การแต่งกายของผู้หญิงชาววังในสมัยสุโขทัยเป็นอย่างไร

ทำผมเกล้ามวย หรือถักเปียเป็นจอมสูงเหนือศีรษะ ใช้ผ้าสลับสีรัดเกล้าไว้ตรงกลาง   แล้วปล่อยชายผมลงมาหรือเกล้าแล้วรัดเกล้าไว้ไม่ปล่อยชายผมหรือถักเปียเป็นจอม สูงเหนือ ศีรษะรัดตรงกลางให้ตอนบนสยายออก 
เครื่องประดับ ต่างหูเป็นแผ่นกลม หรือเป็นห่วงกลม สายสร้อยทำเป็นแผ่นทับทรวงรูป     สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเป็นลวดลายนก ต้นแขนประดับด้วยกำไลเล็ก ๆ ทำด้วยทองคำสำริด และ ลูกปัดสีต่าง ๆ สวมกำไลมือหลายเส้น

เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าซิ่นจีบพื้น หรือลวดลาย ย้อมสีกรัก (สีจากแก่นขนุน) ทบซ้อนกัน ข้างหน้าทิ้งชายแนบลำตัว ไม่สวมเสื้อ ห่มผ้าสะไบเฉียงบ่าซ้ายไพล่มาข้างขวา เป็นผ้า ฝ้ายบางจีบไม่สวมรองเท้า 

ลักษณะการแต่งกายของชาย 

ผม ถักเปียเป็นหลอดยาวประบ่า หรือเกล้าสูงรัดด้วยผ้า หรือเครื่องประดับแล้วปล่อย ชายผมกลับลงมา เกล้าเป็นจุกก็มี

เครื่องประดับ ใส่กรองคอ กำไลแขน ต่างหู เข็มขัดโลหะคาดเอว 
เครื่องแต่งกาย มีผ้าเฉลียงบ่าบาง ๆ นุ่งผ้าจีบชายผ้าด้านหน้าทิ้งลงไปคล้ายผ้าถุงครึ่ง แข้ง ชายขมวดทิ้งลงไปข้างซ้าย คาดเข็มขัด ไม่สวมเสื้อ

สมัยศรีวิชัย (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-18)

ลักษณะการแต่งกายของหญิง 

ผม เกล้ามวยสูงทำเป็นพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ สวมกลีบรวบด้วยรัดเกล้า ปล่อยชายปรกลง มาด้านหน้า บางทีมุ่นมวยเป็นทรงกลมเหนือศีรษะใช้รัดเกล้าเป็นชั้น ๆ แล้วปล่อยชายผมลงประบ่า ทั้ง 2 ข้าง หรือถักเปีย

เครื่องประดับ ประดับด้วยรัดเกล้า ตุ้มหูแผ่นกลมเป็นกลีบดอกไม้ ใส่กรองคอทับทรวง ใส่กำไรต้นแขนทำด้วยโลหะ หรือลูกปัดร้อยเป็นพวงอุบะ ใส่กำไลมือและเท้า 

เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าครึ่งแข้งปลายบานยกขอบ ผ้าผืนเดียวบางแนบเนื้อคล้ายผู้ชาย ขอบผ้าชั้น บนทำเป็นวงโค้งเห็นส่วนท้อง คาดเข็มขัดปล่อยชายผ้าลงทางด้านขวา 

ลักษณะการแต่งกายของชาย 

ผม เกล้ามวยเป็นกระพุ่มเรียงสูง ด้วยเครื่องประดับ ปล่อยปลายผมสยายลงรอบศีรษะ เป็นชั้น ๆ บางทีปล่อยชายผมชั้น ล่างสยายลงประบ่า 
เครื่องประดับ ใส่ตุ้มหูเป็นเม็ดกลมใหญ่ คล้องสายสังวาลย์ คาดเข็มขัดโลหะใส่กำไล แขนและข้อมือ 
เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าชายพกต่ำ ปล่อยชายย้อยเป็นกระหนก คาดเข็มขัดโลหะ

 สมัยลพบุรี (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-19)

ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง 

ผม ผมแสกกลาง ตอนบนมุ่นเป็นมวย ปักด้วยปิ่นยอดแหลม 
เครื่องประดับ สวมกำไลต้นแขน ข้อมือทั้ง 2 มีปิ่น เข็มขัดมีลวดลาย สวมเทริดที่ ศีรษะมีกรองคอทำลวดลายเป็นแผ่นใหญ่ ตุ้มหูทำเป็นหัวเป็ดคว่ำ 

เครื่องแต่งกาย ไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าให้ชายซ้อนกันตรงหน้า แล้วปล่อยชายออก 2 ข้าง เป็นปลี บางทีปล่อยชายยาวลงถึงสะโพกทั้งขวาและซ้าย เป็นชายไหว คาดเข็มขัด ปลายทำเป็น พู่คล้ายกรวยเชิงห้อยเรียงเป็นแถว ไม่สวมรองเท้า

ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย 

ผม เกล้าผมเหนือศีรษะ 
เครื่องประดับ คาดเข็มขัดหัวเข็มขัดผูกเป็นปมเงื่อนแบบสอดสร้อย ใส่ตุ้มหู กรองคอ เป็นเส้นเกลี้ยง ซ้อนกัน 2 ชั้น ตรงกลางทำเป็นลวดลายดอกไม้เม็ดกลม ๆ ซ้อนกัน สวมกำไลต้นแขน ข้อมือ และเท้า

เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าถุงสูง ขวาทับซ้ายแล้วทิ้งชายเป็นกาบใหญ่ คาดเข็มขัด นุ่งสั้น เหนือเข่าทิ้งชายพกออกมา ข้าหน้าเป็นแผ่นใหญ่ ไม่สวมรองเท้า

 สมัยเชียงแสน (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 – 24)

ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง 

ผม ผมทรงสูง เกล้าผมไว้ตรงกลาง 
เครื่องประดับ สวมเครื่องประดับศีรษะ มีรัดเกล้า สวมสร้อยสังวาล รัดแขน กำไลมือ กำไลเท้า ใสตุ้มหู 
เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าถุงยาวแบบต่ำที่ระดับใต้สะดือ มีผ้าคาดทิ้งชายยาว ปล่อยชาย พกห้อยออกมาที่ด้านหน้าเป็นแฉก ไม่สวมเสื้อ มีสไบแพรบางสำหรับรัดอกให้กระชับขณะทำงาน 

ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย 

ผม ไว้ผมทรงสูง สวมเครื่องประดับศีรษะ 
เครื่องประดับ สวมกรองคอ สร้อยสังวาล กำไลมือ และกำไลเท้า 
เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าสองชาย จับจีบลงมาเกือบถึงข้อเท้า ด้านหน้าซ้อนผ้าหลายชั้น รัดชายออกเป็นปลีทางด้านข้างคล้ายชายไหวชายแครง มีผ้าข้าวม้าเคียนเอว หรือพาดบ่า อากาศ หนาว จะสวมเสื้อแขนยาว

สมัยสุโขทัย (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 20)

ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง 

ผม ผมยาวเกล้ามวยบนศีรษะ มีพวงดอกไม้หรือพวงมาลัยสวมรอบมวย หรือไว้ผมแสก กลางรวบผมไว้ท้ายทอย มีเกี้ยวหรือห่วงกลมคล้องตรงที่รวบ 

เครื่องประดับ กรองคอ รัดแขน กำไลมือและกำไลเท้า เครื่องปักผมเป็นเข็มเงิน เข็ม ทอง ใส่แหวน รัดเกล้า 
เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าซิ่นหรือผ้าถุงยาวกรอมถึงข้อเท้า

ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย 

ผม มุ่นผม หรือปล่อยผมเมื่อยามพักผ่อนอยู่บ้าน 

เครื่องประดับ กษัตริย์จะสวมเทริด กำไล เพชร พลอยสี 
เครื่องแต่งกาย นุ่งกางเกงครึ่งน่อง แล้วนุ่งผ้าถกเขมร หรือหยักรั้งทับกางเกงอีกที ต่อมาประยุกต์เป็นนุ่งสั้น และทิ้งหางเหน็บ เรียกว่ากระเบนเหน็บ หรือนุ่งแบบโรยเชิง สวมเสื้อ คอ กลมหรือไม่สวม

สมัยอยุธยา (สมัยที่ 1 พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2031)

หญิง

ผม ยังคงเกล้าผม การเกล้ามี 2 แบบ คือ เกล้าไว้ท้ายทอย และเกล้าสูงบน(หนูนหยิก) ศีรษะมีเครื่องประดับเรียกว่า เกี้ยว เป็นเครื่องรัดมวยผม 
เครื่องประดับ สร้อยตัว สร้อยข้อมือ กำไล ต่างหู 
เครื่องแต่งกาย นุ่งซิ่นจีบหน้า สวมเสื้อ แขนกระบอก คอกลม ผ่าหน้า เสื้อ ยาวเข้ารูป มีผ้าคลุมสะโพกไว้ด้านในของตัวเสื้อ แต่ปล่อยชายออกด้านนอก ต่อมาได้ต่อเข้ากับตัวเสื้อ เป็น ชายเสื้อลงมาอีกทีหนึ่ง 

ชาย 

ผม มหาดเล็กและคนรับใช้ตัดผมสั้น ชายยังคงเกล้าผมกลางกระหม่อมเช่นเดียวกับ หญิง เครื่องแต่งกาย นุ่งกางเกงยาวลงมาแค่หน้าแข้ง ปลายขาเรียวเล็กกว่าเดิม นุ่งผ้าหยักรั้ง แบบเขมรซ้อนทับกางเกง ชายผ้ายาวเสมอเข่า ใช้ผ้าคาดเอว สวมเสื้อคอแหลม แขนยาวจรดข้อมือ ผ่าอก สาบซ้ายทับสาบขวา มีผ้ากุ๊นตรงปลายแหลม คอ สาบหน้า และชายเสื้อ 
เครื่องประดับ จากหลักฐานการขุดกรุใต้พระปรางค์วัดราชบูรณะพบว่า ส่วนบนของ มงกุฎที่ครอบมวยพระเศียรของกษัตริย์ พาหุรัดหรือทองกร เครื่องประดับศีรษะถักด้วยลวดทองคำ

 สมัยอยุธยา (สมัยที่ 2 พ.ศ. 2034-2171)

หญิง 

ผม ตัดผมสั้น หวีเสยขึ้น ไปเป็นผมปีก บ้างก็ยังไว้ผมยาวเกล้าบนศีรษะ เลิกเกล้าเมื่อ พ.ศ. 2112เพราะต้องทำงานหนักไม่มีเวลาเกล้าผม 
เครื่องแต่งกาย นุ่งกางเกงหรือโจงกระเบน สวมเสื้อแขนกระบอก คอกลมผ่าอก ไม่นิยมสไบ ผู้หญิงชั้น สูงสวมเสื้อคอแหลม มีผ้าคล้องไหล่ 2 ข้าง

ชาย

ผม ตัดผมสั้น แสกกลาง 
เครื่องแต่งกาย นุ่งโจงกระเบน ไม่สวมเสื้อ มีผ้าคล้องไหล่

สมัยอยู่ธยา (สมัยที่ 3 พ.ศ. 2173 – พ.ศ. 2275)

หญิง

ผม สตรีในสำนักไว้ผมแบบหญิงพม่าและล้านนาไทย คือ เกล้าไว้บนกระหม่อมแล้ว คล้องด้วยมาลัย ถัดลงมาปล่อยผมสยายยาว ส่วนหญิงชาวบ้านตัดผมสั้น ตอนบนแล้วถอนไรผม รอบ ๆ ผมตอนที่ถัดลงมาไว้ยาวประบ่า เรียกว่า ผมปีกบางคนโกนท้ายทอย คนรุ่นสาวไว้ผม ดอกกระทุ่มไม่โกนท้ายทอยปล่อยยาวเป็นรากไทร 
การแต่งกาย หญิงในราชสำนักนุ่งผ้าซิ่น สวมเสื้อ ผ่าอก คอแหลม (เดิมนิยม คอกลม) แขนกระบอกยาวจรดข้อมือหญิงชาวบ้านนุ่งผ้าจีบห่มสไบ มี 3 แบบ คือ รัดอก สไบเฉียง และห่ม ตะเบงมาน (ห่มไขว้กันแล้วรวบไปผูกไว้หลังคอ) เหมาะสำหรับเวลาทำงาน บุกป่า ออกรบ 
เครื่องประดับ ปักปิ่นทองที่มวยผม สวมแหวนหลายวง สร้อยคอ สร้อยข้อมือ 
การแต่งหน้า หญิงชาววัง ผัดหน้า ย้อมฟัน และเล็บเป็นสีดำ ไว้เล็บยาวทางปากแดง หญิงชาวบ้าน ชอบประแป้งลายพร้อย ไม่ไว้เล็บ ไม่ทาแก้ม ปาก 

ชาย 

ผม ตัดสั้น ทรงมหาดไทย (คงไว้ตอนบนศีรษะรอบๆ ตัดสั้น และโกนท้ายทอย) 
การแต่งกาย นุ่งโจงกระเบน ใช้ผ้าขาวม้าคล้องคอ แล้วตลบไปห้อยชายไว้ทางด้านหลัง สวมเสื้อคอกลม ผ่าอกแขนยาวจรดข้อมือ ในงานพิธีสวม เสื้อ ยาวถึงหัวเข่า ติดกระดุม ด้านหน้า 8 – 10 เม็ด แขนเสื้อ กว้าง และสั้น มาก ไม่ถึงศอก นิยมสวมหมวกแบบต่าง ๆ ขุนนางจะสวม ลอมพอกยอดแหลม ไปงานพิธีจะสวมรองเท้าแตะปลายแหลมแบบแขกมัวร์

สมัยอยุธยา (สมัยที่ 4 พ.ศ. 2275 ถึง พ.ศ. 2310)
หญิง 

การแต่งผม มี 4 แบบ คือ

 

  1. ทรงผมมวยกลางศีรษะ

 

  1. ทรงผมปีกมีจอนผม

 

  1. ทรงหนูนหยิกรักแครง (เกล้าพับสองแล้วเกี้ยว กระหวัดไว้ที่โคน รักแครง เกล้า ผมมวยกลมเฉียงไว้ด้านซ้ายหรือขวา)

 

  1. ทรงผมประบ่า มักจะรวมผมปีกและผมประป่าอยู่ในทรงเดียวกันและผมปีกทำ เป็นมวยด้วย

 

เครื่องประดับ นิยมสวมเทริด สวมกำไลข้อมือหลายอัน มีสร้อยข้อมือที่ใหญ่กว่าสมัยใด สร้อยตัวสวมเฉียงบ่ามีลวดลายดอกไม้ สิ่งที่ใหม่กว่าสมัยใดคือ สวมแหวนก้อยชนิดต่าง ๆ และ แหวนงูรัดต้นแขน 
การแต่งหน้าแต่งตัว ทาขมิ้น ให้ตัวเหลืองดังทอง ผัดหน้าขาว ย้อมฟันดำ ย้อมนิ้ว และเล็บด้วยดอกกรรณิการ์ให้สีแดง 
การแต่งกาย ของคนชั้น สูงนุ่งซิ่นยก จีบหน้า ห่มตาด สวมเสื้อริ้วทอง (ทำด้วยผ้าไหม สลับด้วยเส้นทองแดง) ห่มสไบ ชาวบ้านท่อนบนคาดผ้าแถบหรือห่มสไบ นุ่งโจงกระเบนหรือ ผ้าถุง 

ชาย 

ผม  ไว้ทรงมหาดไทย ทาน้ำมันหอม 

การแต่งกาย สวมเสื้อคอกลมสวมศีรษะ แขนยาวเกือบจรดศอก มีผ้าห่มคล้องคอแล้ว ตลบชายทั้งสองไปข้างหลัง นุ่งโจงกระเบน ส่วนเจ้านายจะทรงสนับเพลาก่อน แล้วทรงภูษา จีบโจง มีไหมถักรัดพระองค์ แล้วจึงทรงฉลองพระองค์ คาดผ้าทิพย์ทับฉลองพระองค์อีกที 

สมัยรัตนโกสินทร์

รัชกาลที่ 1-3 พ.ศ. 2325 – 2394 ระยะ 69 ปี

หญิง

ผม ไว้ผมปีกประบ่ากันไรผมวงหน้าโค้ง ส่วนบนกระหม่อมกันไรผมเป็นหย่อมวงกลม แบ่งผมออกดูคล้ายปีกนก จึงเรียกผมปีก แต่ไม่ยาวเท่าสมัยอยุธยา ปล่อยจอน ข้างหูยาวแล้ว ยกขึ้น ทัดไว้ที่หู เรียกว่า จอนหูส่วนเด็ก ๆ นิยมไว้ผมจุก 

การแต่งกาย นุ่งผ้าจีบ ห่มสไบเฉียง ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากสมัยอยุธยา ชาวบ้านนุ่งผ้าถุง หรือโจงกระเบน สวมเสื้อรัดรูปแขนกระบอก ห่มตะเบงมาน หรือผ้าแถบคาดรัดอก และห่มสไบ เฉียงทับ 

ชาย 

ผม ยังคงไว้แบบเดียวกับสมัยอยุธยา คือ ทรงมหาดไทย ชาวบ้านเรียกว่า ทรงหลักแจว 
การแต่งกาย นุ่งผ้าม่วง โจงกระเบน สวมเสื้อเป็นแบบเสื้อนอกคอเปิด ผ่าอก แขนยาว กระดุม 5เม็ด ชาวบ้านจะไม่สวมเสื้อ หรือพาดผ้า 

รัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2394 – 2411 ระยะ 17 ปี

หญิง 
ผม หญิงไว้ผมสั้น ที่เรียกว่า ผมปีกแต่ไม่ยาวประบ่า ด้านหลังตัดสั้น บางคนก็โกน ผมขึ้น มาเหมือนผมมหาดไทยของผู้ชาย มีการถอนไรผมให้มีรอยเป็นเส้น วงรอบผมปีกไว้ ชาย ผมตกที่ริมหูทั้งสองข้างเรียก ผมทัด

การแต่งกาย นุ่งผ้าลายโจงกระเบน นุ่งผ้าจีบ ใส่เสื้อผ่าอก คอตั้งเตี้ย ๆ ปลายแขน แคบยาวถึงข้อมือ เสื้อพอดีตัวยาวเพียงเอว เรียกว่า เสื้อกระบอกแล้วห่มแพรสไบจีบเฉียงบนเสื้อ อีกที (ต่อมาเรียกว่า แพรสพายในสมัยรัชกาลที่ 5) 
เครื่องประดับ สตรีที่สูงศักดิ์จะใช้ กระเจียก ทับทรวง ตาด พาหุรัด สะอิ้ง สร้อย สังวาลย์ หุ้มหูเพชร แหวนเพชร

ชาย 
ผม ไว้ผมทรงมหาดไทย ส่วนรัชกาลที่ 4 จะไม่ทรงไว้ทรงมหาดไทย 
การแต่งกาย นุ่งผ้าม่วงแพรโจงกระเบน สวมเสื้อนอกเหมือนพวกบ้าบ๋า (ชายชาวจีน ที่เกิดในมลายู) สวมเสื้อเปิดอกคอเปิด หรือเป็นเสื้อกระบอก คือตัดเป็นรูปกระบอก แขนยาว 

สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 – 2453) ระยะ 42 ปี

ต้นสมัยรัชกาลที่ 5 

หญิง 

ผม เลิกไว้ผมปีก หันมาไว้ผมยาวประบ่า 
การแต่งกาย นุ่งผ้าลายโจงกระเบน เสื้อกระบอก ผ่าอก แขนยาว ห่มแพร จีบตามขวาง สไบเฉียงทาบบนเสื้ออีกชั้น หนึ่ง ถ้าอยู่บ้านห่มสไบไม่สวมเสื้อ เมื่อมีงานพิธีจึงนุ่งห่มตาด 
เครื่องประดับ สร้อยคอ สร้อยตัว สร้อยข้อมือ กำไล แหวน เข็มขัด 
ชาย 
ผม เลิกไว้ทรงมหาดไทย หันมาไว้ผมยาวทั้งศีรษะ ผมรองทรง 
การแต่งกาย นุ่งผ้าม่วงโจงกระเบน สวมเสื้อราชประแตน คือ เสื้อนอกกระดุม 5 เม็ด สวมหมวกหางนกยูง ถือไม้เท้า ไปงานพิธีจะสวมถุงเท้ารองเท้าด้วย หรือสวมเสื้อแพรสีตาม กระทรวงและหมวดเหล่า ตามชั้น เจ้านาย เสื้อแพรสีไพล ขุนนางกระทรวงมหาดไทย เสื้อแพรสี เขียวแก่ ขุนนางกระทรวงกลาโหม เสื้อแพรสีลูกหว้า ขุนนางกรมท่า (กระทรวงต่างประเทศ) เสื้อ แพรสีน้ำเงิน (ภายหลัง คือ สีกรมท่า) มหาดเล็ก เสื้อแพรสีเหล็ก พลเรือนจะใส่เสื้อปีกเป็นเสื้อคอ ปิดมีชายไม่ยาวมาก คาดเข็มขัดนอกเสื้อ

กลางสมัยรัชกาลที่ 5

หญิง ไว้ผมยาวเสมอต้นคอ 
เครื่องประดับ สร้อยสังวาลย์ เข็มขัดทองหัวลงยาประดับเพชรพลอย 
การแต่งกาย นุ่งผ้าจีบไว้ชายพก เมื่อมีพิธียังให้นุ่งโจงกระเบนอยู่ นิยมเสื้อแบบตะวันตก คอตั้ง แขนยาวต้นแขนพองแบบหมูแฮม มีผ้าห่มหรือแพร สไบเฉียงตามโอกาสห่มทับตัวเสื้ออีกที สตรีชาววังจะสะพายแพรชมพูปักดิ้ ลวดลายตามยศที่ได้รับพระราชทาน สวมรองเท้าบู๊ตและ ถุงเท้าตลอดน่อง 
ชาย แต่งเหมือนสมัยต้นรัชกาล ฝ่ายพลเรือนมีเครื่องแบบแต่เต็มยศ เป็นเสื้อแพร สีกรมท่า ปักทองที่คอและข้อมือ เวลาปกติใช้เสื้อคอปิด ผูกผ้าผูกคออย่างฝรั่ง นุ่งผ้าไหมสีน้ำเงิน แก่ ถุงเท้าขาว รองเท้าหนังดำ หมวกเฮลเม็ท (Helmet) แพรขนสีดำ

ปลายรัชกาลที่ 5

หญิง 
ผม ไว้ผมทรงดอกกระทุ่ม 
เครื่องประดับ นิยมสร้อยไข่มุก ซ้อนกันหลาย ๆ สาย เครื่องประดับอื่น ๆ ก็อนุโลมตาม ฐานะ และความงาม 
การแต่งกาย นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแพรไหม ลูกไม้ ตัดแบบตะวันตก คอตั้งสูง แขนยาว พองฟู เอวเสื้อผ้าจีบเข้ารูป หรือคาดเข็มขัด หรือห้อยสายนาฬิกา สะพายแพร สวมถุงเท้ามี ลวดลายปักสี รองเท้าส้นสูง 
การแต่งหน้า นิยมใช้เครื่องสำอางแบบตะวันตก ขัดฟันให้ขาว 
ชาย 
ผม ไว้ผมรองทรง 
การแต่งกาย นุ่งกางเกงฝรั่งแทนโจงกระเบน สวมหมวกกะโล่ ข้าราชการแต่งแบบ พระราชกำหนด คือ เครื่องแบบ (Uniform) เหมือนอารยะประเทศ 

สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 
(รัชกาลที่ 6) พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2468 ระยะ 15 ปี 

หญิง 
ผม ไว้ผมยาวเสมอต้นคอ ตัดเป็นลอน หรือเรียกว่า ผมบ๊อบ คือตัดสั้น ระดับในหูตอนล่าง สองข้างยาวเท่ากัน นิยมดัดข้างหลังให้โค้งเข้าหาต้นคอเล็กน้อย หรือตัดสั้น แบบ ทรงซิงเกิ้ลลักษณะตัดสั้น คล้ายผมป๊อบผิดกับตรงด้านหลังผมซิงเกิ้ลซอยด้านหลังให้ลาดเฉียงลงแนบต้นคอ ใช้เครื่องประดับคาดรอบศีรษะ ตอนปลายรัชกาลไว้ผมยาว และเกล้ามวยแบบตะวันตก 
เครื่องประดับ นิยมสร้อยไข่มุก ต่างหูห้อยระย้า เพื่อให้เข้าชุดกับเครื่องแต่งกาย 
เครื่องแต่งกาย ตอนแรกนิยมนุ่งผ้าโจงกระเบนผ้าม่วง สวมเสื้อผ่าอก คอลึก แขนยาว เสมอข้อศอก สะพายแพรบาง ๆ ต่อมาเริ่มนุ่งซิ่นตามพระราชนิยม สวมเสื้อผ้าแพรโปร่งบางหรือ ผ้าพิมพ์ดอก คอเสื้อกว้างขึ้น อีก และแขนเสื้อสั้น ประมาณต้นแขน ไม่มีการสะพายแพร 
ชาย 
ผม ผมยาวกว่าเดิม ตัดแบบยุโรป หวีผมเรียบไม่ค่อยสวมหมวก 
การแต่งกาย ยังคงนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบน สวมเสื้อราชปะแตน เพิ่มเสื้อครุยแขนยาว จรดข้อมือ ตัดเสื้อยาวคลุมเข่าสวมทับอีกที เริ่มนุ่งกางเกงแบบฝรั่งในระยะหลัง ประชาชน ธรรมดามักนุ่งกางเกงแพรของจีน สวมเสื้อคอกลมผ้าขาวบาง 

 

สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 

รัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468 – 2477) ระยะ 9 ปี

         สตรีไทยสมัยนี้แต่งกายแบบตะวันตกมากขึ้น เลิกนุ่งโจงกระเบน นุ่งซิ่นแค่เข่า สวมเสื้อ ทรงกระบอกตัวยาวคลุมสะโพก ไม่มีแขน จะเป็นเอกลักษณ์ของสมัยนี้ ไว้ผมสั้น ดัดลอน นิยมดัดผม มากขึ้น ชายนิยมนุ่งกางเกงแบบสีต่าง ๆ เช่นเดียวกับผ้าม่วง ข้าราชการนุ่งผ้าม่วงสีน้ำเงิน เสื้อ ราชปะแตน สวมถุงเท้า รองเท้า สวมหมวกสักหลากมีปีกหรือหมวกกะโล่ ราษฎรยังคงนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อธรรมดา ไม่สวมรองเท้า ใน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นการสิ้นสุด ระบบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นการปกครองระบบประชาธิปไตย คนไทยสนใจกับอารยธรรม ตะวันตกอย่างเต็มที่ การแต่งกายมีการเลียนแบบฝรั่งมากขึ้น ให้นุ่งกางเกงขายาวแทนการนุ่งผ้าม่วง 

สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล 

รัชกาลที่ 8 (พ.ศ. 2477 – 2489) ระยะ 12 ปี 

หญิง สวมเสื้อแบบไหนก็ได้ แต่ต้องคลุมไหล่ นุ่งผ้าถุง ต่อมานุ่งกระโปง หรือผ้าถุงสำเร็จ สวมรองเท้า สวมหมวก เลิกกินหมาก สตรีสูงอายุไม่คุ้นกับการนุ่งผ้าถุงก็จะนุ่งโจงกระเบนไว้ข้างใน 
ชาย สวมเสื้อมีแขน คอปิดหรือเปิดก็ได้ ชาวชนบทเสื้อทรงกระบอกแขนยาวคอตั้งกลัด กระดุม 5 เม็ด มีกระเป๋า สวมกางเกงแบบสากล สวมรองเท้า สวมหมวก คนแก่ตามชนบทจะ นุ่งโจงกระเบนอยู่บ้าง สรุปแล้วสมัยนี้การแต่งกายเป็นสากลมากขึ้น

สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน 
(รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2489) ทรงครองราชย์มาถึงปัจจุบัน 

ชุดไทยพระราชนิยม ได้แก่

ไทยเรือนต้น ใช้แต่งในงานที่ไม่เป็นพิธี และต้องการความสบาย เช่น ไปเที่ยว

ไทยจิตรลดา เป็นชุดไทยพิธีกลางวัน ใช้รับประมุขต่างประเทศเป็นทางการหรืองาน สวนสนาม

ไทยอมรินทร์ สำหรับงานเลี้ยงรับรองตอนหัวค่ำ อนุโลมไม่คาดเข็มขัดได้

ไทยบรมพิมาน ชุดไทยพิธีตอนค่ำ คาดเข็มขัด

ไทยจักรี คือชุดไทยสไบ

ไทยดุสิต สำหรับงานพิธีตอนคํ่า จัดให้สะดวกสำหรับสวมสายสะพาย

ไทยจักรพรรดิ เป็นแบบไทยแท้

ไทยศิวาลัย เหมาะสำหรับเมื่ออากาศเย็น

การแต่งกายของผู้หญิงชาววังในสมัยสุโขทัยเป็นอย่างไร

อ้างอิงจากเว็บไซต์ : [ระบบออนไลน์].  แหล่งที่มา http://www.baanjomyut.com/library_2/history_of_costume