วิเคราะห์ swot บริษัท ไปรษณีย์ไทย

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

เป็นหนึ่งในรัฐวิสาหกิจที่อยู่คู่คนไทยมานานที่สุดเจ้าหนึ่งกับ ‘ไปรษณีย์ไทย’ พี่ใหญ่แห่งวงการโลจิสติกส์ ที่ถูกดิสรัปอย่างต่อเนื่องจากการเข้ามาของคู่แข่งมากมายที่ใหม่กว่า สดกว่า ถูกกว่า และจนถึงวันนี้ศึกที่เคี่ยวกรำมาหลายปีก็ยังไม่ยุติ ไปรษณีย์ไทยยังคงอยู่ในทะเลอันเชี่ยวกรากแห่งการแข่งขันในตลาดโลจิสติกส์ไทย พร้อมกับน้องๆ ในวงการที่หายใจรดต้นคอและกำลังจะแซงไปในที่สุด

คำถาม คือ ในวันที่ทะเลแห่งการแข่งขันเชี่ยวกรากขนาดนี้ ‘ไปรษณีย์ไทย’ เลือกจะสู้ยังไงให้มีทางรอด TODAY Bizview ชวนวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันและส่องแผนอนาคตของไปรษณีย์ไทย

[ ปี 64 ไม่ใช่ปีที่ดีนักของไปรษณีย์ไทย ]

จากการเข้ามาและคงอยู่ของโควิด-19 รวมถึงสถานการณ์การแข่งขันในตลาดที่ดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ และการบริหารต้นทุนการให้บริการที่มีความผันผวนสูงอย่างน้ำมันในปีที่ผ่านมา ทำให้ ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ประมาณการตัวเลขรายได้คร่าวๆ ของไปรษณีย์ไทยในปี 2564 ไว้ราวๆ 2.2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น

เมื่อย้อนกลับไปดูรายได้ย้อนหลังของไปรษณีย์ไทยจะเห็นว่ารายได้รวมของบริษัทฯ ลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 แล้ว

ปี 2560 มีรายได้ 28,293 ล้านบาท มีกำไร 4,212 ล้านบาท

ปี 2561 มีรายได้ 29,728 ล้านบาท มีกำไร 3,827 ล้านบาท

ปี 2562 มีรายได้ 27,531 ล้านบาท มีกำไร 660 ล้านบาท

ปี 2563 มีรายได้ 24,210 ล้านบาท มีกำไร 385 ล้านบาท

โดยแม้จะยังไม่มีการเปิดเผยผลกำไร แต่จากตัวเลขรายได้ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจนมาถึง 2.2 หมื่นล้านบาทในปี 2564 ที่ผ่านมา ก็สะท้อนถึงความยากลำบากที่ไปรษณีย์ไทยกำลังเผชิญ ขณะที่พยายามรักษาส่วนแบ่งในตลาดที่มีอยู่ 40% เอาไว้ให้ได้ 

ซึ่ง ดร.ดนันท์ ก็ยอมรับว่า “จากความท้าทายจากต้นทุนการบริการและสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ปี 2564 เป็นปีที่ค่อนข้างหนักหนาสำหรับผู้ให้บริการขนส่งทุกราย”

[ แต่ตลาดโลจิสติกส์ยังคงเติบโต-มีช่องว่าง ]

ถึงแม้ว่าตลาดโลจิสติกส์จะมีการแข่งขันสูงมากและมีผู้ให้บริการน้องใหม่เข้ามาตลอด แต่ปัจจุบันตลาดโลจิสติกส์นั้นมีมูลค่ารวมมากกว่าแสนล้านบาท โดยหากนับเฉพาะตลาดแมสโลจิสติกส์ที่ไปรษณีย์ไทยลงสนามแข่งขันอยู่นั้นก็มีมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาทแล้ว

ดร. ดนันท์ จึงเชื่อว่า ตลาดโลจิสติกส์ยังสามารถเติบโตได้อีกมาก สอดคล้องกับการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซที่ผลักดันให้ตลาดโลจิสติกส์เติบโตตามตลอดปี 2563-2565 

รวมถึงแนวโน้มของตลาดขนส่งระหว่างประเทศ (cross border logistics) ที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในละแวกเพื่อนบ้านและประเทศจีน จึงทำให้ผู้บริการแต่ละเจ้าเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และแข่งขันอย่างดุเดือด

ทำให้ไปรษณีย์ไทยวางเป้าหมายว่าในปี 2565 จะเติบโตขึ้นตามการเติบโตของตลาด ป้องกันส่วนแบ่งในตลาดที่มีอยู่เอาไว้ และขยับขยายไปยังเซคเตอร์อื่นๆ

[ เป้าหมายเป็น ‘มากกว่า’ โลจิสติกส์ ]

เพื่อต่อสู้ในทะเลอันเชี่ยวกราก ดร. ดนันท์ เลือกให้นิยายเป้าหมาย ความคาดหวัง และสิ่งที่ไปรษณีย์ไทยจะทำในปี 2565 ว่า “We beyond logistic”

โดยไปรษณีย์เลือกปรับเป้าหมายในการให้บริการวางเป้าจะเป็น “มากกว่าผู้ให้บริการขนส่ง” 

ไม่ใช่ว่าไปรษณีย์ไทยไม่ให้ความสำคัญกับ ‘ธุรกิจขนส่ง’ ที่เป็นธุรกิจหลัก เพราะไปรษณีย์ไทยก็มีแผนในการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ถึงขีดสุด

โดยธุรกิจขนส่งไปรษณีย์ไทยที่มีสัดส่วนลูกค้า แบ่งเป็นลูกค้าทั่วไป 95% และลูกค้าองค์กร 5% จะหันมาโฟกัสตลาดออนไลน์และตลาดอีคอมเมิร์ซที่เติบโตและมีเซกเมนท์ที่ละเอียดมากขึ้น อาทิ การขนส่งของใหญ่ การขนส่งต้นไม้ การขนส่งสินค้าข้ามประเทศ ฯลฯ

รวมถึงให้ความสำคัญกับ ‘ประสบการณ์’ ในการใช้บริการของลูกค้าเป็นสำคัญ เชื่อมต่อโลกออนไลน์และออฟไลน์อย่างไร้รอยต่อ เดินหน้าเข้าหาลูกค้ามากขึ้น อย่างล่าสุดไปรษณีย์ไทยก็เพิ่งเปิดให้บริการ ‘EMS ทุกวัน’ บริการขนส่งด่วนทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้ายุคใหม่ได้ดีขึ้น

“การแข่งขันราคาเป็นสิ่งที่รุนแรงและราคาเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดที่จะสร้างความแตกต่าง แต่เราไม่ได้จะเข้าไปเล่นแต่ราคา แต่คิดว่าทำยังไงถึงจะสร้างความแตกต่างในเรื่องสินค้าและบริการ รวมถึงสร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เพราะลูกค้าย่อมรักของที่ส่ง อยากได้การขนส่งที่ดีในราคาที่เหมาะสมคุ้มค่า รวมถึงเป็นต้นทุนที่เหมาะสมในการทำธุรกิจ”

นอกจากนั้น ดร. ดนันท์ ยังบอกว่า ปี 2565 ไปรษณีย์ไทยจะขยับไปจับมือกับทั้งอีคอมเมิร์ซและพันธมิตรต่างๆ มากขึ้นกว่าเดิมด้วย พร้อมๆ กับการขยายไปจับธุรกิจขนส่งระหว่างประเทศที่กำลังขยายตัวมากขึ้นด้วย

แต่เมื่อขยับเพิ่มประสิทธิภาพบริการจนถึงจุดหนึ่งแล้ว 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสุดท้ายตลาดก็จะขยับไปสู่การแข่งขันด้านราคาในที่สุด

ไปรษณีย์ไทยจึงจำเป็นจะต้องต่อยอดไปสู่ ‘น่านน้ำใหม่’ อย่างไม่สามารถเลี่ยงได้

[ น่านน้ำใหม่ ยังบลูโอเชียน ]

ส่วน ‘น่านน้ำใหม่’ ที่ว่านั้นดูเหมือนไปรษณีย์ไทยจะให้ความสนใจกับตลาดที่ยังคงเป็นตลาดผู้แข่งขันน้อยรายหรือ Blue Ocean อย่างกลุ่มธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์โลจิสติกส์ (electronic business) อย่างการแปลงเอกสาร จดหมาย ข้อมูลต่างๆ ส่งตรงพร้อม E-time stamp ควบคู่ไปกับตลาดขนส่งปกติ (Physical logistic) 

นอกจากนั้น ไปรษณีย์ไทยยังเร่งพัฒนาระบบคลังสินค้า (micro-fullfillment) และระบบชำระเงิน (e-payment) ที่จะปล่อยออกมาเร็วๆ นี้ เพื่อความสะดวกของผู้ใช้บริการ รวมถึงยังมีแผนที่จะขยับขยายเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีก (retail business) เพื่อลดความเสี่ยงจากการรับทราฟิกจากคนอื่นอย่างเดียว

[ บริหารต้นทุน จับรถ EV มาใช้งาน ]

ขณะเดียวกัน เพื่อลดภาระค่าน้ำมันที่มีการขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการบริหารจัดการ ปรับการดำเนินการ การขนส่งแล้ว เพื่อประหยัดน้ำมัน แต่เพื่อความยั่งยืนในระยะยาว ไปรษณีย์ไทยจึงนำรถ EV มาใช้ในองค์กร โดยปี 2565 นี้จะเห็นไม่น้อยกว่า 250 คัน และเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

สุดท้าย จนถึงตอนนี้ตลาดโลจิสติกส์ยังคงไม่มีผู้ชนะที่แท้จริงและผู้แพ้ที่ถาวร พี่ใหญ่อย่างไปรษณีย์ไทยยังคงพยายามวิ่งหนีรุ่นน้องที่กำลังวิ่งแซงไปข้างหน้า พร้อมความหวังที่จะรักษาส่วนแบ่งการตลาดที่มีมาแต่เดิมเอาไว้ให้ได้ 

ดร. ดนันท์ อธิบายถึงจุดแข็งของไปรษณีย์ไทยว่า ไปรษณีย์ไทยได้รับความไว้วางใจ ความคุ้นเคย รู้จักผู้คนอย่างลึกซึ่งและแน่นแฟ้น และพยายามอย่างยิ่งที่จะตอบสนองความต้องการของคนไทย เข้าไปสนับสนุนสังคมในส่วนที่ทำได้ และหลังจากนี้จะได้เห็นอีกหลายๆ อย่างที่ไปรษณีย์ต่อยอดทดลองทำจากจุดแข็งนี้

ที่มา

  • https://www.thailandpost.co.th/un/article_list/aboutus/89
  • https://www.billionway.co/kerry-express-vs-thailand-post-2/