ประกันสังคมเดือนสิงหาคม 2565 กี่เปอร์เซ็นต์

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2565 ที่ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 กำหนดให้ลดอัตราเงินสมทบเป็นเวลา 3 เดือนนี้ ตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565 เพื่อลดภาระให้กับนายจ้างและเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกันตน โดยมีรายละเอียดดังนี้

นายจ้าง – ผู้ประกันตน มาตรา 33
ลดอัตราเงินสมทบฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายผู้ประกันตนตาม ม.33 โดยให้นายจ้าง และผู้ประกันตนแต่ละฝ่ายจ่ายเงิน ร้อยละ 3 ของค่าจ้างผู้ประกันตนจากเดิมอยู่ในอัตราร้อยละ 5

“กรีนการ์ดลอตโต” คัมแบ็ก เตรียมเติมแต้มบุญลุ้นวีซ่าถาวรไปอยู่สหรัฐ

จับทิศการเมือง! “บิ๊กตู่” เลือกเดินทางไหน เมื่อมีเวลาเป็นตัวกำหนด

ประกันสังคมเดือนสิงหาคม 2565 กี่เปอร์เซ็นต์

ในขณะที่กำหนดให้รัฐบาลจ่ายเงินในอัตราเท่าเดิมที่ร้อยละ 2.75 ของค่าจ้างผู้ประกันตน

ทั้งนี้หากคำนวณจากฐานค่าจ้างขั้นต่ำ 1,650 บาท สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท จะจ่ายฝ่ายละ 450 บาท

ผู้ประกันตนมาตรา 39
ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม จากเดิมในอัตราเดือนละ 432 บาทเป็นอัตราเดือนละ 240 บาท เพื่อลดภาระนายจ้างและผู้ประกันตนให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพ

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

บอร์ดประกันสังคมเห็นชอบปรับลดเงินสมทบนายจ้าง ลูกจ้าง จาก 5% เหลือฝ่ายละ 3% เป็นเวลา 3 เดือน เพื่อลดภาระให้กับนายจ้างจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ รอชง ครม.สัปดาห์หน้า

วันที่ 16 กันยายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่พระราชกฤษฎีกาประกาศลดอัตราเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33, 39, และ 40 เป็นระยะเวลา 6 เดือน จำนวน 2 งวด คือ 1) ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2565 และ 2) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 ล่าสุดที่ประชุมบอร์ดประกันสังคมมีมติเห็นชอบปรับลดเงินสมทบทั้งนายจ้างและลูกจ้าง เหลือฝ่ายละ 3% เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565

  • เปิดเงื่อนไขช้อปดีมีคืน ครม.เคาะ 20 ธ.ค.วงเงิน 40,000 บาท ซื้ออะไรได้บ้าง
  • เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เสด็จติดตามพระอาการประชวร เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ
  • คนละครึ่งเฟส 6 ลุ้นเข้าครม.พรุ่งนี้ ประสานเสียง ฐานะการคลังแข็งแกร่ง

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผยว่า หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 มีมติอนุมัติการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5.02% และจะประกาศให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไปนั้น

กระทรวงแรงงานเล็งเห็นถึงความสำคัญของการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระนายจ้าง จึงเตรียมมาตรการลดเงินสมทบมาตรา 33 จากเดิมที่จัดเก็บในอัตราร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 3 ให้ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง เป็นระยะเวลา 3 เดือน (ตุลาคม-ธันวาคม 2565)

นายสุชาติอธิบายว่า ผลของการลดส่งเงินสมทบจะไม่กระทบต่อกองทุนชราภาพ แต่จะมีผลต่อเม็ดเงินของกองทุนประกันสังคมที่จะใช้ไปลงทุนเพื่อสร้างผลกำไรตอบแทนเข้ากองทุนลดลงประมาณ 1-2 หมื่นล้านบาท แต่ยังมองว่าคุ้มค่า เพราะเป็นการทำให้เม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ทำให้มีการจับจ่าย เศรษฐกิจเดินได้

นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม เปิดเผยว่า เพื่อลดภาระให้กับนายจ้างจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ที่ประชุมบอร์ดประกันสังคมเมื่อวันที่ (13 กันยายน 2565) มีมติเห็นชอบปรับลดเงินสมทบทั้งนายจ้างและลูกจ้าง เหลือฝ่ายละ 3% โดยจะให้มีผลในงวดค่าจ้างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565 เป็นระยะเวลา 3 เดือน และจะนำเรื่องนี้เข้า ครม.ในสัปดาห์หน้าเพื่อขอความเห็นชอบ

หลังจากห่างหายไปนานกับการจ่ายเงินประกันสังคมแบบเต็มจำนวณ ทำเอาหลาย ๆ คนอาจจะลืมไปแล้วว่าในแต่ละเดือนนั้น เราในฐานะผู้ประกันตนต้องโดยกังเงินประกันสังคมไปเท่าไหร่กันบ้างในแต่ละมาตรา วันนี้ The Thaiger มาทวนความจำให้ทุกคนกันแล้ว

| เงินประกันสังคม มาตรา 33 ต้องจ่ายเท่าไหร่ ?

ผู้ประกันตนมาตรา 33 (ม.33) คือ ผู้ที่มีนายจ้าง หรืออยู่ในระบบบริษัท (พนักงานประจำ) โดยจะถูกถูกหักเงิน 5% หรือ คำนวณโดย นำเงินเดือน คูณ 5% จะได้จำนวนเงินที่ถูกหักออกไปในแต่ละเดือน ตัวอย่างเช่น

เงินเดือน 15,000 บาท (เงินเดือน) x 5% (เงินหักเข้าประกันสังคม) = 750 บาท (จำนวนเเงินที่ถูกหัก)

| เงินประกันสังคม มาตรา 39 ต้องจ่ายเท่าไหร่ ?

ผู้ประกันตนมาตรา 39 (ม.39) คือ ผู้ที่เคยทำงานในบริษัท หรืออยู่ในมาตรา 33 มาก่อน แต่ว่างงาน หรือลาออก ไม่เกิน 6 เดือน และเคยส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือนขึ้นไป แต่ยังอยากได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมอยู่ กำหนดให้ส่งเงินสมทบ 9% โดยเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาท เท่ากันทุกคน ดังนี้

เงินเดือน 4,800 บาท (เงินเดือน) x 9% (เงินหักเข้าประกันสังคม) = 432 บาท (จำนวนเเงินที่ถูกหัก)

| เงินประกันสังคม มาตรา 40 ต้องจ่ายเท่าไหร่ ?

ผู้ประกันตนมาตรา 40 (ม.40) คือ ผู้ที่มีสัญชาติไทย อายุ 15-65 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นลูกจ้างบริษัท หรือมีนายจ้าง ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 รวมถึงไม่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม 3 อัตรา ดังนี้

  • เลือกจ่ายในอัตรา 70 บาท/เดือน มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย
  • เลือกจ่ายในอัตรา 100 บาท/เดือน มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และกรณีชราภาพ
  • เลือกจ่ายสมทบในอัตรา 300 บาท/เดือน มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร
ประกันสังคมเดือนสิงหาคม 2565 กี่เปอร์เซ็นต์
www.sso.go.th

| ข้อดีของ สิทธิประกันสังคม

กองทุนสิทธิประกันสังคม เป็นกองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมให้ได้รับประโยชน์ทดแทน เมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย ซึ่งไม่เกิดจากการทำงาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน ถือได้ว่าเป็นความคุ้มครองทางกฎหมายของคนแรงงานทุกคน เพื่อสิทธิที่ลูจ้างและผู้ประกอบการควรได้รับอย่างถูกต้อง

อีกหนึ่งข้อดีของการส่งเงินประกันสังคมอย่างสม่ำเสมอนั่นก็คือ กรณีเงินประกันสังคม เกษียณอายุ 55 ผู้ชราภาพ ผู้ประกันตน ม.33 ที่เกษียณอายุครบ 55 ปี และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน สามารถยื่นเรื่องขอรับเงินกรณีชราภาพ ผ่านพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชนได้