แผนกจัดซื้อในโรงแรม ทําอะไรบ้าง

ธุรกิจโรงแรม เป็นธุรกิจบริการที่มีตำแหน่งงานหลากหลาย ซึ่งคุณสามารถหางานได้หลากหลายตำแหน่ง ในหลายแผนก ช่องทางหงานก็ไม่ยาก คุณสามารถหางานจากทางออนไลน์  Jobnsure มีงานโรงแรม มากมายหลายตำแหน่ง อัพเดททุกวัน มาให้คุณค้นหาและสมัคร แต่ก่อนที่คุณจะกดสมัครงาน มาเรียนรู้แผนกงานต่างๆ ตำแหน่งงานโรงแรมต่างๆ กันครับ

แผนกจัดซื้อในโรงแรม ทําอะไรบ้าง

  • แผนกต้อนรับส่วนหน้า (Reception)
  • แผนกแม่บ้าน (Housekeeping)
  • แผนกครัว (Chef)
  • แผนกบัญชี (Accounting)
  • แผนกขายและการตลาด (Sale & Marketing)

แผนกต้อนรับส่วนหน้า (Reception)

แผนกต้อนรับส่วนหน้าเป็นแผนกที่ทุกโรงแรมต้องมี เมื่อมีแขกเข้ามาในโรงแรม ก็ต้องเดินมาที่เคาเตอร์แผนกต้อนรับก่อนเสมอ พนักงานต้อนรับมีหน้าที่ต้อนรับแขก ตรวจสอบข้อมูลการจองห้องพัก และขอให้แขกลงทะเบียน และชำระค่าห้องพัก แผนกต้อนรับ หรือสำนักงานส่วนหน้านั้นอาจเปรียบได้กับศูนย์รวมเส้นประสาท (nerve center) หรือศูนย์ประสานงานของโรงแรม และมีบทบาทสำคัญในการติดต่อประสานงานกับแผนกอื่น ๆ ในโรงแรมเพื่อช่วยเหลือเรื่องต่าง ๆ เมื่อแขกเรียกร้อง แผนกต้อนรับส่วนหน้าแบ่งออกเป็นหน่ยงานย่อยๆ ดังนี้

  1. ผู้จัดการสำนักงานส่วนหน้า (Front Office Manager)
  2. พนักงานต้อนรับ (Reception)
  3. พนักงานสัมภาระ (Hall Porter)
  4. พนักงานสัมภาระภาคกลางคืน (Night Porter)
  5. พนักงานรับโทรศัพท์ (Telephone หรือ Telephone Operator)
  6. เจ้าหน้าที่สำรองห้องพัก (Reservations Clerk)
  7. พนักงานแคชเชียร์ (Cashier)

แผนกแม่บ้าน (Housekeeping)

ในบางโรงแรมแผนกแม่บ้านทั้งหมดจะขึ้นตรงกับผู้จัดการใหญ่ (General Manager) แต่บางโรงแรมก็ขึ้นตรงกับผู้จัดการส่วนหน้า (Front of House Manager) ในแผนกแม่บ้านจะมี หัวหน้าแม่บ้าน (Head Housekeeper) ทำหน้าที่คอยดูแลตรวจตราการทำงานของผู้ช่วยแม่บ้าน หรือแม่บ้านประจำฟลอร์ (Floor Housekeeper หรือ Assistant Housekeeper) ซึ่งปกติจะมีประมาณ 3 คนขึ้นไป ในกรณีเป็นโรงแรมขนาดเล็ก หัวหน้าแม่บ้านก็จะดูแลรับผิดชอบงานแผนกแม่บ้านทั้งหมด ในการทำงานเป็นหัวหน้าแผนกแม่บ้านต้องทำงานประสานอย่างใกล้ชิดกับแผนกต้อนรับส่วนหน้าที่เกี่ยวกับห้องพักที่พร้อมจะขาย(ให้เช่า) ได้ อีกทั้งต้องประสานงานกับแผนกซ่อมบำรุงเพื่อให้ช่วยซ่อมอุปกรณ์ต่างๆ ที่อาจจะชำรุดเสียหายทั้งภายในห้องพักและบริเวนอื่นในโรงแรม

แผนกครัว (Kitchen)

ในโรงแรมขนาดใหญ่ที่มีห้องอาหารหลายห้องและบาร์เครื่องดื่มอยู่หลายจุด มักจะมีตำแหน่งและบุคคลที่มีหน้าที่ ผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Manager) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบงานทุกแผนกที่เกี่ยวข้องกับด้านอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องทำงานประสานกับหัวหน้าแผนกครัว (Head Chef) อย่างใกล้ชิด

หน้าที่งานหลัก ๆ ของผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ การสรรหาคัดเลือกและฝึกอบรมพนักงาน วางแผนและควบคุมการจัดซื้อของ ดูแลให้การจัดเตรียมอาหารเป็นไปโดยมีมาตรฐานสูง ตลอดจนกำหนดและควบคุมงบประมาณที่เกี่ยวข้องกุ๊กทำงานอะไรบ้าง แผนกครัว แบ่งย่อยเป็นแผนกต่างๆ ดังนี้

  1. ผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Manager)
  2. กุ๊กใหญ่ หรือ หัวหน้าแผนกครัว (Head Chef or Executive Chef)
  3. รองกุ๊กใหญ่ หรือรองหัวหน้าแผนกครัว (Second Chef or Sous Chef)
  4. หัวหน้าครัวหรือหัวหน้าหน่วยในครัว (Section Chef หรือ Chef de Partie)
  5. ผู้ช่วยกุ๊ก (Commia Chef)
  6. กุ๊กฝึกหัด (Apprentice หรือ Trainee Chef)
  7. พนักงานทำความสะอาดในครัว (Kitchen Porter/Kitchen Assistant)

แผนกบัญชี (Accounting)

แผนกบัญชี (Accounting) เป็นแผนกที่บริษัทไหนก็ต้องมี และต้องเน้นหรือเพิ่มประสิทธิภาพของกิจการ ก็จะให้ความสำคัญต่อการควบคุมด้านบัญชีและการเงิน พนักงานบัญชีจะต้องมีความเข้าใจในลักษณะงานต่าง ๆ ของระบบบัญชี และทำความคุ้นเคยกับลักษณะการดำเนินงานของโรงแรมอีกด้วย เช่น การควบคุมด้านอาหารและเครื่องดื่ม หรือระบบการเก็บเงินของแผนกต้อนรับส่วนหน้า พนักงานบัญชีที่ดีนั้นไม่ควรจำกันความสามารถ หรือหน้าที่เพียงการรวบรวมตัวเลขทางการเงินอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องทำความเข้าใจและตีความได้ว่าตัวเลขแบบใดเป็นตัวชี้ว่าเกิดปัญหาอะไร ขึ้น ตรงไหน และสามารถเข้าจัดการแก้ไขได้ แต่ในบางโรงแรม เวลาผู้จัดการใหญ่ไม่อยู่ ผู้จัดการฝ่ายการเงินมักจะเป็นผู้รักษาการแทน

แผนกขายและการตลาด (Sale & Marketing)

ตามโรงแรมใหญ่ ๆ มักจะมีเจ้าหน้าที่ชำนาญการเป็นผู้ดูแลการขายและการตลาดโดยเฉพาะ ได้แก่ ผู้จัดการแผนกขาย/การตลาด และทีมงาน ซึ่งมีงานหลัก ๆ ในการติดต่อกับลูกค้าที่จองเป็นกลุ่ม หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Group Bookings หรือที่ติดต่อมาเพื่อจัดประชุมหรือจัดงานเลี้ยงที่โรงแรม นอกจากนั้น แผนกขายจะทำหน้าที่ติดต่อกับบริษัททัวร์และบริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว รวมถึงการติดต่อกับบุคคลที่มีโอกาสเป็นลูกค้าของโรงแรม โดยไปหาด้วยตนเอง หรือติดต่อทางโทรศัพท์ หรือทางจดหมาย ส่วนแผนกการตลาดจะทำหน้าที่วางแผน และส่งเสริมงานขายด้วยวิธีส่งเอกสารถึงลูกค้าทางไปรษณีย์ (Direct mail selling) เช่น ส่งแผ่นพับโฆษราและเอกสารส่งเสริมการขายไปยังลูกค้า และการทำงานโฆษณาด้วย

ฝ่ายจัดซื้อ (Procurement) จัดว่าเป็นหน่วยงานหลักที่สำคัญทั้งในงานธุรกิจการผลิตและบริการ เพราะหากมีการบริหารงานฝ่ายจัดซื้อให้มีประสิทธิภาพดี จะทำให้บริษัทเกิดความสามารถทางการแข่งขันในทางธุรกิจได้ ในเรื่องของการลดต้นทุน การสร้างความแตกต่าง และการตอบสนองความต้องการลูกค้าหรือผู้บริโภค ดังนั้นในงานโลจิสติกส์และชัพพลายเชนจึงมองงานจัดซื้อว่ามีความสำคัญโดยจะได้รับการจัดแบ่งให้เป็น 1 ใน 6 กลุ่มงานหลักในระบบ SCOR เป็นส่วนหนึ่งภายใต้กลุ่มของทรัพยากร (Source) 

จากตัวอย่างจะเห็นว่าในสถาณการณ์ธุรกิจเดิมค่าใช้จ่ายด้านอื่นอาจลดได้ยากเพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกเช่น 

ผลกำไร (Profit) กำไรเกิดจากยอดขายสินค้ากับผลกำไรต่อสินค้า ซึ่งที่ยากจะเพิ่มยอดขายหรือราคาสินค้าในยุคที่มีการแข่งขันสูงและมีสินค้าคู่แข่งที่มาก

ต้นทุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ (Cost ETC) ที่ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดการที่ยากเพราะมีปัจจัยภายนอกที่กำหนดไว้เช่นค่าแรงคนงานค่าบริหารจัดการค่าขนส่งเป็นต้น 

ต้นทุนวัตถุในการผลิต (Input Supply) ในส่วนนี้จะทำได้ง่ายหากเริ่มจากการวางแผนจัดซื้อที่ดีเพียงสามารถปรับลดราคามูลค่าในการจัดซื้อลงได้ก็สามารถเพิ่มยอดกำไรให้แก่องค์กรได้ในทันที

แผนกจัดซื้อในโรงแรม ทําอะไรบ้าง

จากความสัมพันธ์ที่กล่าวมาผู้บริหารควรที่จะต้องมีการดูแลให้ความสำคัญในงานจัดซื้อให้ดี เพราะสามารถช่วยในการทำกำไรให้แก้องค์กรได้นอกจากนั้นการจัดซื้อช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อเนื่องได้สมบูรณ์เพราะหากซัพพลายเออร์ที่มีปัญหาเพียงรายเดียว อาจสร้างปัญหากระทบทั้งระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนทั้งองค์กรได้ แนวคิดการดำเนินการของฝ่ายจัดซื้อในปัจจุบันควรมี 10 เรื่องดังนี้

1. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องสามารถประสานสัมพันธ์ทั้งภายใน (หน่วยงานแผนกในองค์กร) และภายนอกบริษัท (คู่ค้า/ลูกค้า) เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของฝ่ายจัดซื้อจัดหาที่ดี พยายามให้เกิดขึ้นอย่างสมดุลและสามารถประสานงานได้ทุกส่วน ปรับลดบทบาทมาเป็นที่ปรึกษาและช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดหา มากกว่าการเป็นผู้ควบคุมกฎกติกาหรือบังคับใช้การจัดหาทรัพยากร

2. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องหาวิธีในการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในด้านวัตถุดิบหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีในราคาที่เหมาะสม ไม่เน้นใช้วิธีกดลดต้นทุนจากซัพพลายเออร์อย่างเดียว ควรคำนึงถึงในด้านของซัพพลายเออร์โดยใช้ประสิทธิภาพในการจัดส่งมาประกอบเพิ่มเติม ไม่ควรเน้นการบีบลดราคากับชัพพลายเออร์จนเกิดความไม่เป็นธรรม 

3. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องมีมุมมองและวิธีคิดในด้านประสิทธิภาพซัพพลายเออร์มากขึ้น โดยอาจใช้การประเมินในเรื่อง ต้องทำได้ดีกว่า (Better) ต้นทุนถูกกว่า (Cheaper) ซื้อได้เร็วกว่า (Faster) และมีความเชื่อถือไว้วางใจได้มากกว่า (More Reliability)

4. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องทราบถึงปัญหาจากพฤติกรรมการสั่งซื้อของตนที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเช่น การสั่งซื้อแบบเร่งด่วน การไม่มีแผนงานระยะยาวในการสั่งซื้อ หรือการปรับเปลี่ยนเวลาในการจัดส่ง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นให้ส่ง เร็วหรือช้าล้วนแล้วแต่เป็นต้นทุนทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อซัพพลายเออร์เกิดค่าใช้จ่ายสุดท้ายค่าใช้จ่ายเหล่านั้นก็จะถูกผลักมาที่ผู้ซื้อ

5. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องกำหนดวิธีเลือกซัพพลายเออร์ อาจใช้หลัก Supply Positioning Model ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์แยกแยะสินค้าและบริการ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ในการจัดซื้อเพื่อใช้วางแผนการทำงานทั้งภายในบริษัทและในซัพพลายเชนให้มีความต่อเนื่อง  หาดูว่าการดำเนินงานของเราเอง เป็นต้นเหตุที่ทำให้ซัพพลายเออร์มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ โดยฝ่ายจัดซื้อ ต้องพิจารณาตนเองให้ได้ว่า ในมุมมองของซัพพลายเออร์มีมุมมองต่อเราอย่างไรอาจใช้หลัก Supplier Preferencing Model มามองกลับหาความสัมพันธ์ที่มีซึ่งทำให้ฝ่ายจัดซื้อรู้ว่าซัพพลายเออร์คิดหรือมองฝ่ายจัดซื้ออย่างไรเช่น เราเป็นบริษัทที่น่าสนใจหรือน่าคบเพียงไหนอย่างไร ควรพิจารณาในหลายด้านไม่ว่าจะเป็น ชื่อเสียง ขนาดของบริษัท ยอดการสั่งซื้อ ความถี่ในการติดต่อสม่ำเสมอเพียงใด การเงินมีระบบการชำระเงินอย่างไร อัธยาศัยไมตรีที่มีในการติดต่อ เป็นต้น

6.  ฝ่ายจัดซื้อ ต้องนำแนวคิดทางการตลาดมาใช้ช่วยให้มากขึ้น เพื่อให้ฝ่ายจัดซื้อสามารถพิจารณาและบริหารจัดการทางการตลาดได้ดีกว่าคู่แข่งขัน อาจใช้เครื่องมือ Market Management Matrix ที่ช่วยจัดซื้อรู้ว่าควรต้องทำอะไรอย่างไรกับใครเช่น ต้องสร้างพันธมิตรธุรกิจกับซัพพลายเออร์รายใดในระดับใด จะต้องเพิ่มธุรกิจให้ชัพพลายเออรรายใดให้มีความสามารถอยู่ได้เพื่อเป็นทางเลือก ควรต้องเพิ่มความระมัดระวังในการสั่งสินค้าตัวใด ควรต้องเปลี่ยนซัพพลายเออร์รายใดเมื่อใด ควรประเมินประสิทธิภาพชัพพลายเออร์เพื่อจัดแบ่งกลุ่ม และหาวิธีจัดการซัพพลายเออร์แต่ละรายให้เหมาะสม

7. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องเข้าไปสังเกตการณ์และการให้ความช่วยเหลือซัพพลายเออร์ในบางเรื่องเช่น การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน ควรอธิบายให้ซัพพลายเออร์เข้าใจถึงปัญหาและความจำเป็นที่จะต้องมีการทำราคาให้ต่ำลง (Cost Down) โดยเข้าใจในหลักที่ว่าหากมีคู่แข่งขันที่สามารถทำต้นทุนได้ถูกกว่าซัพพลายเออร์เดิม ทางฝ่ายจัดซื้อบริษัทก็จะต้องปรับการสั่งซื้อจากแหล่งที่มีราคาถูกกว่า เพื่อให้ต้นทุนการผลิตของบริษัทฝ่ายจัดซื้อมีมูลค่าที่ต่ำและสามารถแข่งขันได้ในตลาดต่อไป อาจมีการเข้าไปสังเกตการณ์บริษัทซัพพลายเออร์ วิเคราะห์กระบวนการไปถึงวิธีการผลิต การใช้เทคโนโลยี วิธีการทำงาน เป็นต้น เพื่อช่วยหาวิธีที่จะลดต้นทุน บางครั้งในฐานะคนนอกเมื่อเข้าไปดูก็จะมองเห็นปัญหาของต้นทุนที่เกิดขึ้นดีกว่าฝ่ายที่ทำมาต่อเนื่องจนคุ้นชิน และทำการให้ข้อแนะนำและเสนอแนวทางปรับปรุงลดต้นทุนต่อไป

8. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องเริ่มนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) เข้ามาประยุกต์ใช้ในงานกระบวนการจัดซื้อเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีขึ้น การใช้ระบบดังกล่าวเช่น ระบบบริหารความต้องการทรัพยากร (MRP), ระบบบริหารความต้องการในการผลิต (MRP II) หรือระบบบริหารทรัพยากรในองค์กร (ERP) เป็นต้น เพื่อจะทำให้องค์กรมีข้อมูลในการประมวลผลที่ถูกต้อง รวดเร็ว และความน่าเชื่อถือ เพื่อให้การติดตามความต้องการขององค์กรทั้งในเรื่อง วัตถุดิบ เครื่องมือ อุปกรณ์ วัตถุสำเร็จรูป รวมถึงเรื่องการเงิน โดยนำข้อมูลที่เก็บไว้มาทำการวางกลยุทธ์ในการจัดซื้อในทุกระดับเช่น ระดับปฏิบัติการ ระดับบริหาร และระดับองค์กรธุรกิจ ใช้วิเคราะห์กระบวนการทำงานและประเมินผลในการทำงาน ใช้ประกอบการตัดสินใจปรับปรุงการทำงานในครั้งต่อไป 

9. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องมีการทำวิจัยวัดประสิทธิภาพการจัดซื้ออย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากที่มีการทำงานจัดซื้อไปสักระยะหนึ่ง แนวคิดและรูปแบบระบบการทำงานอาจไม่สามารถสนับสนุนหรือสอดคล้องกับสภาพปัจจุบันหรือสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นควรต้องมีการกำหนดแผนวิจัยในเรื่องการจัดซื้อเพื่อให้สามารถสะท้อนการทำงานในองค์กร ให้เห็นถึงสภาพปัญหาการจัดซื้อเพื่อสร้างแบบจำลองในการจัดซื้อที่เหมาะสมกับการทำงานต่อไป

10.  ฝ่ายจัดซื้อ ต้องมีนโยบายที่เกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันกระแสสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่มักถูกนำมากล่าวถึง ดังนั้นฝ่ายจัดซื้อควรต้องนำเรื่องนี้มาประกอบการพิจารณา ควรให้ความสำคัญกับซัพพลายเออร์ที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility: CSR) ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ อาจดูจากมาตรฐานที่มีประกอบเช่น ISO เป็นต้น ซึ่งการเลือกซัพพลายเออร์ที่มี CSR ดี ก้จะเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมสร้างภาพต่อเนื่องที่ดีให้กับสินค้าและบริการของเรา

จะเห็นว่าจากการนำเอาภาระกิจงานทั้ง 10 เรื่อง จะช่วยให้เราสามารถทำการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรที่ดี มีความสามารถในการสร้างประสิทธิภาพในการแข่งขันขององค์กรได้

จัดซื้อโรงเเรมทำอะไรบ้าง

ทำหน้าที่ดำเนินการซื้อเมื่อจำเป็นและรายงานการสั่งซื้อตามความจำเป็น เตรียมความพร้อมดูแลรักษาและการตรวจสอบการจัดซื้อและไฟล์รายงานและรายการราคา ติดตามความเคลื่อนไหวของสินค้า เพื่อจุดประสงค์ในการทำบัญชี ดูแลและตรวจสอบสต็อค

ตําแหน่งในโรงแรม มีอะไรบ้าง

การจัดแบ่งแผนกงานต่างๆ ในโรงแรม ตอนแผนกต้อนรับ.
1. ผู้จัดการสำนักงานส่วนหน้า (Front Office Manager) ... .
2. พนักงานต้อนรับ (Reception) ... .
3. พนักงานสัมภาระ (Hall Porter) ... .
4. พนักงานสัมภาระภาคกลางคืน (Night Porter) ... .
5. พนักงานรับโทรศัพท์ (Telephone หรือ Telephone Operator) ... .
6. เจ้าหน้าที่สำรองห้องพัก (Reservations Clerk).

เจ้าหน้าที่จัดซื้อ คืออะไร

ฝ่ายจัดซื้อ (Procurement) จัดว่าเป็นหน่วยงานหลักที่สำคัญทั้งในงานธุรกิจการผลิตและบริการ เพราะหากมีการบริหารงานฝ่ายจัดซื้อให้มีประสิทธิภาพดี จะทำให้บริษัทเกิดความสามารถทางการแข่งขันในทางธุรกิจได้ ในเรื่องของการลดต้นทุน การสร้างความแตกต่าง และการตอบสนองความต้องการลูกค้าหรือผู้บริโภค ดังนั้นในงานโลจิสติกส์และชัพพลายเชนจึง ...

ผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อมีหน้าที่อะไร

1. บริหารจัดการงานจัดซื้อ จัดจ้าง ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ 2. ควบคุม กำกับ ระบบงานจัดซื้อ จัดจ้างให้ได้ตามเป้าหมายในระยะเวลาที่กำหนด 3. จัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอให้กับผู้บังคับบัญชา 4. พัฒนาระบบงานจัดซื้ออย่างต่อเนื่อง สามารถแข่งขันกับตลาดได้