อารยธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านวรรณกรรม

อารยธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


          ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลอารยธรรมอินเดียโดยได้ผสมผสานอารยธรรมดั่งเดิมที่มีอยู่แล้ว สามารถศึกษาถึงความสัมพันธ์กันของสองอารยธรรมได้ดังนี้
          ๑. การแลกเปลี่ยนมีมาตั่งแต่ช่วงวัฒนธรรมหินใหม่หรือช่วงสังคมเกษตร หลักฐานที่พบคือ พบขวานหินขัดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและขวานหินแบบมีบ่าอายุในช่วง ๔,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ ปี แพร่กระจายไปดินแดนหนึ่งในอินดีย กับ ชนเผ่าในอินโดนีเชีย และพวกจาม
          ๒. คำภีร์มหาวงศ์ที่เขียนขึ้นในพ.ศ.ว.ที่ ๑๑ – ๑๒ กล่าวถึงการสังคยนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ ในช่วงพ.ศ.ว.ที่ ๓ พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งสมณทูตมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดน “สุวรรณภูมิ”
          ๓. ชาดก มิลินทปัญหา มหานิเทศ และมหากาพย์รามยณะ มักจะกล่าวถึงพ่อค้าที่ชอบเล่นเรือมาค้าขายในแถบตะวันออกที่เรียกว่า “สุวรรณภูมิ” หรือ “สุวรรณประทีป”

การเผยแพร่อารยธรรมอินเดียในเอเชียตะวันอออกเฉียงใต้ดังนี้
          ๑. มีการติดต่อค้าขายทองคำจากอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแต่เดิม อินเดียซื้อจากอาณาจักรโรมัน
          ๒. การต่อเรือของชาวอินเดียพัฒนาขึ้น มีการเพิ่มจำนวนเรือในการเดินทางมาซื้อขายมากขึ้น นอกจากพ่อค้าแล้ว ยังมีนักบวชของลัทธิต่าง ๆ ช่างฝีมือรวมถึงเหล่าบรรดานักปราชญ์ได้ร่วมเดินทางเข้ามาด้วย ซึ่งนำอารยธรรมอินเดียเข้ามาเผยแพร่ตามเมืองท่าต่าง ๆ ที่ตนตั้งเป็นอาณานิคม
          ๓. ชาวอินเดียรู้จักวิถีของลมมรสุมที่พัดพาเรือมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพัดกลับสู่อินเดียดีจึงเพิ่มจำนวนเที่ยวในการเดินทาง
          ๔. สมมุติฐานพราหมณ์หรือพระ ในช่วงที่ศาสนาพุทธได้รับความนิยมในอินเดีย ทำให้พราหมณ์เสียผลประโยชน์ อีกทั้งพราหมณ์ที่เคยมีบทบาทในราชสำนักก็ถูกลดบทบาทลง ทำให้พราหมณ์บางกลุ่มต้องออกเดินทางหาที่พักพิงแห่งใหม่

เหตุผลที่รับเอาวัฒนธรรมอินเดียเข้ามา
          ๑. ชุมชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ขยายตัวใหญ่ขึ้น ต้องการความควบคุมให้ได้อย่างทั่วถึง
          ๒. ต้องการวิทยาการชั้นสูงจากอินเดียและคำแนะนำจากผู้รู้ เพื่อแผ่ขยายอำนาจ พวกพราหมณ์จึงได้เข้ามามีบทบาทเช่น ยกระดับให้ผู้นำให้เป็นสมมุติเทพ การปกครองระบบศักดินา จตุสดมภ์ การปกครองหัวเมืองตามแบบอินเดียมาใช้ ในด้านกฎหมายก็ใช้กฎหมายพระธรรมศาสตร์ การสร้างเมืองใช้อุดมคติแบบเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
          ๓. ตำนานการก่อตั่งราชวงศ์ของอินเดีย ช่วยสนับสนุนอำนาจของผู้นำ ให้เป็นผู้นำโดยถูกต้อง และชอบธรรม เพื่อรักษาดินแดนไว้ให้เผ่าของตน และลูกหลานของตน

รัฐโบราณแรกรับอารยธรรมอินเดียคือ อาณาจักรฟูนัน (คริสศตวรรษที่ ๑ – ๖)
          อาณาจักรฟูนันตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำโขง ปกครองในระบบกษัตริย์และรับระบบศักดินามาจากอินเดีย ชนชั้นปกครองนับถือศาสนาพราหมณ์ไวษณพนิกาย ส่วนชาวพื้นเมืองมีทั้งนับถือศาสนาพราหมณ์ไวษณพนิกาย และศาสนาพุทธนิกายหินยานที่ใช้คัมภีร์สันสกฤต ฟูนันเป็นอาณาจักรแรกในเอเชียตะวันออกที่ใช้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาราชการ
          รัฐโบราณที่รับอารยธรรมอินเดียต่อมาคือ จามปา เจนละ ทวารวดี ศรีวิชัย ขอม เป็นตน

วัฒนธรรมสำคัญที่อินเดียนำมาเผยแพร่ในประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
          - ระบบการปกครอง ระบบกษัตริย์ หลักเทวราชาเพื่อเสริมอำนาจให้กับกษัตริย์ ลักษณะการปกครองแบบนี้เด่นชัดที่สุดในเขมรและในประเทศไทย
          - การจัดตั่งรัฐแบบอินเดีย คติการสร้างเมืองในคติศูนย์กลางของจักรวาล
          - กฎหมายจากอินเดียพระมนูธรรมศาสตร์เพื่อมาเป็นแม่บทของกฎหมายเดิมที่มีอยู่
          - การใช้ตราประทับที่เป็นสื่อกลางติดต่อสื่อสารระหว่างสถาบันกษัตริย์ ศาสนา เอกชนหรือหมู่คณะเพื่อผลทางการเมือง
          - งานวรรณกรรม เช่น รามเกียรติ์ ภควัตคีตา ซึ่งมีอิทธิพลต่อความรู้สึก ความคิด ของคนในภูมิภาคนี้
          - ศาสนาพราหมณ์ และพุทธ หลักความเชื่อต่าง ๆ การนับถือเทพเจ้าต่าง ๆ การนับถือยอดเขา
          - รูปแบบการสร้างพระพุทธรูป และเทวรูป งานสถาปัตยกรรม ปราสาท เทวสถาน
          - ภาษาสันสกฤตที่ใช้ในราชการ ภาษาบาลีในพระไตรปิฎกที่ใช้ในพระพุทธศาสนาในนิกายเถรวาท
          - เครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนกีฬาบางประเภท ซึ่งชาวพื้นเมืองได้นำมาดัดแปลงใช้ให้เหมาะสมกับตนเอง

นอกจากอารยธรรมอินเดียแล้ว SEA ยังได้รับวัฒนธรรมจีนด้วย เนื่องจากที่ต้องติดต่อค้าขายกับจีน จึงทำให้ประเทศต่าง ๆ ต้องยอมรับเงื่อนไขของจีน ต้องการส่งเครื่องราชบรรณาการไปจีนตามที่จีนกำหนด อีกทั้งยังให้จีนยอมรับความเป็นเอกราชของรัฐต่าง ๆ ทำให้จีนมีอิทธิพลทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจต่อประเทศ SEA
          อย่างไรก็ตามจีนได้เข้ามามีอิทธิพลในเวียดนาม ในฐานะที่เวียดนามเป็นประเทศราช จึงทำให้เวียดนามได้รับวัฒนธรรมมากกว่าชาติอื่น ๆ ใน SEA
          วัฒนธรรมจีนที่เวียดนามรับเข้ามาเช่น
          - การปกครองแบบโอรสสวรรค์
          - การสอบเข้าราชการ โดยการสอบไล่ยึดตามตำราคราสสิกของขงจื้อ
          - ยึดถือระบบครอบครัวและหลักปฏิบัติการอยู่ในสังคมตามคตินิยมของขงจื้อ
          - ศาสนาพุทธนิกายมหายานแบบจีน
          - งานวรรณคดี และอักษรศาสตร์
          อารยธรรมทั้งสองได้ถูกหลอมลวมกันอย่างกลมกลืนจนทำให้ประชาชนชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สร้างชาติ สร้างบ้านเมือง สร้างคนให้จนเจริญรุ่งเรือง มีอิทธิพลต่อรูปแบบการดำรงชีวิตและความคิดของผู้คนในภูมิภาคนี้อย่างฝังรากลึกอยู่ในสายเลือด และยังได้สอดแทรกอยู่ในประเพณีของแต่ละประเทศได้อย่างเหมาะสม ลงตัว พอดี สืบต่อเรื่อยมาหลายร้อยหลายพันปีและอยู่คู่กับชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สืบต่อไปอีกยาวนาน


อธิบายคำเพิ่มเติม
พระมนูธรรมศาสตร์
          ตามตำนานกล่าวว่า พระ มะโนสารฤษี หรือมนูสารเป็นผู้สืบเชื่อสายมาจากเท้ามหาพรหม ท่านได้ตัวบทกฎหมายมาจากกำแพงจักรวาลในสมัยที่อายุของมนุษย์ได้ “อสงไขยหนึ่ง” พระมะโนสารฤๅษีได้จดจำตัวบทนั้นมาอย่างครบถ้วน และกลับลงมาจากสวรรค์แล้วนำมาเขียนไว้เป็นคำภีร์ธรรมศาสตร์ไว้เป็นหลักให้ผู้ปกครองไว้ใช้ในการปกครองประเทศ
          เนื่องจากสังคมใน SEA มีการร่วมตัวกันใหญ่มากขึ้น มีสังคมซับซ้อนขึ้น มีการปกครองโดยหัวหน้าชุมชน จึงจำเป็นต้องมีตัวบทกฎหมายขึ้นมาเพื่อบังคับใช้ให้ประชาชนได้ดำเนินแนวทางในแบบเดียวกัน และเพื่อให้เกิดความสุขในชุมชน เนื่องสังคมได้พัฒนามากขึ้นมีการติดต่อค้าขายระหว่างรัฐมากขึ้น โดยเฉพาะชาวอินเดียกับชาว SEA ในการมาค้าขายแต่ละครั้งของชาวอินเดียนั้นได้นำผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามด้วย จำนวนมากเช่นพวกพราหมณ์ หนึ่งในนั้นมีผู้นำคัมภีร์พระมนูธรรมศาสตร์เข้ามาเผยแพร่ใน SEA ผู้ปกครองใน SEA กฎหมายฉบับนี้มาเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเทวราชาซึ่งนอกเหนือจากการเสริมอำนาจของผู้นำแล้ว ยังมุ่งให้ความยุติธรรมแก่สังคมด้วย ซึ่งกำหมายพระมนูธรรมศาสตร์นี้จะเป็นแม่บทของกฎหมายแต่ละชุมชน

อาณัติสวรรค์
           คือคตินิยมความชอบธรรมตามแบบอารยธรรมจีนที่มีหลักการว่า อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจที่สวรรค์มอบหมายประทานมาให้แก่ผู้ที่มีความรู้ความสามารถและความประพฤติชอบธรรมตามคติของขงจื๊อ ผู้ที่รับมอบหมายอาณัติจากสวรรค์จะถือว่าเป็นคตินิยมที่มีคุณค่าแก่ตน ถือว่าตนเป็นผู้อภิบาลประชาชน แผ่นดิน เรือกสวนไร่นา ต้นไม้ ภูเขา สายน้ำ เหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายในแผ่นดิน ปราบคนชั่ว แก้ไขความทุกข์ยากของราษฎร์ ผู้ได้รับอาณัติจากสวรรค์จะมีความชอบธรรมในการปกครองแผ่นดิน ผู้ปกครองทุกคนจะต้องปฏิบัติอาณัติสวรรค์อย่างถึงพร้อม แต่เมื่อใดที่ไร้ความสามารถ แต่เมื่อใดที่ไร้ความสามารถ ปล่อยปละละเลยทำให้เกิดความทุกข์ร้อนขึ้นในแผ่นดิน สวรรค์จะเรียกอาณัตินั้นคืน และส่งมอบให้กับบุคคลที่มีความสามารถคนต่อไป ผู้ที่รับอาณัติจากสวรรค์เรียกว่า โอรสสวรรค์

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง

อารยธรรมอินเดียด้านวรรณกรรมมีอะไรบ้าง

วรรณกรรมอินเดียที่มีอิทธิพล ได้แก่ รามายณะ มหาภารตะ คัมภีร์ปุราณะและเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับธรรมเนียมกษัตริย์ การสืบราชวงศ์ตามแบบธรรมเนียมโบราณของราชวงศ์ในลุ่มแม่น้ำคงคา วรรณกรรมอินเดียมีอิทธิพลต่อชีวิตชาวบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย โดยการเล่า การอ่านนิทานแสดงเกี่ยวกับเนื้อเรื่องในวรรณกรรม การแสดงหุ่นกระบอก หนัง ...

วรรณกรรมที่มีชื่อเสียงของอินเดีย คืออะไร

คณะ 2515 467) วรรณคดีสำคัญของอินเดีย เช่น มหากาพย์ รามายณะ และ มหาภารตะ จึงแพร่หลายในภูมิภาคนี้ ดังปรากฏว่ามีนิทานพระราม หรือ รามายณะ อยู่ด้วยกันทุกประเทศ เช่น ชวา มลายู ไทย เขมร ลาว พม่า จีน ฯลฯ เดิมที่นิทานพระ นิทานพระราม เป็นนิยายปรัมปราที่เล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัย

อารยธรรมอินเดียมีอิทธิพลต่อรัฐโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านใด

อารยธรรมอินเดียมีผลต่อ ลักษณะการด าเนินชีวิตของไทยและ ผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลายด้าน เช่น - ด้านศาสนา - ด้านกฎหมาย - ด้านการปกครอง - ด้านศิลปะวิทยาการ - ด้านอักษรศาสตร์ - ด้านภาษา - ด้านวิถีชีวิต Page 12 ด้านศาสนา

วรรณกรรมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียมีอะไรบ้าง

หลวง ไตรภูมิพระร่วง โองการแช่งน้ำ มงคลสูตร านันท์ เป็นต้น ง. ได้อิทธิพลจากความคิดความเชื่อและขนบนิยมการแต่ง เช่น ปัญญา ชา ก บทละคร เรื่อง มัทนะพาธา นิทานและบทละครจักรๆ วงศ์ๆ การกล่าวถึงวรรณคดีไทยที่ได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีอินเดีย อาจกล่าวได้หลายแง่มุม