ลาออก ก่อน ลา คลอด เบิกประกันสังคมได้ มั้ ย

แม่ลาคลอด 3 เดือน มีสิทธิ์ได้เงิน 50% ของเงินเดือนจากประกันสังคมด้วยนะ ต้องทำยังไงให้ได้เงินช่วงลาคลอด เรามีคำแนะนำค่ะ

แม่ท้องลาคลอด 3 เดือน รับเงินประกันสังคม 50% ของเงินเดือน

นอกจากสิทธิ์ในการเบิกค่าคลอดลูกจากประกันสังคม 15,000 บาท แล้ว คุณแม่ลาคลอด 98 วันก็ยังมีสิทธิ์รับเงินจากประกันสังคมได้อีก 50% จากฐานเงินเดือนโดยเฉลี่ยในช่วงลาคลอดด้วยนะคะ เรามาดูกันว่าการจะรับสิทธิ์รับเงินช่วงลาคลอดจากประกันสังคมมีหลักเกณฑ์อะไร ต้องใช้เอกสารอะไร ยื่นที่ไหน และคำนวณอย่าางไร ไปดูกันเลย

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร

  1. จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร
  2. สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน สำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิ์เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน

วิธีคำนวณเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดลูก

  1. คำนวณจากค่าจ่ายเฉลี่ย คือ ผู้ที่มีฐานเงินเดือนตั้งแต่ 1,650 บาท - 15,000 บาท
  2. นำเงินเดือนที่อยู่ในฐานข้อ 1 หาร 2 (50% ของเงินเดือน) จากนั้นคูณ 3 (3 เดือน หรือ 90 วัน)

ตัวอย่าง: เงินเดือน 15,000/2 = 7,500 x 3 = 22,500 บาท

เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
  2. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  3. สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
  4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมี 11 ธนาคาร ดังนี้

           1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
           2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
           3) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
           4) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
           5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
           6) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
           7) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
           8) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
           9) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
         10) ธนาคารออมสิน
         11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

สถานที่ยื่นเรื่องการเบิกค่าคลอดลูกจากประกันสังคม

  • ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

สำหรับเงื่อนไขอื่นๆ เช่น ขอรับประโยชน์ทดแทน หรือ การสั่งจ่ายกรณีพิเศษ คุณแม่สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th หรือ SSO สายด่วน:1506 ค่ะ

ถึงแม้ว่าจะมีการแท้งบุตร แต่คุณแม่ก็ยังมีสิทธิเบิกประกันสังคมตามปกติ โดยเงินที่เบิกได้ มาจากวงเงินค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์การหยุดงาน

เงื่อนไข:

  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร
  • จะต้องมีอายุครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์

5. เบิกเงินสงเคราะห์เพื่อเลี้ยงดูบุตร

ลาออก ก่อน ลา คลอด เบิกประกันสังคมได้ มั้ ย

หลังคลอดบุตร คุณแม่สามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตรได้เดือนล่ะ 800 บาท ตั้งแต่คลอดจนถึงอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนไม่เกิน 3 คน

บทความงาน > การทำงาน > กฎหมายคนทำงาน > ถาม-ตอบ ประกันสังคมกรณีคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์บุตร

ถาม-ตอบ ประกันสังคมกรณีคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์บุตร

  • 19 April 2018

ลาออก ก่อน ลา คลอด เบิกประกันสังคมได้ มั้ ย
ลาออก ก่อน ลา คลอด เบิกประกันสังคมได้ มั้ ย
ลาออก ก่อน ลา คลอด เบิกประกันสังคมได้ มั้ ย
ลาออก ก่อน ลา คลอด เบิกประกันสังคมได้ มั้ ย
ลาออก ก่อน ลา คลอด เบิกประกันสังคมได้ มั้ ย
ลาออก ก่อน ลา คลอด เบิกประกันสังคมได้ มั้ ย
ลาออก ก่อน ลา คลอด เบิกประกันสังคมได้ มั้ ย

ลาออก ก่อน ลา คลอด เบิกประกันสังคมได้ มั้ ย

          การจะมีลูกสักคนสมัยนี้ใช้เงินเยอะไม่ใช่เล่น การได้ความช่วยเหลือจากประกันสังคมตามสิทธิของเรานั้นคงจะสามารถลดภาระของคุณแม่ทั้งหลายไปได้มาก ดังนั้นผู้ประกันตนอย่างเราควรศึกษาข้อมูลเอาไว้บ้างเพื่อจะได้ลดความตึงเครียดในการบริหารค่าใช้จ่ายและทำให้มีเวลาดูแลลูกน้อยของคุณได้อย่างเต็มที่ค่ะ นอกจากคุณแม่แล้ว คุณพ่อทั้งหลายก็สามารถศึกษาข้อมูลในการใช้สิทธิได้เช่นกันนะคะ

1. เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร มีอะไรบ้าง

          ตอบ :   1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ

  1. กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ ใช้สูติบัตรต้นฉบับของบุตรพร้อมสำเนา 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  2. กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ ใช้สูติบัตรต้นฉบับของบุตรพร้อมสำเนา 1 ชุด สำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
  3. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประกันตน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
  4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก (กรุงไทย กรุงศรีฯ ธนชาต กรุงเทพ กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ ทหารไทย  ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ซีไอเอ็มบีไทย)

2. ต้องทำอย่างไรจึงมีสิทธิได้รับเงินชดเชย

          ตอบ : หากเป็นกรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบครบ 7 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตรจึงมีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้  หากเป็นกรณีเงินสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตรหนึ่งคน

3. สามารถยื่นเรื่องย้อนหลังเพื่อรับเงินค่าเหมาจ่ายทำคลอดและเงินสงเคราะห์บุตรได้หรือไม่

          ตอบ : สำหรับสิทธิเบิกค่าคลอดเหมาจ่าย ผู้ประกันตนสามารถเบิกสิทธิได้หากยื่นเรื่องภายในเวลา 1 ปีนับจากวันที่บุตรเกิด แต่สำหรับสิทธิสงเคราะห์บุตร หากผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบครบ 12 เดือนภายในระยะเวลา 36 เดือนที่ผ่านมา สามารถยื่นเรื่องขอรับสิทธิได้ โดยเตรียมสูติบัตรบุตร สำเนาบัตรประชาชน สำเนาบัญชีธนาคาร ยื่นเรื่องที่สำนักงานประกันสังคมที่รับผิดชอบ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบและสั่งจ่ายสิทธิผ่านบัญชีธนาคารของท่านได้อย่างถูกต้องตามเงื่อนไข

4. สามารถเบิกประกันสังคมได้ทั้งฝั่งสามีและภรรยาได้เลยหรือไม่

          ตอบ : กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรรวมกัน ไม่เกิน 4 ครั้ง* โดยบุตรที่นำมาใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตรแล้วไม่สามารถนำมาขอรับค่าคลอดบุตรได้อีก สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ 13,000 บาทต่อบุตร 1 คน

(*ได้รับสิทธิไม่จำกัดจำนวนครั้งตาม พระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2558 เริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 20 ต.ค.2558) ส่วนเงินสงเคราะห์บุตรสามารถยื่นได้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฝั่งเดียวค่ะ

5. ถ้าสามีเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แต่ตัวเองเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะเบิกได้ทั้งคู่ไหม

          ตอบ : เบิกได้แต่จะต้องเลือกเบิกจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามเกณฑ์ข้อกำหนด

6. หากจดทะเบียนแล้วแต่ไม่อยู่กับสามี แต่อยู่กับแฟนอีกคนหนึ่งหากท้องกับแฟนสามารถเบิกได้ไหมคะ

          ตอบ : สามารถใช้สิทธิของตนเองเบิกได้ค่ะ

7. หากฝั่งภรรยาไม่มีเอกสารใดๆแม้แต่บัตรประชาชนจะสามารถเบิกได้หรือไม่ จะเบิกกับทางฝั่งสามีได้อย่างไร

          ตอบ : สำหรับการเบิก ผู้ประกันตนจะต้องมีหลักฐาน ในการยื่นเรื่องให้ครบตามหลักเกณท์  หากจะเบิกกับฝั่งสามีก็เช่นกัน คือต้องมีหลักฐานครบตามเกณฑ์จึงจะเบิกได้ค่ะ

8. ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 มีสิทธิเบิกเกี่ยวกับการคลอดและเงินสงเคราะห์บุตรหรือไม่

          ตอบ : มีสิทธิในการเบิกหากผู้ประกันตนมาตรา 39 มีการนำส่งเงินสมทบ  กรณีคลอดบุตร ครบ 7 เดือนภายใน 15 เดือน และมีการนำส่งเงินสมทบค่ากรณีสงเคราะห์บุตร 12 เดือนภาย ใน 36 เดือน

9. เบิกเงินค่าคลอดบุตรได้เท่าไร

          ตอบ : เบิกได้ 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้งเป็นแบบเหมาจ่าย

10. ถ้าได้รับเงินค่าคลอดเหมาจ่าย 13,000 บาทแล้วจะยังได้รับเงินที่เกิดจากการหยุดงานอีกด้วยไหม

          ตอบ : สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน

11. กรณีลูกแฝดจะเบิกเงินค่าทำคลอดได้เท่าไหร่

          ตอบ : เนื่องจากค่าทำคลอดเหมาจ่ายคิดเป็นต่อครั้ง จึงยังได้ครั้งละ 13,000 บาทตามปกติค่ะ

12. ถ้าตอนคลอดเรานอนห้องพิเศษจะสามารถเบิกกับประกันสังคมได้หรือไม่

          ตอบ : เนื่องจากค่าทำคลอดเหมาจ่ายคิดเป็นต่อครั้ง จึงยังได้ครั้งละ 13,000 บาทตามปกติค่ะ

13. ต้องสำรองจ่ายเองก่อนไหม ในกรณีคลอดที่โรงพยาบาลที่ใช้สิทธิประกันสังคมอยู่

          ตอบ : ผู้ประกันตนสามารถฝากครรภ์และคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรพ.ตามบัตรฯโดยต้องจ่ายค่าคลอดไปก่อน และจึงทำเรื่องเบิกที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ จังหวัดหรือสาขาที่สะดวก โดยมีเอกสารประกอบคือแบบสปส.2-01 สูติบัตรตัวจริงพร้อมสำเนา สำเนาบัตรประชาชน

14. ขาดส่งประกันสังคมมา 6 เดือนแต่ก่อนหน้านี้เคยส่งมาแล้วเป็นเวลา 2 ปี จะยังได้สิทธิค่าคลอดบุตรไหม

          ตอบ : ขึ้นอยู่กับการนำส่งเงินสมทบว่าเป็นไปตามเงื่อนไขหรือไม่ ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบครบ 7 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตรจึงจะมีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้

15. ถ้ายื่นเรื่องและได้รับหนังสือตอบรับการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว จะได้รับเงินอย่างไร

          ตอบ : หากเป็นเงินเหมาจ่ายกรณีคลอดบุตร จะได้รับตามที่ยื่นเรื่องไว้ (เงินสด/เช็ค ธนาณัติ หรือโอนผ่านบัญชี) หากเป็นกรณีเงินสงเคราะห์บุตร จะได้รับเงินผ่านการโอนเข้าบัญชีตามที่ได้แจ้งไว้

16. จะเริ่มได้รับเงินเดือนไหน ตั้งแต่เดือนที่ลูกเกิดเลยหรือไม่

          ตอบ : ใช่ค่ะ

17. การนับอายุบุตรนับแบบไหน เช่น หากบุตรอายุครบ 6 ปี วันที่ 15 ตค. ในเดือน ตค.จะยังได้รับเงินเต็มจำนวนหรือไม่

          ตอบ : ยังควรได้รับเงินเต็มจำนวนในเดือนที่บุตรอายุครบ 6 ปีค่ะ

18. เงินสงเคราะห์บุตร จะเข้าบัญชีทุกวันที่เท่าไหร่

          ตอบ : โดยทั่วไปแล้วจะได้รับทุกสิ้นเดือนค่ะ แต่หากมีตรงกับวันหยุดอาจจะมีการเลื่อนออกไปบ้างเล็กน้อย

19. หากเงินสงเคราะห์บุตรไม่เข้าบัญชีควรทำอย่างไร

          ตอบ : หากปกติเคยได้รับเงินทุกเดือน แต่อยู่ดีๆ ก็ไม่ได้รับเงินเข้าบัญชีตามที่ควรจะได้ เช่นบุตรยังอายุไม่ถึง 6 ปี กรุณาติดต่อประกันสังคมสาขาที่เคยยื่นเรื่องไว้ หรือโทรสอบถามกับสายด่วนประกันสังคม 1506 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลให้อีกครั้งค่ะ

20. ในกรณีที่เคยได้รับเงินสงเคราะห์บุตร แล้วออกจากงานเลยขาดส่งเงินประกันสังคมไประยะหนึ่ง ตอนนี้กลับมาทำงานแล้วส่งเงินใหม่อีกรอบไม่ทราบว่าจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรอีกหรือไม่ และต้องทำอย่างไรบ้าง

          ตอบ : ผู้ประกันตนจะมีสิทธิเมื่อได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน เมื่อผู้ประกันตนได้เข้างานใหม่ และได้รับสิทธิสงเคราะห์บุตรยังไม่ครบกำหนดตามเงื่อนไข ขอให้ติดต่อ และสำเนาบัตรประชาชน ที่สำนักงานประกันสังคมที่ได้เคยยื่นเรื่องไว้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่บันทึกสิทธิต่อเนื่องต่อไป

21. หากเกิดการแท้งหรือคลอดแล้ว ลูกเสียชีวิต จะสามารถเบิกได้หรือไม่ เนื่องจากมีการสำรองจ่ายเงินไปแล้ว แล้วยังจะสามารถได้รับเงินจากการลาคลอดไม่เกิน 90 วันได้อยู่หรือไม่

          ตอบ : หากผู้ประกันตนแท้งบุตร อายุครรภ์ ประมาณ 28 สัปดาห์ แต่บุตรจะต้องออกจากครรภ์มารดา สามารถเบิกค่าคลอด และเบิกกรณีทดแทนการหยุดงานค่าคลอดบุตรได้ อย่างไรก็ตามควรติดต่อสำนักงานประกันสังคมเพื่อตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมอีกครั้งค่ะ

22. ถ้าลาออกจากงานแล้วจะยังมีสิทธิไหม

          ตอบ : สิทธิจะเกิดเมื่อหากเป็นกรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบครบ 7 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตรจึงมีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้ หากเป็นกรณีเงินสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน

23. ในกรณีไม่จดทะเบียนสมรส ต้องทำอย่างไรถึงจะได้สิทธิ

          ตอบ : กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ สามารถตรวจสอบชื่อมารดาของบุตรในสูติบัตรว่าถูกต้องตรงกับชื่อ-ชื่อสกุลของผู้ประกันตนหรือไม่ แต่หากเป็นกรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ ให้ตรวจสอบชื่อบิดาของบุตรในสูติบัตรว่าถูกต้อง ตรงกับชื่อ-ชื่อสกุลของผู้ประกันหรือไม่ และตรวจสอบชื่อมารดาของบุตรในสูติบัตรว่าถูกต้องตรงกับชื่อ-ชื่อสกุลของคู่ สมรส หรือหญิงซึ่งอยู่กินฉันสามีภรรยากับผู้ประกันตนตามทะเบียนสมรสหรือหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรสหรือไม่

24. หากลาคลอดก่อนวันคลอดจริงแต่ไม่เกิน 90 วันจะยังได้รับสิทธินี้หรือไม่

          ตอบ : ถ้าคุณคลอดบุตรแล้ว และมีสิทธิเบิกค่าคลอดได้ โดยฝ่ายหญิงเป็นผู้เบิก เงินชดเชยนี้ก็ย่อมได้ด้วยเป็นแบบเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน

25. ถ้าลาคลอดไม่ถึง 90 วันจะได้รับเงินเต็ม 90 วันหรือไม่

          ตอบ : เนื่องจากเงินชดเชยนี้เป็นแบบเหมาจ่ายจึงสามารถมีสิทธิได้รับเต็มจำนวนค่ะ

26. ถ้าได้เงินครบ 90 วันจากทั้งนายจ้างและประกันสังคมไปแล้วแต่กลับมาทำงานก่อน 90 วันจะต้องคืนเงินหรือไม่

          ตอบ : เนื่องจากเงินชดเชยนี้เป็นแบบเหมาจ่ายจึงไม่จำเป็นต้องส่งคืนประกันสังคม แต่สำหรับฝั่งนายจ้างอาจจะต้องติดต่อสอบถามกับนายจ้างโดยตรงอีกครั้ง

27. ที่ทำงานจ่ายเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร ให้แค่ 30 วัน ผิดกฏหมายหรือไม่

          ตอบ : อาจต้องดูจำนวนวันที่คุณหยุดจริงประกอบด้วย โดยปกติกฏหมายแรงงานจะกำหนดให้จ่าย 50 % ของค่าจ้างเป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วันค่ะ

28. กรณีคลอดก่อน 20 ตค 2558 และเป็นบุตรคนที่ 3 โดยที่ยังไม่เคยใช้สิทธิประกันสังคมกับบุตร 2 คนก่อนหน้ามาก่อน สามารถใช้สิทธิได้หรือไม่

          ตอบ : ถ้าเป็นกรณีสงเคราะห์บุตร แล้วบุตรสองคนแรกไม่ได้ใช้สิทธิ คนที่ 3 สามารถใช้ได้ค่ะ อย่างไรก็ตามหากบุตรคนที่ 1 หรือ 2 อายุยังไม่ถึง 6 ปี ยังสามารถมายื่นเรื่องให้ครบ 2 คนได้ ตามพรบ.ฉบับเดิม เงินสงเคราะห์บุตรจ่ายครั้งหนึ่งคราวละไม่เกิน 2 คน ส่วนบุตรคนที่ 3  สามารถยื่นเรื่องหลังวันที่ 20 ตค 2558 ได้เพราะตามพรบ.ใหม่ สิทธิประโยชน์จะเพิ่มเป็นจ่ายให้คราวละไม่เกิน 3 คนค่ะ

29. ผู้ประกันตนชาวต่างชาติมีสิทธิเบิกเกี่ยวกับการคลอดและเงินสงเคราะห์บุตรหรือไม่

          ตอบ : ผู้ประกันตนชาวต่างชาติ ถ้ามีการนำส่งเงินสมทบครบหลักเกณท์ สามารถเบิกค่าคลอดบุตรและสงเคราะห์บุตรได้ค่ะ

30. เป็นผู้ประกันตน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 7 เดือน จะใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) ในการคลอดบุตรได้หรือไม่

          ตอบ : ได้  โดยขอหนังสือรับรองว่าส่งเงินสมทบไม่ครบ 7 เดือนจากสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่  แล้วไปติดต่อขอรับบริการที่ รพ.รัฐและเอกชนที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่อาจจะต้องเช็คสิทธิอีกครั้ง เนื่องจากปัจจุบันสามารถใช้สิทธิการคลอดบุตรได้ 2 ครั้งค่ะ

31. การยื่นเรื่องย้อนหลังจะทำให้ได้เงินสงเคราะห์บุตรย้อนหลังด้วยหรือไม่

          ตอบ : ถ้าคุณมีการจ่ายเงินสมทบครบ 12 เดือนภายใน 36 เดือนอย่างต่อเนื่องก่อนหน้าที่บุตรคุณคลอด ทางประกันสังคมก็จะจ่ายนับตั้งแต่เงินสมทบครบ 12 เดือน โดยจะมีการย้อนจ่ายของเดือนเก่าให้หากคุณเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์บุตรมาตั้งแต่ต้น

32. หากส่งเงินสมทบครบตามเงื่อนไขแล้ว แต่หลังจากลาคลอดเสร็จได้ตัดสนใจลาออกมาเลี้ยงลูกอยู่กับบ้าน จะยังได้รับเงินสงเคราะห์บุตรจนลูกอายุครบ 6 ปีหรือไม่

          ตอบ : หากคุณเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ต่อก็จะได้สิทธิค่ะ อย่างไรก็ตามแนะนำให้ติดต่อสำนักงานประกันสังคมที่เคยยื่นเรื่องไว้เพื่อตรวจสอบให้แน่ชัดอีกครั้งค่ะ

          อย่างไรก็ตามหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประกันสังคม ควรติดต่อสำนักงานประกันสังคมพื้นที่ใกล้คุณหรือติดต่อสายด่วน 1506 เพื่อตรวจสอบข้อมูลให้แน่ชัดอีกครั้งค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคมและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

ลาออก ก่อน ลา คลอด เบิกประกันสังคมได้ มั้ ย

คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

 

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ไขข้อข้องใจสิทธิประกันสังคม ค่าคลอดบุตร และเงินสงเคราะห์บุตร

ท้องแรกต้องรู้ สิทธิประโยชน์สำหรับว่าที่คุณแม่

ค่าคลอดบุตร  ประกันสังคมค่าคลอดบุตร  ประกันสังคมเงินสงเคราะห์บุตร  สิทธิค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์บุตร  เงินสงเคราะห์บุตร

บทความยอดนิยม

ลาออก ก่อน ลา คลอด เบิกประกันสังคมได้ มั้ ย

20 ประเภทเพื่อนร่วมงานชวนป่วน พร้อมวิธีรับมือ

ในหนึ่งวันชาวออฟฟิศอย่างเรา ๆ ใช้เวลาอยู่ที่ออฟฟิศไม่น้อยกว่า 9 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ ถ้าไม่นับเวลาที่เราต้องนอนในแต่ละวัน...

ออกจากงานแล้วเบิกค่าคลอดบุตรได้ไหม

เบิกเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร: เบิกได้ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย (สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน) เบิกค่าชดเชย กรณีแท้งบุตร: ต้องอายุครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์ เบิกเงินสงเคราะห์เพื่อเลี้ยงดูบุตร: เบิกได้ 800 บาท ต่อเดือน (ตั้งแต่เกิดจนถึง 6 ปี)

ใคร ท้อง แล้ว ลาออกจากงาน

คนท้องออกจากงานเสียสิทธิอะไรบ้าง หากในระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่เกิดลาออก เงินส่วนที่เป็นชดเชยระหว่างลาคลอด ที่คุณแม่จะได้รับจากจากประกันสังคม 45 วัน และจากนายจ้างอีกไม่เกิน 45 วัน โดยปกติกฏหมายแรงงานจะกำหนดให้จ่าย 50 % ซึ่งเงินส่วนนี้คุณแม่จะเสียไป

เบิกค่าคลอดประกันสังคมได้ที่ไหน

สถานที่ยื่นเรื่อง สามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมที่สะดวกทั่วประเทศ ยกเว้นที่สาขาสำนักงานใหญ่ภายในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข โดยสามารถยื่นได้เลย ไม่ต้องรอให้เด็กคลอดออกมาหรือจะรอยื่นพร้อมกับ เบิกค่าคลอดบุตร ประกันสังคม เมื่อเด็กคลอดมาแล้วก็ได้

เบิกค่าคลอดบุตรกี่วันได้ 2565

ตามประกาศของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ปี 2540 ระบุว่า พนักงานหญิงสามารถลาคลอดได้สูงสุด 90 วัน แต่กฎหมายล่าสุดได้เพิ่มสิทธิ์ในการลาคลอดอีกเป็น 8 วัน รวมเป็น 98 วัน โดยจะนับวันลาคลอด และนับวันที่ลาเพื่อไปตรวจครรภ์ก่อนคลอดรวมอยู่ในสิทธิ์การลาคลอด 98 วันนี้ด้วย