การทำ SWOT อยู่ ใน องค์ประกอบ ใด ของ แผนธุรกิจ

ถ้าพูดถึงการวางแผนธุรกิจ SWOT Analysis คงเป็นสิ่งที่หลายๆ คนคุ้นหูกันอยู่แล้ว แต่เชื่อว่ายังมีอีกหลายต่อหลายคนที่ยังไม่รู้ว่า SWOT Analysis คืออะไร? มีประโยชน์ และสามารถนำไปใช้ในการวางแผนธุรกิจได้มากน้อยแค่ไหน… วันนี้เรามาเจาะลึกถึงการทำ SWOT Analysis กันเลยดีกว่า ขอบอกเลยว่าใครก็ตามที่ทำ ธุรกิจ SME ไม่ควรพลาดอย่างเด็ดขาด

Show

Swot Analysis คือ หลักทฤษฎีการวิเคราะห์ชนิดหนึ่งที่มักใช้วิเคราะห์สถานะขององค์กร หรือธุรกิจ โดยการวิเคราะห์ด้วยวิธีการทำ SWOT จะนำเอาจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร รวมถึงโอกาสและอุปสรรค เข้ามาใช้พิจารณา และวิเคราะห์สถานะภาพของกิจการ เพื่อประโยชน์ในการใช้วางแผนงาน ตลอดจนการสร้างกลยุทธ์ต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจ หรือดำเนินกิจการองค์กรให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงขององค์กรอย่างที่สุด  

Swot Analysis มีอะไรบ้าง

การทำ SWOT เพื่อนๆ จะต้องสามารถพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ที่แวดล้อมธุรกิจที่กำลังวิเคราะห์อยู่ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ปัจจัยสำคัญ โดย ทฤษฎี SWOT ธุรกิจ แบ่งออกเป็น ปัจจัยภายในองค์กร (Internal factors) และปัจจัยภายนอกองค์กร (External factors) ดังนี้

1.จุดแข็ง (Strengths)

จุดแข็ง คือ ข้อได้เปรียบของกิจการ หมายถึงลักษณะพิเศษหรือลักษณะเด่นขององค์กรที่เอื้อต่อการประสบความสำเร็จ สามารถนำมาใช้ประโยชน์และใช้แข่งขันกับคู่แข็งได้ ยกตัวอย่างเช่น ความสามารถเฉพาะทางของผู้ประกอบในการดำเนินธุรกิจ ความสามารถในการนำนวัตกรรมมาใช้ในการดำเนินกิจการ การทำงานร่วมกันเป็นอย่างดีของบุคลากรภายในองค์กร การมีความสัมพันธ์ที่ดีหรือมีพาร์ทเนอร์ที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินกิจการขององค์กร ธุรกิจที่ทำลงทุนน้อยและคืนทุนเร็ว

2.จุดอ่อน (Weakness)

จุดอ่อน คือ ข้อด้อย ข้อเสีย หรือปัญหาภายในองค์กร ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการ ที่สามารถนำไปสู่ความล้มเหลวของการทำธุรกิจได้ ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาด้านการสื่อสารของบุคลากรภายในองค์กร การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีลิขสิทธิ์ ค่าเช่าที่ในการดำเนินกิจการมีราคาสูง อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมสูง 

เรื่องราวน่าสนใจ

3.โอกาส (Opportunity)

เกิดจากปัจจัยภายนอก ที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบในแง่ของการเอื้อประโยชน์ให้กับการดำเนินกิจการของบริษัท โอกาสต่างจากจุดแข็งตรงที่ เป็นปัจจัยที่เกิดจากภายนอกองค์กรแต่ส่งผลในทางที่ดีกับองค์กร  เป็นความได้เปรียบที่เอื้อต่อความสำเร็จของการดำเนินกิจการ ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลออกนโยบายที่สนับสนุนอุตสาหกรรมที่กิจการกำลังดำเนินธุรกิจอยู่ เศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงขาขึ้น หรือการมีเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยให้การดำเนินกิจการเป็นไปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น

4.อุปสรรค (Threats)

อุปสรรค หมายถึงความเสียเปรียบ หรือผลเสียจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อกิจการ อาจนำมาซึ่งปัญหา และความล้มเหลวของกิจการได้ เช่น เศรษฐกิจที่กำลังตกต่ำ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น การเพิ่มค่าแรงของแรงงาน หรือ นโยบายอัตราดอกเบี้ยที่ถูกปรับให้สูงขึ้น 

การทำ SWOT อยู่ ใน องค์ประกอบ ใด ของ แผนธุรกิจ

ตัวอย่าง SWOT

มาถึงตรงนี้ เราจะลองมาดูตัวอย่างการวิเคราะห์หรือการทำ SWOT ให้ได้เห็นภาพกันมากขึ้น

ยกตัวอย่าง : ธุรกิจโรงแรมในจังหวัดเชียงใหม่

จุดแข็ง 

  • โรงแรมตั้งอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง
  • เนื่องจากโรงแรมเป็นธุรกิจในครอบครัว จึงมีค่าใช้จ่ายในการจ้างงานน้อยกว่าโรงแรมคู่แข่ง
  • เจ้าของโรงแรมมีประสบการณ์ในการบริหารโรงแรมมาก่อน
  • กิจการมี Partner ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหลายแห่งเช่น ร้านอาหาร บริการทัวร์ท่องเที่ยว ทำให้ผู้ใช้บริการที่พักกับโรงแรมได้รับส่วนลด และสิทธิประโยชน์ต่างๆ 

จุดอ่อน

  • มีพนักงานให้บริการและอำนวยความสะดวกจำนวนน้อย
  • ห้องพักมีลักษณะเดียวไม่มีความหลากหลาย
  • การจองห้องพักไม่สามารถทำได้ผ่านระบบออนไลน์ 

โอกาส 

  • นโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวแก่ชาวต่างชาติ เช่น การยกเลิกวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวบางประเทศ 
  • นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศให้กับคนไทย เช่น การนำค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวเมืองหลักมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้
  • มีแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่เปิดให้บริการในจังหวัด 

อุปสรรค

  • เศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาลง ทำให้คนมีเงินใช้จ่ายในการท่องเที่ยวน้อยลง
  • นักท่องเที่ยวเปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง เป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม นิยมการเข้าพักในรูปแบบของโฮมสเตย์มากขึ้น 
  • ข่าวเรื่องมลภาวะทางอากาศ ทำให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่ลดน้อยลง 

การทำ SWOT Analysis ถือเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ประกอบการ หรือผู้นำองค์กร เพราะช่วยให้ผู้ประกอบการมองสภาวะภายใต้การดำเนินกิจการของธุรกิจได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ SWOT Analysis ยังมีประโยชน์ในการช่วยวางแผนการดำเนินงาน ในด้านต่างๆ ของกิจการได้ ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันจุดแข็งของบริษัท การนำโอกาสที่มีมาใช้เพื่อเอื้อประโยชน์ และความสำเร็จให้กับกิจการ รวมทั้งการป้องกันและวางแผนจัดการกับจุดอ่อนและอุปสรรค 

การจัดทำ SWOT Analysis ให้สะท้อนความเป็นจริงที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกกิจการ ถือเป็นการทำ SWOT ที่มีประสิทธิภาพ และสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจธุรกิจได้อย่างแท้จริง  

SWOT Analysis คือ เครื่องมือวิเคราะห์แผนธุรกิจที่อยู่คู่หลักการบริหารธุรกิจมาอย่างยาวนาน เป็นเครื่องมือที่เรียบง่ายแต่ทรงพลังอย่างไม่น่าเชื่อ ในบทความนี้ Good Material จะมาเล่าถึง SWOT ว่ามีประโยชน์อย่างไร อะไรคือข้อจำกัด มีหลักการเขียนและวิธีการนำไปใช้อย่างไรเพื่อให้ธุรกิจของคุณได้ประโยชน์สูงสุดครับ

Table of Contents

  • SWOT คือ
  • ประวัติและวิวัฒนาการของ SWOT
  • ประโยชน์ของ SWOT Analysis
  • ข้อจำกัดของ SWOT Analysis
  • เมื่อไหร่ควรใช้ SWOT Analysis
  • การสร้าง SWOT Analysis
    • เคล็ดลับเกี่ยวกับการวิเคราะห์ SWOT
    • คำแนะนำก่อนเริ่มวิเคราะห์ SWOT
  • ขั้นตอนวิธีการวิเคราะห์ SWOT แต่ละปัจจัย
    • Strengths : จุดแข็ง
    • Weaknesses : จุดอ่อน
    • Opportunities : โอกาส
    • Threats : อุปสรรค/ภัยคุกคาม
  • ตัวอย่าง SWOT ในการวิเคราะห์กิจการ
  • สรุป

SWOT คือ

SWOT Analysis คือ ตัวอักษร 4 ตัวที่มาจากภาษาอังกฤษ 4 คำ ประกอบด้วย Strengths , Weaknesses , Opportunities และ Threats

  • Strengths = จุดแข็ง , Weaknesses = จุดอ่อน : เป็นสิ่งที่อยู่ภายในบริษัทของคุณ ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมเปลี่ยนแปลงได้ ตัวอย่างเช่น ทรัพยากรบุคคลที่อยู่ในทีม จำนวนสิทธิบัตร จำนวนเทคโนโลยีหรือทรัพย์สินทางปัญญา
  • Opportunities = โอกาส , Threats = อุปสรรคหรือภัยคุกคาม : เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอกบริษัท ถือเป็นปัจจัยภายนอก โดยคุณสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาส และสามารถป้องกันตัวจากภัยคุกคามนี้ได้ แต่คุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงมันได้ ตัวอย่างเช่น นโยบายภาครัฐ คู่แข่ง ราคาวัตถุดิบ และแนวโน้มการจับจ่ายของลูกค้า

การทำ SWOT อยู่ ใน องค์ประกอบ ใด ของ แผนธุรกิจ

ประวัติและวิวัฒนาการของ SWOT

ประวัติของ SWOT นั้นค่อนข้างจะคลุมเครือมีที่มาจากหลายแหล่งด้วยกัน 

ช่วงปี 1960 ถึง 1970 (ช่วงปี พ.ศ.2503) : ในโครงการวิจัยที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด Albert Humphrey ได้พัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์เพื่อประเมินแผนกลยุทธ์ และค้นหาสาเหตุที่การวางแผนขององค์กรในยุคนั้นมักจะล้มเหลว โดยเขาได้บัญญัติเทคนิกการวิเคราะห์ที่ชื่อว่า SOFT โดยที่

  • S  = Stood : หมายถึงการยืนหยัดในสิ่งที่พอใจในปัจจุบัน
  • O = Opportunities : หมายถึงโอกาสในการไขว่คว้าสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต
  • F  = Faults : หมายถึงความผิดพลาดในปัจจุบัน
  • T  = Threats : ภัยคุกคามที่มีโอกาสเกิดขึ้น

การทำ SWOT อยู่ ใน องค์ประกอบ ใด ของ แผนธุรกิจ

คุณ Albert Humphrey รูปภาพจาก wikipedia.org

ปี ค.ศ. 1964 หรือ  (พ.ศ. 2507) : มีการกล่าวถึงคำว่า SWOT ครั้งแรกในงานสัมมนาที่ชื่อว่า Long Range Planning จัดขึ้นที่เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในงานนั้น Urick and Orr ได้เสนอแนวคิดการวิเคราะห์ SWOT ซึ่งได้มาจาก SOFT โดยมีการปรับเปลี่ยน แทนที่ F ที่มาจากความผิดพลาด เป็น W : Weaknesses ที่หมายถึงจุดอ่อน หลังการโปรโมทครั้งแรกแที่ประเทศอังกฤษ แนวคิดนี้ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว

ช่วงปี 1982  หรือ (พ.ศ. 2525) : ได้มีอีกพัฒนาการที่สำคัญของประวัติศาสตร์การวิเคราะห์ SWOT คือ การพัฒนาเมทริกซ์โดยบุคคลที่ชื่อว่า Dr.Heinz Weihrich  ได้เสนอให้ใช้เมทริกซ์ 2×2 ในการวิเคราะห์ SWOT โดยเมทริกซ์นี้ได้รับความนิยมในตอนแรกว่า TOWS Matrix

ช่วงหลังทศวรรษ 1980 : SWOT ได้รับความสนใจจากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการและเป็นส่วนสำคัญของกลไลการวางแผนเชิงกลยุทธ์ หากคุณศึกษาประวัติของเครื่องมือหรือแนวคิดการจัดการ จะมีแนวคิดที่คล้ายกันอยู่เป็นจำนวนมากในงานวิจัยต่างๆ แต่มีเพียงไม่กี่เครื่องมือที่เหลือรอดมาจนถึงปัจจุบัน จากประวัติศาสตร์จึงเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่า SWOT Analysis เป็นหนึ่งในเครื่องมือวางแผนกลยุทธ์ที่ดีที่สุดและใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด

ประโยชน์ของ SWOT Analysis

ประโยชน์ของ SWOT Analysis คือ คุณไม่มีต้นทุนในการใช้งานเลย หรือถ้ามีก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ว่าใครก็ตามที่เข้าใจธุรกิจก็สามารถทำการวิเคราะห์ SWOT ได้ และคุณเองยังสามารถนำ SWOT ไปใช้วิเคราะห์คู่แข่งของคุณเพื่อประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจและการแข่งขันอีกด้วย

ข้อดีอีกอย่างของ SWOT คือ การมุ่งเน้นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีผลต่อธุรกิจของคุณ ดังนี้ :

  • เข้าใจธุรกิจของคุณดีขึ้น
  • สามารถเข้าใจจุดอ่อน แล้วแก้ไขจุดอ่อนได้ทันเวลา
  • สามารถยับยั้งภัยคุกคามหรือป้องกันล่วงหน้าได้
  • รับรู้และใช้ประโยชน์จากจุดแข็ง เพื่อเสริมสร้างโอกาสได้มากขึ้น
  • นำสิ่งที่วิเคราะห์จาก SWOT ไปพัฒนากลยุทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น

 

ข้อจำกัดของ SWOT Analysis

เมื่อคุณได้ทำการวิเคราะห์ SWOT ควรจำไว้ว่านี่เป็นเพียงหนึ่งในขั้นตอนของการวิเคราะห์แผนธุรกิจเท่านั้น สำหรับปัญหาที่ซับซ้อน คุณต้องทำการวิจัยและวิเคราะห์ในเชิงลึกมากยิ่งขึ้นไปอีก

อีกประเด็นหนึ่งสำหรับข้อจำกัดของ SWOT Analysis คือ เครื่องมือนี้ครอบคลุมเฉพาะประเด็นที่ถือได้ว่าเป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส หรือ ภัยคุกคามเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องยากที่จะจัดการกับปัจจัยที่มีความคลุมเครือหรือเป็นทั้งสองปัจจัยในเรื่องเดียวกัน เช่น ปัจจัยที่เป็นทั้งจุดแข็งพร้อมๆกับจุดอ่อน (ตัวอย่างเช่น คุณเปิดร้านอาหารที่อยู่ในทำเลที่ดีมากเป็นจุดแข็งด้านทำเล แต่ค่าเช่าสถานที่ต่อเดือนสูงมาก ซึ่งอาจจะเป็นจุดอ่อนด้านต้นทุน)

และนี่คือข้อจำกัดของการวิเคราะห์ด้วย SWOT :

  • ไม่มีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
  • ไม่มีทางแก้ปัญหาหรือเสนอทางเลือกในการตัดสินใจ
  • อาจสร้างแนวคิดได้มากเกินไป แต่ไม่ได้ช่วยให้คุณเลือกแนวคิดที่ดีที่สุด
  • สามารถสร้างข้อมูลได้มาก แต่อาจจะใช้ประโยชน์ไม่ได้ทั้งหมด

 

เมื่อไหร่ควรใช้ SWOT Analysis

การวิเคราะห์ SWOT อย่างละเอียดช่วยให้คุณสามารถระบุปัจจัยทั้งภายในและภายนอก แผนภาพและผลการวิเคราะห์จะมีประโยชน์มากขึ้นเมื่อคุณนำสิ่งที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง ก่อนที่จะเริ่มควรมีคำถามที่ชัดเจน การถามคำถามอย่างชัดเจนตรงไปตรงมาและอิงกับสถานการณ์ปัจจุบัน จะช่วยให้คุณค้นพบจุดอ่อนในแผนการ แผนงบประมาณ หรือเป้าหมาย คุณอาจจะใช้เครื่องมืออย่าง “5 Whys” เพื่อช่วยในการหาปัญหาที่แท้จริงและเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น SWOT Analysis จะมีประโยชน์มากในช่วงเริ่มต้นของโครงการหรือเมื่อทีมของคุณประสบปัญหา

นี่คือตัวอย่างบางส่วนที่คุณสามารถใช้ SWOT เพื่อแก้ไขปัญหา

  • การขยายธุรกิจไปสู่ตลาดใหม่ : การขยายตลาดมีหลายสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็น การที่คุณประสบความสำเร็จในประเทศและต้องการขยายไปต่างประเทศ หรือ คุณประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจออฟไลน์และต้องการขยายเข้าสู่ออนไลน์ คุณจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จะใช้มี จุดแข็ง จุดอ่อน อะไรบ้าง รวมถึงโอกาสในการขยายตัวมีอะไรบ้าง ถ้าคุณเห็นตลาดดูสดใสงดงาม (Blue Ocean) แต่ภัยคุกคามของคู่แข่งรายใหม่หรือกฎระเบียนอาจจะยังไม่ชัดเจน คุณจะต้องตรวจสอบเชิงลึกมากขึ้น
  • แนวคิดทางธุรกิจใหม่ : การกระโจนเข้าสู่ธุรกิจที่คุณไม่รู้จักไม่คุ้นเคย อาจจะทำให้มิติในการประเมินธุรกิจใช้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพมากนัก การวิเคราะห์ SWOT สามารถช่วยการจัดระเบียบความคิดของคุณ และทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่จะประสบความสำเร็จในอนาคต
  • โอกาสในการลงทุน : การลงทุนไม่ว่าจะเป็นการลงทุนเครื่องจักรใหม่ การลงทุนซื้อกิจการ หรือซื้อโปรแกรมใหม่สำหรับบริษัท การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของการได้มา ช่วยป้องกันการซื้อที่ไม่มีประสิทธิภาพได้ การแสดงแผนภาพ SWOT ในการพิจารณาสิ่งต่างๆจะช่วยให้คุณมองเห็นตัวเลือกที่เหมาะสม
  • การหาหุ้นส่วนที่มีศักยภาพ : SWOT Analysis เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการตรวจสอบความเข้ากันได้ส่วนบุคคล หากคุณกำลังคิดที่จะร่วมทีมทำธุรกิจ Start Up หรือรวมตัวทำงานกลุ่ม การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละคนว่าจะเข้ามาส่งเสริมกันหรือขัดแย้งกัน หรือแม้แต่บุคคลที่เข้ามาอาจจะเป็นอุปสรรคไม่ใช่โอกาส การวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนจะช่วยในการเลือกบุคคลที่เหมาะสมกับคุณมากยิ่งขึ้น

การทำ SWOT อยู่ ใน องค์ประกอบ ใด ของ แผนธุรกิจ

การสร้าง SWOT Analysis

เคล็ดลับเกี่ยวกับการวิเคราะห์ SWOT

แผนภาพ SWOT มักจะมีความตรงไปตรงมา แต่ขั้นตอนการกรอกข้อมูลอาจจะไม่ง่ายนัก เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากเมทตริกซ์ที่คุณสร้าง ลองนำคำแนะนำเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะครับ

  • โปรดจำไว้ว่าการวิเคราะห์ SWOT คือ การประเมินปัจจุบันไม่ใช่อดีตหรืออนาคต ในขณะที่ 4 มิติของการวิเคราะห์ช่วยให้คุณคิดถึงความเป็นไปได้ และอย่าลืมระบุทุกรายละเอียดตามความเป็นจริง อย่าเข้าข้างตัวเองมากเกินไป!
  • ใช้การวิเคราะห์ SWOT เพื่อเป็นแนวแทาง อย่านำมาเป็นกฎชี้เป็นชี้ตาย เพราะแต่ละปัจจัยสามารถถกเถียงกันได้ไม่รู้จบ ที่สำคัญคือการทำให้ทีมของคุณมีความเป็นปึกแผ่น และวิเคราะห์เพื่อให้ธุรกิจเดินไปข้างหน้าอย่างมีจุดหมายด้วยกัน

 

คำแนะนำก่อนเริ่มวิเคราะห์ SWOT

1.รวบรวมคนที่เหมาะสม

ก่อนอื่นคุณควรรวบรวมคนจากส่วนต่างๆในบริษัท และตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีตัวแทนจากทุกแผนกที่เกี่ยวข้องหรืออาจจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรง จะช่วยให้คุณได้มุมมองที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งจะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการวิเคราะห์ SWOT ให้ประสบความสำเร็จ

2.โยนความคิดของคุณออกไป

การวิเคราะห์ SWOT คล้ายกับการประชุมระดมความคิด หนึ่งในวิธีที่แนะนำคือ ให้แต่ละคนใช้กระดาษโน๊ตหรือ Post it เขียนไอเดียของตัวเองอย่างเงียบๆ ไม่จำเป็นต้องระบุว่ากระดาษแผ่นนั้นเป็นของใคร ซึงจะป้องกันการรวมกลุ่มคิด ป้องกันการกลัวที่จะคิดผิดของพนักงานที่ตำแหน่งต่ำกว่า จะทำให้คุณเห็นถึงเสียงทั้งหมดอย่างแท้จริง

หลังจากทุกคนคิดและเขียนไอเดียของตนเองเสร็จแล้วอาจใช้เวลา 5 ถึง 10 นาที รวบรวมกระดาษโน๊ตทั้งหมดมาติดไว้ที่ผนังและจัดกลุ่มของความคิดที่คล้ายกันเข้าด้วยกัน

3.จัดลำดับความคิด

เมื่อคุณรวมกลุ่มของความคิดทั้งหมดเสร็จแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะจัดลำดับความคิด วิธีการอาจจะทำโดยการให้ทุกคนมีคะแนนของตนเอง และลงคะแนนโหวตกับหัวข้อที่ตนเองคิดว่ามีความสำคัญจากประเด็นต่างๆ

หลังจากการโหวตคุณจะมีรายการแนวคิดที่ถูกจัดลำดับความสำคัญ เพื่อนำไปถกเถียงและสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจต่อไป

 

การทำ SWOT อยู่ ใน องค์ประกอบ ใด ของ แผนธุรกิจ

ขั้นตอนวิธีการวิเคราะห์ SWOT แต่ละปัจจัย

ขั้นตอนแรกคือ การวาดเมทริกซ์สำหรับการวิเคราะห์ SWOT ส่วนมากจะวาดเป็นตารางขนาด 2×2 จะแบ่งออกมาได้ 4 ช่องด้วยกัน หนึ่งช่องสำหรับแต่ละด้านของ SWOT เขียนระบุลงไปให้ครบทั้ง 4 ด้าน (ตามรูปที่เราได้ยกตัวอย่างด้านบนครับ)

หลังจากนั้นเรามาเริ่มลงรายละเอียดแต่ละปัจจัยของธุรกิจกันเลยครับ

Strengths : จุดแข็ง

จุดแข็งคือสิ่งที่องค์กรของคุณทำได้ดีเป็นพิเศษหรือข้อได้เปรียบที่ทำให้คุณแตกต่าง นึกถึงข้อดีที่องค์กรคุณมีเหนือองค์กรอื่น สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นเทคโนโลยี แรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน ข้อได้เปรียบในการเข้าถึงวัสดุบางอย่าง หรือกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มส่วนของข้อดีข้อได้เปรียบที่คิดได้ลงในส่วนของจุดแข็ง

จากนั้นลองเปลี่ยนมุมมองของคุณดูบ้าง ลองคิดในมุมของคู่แข่งว่าอะไรเป็นจุดแข็ง และอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้คุณประสบความสำเร็จมาถึงปัจจุบัน จะช่วยให้คุณได้มุมมองที่แตกต่างขึ้น

ชุดคำถามที่ช่วยในการวิเคราะห์จุดแข็ง

  • คุณมีข้อได้เปรียบอะไรบ้างในการแข่งขัน
  • คุณมีทรัพย์สินอะไรบ้าง เช่น เทคโนโลยี การเงินที่แข็งแรง หรือ สิทธิบัตร
  • คุณมีทรัพยากรใดบ้างในทีมของคุณ เช่น บุคคลที่มีความรู้เฉพาะทาง บุคคลที่มีชื่อเสียง
  • กระบวนการทางธุรกิจใดบ้างที่ประสบความสำเร็จ

 

Weaknesses : จุดอ่อน

มาถึงขั้นตอนนี้คือ การพิจารณาจุดอ่อนขององค์กรอย่าง ซื่อสัตย์! การวิเคราะห์ SWOT จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อคุณรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่คุณต้องการ ดังนี้จงเผชิญหน้ากับความเป็นจริงที่คุณไม่พึงประสงค์โดยเร็วที่สุด

การพิจารณาจุดอ่อนก็มีลักษณะเช่นเดียวกับ จุดแข็ง คือเป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกองค์กรซึ่งควรมุ่งเน้นไปที่ระบบทรัพยากรบุคคล ระบบการทำงาน และประสิทธิภาพของเครื่องจักร คิดถึงสิ่งที่คุณสามารถปรับปรุงได้ และแนวทางปฎิบัติที่ควรหลีกเลี่ยง

ลองคิดในมุมของลูกค้า คู่แข่งหรือคนอื่นๆ ว่าเขาเห็นคุณเป็นอย่างไร  พวกเขาเห็นอะไรที่คุณมองไม่เห็นหรือไม่ หรืออาจจะใช้เวลาตรวจสอบคู่แข่งของคุณว่าเขาทำได้ดีกว่าในเรื่องใดบ้าง ทำไม อย่างไร และคุณขาดอะไร

ชุดคำถามที่ช่วยในการวิเคราะห์จุดอ่อน

    • กระบวนการใดบ้างในธุรกิจที่คุณต้องปรับปรุง
    • ทรัพย์สินใดบ้างที่ธุรกิจคุณต้องการเพิ่ม เช่น เครื่องจักรใหม่ หรือ เงินสดสำรอง
    • สถานที่ทำงาน โรงงาน ของคุณเหมาะสำหรับความสำเร็จหรือไม่
    • ทักษะหรือทรัพยากรบุคคลใดบ้างที่ทำให้ธุรกิจไม่เติบโต

Opportunities : โอกาส

โอกาสคือช่องว่างบางอย่างที่เกิดขึ้นและสามารถส่งผลเชิงบวกกับองค์กรของคุณ แต่ถึงอย่างไรก็ตามคุณต้องเป็นผู้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของโอกาสนั้นด้วยตนเอง

โอกาสมักจะเกิดขึ้นจากสถานการณ์ภายนอกองค์กรของคุณ ซึ่งคุณจะต้องคอยจับตาสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในโซเชียลมีเดียและเทรนด์แนวโน้มของอนาคต ในมุมของโซเชียลมีเดียอาจจะเป็นกระแสบางอย่างหรือคลิปไวรัลของเหล่าอินฟลูเอ็นเซอร์ที่ช่วยนำเสนอแบรนด์ของคุณออกไป มุมของโอกาสในอนาคตเกิดจากการพัฒนาตลาดที่คุณให้บริการหรือในเทคโนโลยีที่คุณใช้ หรือเทคโนโลยีที่คุณสามารถผลิตได้ ความสามารถในการมองเห็นและใช้ประโยชน์จากโอกาส สามารถสร้างความแตกต่างกับการแข่งขันและช่วยให้คุณเป็นผู้นำในตลาดของคุณ

คิดถึงโอกาสดีๆที่คุณสามารถมองเห็นได้ สิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งยิ่งใหญ่ที่หวังจะเปลี่ยนองค์กรคุณจากหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะการมองเห็นโอกาสและสร้างข้อได้เปรียบเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเพิ่มความสามารถในการแข็งขันของคุณได้ คุณควรตรวจสอบแนวโน้มของตลาดอย่างสม่ำเสมอเพื่อหาโอกาสไม่ว่าเล็กหรือใหญ่

นอกจากนี้ นโยบายภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิถีชีวิตล้วนสามารถทำให้เกิดโอกาสที่น่าสนใจได้ทั้งสิ้น

ชุดคำถามที่ช่วยในการวิเคราะห์โอกาส

      • ตลาดของคุณกำลังเติบโตและมีแนวโน้มจะกระตุ้นผู้คนให้ซื้อสินค้าหรือบริการของคุณมากขึ้นหรือไม่
      • นโยบายของรัฐบาล หรือ นโยบายต่างประเทศของประเทศใดบ้างที่ส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณ
      • กระแสทางโซเชียลใดบ้างที่ส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณ
      • มีกิจกรรมใดบ้างที่กำลังจะเกิดขึ้น และบริษัทของคุณอาจสามารถใช้ประโยชน์จากการเติบโตใดได้บ้าง

 

Threats : อุปสรรค/ภัยคุกคาม

ภัยคุกคามคือปัจจัยจากภายนอกที่คุณไม่สามารถกำหนดหรือควบคุมได้ รวมถึงสิ่งที่อาจะส่งผลเสียต่อธุรกิจของคุณ เช่น ปัญหาซัพพลายเชน การเปลี่ยนแปลงความต้องการของตลาด หรือ การขาดแคลนพนักงาน สิ่งที่สำคัญคือ คุณจะต้องคาดการณ์สิ่งที่จะเป็นภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และดำเนินการป้องกันก่อนที่คุณจะตกเป็นเหยื่อของสิ่งเหล่านั้นซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจ

ภัยคุกคามที่น่ากลัวคือพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่คุ้นเคย คุณจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทันต่อกระแสโลก สองตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือเคสของ Nokia ที่เป็นเจ้าตลาดขายโทรศัพท์แต่โดนกระแสของ Smart Phone เข้ามาถาโถมและปรับเปลี่ยนไม่ทันเพราะคิดว่าตัวเองเป็นที่หนึ่ง หรือ เคสของ Kodak ที่ผลิตและเป็นเจ้าตลาดขายกล้องฟิล์มแต่กระแสของผู้บริโภคหันไปใช้กล้องดิจิตอลมากขึ้น เป็นต้น

อย่าลืมพิจารณาสิ่งที่คู่แข่งของคุณกำลังทำอยู่เสมอ

ชุดคำถามที่ช่วยในการวิเคราะห์ภัยคุกคาม

      • มีคู่แข่งคุณที่อาจจะเข้ามาในตลาดอีกหรือไม่
      • มีแนวโน้มของตลาดที่อาจจะเป็นภัยคุกคามหรือไม่
      • การพัฒนาของเทคโนโลยีในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงวิธีทำธุรกิจของคุณได้หรือไม่
      • ซัพพลายเออร์สามารถหาวัตถุดิบในราคาที่คุณต้องการได้หรือไม่

หนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้คุณวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกได้หลากหลายและครบทุกมิติมากยิ่งขึ้นคือ PESTEL Analysis ซึ่งประกอบด้วย

      • Political : ปัจจัยด้านการเมือง
      • Economic : ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
      • Social : ปัจจัยด้านสังคม / รวมถึงสังคมออนไลน์
      • Technology : ปัจจัยด้านเทคโนโลยี
      • Environment : ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
      • Legal : ปัจจัยด้านกฎหมาย

บทความที่เกี่ยวข้อง : Pestel analysis คือ เทคนิค วิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ที่ธุรกิจไม่ควรพลาด

ตัวอย่าง SWOT ในการวิเคราะห์กิจการ

เพื่อให้คุณเข้าใจและเห็นภาพ เราขอวิเคราะห์กิจการ OilPure Thailand ของเรา เพื่อเป็นกรณีศึกษาว่า SWOT เมื่อวิเคราะห์ออกมาแล้วจะมีหน้าตาอย่างเป็นอย่างไร ?

OilPure Technology เป็นบริษัทแม่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและจดสิทธิบัตรความเป็นเจ้าของเป็นที่เรียบร้อย โดยเทคโนโลยีของเราสามารถกรองเพื่อยืดอายุน้ำมันหล่อลื่นในอุตสาหกรรม เช่น น้ำมันไฮดรอลิค น้ำมันเกียร์ น้ำมันชุบแข็ง ให้กลับมาสะอาดเหมือนน้ำมันใหม่ ช่วยให้ลูกค้าที่ใช้บริการไม่ต้องเปลี่ยนน้ำมันไปอีกอย่างน้อย 5 ถึง 10 ปี โดยสามารถกำจัด เศษอนุภาค น้ำและความชื้น รวมถึง ค่าความเป็นกรด (TAN : Total Acid Number) ที่เกิดจาก Oxidation ของน้ำมันได้

การทำ SWOT อยู่ ใน องค์ประกอบ ใด ของ แผนธุรกิจ

นี่คือสิทธิบัตรที่บริษัท OilPure Technology จดทะเบียนไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

บริษัทกำลังวางแผนที่จะเข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทย ในรูปแบบของการบริการ (On Site Service) ภายใต้ชื่อ OilPure Fluid Care โดยบริการของเราจะประกอบไปด้วย การวิเคราะห์น้ำมันหล่อลื่นในปัจจุบันว่ามีสภาพเป็นอย่างไร หลังจากนั้นเครื่องจักรของเราที่ถูกบรรทุกบนรถเทลเลอร์จะเข้าไปให้บริการถึงโรงงานของคุณ นำไปติดตั้งกับถังน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วหรือเครื่องจักรของลูกค้า และมีรายการรายงานผลหลังให้บริการเสร็จ

การทำ SWOT อยู่ ใน องค์ประกอบ ใด ของ แผนธุรกิจ

เครื่องจักรและเทคโนโลยีของ OilPure

ทำการวิเคราะห์ SWOT ของเราออกมาได้ดังนี้ :

จุดแข็ง

      • เรามีประสบการณ์ในสายงานน้ำมันในประเทศสหรัฐอเมริกากว่า 30 ปี ทำให้มีกรณีศึกษาจริงจำนวนมาก
      • เรามีเทคโนโลยีในการกรองยืดอายุน้ำมันหล่อลื่นที่สามารถใช้งานได้จริง และพิสูจน์มาแล้ว
      • ผู้บริหาร คุณวิชัย ศรีมงคงกุล เคยเป็นหนึ่งในคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานน้ำมันหล่อลื่น ASTM มาก่อน
      • เทคโนโลยีของเราสามารถกรองอนุภาคขนาดเล็กว่า 3 ไมครอนได้
      • เทคโนโลยีของ OilPure สามารถกำจัดปริมาณน้ำในน้ำมันออกได้ จนเหลือค่าน้ำต่ำกว่า 100 PPM
      • เทคโนโลยีของ OilPure สามารถกำจัด Oxidation ในน้ำมันได้โดยวัดจากค่า TAN ที่ไม่มีบริษัทไหนในโลกทำได้
      • เทคโนโลยีของเราใช้เซ็นเซอร์ในการตรวจวัด พร้อมกับระบบ Automation โดยเครื่องจักรใช้เพียงคนเดียวในการควบคุม ทำให้ต้นทุนต่ำ

จุดอ่อน

      • เป็นบริษัทใหม่ ยังไม่มีใครรู้จัก หรือรู้จักในวงแคบ
      • วัฒนธรรมองค์กรแบบอเมริกันที่ยังไม่คุ้นชินกับรูปแบบการดำเนินการในประเทศไทย
      • บริษัทอยู่ในช่วงเริ่มต้น ทำให้งานเกิดคอขวดอยู่ที่บางบุคลากรและบางแผนก

 

โอกาส

      • ปัญหาเครื่องจักรหยุดงานของลูกค้า จากงานวิจัยพบว่า 80% มาจากความสกปรกในน้ำมันหล่อลื่น ดังนั้นลูกค้าต้องเปลี่ยนน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ
      • น้ำมันหล่อลื่นมีการซื้อซ้ำสูง เพราะต้องเปลี่ยนทุกๆ 3 – 6 เดือน
      • จากงานวิจัยพบว่าระบบไฮดรอลิก (การใช้น้ำมันไฮดรอลิก) มีอัตราการเติบโตมากขึ้น
      • จากการเข้ามาของรถไฟฟ้า ทำให้ปริมาณน้ำมันดิบมีโอกาสขุดน้อยลง และ ราคาน้ำมันหล่อลื่นมีโอกาสสูงขึ้น
      • ทุกบริษัทหาวิธีลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรอยู่เสมอ และบริการ OilPure Fluid Care ตอบโจทย์ส่วนนี้ได้เป็นอย่างดี

 

ภัยคุกคาม หรือ อุปสรรค

      • อุปสรรคใหญ่ของเราคือ ความคุ้นชินของลูกค้าที่คุ้นเคยกับการเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นตามคำแนะนำของบริษัทขายน้ำมัน
      • อุปสรรคถัดมา คือ ความไม่รู้ของลูกค้าว่ามีเทคโนโลยีที่สามารถกรองยืดอายุน้ำมันให้กลับมาสะอาดเหมือนใหม่ได้อีกครั้ง

 

สรุป

มาถึงตอนนี้คุณคงทราบแล้วว่า SWOT Analysis คือ เครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจของคุณขนาดไหน คุณควรวิเคราะห์ SWOT เป็นประจำเพื่อตรวจหา จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ ภัยคุกคาม เพื่อที่จะอยู่กับปัจจุบันและวางแผนเพื่อความเติบโตในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

SWOT Analysis สัมพันธ์กับองค์ประกอบใดของแผนธุรกิจ

SWOT Analysis เป็นเครื่องมือสำหรับการวางแผนกลยุทธ์เบื้องต้น เพื่อใช้วิเคราะห์สถานการณ์ขององค์กรและกระบวนการทำงานของธุรกิจในปัจจุบัน รวมทั้งสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในอนาคต ผ่านการวิเคราะห์ปัจจัย 4 ประการ ได้แก่ Strength (จุดแข็ง), Weakness (จุดอ่อน), Opportunities (โอกาส) และ Threats (ความเสี่ยง) สำหรับพัฒนาความสามารถ ...

องค์ประกอบที่สําคัญของแผนธุรกิจ มีอะไรบ้าง

องค์ประกอบสำคัญของแผนธุรกิจที่ดี จึงต้องคลอบคลุมเนื้อหาหลักที่สำคัญดังนี้.
1. SWOT Analysis. ... .
2. เป้าหมายขององค์กร ... .
3. แผนการตลาด ... .
4. แผนการขาย ... .
5. แผนการผลิต/สั่งซื้อสินค้า ... .
6. แผนการเงิน.

องค์ประกอบใดของแผนธุรกิจที่มีความสําคัญมากที่สุด เพราะเหตุใด

บทสรุปผู้บริหารเป็นส่วนสำคัญที่สุด เพราะเป็นการสรุปรายละเอียดสั้น ๆ ของแผนธุรกิจทั้งหมดที่ดำเนินการ ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามีโอกาสเกิดขึ้นจริงได้ สามารถใช้โอกาสในตลาดให้เป็นประโยชน์อย่างไร ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องเขียนให้เกิดความน่าเชื่อถือมีความเป็นไปได้ “บทสรุปผู้บริหาร” ควรเขียนให้สั้นกะทัดรัด ถึงแม้ว่าบทสรุปผู้บริหารจะ ...

องค์กรทำ SWOT เพื่ออะไร

การวิเคราะห์ SWOT หรือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์สำหรับการประกอบธุรกิจ ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารรู้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน มองเห็นโอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจทุกประเภท