ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่อะไร

ศาลรัฐธรรมนูญ คืออะไร? ก่อตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร? และมีหน้าที่วินิจฉัยข้อปัญหาและกฎหมายใดบ้าง สมารถพิจารณาคดีทั่วไปได้หรือไม่

ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรตุลาการ จัดตั้งขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญอาณาจักรไทย ปีพ.ศ. 2540 เพื่อแทนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ยุบไป โดยมีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2550  มีอำนาจในการวินิจฉัยข้อปัญหาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ แต่จะไม่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาอรรถคดีทั่วไป

หน้าที่หลักของศาลฯ คือ การพิจารณาทบทวนโดยศาล โดยวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญก็เป็นอันตกไป อย่างไรก็ตาม บทบาทของศาลฯ ในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยมีตั้งแต่การประกาศว่าการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย การยุบพรรคการเมือง และการตัดสินให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพ้นจากตำแหน่ง

ศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

องค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจกัรไทย พ.ศ. 2540 ได้กำหนดให้ประกอบไปด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งหมด 15 คน

โดยผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 12 วรรคแปด เพื่อนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย

โดยมีคำแนะนำจาก "วุฒิสภา" ซึ่งมาจากบุคคลดังต่อไปนี้

  • ผู้พิพากษา ถูกรับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา โดยการลงคะแนนลับ ทั้งหมด 5 คน
  • ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด มีการรับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด ด้วยวิธีการลงคะแนนลับ ทั้งหมด 2 คน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ สาขานิติศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา จากการสรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งหมด 5 คน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ สาขารัฐศาสตร์ ที่ได้รับเลือกจากวุฒิสภา จากการสรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งหมด 3 คน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 1 คน และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก 8 คน ซึ่งมีการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ โดยคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลดังต่อไปนี้

  • ผู้พิพากษาของศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา โดยได้รับเลือกในที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ด้วยวิธีลงคะแนนลับ ทั้งหมด 3 คน
  • ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จากวิธีลงคะแนนลับ ทั้งหมด 2 คน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ สาขานิติศาสตร์ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์อย่างแท้จริง และได้รับเลือกตามมาตรา 206 ของรัฐธรรมนุญ ทั้งหมด 2 คน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ สาขารัฐศาสตร์ หรือสาขาสังคมศาสตร์อื่นๆ โดยมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริง และได้รับเลือกตามมาตรา 206 ของรัฐธรรมนูญ ทั้งหมด 2 คน

อำนาจหน้าที่ที่สำคัญของศาลรัฐธรรมนูญ

  • พิจารณาวินิจฉัยร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ของวุฒิสภา หรือของรัฐสภา ที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี 
  • พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อข้อกฎหมายต่างๆ แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตรวจสอบว่ากฎหมายนั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ 
  • พิจารณาว่า บทบัญญัติกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับคดีต่างๆ นั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญโดยที่ศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้ง และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัตินั้น
  • วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ โดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาด และมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ

ทั้งนี้ การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญเป็นระบบไต่สวน ศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ ซึ่งแตกต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไปของศาลยุติธรรม

อ้างอิง: Wikipidia

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ


บทบาทและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 270 กำหนดให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาล รัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

     พระราชบัญญัติสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2542 เป็นต้นมา โดยกำหนดให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญมีฐานะเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

  1. รับผิดชอบงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญ

  2. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลคำสั่งและคำวินิจฉัยต่าง ๆ เกี่ยวกับงานของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

  3. สนับสนุนให้มีการศึกษา วิจัยและเผยแพร่กิจการของศาลรัฐธรรมนูญ

  4. ปฏิบัติการอื่นตามที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมอบหมาย



ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่อะไร

บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย

  • บทความนี้ต้องการพิสูจน์อักษร อาจเป็นด้านการใช้ภาษา การสะกด ไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน หรือการแปลจากภาษาอื่น
  • บทความนี้ล้าสมัย
  • บทความนี้ต้องการแหล่งอ้างอิงเพิ่มเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง
ศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่อะไร

ตรา

ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง11 ตุลาคม พ.ศ. 2540
เขตอำนาจ
ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่อะไร
ประเทศไทย
สำนักงานใหญ่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 (อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์)
เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ณ อาคารบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ เลขที่ 326 ถนนจักรเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
งบประมาณประจำปี174,491,700 บาท (พ.ศ. 2566)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน

  • วรวิทย์ กังศศิเทียม[2], ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
  • เชาวนะ ไตรมาศ[3], เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

เอกสารหลัก

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
  • พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561

เว็บไซต์ConstitutionalCourt.or.th
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความว่าด้วย
การเมืองไทย
ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่อะไร

รัฐธรรมนูญ

  • รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
  • กฎหมาย

พระมหากษัตริย์

ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่อะไร

พระมหากษัตริย์

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่อะไร

รัชทายาท


  • ราชวงศ์จักรี
  • การสืบราชสันตติวงศ์ของไทย
  • คณะองคมนตรี

ฝ่ายบริหาร

รัฐบาล


ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่อะไร

นายกรัฐมนตรี

ประยุทธ์ จันทร์โอชา

  • คณะรัฐมนตรี
    • คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62
  • กระทรวง
  • องค์กรตามรัฐธรรมนูญ

ฝ่ายนิติบัญญัติ

ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่อะไร

รัฐสภา
ประธานรัฐสภา

ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่อะไร
ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่อะไร


วุฒิสภา (ชุดปัจจุบัน)

  • พรเพชร วิชิตชลชัย
    • ประธานวุฒิสภา

สภาผู้แทนราษฎร (ชุดปัจจุบัน)

  • ชวน หลีกภัย
    • ประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • ชลน่าน ศรีแก้ว
    • ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

  • พระราชบัญญัติ

ฝ่ายตุลาการ

ศาลฎีกา

  • ประธาน
    • โชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ

ศาลปกครองสูงสุด

  • ประธาน
    • วรพจน์ วิศรุตพิชญ์

ศาลรัฐธรรมนูญ

  • ประธาน
    • วรวิทย์ กังศศิเทียม

  • ศาลไทย

การเลือกตั้ง

  • การเลือกตั้งที่ผ่านมา
    • วุฒิสภา: พ.ศ. 2557
    • สภาผู้แทนราษฎร: พ.ศ. 2562
  • พรรคการเมือง
  • พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560

การแบ่งเขตการปกครอง

  • การปกครองส่วนภูมิภาค
    • จังหวัด
  • การปกครองส่วนท้องถิ่น
    • องค์การบริหารส่วนจังหวัด
    • เทศบาล
    • องค์การบริหารส่วนตำบล
    • กรุงเทพมหานคร
      • ผู้ว่าราชการ
      • สภา
    • เมืองพัทยา
      • นายก

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

  • ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • อาเซียน

ปัญหาที่เกี่ยวข้อง

  • ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้
  • ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย
  • รัฐประหาร พ.ศ. 2557

ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่อะไร
สถานีย่อยประเทศไทย

ศาลรัฐธรรมนูญ (ย่อ: ศร.) เป็นองค์กรตุลาการที่จัดตั้งขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แทนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ยุบเลิกไป และมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ[4]

หน้าที่หลักของศาลรัฐธรรมนูญคือ การพิจารณาทบทวนโดยศาล โดยวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญก็เป็นอันตกไป อย่างไรก็ตาม บทบาทของศาลฯ ในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยมีตั้งแต่การประกาศว่าการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย การยุบพรรคการเมือง และการตัดสินให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพ้นจากตำแหน่ง

องค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญ[แก้]

ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่อะไร

แผนผังแสดงโครงสร้างและที่มาของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรวม 15 คน[5] ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลต่อไปนี้

  1. ผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา โดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 5 คน
  2. ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีการลงคะแนนลับ จำนวน 2 คน
  3. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา โดยการสรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 5 คน
  4. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา โดยการสรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 3 คน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งกับและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก 8 คน[5] ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลต่อไปนี้

  1. ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 3 คน
  2. ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 2 คน
  3. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์อย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา 206 ของรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน
  4. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา 206 ของรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน

อำนาจหน้าที่ที่สำคัญของศาลรัฐธรรมนูญ คือ การพิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ของวุฒิสภา หรือของรัฐสภา ที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือพิจารณาวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญโดยที่ศาลเห็นเอง หรือคู่ความโต้แย้ง และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ตลอดจนพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ

การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญเป็นระบบไต่สวน ศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ ซึ่งแตกต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไปของศาลยุติธรรม

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง[แก้]

ในปี 2560 สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีการกำหนดโทษ "วิจารณ์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ" ที่กระทำด้วยความไม่สุจริต และใช้ถ้อยคำหรือความหมายที่หยาบคาย เสียดสี อาฆาตมาดร้าย เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล โดยให้ศาลมีอำนาจตั้งแต่การตักเตือน การไล่ออกจากบริเวณศาล ไปจนถึงการลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ[6]

คำวินิจฉัยที่สำคัญ[แก้]

วันที่ คำสั่ง/คำวินิจฉัย/มติ
30 พฤษภาคม 2550 ยุบพรรคไทยรักไทยและ 3 พรรคเล็กจากคดีจ้างลงเลือกตั้ง[7]
9 กันยายน 2551 วินิจฉัยให้ สมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเนื่องจากเป็นลูกจ้างเอกชน[8]
2 ธันวาคม 2551 ยุบพรรคพลังประชาชน ซึ่งมีผลให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์ในฐานะหัวหน้าพรรค ถูกตัดสิทธิทางการเมืองและพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามไปด้วย[9]
29 พฤศจิกายน 2553 ไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์[9]
13 กรกฎาคม 2555 ยับยั้งการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ของรัฐสภา 2555–2557[10]
24 มกราคม 2557 วินิจฉัยให้สามารถเลื่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการทั่วไปได้[11]
24 มีนาคม 2557 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 2 ก.พ. 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
7 พฤษภาคม 2557 วินิจฉัยให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[12]
7 มีนาคม 2562 ยุบพรรคไทยรักษาชาติ เพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 10 ปี[13]
18 กันยายน 2562 วินิจฉัยว่าประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่เข้าข่ายลักษณะต้องห้ามเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ใช่ "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ"[14]
20 พฤศจิกายน 2562 มติให้ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ พ้นจากสมาชิกสภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยเห็นว่ายังเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทด้านสื่อมวลชนที่ยังไม่แจ้งยกเลิกกิจการ แม้ว่าจะยุติการผลิตสิ่งพิมพ์และจ้างพนักงานไปแล้ว[15]
21 มกราคม 2563 ยกคำร้อง คดีพรรคอนาคตใหม่ ล้มล้างการปกครอง หรือที่พรรคอนาคตใหม่เรียกว่า คดีอิลลูมินาติ[16]
21 กุมภาพันธ์ 2563 ยุบพรรคอนาคตใหม่ เพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 10 ปี[17]
2 ธันวาคม 2563 วินิจฉัยว่าประยุทธ์ จันทร์โอชาที่ยังอาศัยอยู่ในบ้านพักประจำตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกทั้งที่พ้นตำแหน่งไปแล้วไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ[18]
10 พฤศจิกายน 2564 ข้อเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ของแกนนำกลุ่มราษฎรในการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง โดยมีข้อความส่วนหนึ่งระบุว่าอำนาจการปกครองประเทศแต่โบราณเป็นของพระมหากษัตริย์มาโดยตลอด[19] ด้านเดอะการ์เดียนวิจารณ์ว่าเป็น "รัฐประหารโดยตุลาการ"[20]
17 พฤศจิกายน 2564 วินิจฉัยว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับสมรสซึ่งให้จดทะเบียนเฉพาะชายและหญิงเท่านั้นไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญส่วนที่คุ้มครองสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค และแนะนำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรากฎหมายต่อไป โดยความเห็นส่วนตัวของตุลาการระบุว่า เพื่อป้องกันการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐโดยมิชอบ ทำลายสถาบันครอบครัวและกฎธรรมชาติ เป็นต้น[21]
30 กันยายน 2565 ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ประยุทธ์ จันทร์โอชายุติปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 หลังรับคำร้องเรื่องรัฐธรรมนูญห้ามบุคคลดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรวมเกิน 8 ปี และให้ประยุทธ์ส่งคำชี้แจงภายใน 15 วัน[22] ก่อนในวันที่ 30 กันยายน 2565 มีคำวินิจฉัย 6 ต่อ 3 ให้เริ่มนับวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2560 มีผลใช้บังคับ[23][24]

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ[แก้]

ที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญหลังเก่า ณ อาคารบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์

คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2549[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่: คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2549

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุด พ.ศ. 2549 ได้สิ้นสภาพไปพร้อมกับศาลรัฐธรรมนูญ ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 และได้บัญญัติขึ้นตามมาตรา 35 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่แทน

คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่: คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. เล่ม 139 ตอนที่ 57ก หน้า 139. วันที่ 19 กันยายน 2565.
  2. ราชกิจจานุเบกษา. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 79ง หน้า 2. วันที่ 6 เมษายน 2563.
  3. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ. เล่ม 134 ตอนพิเศษ 249ง หน้า 7. วันที่ 9 ตุลาคม 2560.
  4. "ชวนรู้ "ศาลรัฐธรรมนูญ" คืออะไร มีหน้าที่ตรวจสอบ-วินิจฉัยอะไรบ้าง?". กรุงเทพธุรกิจ. 11 พฤศจิกายน 2021.
  5. ↑ 5.0 5.1 สถาบันรัฐธรรมนูญศึกษา (มกราคม–เมษายน 2008). "เปรียบเทียบองค์ประกอบ ที่มา และอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540" (PDF). วารสาร ศาลรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. 10 (28). ISSN 1513-1246.
  6. "วิจารณ์ศาล รธน.ระวังคุก! สนช. ผ่านกฎหมายลูกแล้ว". BBC News ไทย. 23 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2022.
  7. "30 พฤษภาคม 2550 - ศาลตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย". THE STANDARD. 29 พฤษภาคม 2019.
  8. มติชนสุดสัปดาห์ (23 ธันวาคม 2016). "ย้อนอ่านคำพิพากษาศาลรธน. ผลัก"สมัคร"ตกเก้าอี้นายกฯ ว่าด้วยปม"ลูกจ้าง-ค่าตอบแทน"". มติชนสุดสัปดาห์.
  9. ↑ 9.0 9.1 "ย้อนอดีตอาถรรพ์ 2 ธ.ค. 'นายกรัฐมนตรี' ตกเก้าอี้". กรุงเทพธุรกิจ. 1 ธันวาคม 2020.
  10. "ศาลรัฐธรรมนูญกับสภาวะวิกฤติทางการเมือง (2549-2562)". ประชาไท. 14 กุมภาพันธ์ 2019.
  11. "8:0เลื่อนเลือกตั้งได้". กรุงเทพธุรกิจ. 25 มกราคม 2014.
  12. "ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย ยิ่งลักษณ์พ้นนายกรัฐมนตรี". sanook.com. 7 พฤษภาคม 2014.
  13. "มติเอกฉันท์ศาล รธน. สั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ "เซาะกร่อนบ่อนทำลาย" สถาบันฯ". BBC News ไทย. 7 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2021.
  14. "ศาลรัฐธรรมนูญชี้ หัวหน้า คสช. "ไม่เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ"". BBC ไทย. 18 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2021.
  15. "อนาคตต่อไป ของ อนาคตใหม่ หลัง ศาล รธน. สั่ง ธนาธร พ้นสภาพ ส.ส." BBC News ไทย. 20 พฤศจิกายน 2019. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2021.
  16. "ศาลรธน.ยกคำร้อง อนาคตใหม่ ล้มล้างการปกครอง คดีอิลลูมินาติ". มติชนออนไลน์. 21 มกราคม 2020.
  17. "อนาคตใหม่ : มติศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ ตัดสิทธิ กก.บห. 10 ปี". BBC News ไทย. 21 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2021.
  18. "สรุปคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ กับ "ข้อต่อสู้หลัก" ที่ทำ พล.อ. ประยุทธ์ พ้นผิด "คดีพักบ้านหลวง"". BBC News ไทย. 2 ธันวาคม 2020.
  19. "คำวินิจฉัยฉบับเต็ม! ศาลรัฐธรรมนูญ คดีประวัติศาตร์ กับ มติ 8:1 'ล้มล้างการปกครอง'". ข่าวสด. 11 พฤศจิกายน 2021. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2021.
  20. "Thai court rules calls for curbs on monarchy are 'abuse of freedoms'". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 10 พฤศจิกายน 2021.
  21. "เปิดเหตุผล ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ตุลาการศาลรธน. ปมจำกัดสมรสแค่ชายหญิงไม่ขัดรธน". มติชนออนไลน์. 3 ธันวาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2021.
  22. "ด่วน! ศาลรธน.รับคำร้องปม 8 ปี นายกฯ สั่ง"บิ๊กตู่"หยุดปฏิบัติหน้าที่". ฐานเศรษฐกิจ. 24 สิงหาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2022.
  23. "บิ๊กตู่ พ้นบ่วง! มติ 6 : 3 ศาลรัฐธรรมนูญ ให้คัมแบ๊กทำเนียบ ชี้เป็นนายกฯมาไม่ถึง 8 ปี". มติชนออนไลน์. 30 กันยายน 2022.
  24. "มติศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก ชี้ "ประยุทธ์" เป็นนายกฯยังไม่ครบ 8 ปี". Thai PBS. 30 กันยายน 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ภาพถ่ายทางอากาศของ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
  • สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 15 มีนาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

กระทรวงและองค์กรตามรัฐธรรมนูญของรัฐบาลไทย

กระทรวง

  • กระทรวงกลาโหม
  • กระทรวงการคลัง
  • กระทรวงการต่างประเทศ
  • กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กระทรวงคมนาคม
  • กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  • กระทรวงพลังงาน
  • กระทรวงพาณิชย์
  • กระทรวงมหาดไทย
  • กระทรวงยุติธรรม
  • กระทรวงแรงงาน
  • กระทรวงวัฒนธรรม
  • กระทรวงศึกษาธิการ
  • กระทรวงสาธารณสุข
  • กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • กระทรวงอุตสาหกรรม
  • สำนักนายกรัฐมนตรี

ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่อะไร

อดีต

  • กระทรวงทหารเรือ
  • กระทรวงนครบาล
  • กระทรวงโยธาธิการ
  • กระทรวงวัง
  • กระทรวงมุรธาธร
  • กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
  • ทบวงมหาวิทยาลัย
  • กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
ศาล

  • ศาลปกครอง
  • ศาลยุติธรรม
  • ศาลทหาร
  • ศาลรัฐธรรมนูญ

องค์กรอิสระ

  • คณะกรรมการการเลือกตั้ง
    • กกต.
  • ผู้ตรวจการแผ่นดิน
    • สผผ.
  • คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
    • ป.ป.ช.
  • คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
    • สตง.
  • คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

องค์กรอัยการ

  • อัยการสูงสุด
    • สนง.

  • หมวดหมู่
  • องค์กรตามรัฐธรรมนูญ

ระบบศาลในประเทศไทย

ศาลยุติธรรม

ศาลชั้นต้น (ศาลแพ่ง · ศาลอาญา · ศาลจังหวัด · ศาลแขวง · ศาลเยาวชนและครอบครัว · ศาลแรงงาน · ศาลภาษีอากร · ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ · ศาลล้มละลาย· ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ) · ศาลอุทธรณ์ · ศาลฎีกา (แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง)

ศาลปกครอง

ศาลปกครองชั้นต้น · ศาลปกครองสูงสุด

ศาลรัฐธรรมนูญ

(คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ)

ศาลทหาร

ศาลทหารในเวลาปกติ · ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ · ศาลอาญาศึก