อได้มากกว่า เพราะรู้ว่าจะจัดการกับสารต่างๆ ที่ประดังเข้ามาด้วยมุมมองใด ในทางตรงข้ามคนที่มีความรู้เกี่ยวกับสื่ออย่างจำกัดก็จะไม่สามารถรับมือกับสื่ออย่างเท่าทัน

การรู้เท่าทันสื่อ คือ ความสามารถป้องกันตนเองจากการถูกจูงใจจากเนื้อหาของสื่อการสามารถวิเคราะห์เนื้อหาของสื่ออย่างมีวิจารณญาณ เพื่อให้สามารถควบคุมการตีความเนื้อหาของสื่อที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย นั่นคือ การที่เราไม่หลงเชื่อเนื้อหาที่ได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟัง แต่สามารถคิด วิเคราะห์ แยกแยะ และรู้จักตั้งคำถาม


5 องค์ประกอบของการรู้เท่าทันสื่อที่เราต้องมี ได้แก่

1.การเปิดรับสื่อ

การเปิดรับการเข้าใจการวิเคราะห์สื่อ คือ การรู้เท่าทันการเปิดรับสื่อของประสาทสัมผัส หู ตา จมูก ลิ้น สัมผัสของเรา ซึ่งเมื่อเปิดรับแล้วสมองจะสั่งการให้คิดและปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์ต่าง ๆ ตามมา การรู้เท่าทันสื่อในขั้นของการรับรู้อารมณ์ตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องแยกความคิดและอารมณ์ออกจากกัน และความคิดจะทำให้เรารับรู้ความจริงว่า“อะไรเป็นสิ่งที่สื่อสร้างขึ้น”เป็นต้น

2.การวิเคราะห์สื่อ

คือ การแยกแยะองค์ประกอบในการนำเสนอของสื่อว่ามีวัตถุประสงค์อะไร

3.การเข้าใจสื่อ

คือ การตีความสื่อหลังจากเปิดรับสื่อไปแล้ว เพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่สื่อนำเสนอ ซึ่งผู้รับสารแต่ละคนก็จะมีความเข้าใจสื่อได้ไม่เหมือนกันตีความไปคนละแบบ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ พื้นฐานการศึกษาคุณสมบัติในการเรียนรู้ ตลอดจนการรับรู้ข้อมูลของแต่ละบุคคลที่ไม่เท่ากันมาก่อน

4.การประเมินค่า

หลังการวิเคราะห์และทำความเข้าใจสื่อแล้ว เราควรประเมินค่าสิ่งที่สื่อนำสนอว่ามีคุณภาพและคุณค่ามากน้อยเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นด้านเนื้อหา วิธีนำเสนอเทคนิคที่ใช้ เป็นต้น

5.การใช้สื่อให้เกิดประโยชน์

แม้เราจะสามารถวิเคราะห์ เข้าใจ และประเมินค่าสื่อได้ แต่เราไม่สามารถออกไปจากโลกของสื่อได้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องปฏิบัติดังนี้ คือ

– นำสิ่งที่เราวิเคราะห์ไปใช้ประโยชน์

– เลือกรับสื่อเป็น

– สามารถส่งสารต่อได้

– มีปฏิกิริยาตอบกลับสื่อได้

5 องค์ประกอบนี้เป็นพื้นฐานอันดีของการเป็นผู้ผลิตสื่อที่ดี สำหรับผู้ที่สามารถคิดวิเคราะห์ เข้าใจธรรมชาติของสื่อได้เป็นอย่างดีแล้วเราอาจเป็นผู้ผลิตสื่อเอง โดยก่อให้เกิดสื่อดีๆ มีประโยชน์เพื่อสังคม โดยการวางแผนการจัดการสื่ออย่างเหมาะสมและเลือกข้อมูลเพื่อคิดเขียน พูดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการภายใต้การผลิตสื่อที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมองค์ประกอบนี้เป็นพื้นฐานอันดีของการเป็นผู้ผลิตสื่อที่ดี


กิจกรรมฝึกทักษะ

จากคลิปวีดีโอนี้ ตัวละครสอนเรื่องอะไร

…………ไม่ซื้อของกินเยอะ

…………เด็กๆควรซื้อหนังสือ

…………รู้เท่าทันสื่อโฆษณา


ถ้านักเรียนเห็นรูปฟ้าใสแบบในคลิปวีดีโอ นักเรียนจะทำอย่างไร






อ้างอิง

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) , “5 องค์ประกอบของการรู้เท่าทันสื่อ” สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2563

รู้เท่าทันสื่อ คือ ทักษะ หรือความสามารถในการ "ใช้สื่ออย่างรู้ตัว" และ "ใช้สื่ออย่างตื่นตัว"
"การใช้สื่ออย่างรู้ตัว"
   - สามารถตีความ วิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาสาระของสื่อ
   - สามารถโต้ตอบกับมันได้อย่างมีสติและรู้ตัว
   - สามารถตั้งคำถามว่าสื่ิถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร เช่น ใครเป็นเจ้าของสื่อ ใครผลิต และผลิตภายใต้ข้อจำกัดใด ควรเชื่อหรือไม่ หรือมีค่านิยมความเชื่ออะไรที่แฝงมากับสื่อนั้น พวกที่ผลิตสื่อหวังผลอะไรจากเรา

"การใช้สื่ออย่างตื่นตัว"
   - สามารถอธิบายหรือขยายความได้ว่า แทนที่เราจะเป็นฝ่ายตั้งรับอย่างเดียว เราก็จะต้องเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายรุกบ้าง โดยการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เข้าถึงสื่อที่หลากหลายและมีคุณภาพ
   - สามารถใช้สื่อให้เกิดประโยชน์

        มีส่วนร่วมที่พัฒนาสื่อต่างๆ ให้ดีขึ้น เช่น ท้วงติงหรือร้องเรียนเมื่อพบสื่อที่ไม่เหมาะสม เรียกร้องสิทธิในฐานะเป็นผู้บริโภคสื่อ ฯลฯ

ทำไมถึงต้องรู้เท่าทันสื่อ
        การใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องมี "สติและปัญญา" ในการเลือกรับข่าวสาร ไตร่ตรอง และใช้ข้อมูล เหล่านั้นให้เกิดประโยชน์
   - มีทางเลือกมากขึ้นในการบริโภคและการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะรู้ว่าจะจัดการกับสื่อและสารต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามาหาเราด้วยมุมมองแบบไหน (สามารถต่อรองกับด้านลบของสื่อ และนำเอาด้านบวกจากสื่อมาใช้)

  - การรู้เท่าทันสื่อยังเป็นการเพิ่มพลังและอำนาจให้แก่ตัวเอง ในการควบคุมความเชื่อและพฤติการณ์ส่วนตัวของเราได้ เช่น ไม่เชื่อตามโฆษณา ว่าคุณค่าหรือความงามอยู่ที่ผิวขาวหรือผมสวย จึงไม่จำเป็นต้องซื้อสินค้าด้วยเหตุผลนั้น แต่ดูคุณภาพและประโยชน์จริงๆ ของสินค้า เป็นต้น

ประโยชน์ของการรู้เท่าทันสื่อ
        คนรู้เท่าทันสื่อเป็นอย่างดี จะควบคุมการใช้สื่อได้มากกว่า เพราะรู้ว่าจะจัดการกับสารต่างๆ ที่ประดังเข้ามาด้วยมุมมองใด ในทางตรงข้ามคนที่มีความรู้เกี่ยวกับสื่ออย่างจำกัดก็จะไม่สามารถรับมือกับสื่ออย่างเท่าทัน

        ผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ สามารถจำแนกระดับการเรียนรู้เท่าทันสื่อออกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้
   1. ตระหนักในความสำคัญของการเลือกและจัดสรรเวลาตนเองในการใช้สื่อ
   2. เรียนรู้ทักษะการดูแบบวิพากษ์ สามารถวิเคราะห์และตั้งคำถามว่าสื่อถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร และควรเชื่อสื่อหรือไม่
   3. สามารถวิเคราะห์สื่อในเชิงสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม จนนำไปสู่การสร้างเวทีทางสังคม

ข้อ ใด ต่อไปนี้ เป็น ประโยชน์ ของการรู้ เท่าทัน สื่อ

http://bcp.nbtc.go.th/knowledge/detail/320
http://bcp.nbtc.go.th/knowledge/detail/307
http://bcp.nbtc.go.th/knowledge/detail/306
ข้อ ใด ต่อไปนี้ เป็น ประโยชน์ ของการรู้ เท่าทัน สื่อ