การพัฒนาหมู่บ้าน มีอะไรบ้าง

เดิมการจัดสรรงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาให้แก่ประชาชนในระดับหมู่บ้านนั้นอาจกล่าวได้ว่า ภาครัฐจะเป็นผู้ริเริ่มและดำเนินการทั้งหมด ส่วนประชาชนในระดับหมู่บ้านซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศและเป็นผู้ที่ประสบปัญหาจะมีโอกาสได้เข้ามามีส่วนร่วมน้อยมาก แต่เมื่อมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๗๘ (๒) กำหนดให้รัฐต้องจัดระบบการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น

ให้มีขอบเขตอำนาจหน้าที่ แและความรับผิดชอบที่ชัดเจนเหมาะสมแก่การพัฒนาประเทศและสนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณ เพื่อพัฒนาจังหวัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ ประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๕๓/ ๑ กำหนดให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติ และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด


นับจากปี ๒๕๕๐ เป็นต้นมา จังหวัดสามารถขอจัดตั้งงบประมาณเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดได้ โดยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดที่ครอบคลุมทุกมิติและแผนของจังหวัดจะต้อง

  • มีความสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศ นโยบายของรัฐบาล และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น รวมทั้งความต้องการและศักยภาพของประชาชน ความพร้อมของภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนในจังหวัด
  • ประสานและสร้างการมีส่วนร่วม พร้อมเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามาร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์ การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดเพื่อให้เกิดความเห็นพ้องต้องกันในยุทธศาสตร์ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และร่วมรับผิดชอบต่อการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ
  • บูรณาการตั้งแต่กระบวนการวางแผน กระบวนการกำหนดยุทธศาสตร์ การบริหารตามแผนและยุทธศาสตร์ รวมไปถึงการบูรณาการระหว่างแผ่นงานและแผนงบประมาณ การบูรณาการระหว่างภาครัฐ ภาคท้องถิ่น และภาครัฐกับภาคธุรกิจเอกชน

การที่จังหวัดจะทราบข้อมูลปัญหา ความต้องการและศักยภาพของประชาชนภายในจังหวัดได้ก็ต้องอาศัยกลไกในระดับหมู่บ้าน/ชุมชนเป็นผู้สะท้อนข้อมูลดังกล่าวให้จังหวัดในรูปแบบของแผนงาน/โครงการ ดังนั้น ก่อนจะได้มาซึ่งแผนงาน/โครงการที่เป็นปัญหาความต้องการของหมู่บ้าน ประชาชนในหมู่บ้านก็จะต้องมีการสำรวจข้อมูลของตนเอง ครัวเรือน และหมู่บ้านก่อน เมื่อทราบข้อมูลทั้งหมด แล้วก็จะต้อง

นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดลำดับความสำคัญของปัญหาแล้วทำเป็น “แผนพัฒนาหมู่บ้าน” ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ กม. เป็นกลไกหลักในการบูรณาการจัดทำในหมู่บ้าน เพราะผู้ที่เป็น กม. คือ คนของหมู่บ้านที่รู้ข้อมูล รู้ปัญหา รู้ความต้องการของประชาชนในหมู่บ้านดีกว่าคนอื่นที่อยู่นอกหมู่บ้าน

ในอดีตมีหลายหน่วยงานได้เข้าไปส่งเสริมสนับสนุนให้หมู่บ้านจัดทำแผนชุมชน เช่น กรมการพัฒนาชุมชน (พช.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. เทศบาล อบจ.) ในพื้นที่ สำนักงานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) เครือข่ายแผนแม่บทชุมชนพึ่ตนเอง ๔ ภาค เป็นต้น ซึ่งในบางหมู่บ้านอาจจะมีหน่วยงานลงไปสนับสนุนให้จัดทำแผนชุมชนมากกว่า  ๑ หน่วยงาน แล้วก็จะทำให้หมู่บ้านนั้น ๆ

มีแผนฯ มากกว่า  ๑ แผน ซึ่งแผนดังกล่าวอาจจะยังไม่ครอบคลุมทุกด้านและไม่มีการประสานและเชื่อมโยงเข้ากับแผนฯ อื่นๆ จึงส่งผลทำให้ปัญหาบางปัญหาของหมู่บ้านยังไม่ได้รับการแก้ไข ประชาชนในหมู่บ้านเกิดความเบื่อหน่ายและไม่เห็นความสำคัญของการจัดทำแผนฯ

ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวและเพื่อสร้างเอกภาพในการจัดทำแผนฯ ลดปัญหาความซ้ำซ้อน จึงได้มีการกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่  ๑ ๑ พ.ศ. ๒๕๕ ๑ ให้ กม. เป็นกลไกที่ทำหน้าที่ “บูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน”


โดย แผนพัฒนาหมู่บ้าน แบ่งออกเป็น ๕ ด้าน คือ

๑. ด้านเศรษฐกิจ เช่น โครงการ/กิจกรรมที่สามารถเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย การใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตการประกอบอาชีพเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยว การส่งเสริมและพัฒนาการประกอบอาชีพหลัก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านฝีมือ แรงงาน การเกษตร ค้าขาย เป็นต้น

๒. ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต เช่น โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง เช่น การใช้จ่ายนุ่มเฟือย พึ่งพาคนอื่นมากกว่าตนเอง การจัดสวัสดิการของหมู่บ้าน การก่อสร้างหรือซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของหมู่บ้าน เป็นต้น

๓. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการ/ กิจกรรมเกี่ยวกับการเตรียมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การปลูกป่าทดแทน การคัดแยกและจัดการขยะ เป็นต้น

๔. ด้านความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย เช่น โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด การตั้งเวรยามรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ การหาข่าว การสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหมู่บ้านข้างเคียง เป็นต้น

๕. ด้านการบริหารจัดการ เช่น โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างกฎกติกาของหมู่บ้าน การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานต่าง ๆ ของหมู่บ้าน เป็นต้น

สภาแห่งรัฐจีน เปิดเผยแนวทางใหม่ควบคุมโควิด คลายข้อจำกัดบางประการ ยกเลิกสแกนรหัสสุขภาพ อนุญาตกักตัวที่บ้านได้ รวมถึงผ่อนคลายการเดินทางภายในประเทศ

วันที่ 8 ธันวาคม ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า ในถ้อยแถลงที่รายงานผ่านสถานีโทรทัศน์ CCTV ของจีนเมื่อบ่ายวันที่ 7 ธ.ค.ที่ผ่านมา สภาแห่งรัฐของจีนได้เปิดเผยแนวทางใหม่ 10 ข้อ เพื่อคลายข้อจำกัดบางประการสำหรับการควบคุมโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อนุญาตให้กักตัวที่บ้านและยกเลิกการสแกนคิวอาร์โค้ดสุขภาพที่จำเป็นสำหรับการเข้าไปในสถานที่สาธารณะส่วนใหญ่

  • เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เสด็จติดตามพระอาการประชวร เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ
  • แถลงการณ์สำนักพระราชวังฉบับที่ 2 อาการพระประชวร เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯโดยรวมคงที่
  • คนละครึ่งเฟส 6 ลุ้นเข้าครม.พรุ่งนี้ ประสานเสียง ฐานะการคลังแข็งแกร่ง

ทั้งนี้ รัฐบาลท้องถิ่นได้ดำเนินการตามขั้นตอนแล้วในสัปดาห์นี้ ซึ่งบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เป็นไปได้ รวมถึงเมืองใหญ่บางแห่งที่คลายข้อกำหนดเกี่ยวกับการตรวจหาเชื้อโควิด

ซีเอ็นเอ็นระบุว่า นี่คือการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในนโยบายโควิดในระดับประเทศ ซึ่งเป็นการพลิกโฉมครั้งใหญ่โดยรัฐบาลกลาง ที่ตลอด 3 ปีที่ผ่านมายืนกรานว่า ข้อจำกัดนี้จะไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นวิธีเดียวที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับการสกัดกั้นไวรัสที่แพร่กระจายได้ไว

สำหรับการเปลี่ยนแปลงการควบคุมโควิดที่รัฐบาลจีนประกาศวานนี้ (7 ธ.ค.) อาทิ

ยกเลิกการใช้รหัสสุขภาพ QR ติดตามประชาชน

นับตั้งแต่ช่วงต้นของการระบาดใหญ่ จีนใช้รหัสสุขภาพ หรือ health code บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อติดตามสถานะสุขภาพของแต่ละบุคคล โดยสีของรหัสเหล่านี้ มีสีแดง สีเหลือง สีเขียว เพื่อตัดสินว่าผู้ใช้สามารถออกจากบ้าน ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ และเข้าไปในสถานที่สาธารณะได้หรือไม่ หรืออาจต้องกักตัว

ภายใต้หลักเกณฑ์ที่เผยแพร่ล่าสุด จะทำให้ประชาชนจีนสามารถเข้าไปในสถานที่ส่วนใหญ่ได้ โดยไม่ต้องแสดงผลการทดสอบที่เป็นลบหรือรหัสสุขภาพ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญหลังจากเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา รหัสสุขภาพนี้ทำให้กิจวัตรประจำวันและการดำรงชีวิตของผู้คนหยุดชะงัก

มีข้อยกเว้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ยังคงต้องมีการตรวจสอบเหล่านี้ เช่น สถานพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ และโรงเรียนมัธยม ขณะที่ธุรกิจต่าง ๆ สามารถกำหนดนโยบายการป้องกันและควบคุมตนเองได้

อนุญาตให้กักตัวที่บ้านได้

อีกการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง คือกรณีผู้ป่วยโควิดที่ไม่แสดงอาการ หรือผู้ที่มีอาการเล็กน้อยจะได้รับอนุญาตให้กักตัวที่บ้านแทนการถูกนำไปกักตัวในสถานที่ราชการ เว้นแต่พวกเขาจะเลือกเป็นอย่างอื่น ส่วนผู้ป่วยที่อาการแย่ลงจะถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา และสำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดสามารถกักตัวที่บ้านได้

ทั้งนี้ ตลอดช่วงที่มีการระบาดใหญ่ ชาวจีนประสบความวุ่นวายและความเครียดของการเข้าไปในค่ายกักกัน หลายคนบอกว่าไม่ชัดเจนว่าพวกเขาจะได้รับอนุญาตให้ออกไปได้เมื่อใด และหลายคนบ่นถึงสภาพสถานที่แออัดหรือย่ำแย่

Advertisement

ในหลายกรณี มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขฆ่าสัตว์เลี้ยงของผู้ที่ถูกกักตัวในสถานที่กักตัวที่รัฐบาลจัดให้ โดยอ้างถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพ และก่อให้เกิดความไม่พอใจที่เปิดเผยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของจีนทุกครั้ง รวมถึงเสียงวิจารณ์นโยบายหลังจากรายงานเมื่อต้นปีนี้ระบุว่า ผู้สูงอายุในบ้านถูกบังคับให้ออกจากบ้านกลางดึกเพื่อส่งตัวไปสถานที่กักกัน

ผ่อนคลายล็อกดาวน์ในพื้นที่ที่ความเสี่ยงต่ำ

หลักเกณฑ์ใหม่ยังกระตุ้นให้ทางการ “รับรองการทำงานตามปกติของสังคมและบริการทางการแพทย์ขั้นพื้นฐาน” โดยระบุว่าพื้นที่ที่ไม่ได้ถูกกำหนดให้มีความเสี่ยงสูง ไม่ควรจำกัดการเคลื่อนย้ายของผู้คนหรือปิดกิจการ

การล็อกดาวน์ทำได้เฉพาะใน “พื้นที่เสี่ยง” และควรยกเลิกทันที หากไม่พบผู้ป่วยรายใหม่เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน อีกทั้งเจ้าหน้าที่ห้ามปิดกั้นทางหนีไฟ อพาร์ตเมนต์ หรืออาคาร ทางเข้าและประตูอื่น ๆ เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยยังคงสามารถอพยพและไปพบแพทย์ได้หากจำเป็น

แนวทางเฉพาะนี้ มีขึ้นในช่วงเวลาที่อ่อนไหวโดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนยังคงสั่นคลอนจากกระแสการประท้วงตามที่สาธารณะที่เกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนและต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งถูกกระตุ้นโดยอย่างรุนแรงในภูมิภาคซินเจียง ภูมิภาคฝั่งตะวันตก เนื่องจากความโกรธของประชาชนปะทุขึ้นหลังจากวิดีโอของเหตุการณ์ดังกล่าวเผยแพร่ให้เห็นผลจากมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้นักผจญเพลิงเข้าถึงผู้ประสบภัยได้ล่าช้า

ในระหว่างการประท้วง ผู้คนหลายพันคนทั่วประเทศพากันออกมาตามท้องถนน เพื่อเรียกร้องให้ยุติการล็อกดาวน์และมาตรการปลอดโควิดอื่น ๆ โดยมีบางคนแสดงความไม่พอใจในวงกว้างต่อการเซ็นเซอร์และความเป็นผู้นำเผด็จการของพรรคคอมมิวนิสต์

ทำแผนฉีดวัคซีนผู้สูงวัย

สภาแห่งรัฐยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเร่งการฉีดวัคซีนโควิดในผู้สูงอายุ โดยกล่าวว่าสถานที่ทั้งหมดควร “จัดการการฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุด”

แม้ว่าสายพันธุ์โอมิครอนจะอ่อนกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า และอัตราการฉีดวัคซีนโดยรวมของจีนก็สูง ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า แม้แต่ผู้ป่วยหนักจำนวนเล็กน้อยในกลุ่มเปราะบางและกลุ่มที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน เช่น ผู้สูงอายุ ก็อาจล้นโรงพยาบาลได้ หากการติดเชื้อเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ

ตามข้อมูลของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจีน ระบุว่า กว่า 86% ของประชากรจีนที่มีอายุเกิน 60 ปีได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว และเหลือประมาณ 25 ล้านคนที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนใด ๆ จากการเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรอย่างเป็นทางการและข้อมูลการฉีดวัคซีนเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

ขณะที่สื่อของรัฐ ระบุว่า กลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ประมาณ 2 ใน 3 ได้รับการฉีดวัคซีนครบแล้ว แต่มีเพียง 40% เท่านั้นที่ได้รับการฉีดกระตุ้น ณ วันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

ผ่อนคลายกฎการเดินทางในประเทศ

กฎดังกล่าวยังช่วยให้การเดินทางภายในประเทศจีนง่ายขึ้น โดยผู้เดินทางข้ามภูมิภาคไม่จำเป็นต้องแจ้งผลการตรวจที่เป็นลบหรือรหัสสุขภาพ หรือตรวจเมื่อเดินทางมาถึงอีกต่อไป

ข้อกำหนดเดิมเหล่านี้ รวมถึงข้อจำกัดด้านการเดินทางอื่น ๆ เช่น การปิดชายแดนจังหวัด การระงับรถไฟและรถบัสภายในจังหวัด ที่เคยทำให้การเดินทางภายในประเทศยากลำบากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้รับการผ่อนคลาย หลังจากมาตรการเหล่านี้ ทำให้ชาวจีนจำนวนมากที่อยู่ห่างบ้านเกิดเพื่อหางานทำในเมืองและจังหวัดอื่น ต้องพลัดพรากจากครอบครัวเป็นเวลานาน หรือต้องอยู่ห่างไกลจากบ้านโดยไม่มีรายได้ในช่วงล็อกดาวน์

ในช่วงไม่กี่วันมานี้ ผู้ใช้โซเชียลมีเดียบางคนชี้ให้เห็นว่าวันตรุษจีนอยู่ห่างออกไปเพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น ซึ่งเป็นวันหยุดประจำปีที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนมักจะเดินทางกลับบ้านเพื่อสังสรรค์กับครอบครัว คล้ายกับวันขอบคุณพระเจ้าของชาวอเมริกัน

แต่สำหรับบางคน โอกาสในการเดินทางทั่วประเทศจำนวนมากทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการแพร่กระจายของไวรัส

“ฉันไม่ได้กลับบ้านในช่วงตรุษจีนมา 2 ปีแล้ว” คนหนึ่งกล่าวใน Weibo อีกคนเขียนว่า ไมันนานแล้ว ยินดีต้อนรับกลับบ้าน”

เปิดทางไปร้านขายยา โรงเรียนได้ภายใต้เงื่อนไขก็ติดตามตรวจสอบ

ส่วนหลักเกณฑ์อื่น ๆ อีก 2-3 ข้อ ยังมีแนวโน้มที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านจากนโยบายซีโร่โควิดไปสู่รูปแบบที่สร้างปัญหาน้อยลงได้ง่ายขึ้น เช่น โรงเรียนที่ไม่มีการระบาดของโควิดถูกขอให้ดำเนิน “กิจกรรมการสอนแบบออฟไลน์ตามปกติ”

พร้อมเปิดให้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในวิทยาเขตอีกครั้ง เช่น โรงอาหาร ห้องสมุด และสถานที่เล่นกีฬา โรงเรียนที่มีผู้ป่วยโควิดสามารถดำเนินการ “สอนและใช้ชีวิตตามปกติ” ต่อไปได้ ตราบใดที่พวกเขากำหนด “พื้นที่เสี่ยง” บางอย่างพร้อมมาตรการควบคุม

หลักเกณฑ์ดังกล่าวยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นการเข้าถึงยาได้อย่างกว้างขวาง โดยยกเลิกข้อจำกัดที่ก่อนหน้านี้ ที่ทำให้ยากต่อการซื้อยาแก้หวัดและยาแก้ไข้ในร้านขายยา นับตั้งแต่ช่วงต้นของการระบาดใหญ่ สะท้อนถึงความกังวลของสาธารณชนว่าการผ่อนปรนกฎอาจทำให้เกิดกระแส ผู้อยู่อาศัยจึงรีบไปที่ร้านขายยา โดยมีรายงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ยาแก้หวัดและยาลดไข้ขายดีมาก

สภาแห่งรัฐยังเรียกร้องให้แพทย์และสถานพยาบาลในท้องถิ่นติดตามสถานการณ์ด้านสุขภาพของประชากรหลักอย่างใกล้ชิดต่อไป รวมถึงความเสี่ยงที่จะเกิดกับผู้สูงอายุหรือผู้อยู่อาศัยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ผู้เชี่ยวชาญบางคนเตือนว่าการเปิดเมืองในวงกว้างจะนำมาซึ่งความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะกับกลุ่มเสี่ยง

“ความเสี่ยงที่สำคัญเมื่อประเทศต่าง ๆ ตัดสินใจถอยห่างจากนโยบายโควิดเป็นศูนย์ คือความเครียดที่จะเกิดขึ้นต่อระบบการดูแลสุขภาพ” รุกลันธี เดอ อัลวิส รองผู้อำนวยการศูนย์เตรียมความพร้อมรับมือการระบาดของ Duke-NUS Medical School กล่าว ในสิงคโปร์

การพัฒนาหมู่บ้านเพื่ออะไร

แผนพัฒนาหมู่บ้านมิใช่เป็นเพียงการศึกษาปัญหาของหมู่บ้านแล้วนามากาหนดเป็นแผนงาน/โครงการ พัฒนาด้านต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านเท่านั้น แต่แผนพัฒนาหมู่บ้าน เป็นกระบวนการที่ทาให้คนในหมู่บ้าน ได้ตระหนักถึงศักยภาพของตนเองที่มีอยู่และสามารถดึงศักยภาพของตนเองที่มีอยู่นั้นมาท าให้เกิดการปฏิบัติการที่เป็น รูปธรรม และสอดคล้อง ...

แผนพัฒนาหมู่บ้านคืออะไร

แผนพัฒนาหมู่บ้าน หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อจัดการตนเองที่ กม. และ ปชช. ร่วมคิด วิเคราะห์ปัญหา ศักยภาพหมู่บ้าน ภายใต้ข้อมูล ของหมู่บ้าน เพื่อจัดท าแผนงาน/โครงการ ที่ตอบสนองความต้องการที่ แท้จริง และสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาในระดับที่สูงขึ้น

โครงการพัฒนาหมู่บ้านมีอะไรบ้าง

ตามโครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ.
ร้านค้าชุมชน (อุปโภค – บริโภค/ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร/ผลิตภัณฑ์ชุมชน/ฯลฯ).
ตลาดชุมชน.
โรงน้ำดื่มชุมชน.
บริการประปาหมู่บ้าน/ชุมชน.
ปั๊มน้ำมันชุมชน.
เกษตรฟาร์มรวม (ปศุสัตว์/ประมง/เกษตรแปลงรวม/พืชเศรษฐกิจ/ฯลฯ).
โรงสีข้าวชุมชน.

การพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเป็นหน้าที่ของใคร

แผนชุมชนเป็นของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยครับ ไม่ใช่ของท้องถิ่นครับ เราไม่มีหน้าที่ไปยุ่งครับ เพียงแค่เข้าไปร่วมเท่านั้นครับ อำเภอนั่นแหละตัวดี ไม่ออกดำเนินการจัดทำ (พัฒนากรอำเภอ) ไม่เกี่ยวกับพัฒนาขุมชน วิเคราะห์ฯ ก็ไม่เกี่ยวครับ เรามีหน้าที่จัดทำแผนสามปีเท่านั้น ซึ่งจะต้องมาจากแผนชุมชน ตอนทำประชาคม