การทำให้เป็นแพลตฟอร์มคืออะไร

คำว่า แพลตฟอร์ม หลายคนอาจคุ้นๆ แต่ยังไม่เข้าใจนักว่าคืออะไร

การทำให้เป็นแพลตฟอร์มคืออะไร

คำว่า “แพลตฟอร์ม” หลายคนอาจคุ้นๆ แต่ยังไม่เข้าใจนักว่าคืออะไร
สำคัญและจำเป็นกับนักขายในตลาดออนไลน์มากน้อยแค่ไหน วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน
“แพลตฟอร์ม” หรือ Platform คือช่องทางบนโลกออนไลน์ ที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ
รวมถึงรวบรวมร้านค้า สินค้า จำนวนมากเข้าไว้ด้วยกัน  เป็นพื้นที่ที่ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขาย มาพบกันได้ในโลกโซเชียล ผ่านเว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน 

ลองนึกภาพ “ชานชาลา” ที่สถานีรถไฟ ที่เต็มไปด้วยผู้คนมากมาย มีการพูดคุยสื่อสาร มีเรื่องราวต่างๆ ที่ชานชาลานั้น  เช่นเดียวกับแพลตฟอร์มในโลกอินเทอร์เน็ต  ที่บอกว่าเหมือนกัน นั่นเพราะคำว่าแพลตฟอร์ม มาจากภาษาอังกฤษ คือคำว่า Platform ที่แปลตรงตัวว่าชานชาลา  หากเปรียบเทียบเป็นภาพให้เข้าใจง่าย ลองนึกภาพชานชาลาที่สถานีรถไฟอาจทำให้เข้าใจง่ายขึ้น  

และแน่นอนว่าที่ชานชาลา ซึ่งมีผู้คนมารวมตัวกันอยู่มากนั้น ย่อมมีโอกาสที่พ่อค้าแม่ขายจะเสนอขายสินค้าต่างๆ และเพิ่มยอดขายได้มากขึ้นด้วย  โดยแพลตฟอร์มที่พ่อค้าแม่ค้านิยมขายของออนไลน์มีหลายแพลตฟอร์มด้วยกัน เช่น เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคานต์ และยูทูบ  ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน  ดังนั้นในการโพสต์ขายสินค้าจึงต้องมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของแต่ละแพลตฟอร์มด้วย ซึ่งในบทความต่อไป จะมาเจาะลึกถึงจุดเด่นของแต่ละแพลตฟอร์มกัน

#โกดิจิทัลอาเซียนไทย #GoDigitalASEAN 
#พัฒนาศักยภาพ #ความรู้ด้านการตลาด #ทักษะดิจิทัล #การตลาดออนไลน์
 

ในอดีตถ้าพูดถึง Plaltform คนจะนึกถึงชานชลารถไฟ

แต่ในปัจจุบัน Platform หมายถึง ชานชลาที่ผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์

อย่าง Facebook ก็เริ่มจากการสร้าง Platform Facebook แบบทั้ง Desktop และ Application จากนั้นก็แตกแอป ฯ ออกมาเป็น Messenger ที่ยังสามารถคุย วิดีโอ ซื้อของ เล่นเกม และทำอย่างอื่นได้อีกมา

การทำให้เป็นแพลตฟอร์มคืออะไร
หรืออย่าง LINE ที่เริ่มจากการแชท มาเป็น RabbitLinePay ระบบชำระเงิน, LINE TV, LINE Gift, LINE Today และ LINE อะไรก็ได้ที่นึกออก

ลองคิดภาพตาม เมื่อบริการมีผู้ใช้ประจำ ก็เหมือน รถไฟ ที่มีคนมารอขึ้นทุกวัน

แต่เมื่อแบรนด์ขยายและพัฒนาบริการออกไป ก็เหมือนชานชลาที่มีรถไฟไปหลายสถานที่มากขึ้น ผู้ใช้ก็อยู่กับชานชลานี้นานขึ้นเช่นกัน

ในงาน Techsauce Global Summit 2018 ทีผ่านมา มีตัวแทนจาก 4 แบรนด์ได้แก่ (จากซ้ายไปขวา) Ajay Gore, CTO ของ GoJek, อราคิน รักษ์จิตตาโภค ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส AIS, อริยะ พนมยงค์ MD ของ LINE และ Grace Yun Xia จาก Jungle Ventures มาพูดคุยกันเรื่อง การแข่งกันสร้าง Platform ในเอเชีย..

การทำให้เป็นแพลตฟอร์มคืออะไร

ปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยากและแพง ที่จะสร้างแอปฯ 1 อัน ให้คนมาดาวน์โหลดฟรี แต่สิ่งที่ยากที่สุด คือ ทำอย่างไร ให้ผู้ใช้อยู่กับแอปฯ นั้นนานที่สุด และยังเป็นผู้นำในตลาดได้

ว่าแล้ว คุณลองหยิบมือถือขึ้นมาดูสิ แล้วคุณจะพบว่าแอปฯ ที่ใช้บ่อยจริง ๆ มีไม่กี่แอป
นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม แอปฯ ยอดนิยมส่วนใหญ่ จึงเลือกเพิ่มฟีเจอร์และบริการในแอปนั้น มากกว่าเปิดแอปใหม่

Platform ต่างจาก App อย่างไร ?

ทุก Platform เริ่มต้นจาก App ที่มีทำหน้าที่หลักเพียงเดียวเท่านั้น แต่ Platform คือ การพัฒนา App ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้มากขึ้น และทำให้ผู้ใช้อยากอยู่บนแอปฯ นั้นให้นานที่สุด

ถ้าชานชลาสามารถพาผู้โดยสารไปได้ทุกที่ที่เขาอยากไป ผู้โดยสารก็ไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนไปนั่งมอเตอร์ไซค์ หรือ ต่อแท็กซี่ …

Ajay : Gojek เริ่มจากการเป็น RideSharing สำหรับมอเตอร์ไซค์ ต่อมาก็ขยับมาเป็นยริการส่งอาหาร ซึ่งเราเริ่มในตลาดที่ยังไม่ทีใครทำเรื่องพวกนี้มาก่อน มันจึงเป็นเรื่องยากเหมือนกัน แต่เมื่อคุณหา Pain Points ของคนเจอ และพยายาม Match มันกับบริการของคุณได้ คุณจะสร้าง Platform ได้เอง

อย่างบริการของเราเริ่มจาก Ride-Sharing มอเตอร์ไซค์ เพราะเราเชื่อว่าในอินโดนีเซีย มอเตอร์ไซค์ใกล้ชิดคนกว่ามาก

เราจึงคิดต่อยอดว่า มอเตอร์ไซค์แก้ปัญหาอะไรให้ผู้บริโภคได้อีก จนเป็นที่มาของ บริการสั่งอาหาร และ บริการรับ-ส่งของ ซึ่งพอมีรับส่งของ ก็เท่ากับเราคือโลจิสติกส์นั่นเอง เลยทำให้ เกิดร้านค้า และระบบชำระเงินตามมา

ทำไม Startups หรือ Corporate ต้องกลายร่างจาก App เป็น Platform?

Grace : บางครั้ง บริษัทใหญ่ๆ รู้ตัวว่า แค่แอปตัวเองคนเดียว คงไม่รอดแน่ พวกเขาจึงต้องหาพาร์ทเนอร์มาเสริม
อย่าง WeChat ตอนแรกก็เป็นระบบ Closed-Loop ที่ทำเองคนเดียวทั้งหมด แต่อย่างที่รู้กัน การแข่งขันในจีนนั้นโหดมาก WeChat จึงร่วมมือ หรือลงทุนใน สตาร์ทอัพ และเทคโนโลยีหลายด้าน เพื่อทำให้ Platform ของ WeChat สมบูรณ์แบบ

จนตอนนี้ก WeChatลายเป็น Infrastructure พื้นฐานของคนจีนไปแล้ว

Ajay : เมื่อคุณเริ่มสร้าง Platform เป็นรูปเป็นร่าง มันจะง่ายขึ้นเรื่อยๆ เพราะคุณจะมีข้อมูลจากฐานผู้ใช้มหาศาล ทรัพยากรก็มากขึ้น การต่อยอดไปยังธุรกิจอื่นจะสนุกขึ้นเรื่อยๆ
Gojek ตอนนี้กลายเป็น Ride-Sharing, Food-sharing และ Mobile Transactions อันดับหนึ่งของอินโดนีเซีย ด้วยผู้ใช้แอคทีฟ 15 ล้านคน/สัปดาห์ | ร้านค้าจำนวน 125,000 ร้าน | คนขับ Goejk 900,000 คน และ มีจำนวนธุรกรรมในระบบ 100 ล้านครั้ง/เดือน

อริยะ : ปัจจุบัน LINE พึ่งเปิดตัว LINE Job ไป ซึ่งพัฒนาโดยสตาร์ทอัพไทย นี่คือตัวอย่างหนึ่งของการใช้แพล็ตฟอร์ม ให้เป็นประโยชน์ ถ้าสตาร์ทอัพนั้นไปสร้าง App ใหม่ Job อะไรสักอย่าง พวกเขาต้องเริ่มจากศูนย์ ทั้งผู้ใช้ และแบรนด์

ในขณะเดียวกัน หาก LINE จะทำฟีเจอร์ Job เอง ก็สามารถทำได้ แต่คงทำไม่ได้เท่าคนที่หมกมุ่นกับเรื่องนี้มาตั้งแต่แรก ฉะนั้นหน้าที่ของ LINE ไม่ใช่แค่การสร้าง Platform เอง แต่หาพาร์ทเนอร์เข้ามาร่วมด้วย

อราคิน : ผมมาจาก AIS ที่เป็นบริษัท Telco ฉะนั้นผมจะคุ้นเคยกับ Platform ที่กว้างมากๆ เพราะเราคือผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ ฉะนั้นก็มีแต่คนอยากมา Join กับเรา เพราะลูกค้าให้ความเชื่อมั่นกับโอเปอเรอเตอร์ที่ใช้มากกว่า บริการอื่นๆ อยู่แล้ว เช่นเดียวกันกับ ธนาคาร ที่สามารถพัฒนา Platform ของตัวเองได้ดีมาก ๆ เพราะพวกมีความปลอดภัยในการชำระเงินอยู่ในมือ ฉะนั้นพวกเขาจึงต่อยอดบริการของ Platform ได้รวดเร็วมาก

แล้วทุกอย่าง จะมุ่งหน้าสู่ Platform ไหม ?

Grace Yun Xia : ในฐานะนักลงทุน เราหวังว่าสตาร์ทอัพจะยืนได้ด้วยตัวเอง และหนทางที่ดีที่สุด คือ การมีแพล็ตฟอร์มที่แข็งแกร่ง ซึ่งฉันเองจะรู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งที่เห็นสตาร์ทอัพ กับบริษัทใหญ่ ๆ ร่วมมือกัน

แต่ไม่ใช่ทุกสตาร์ทอัพต้องดิ้นรนเพื่อเป็นแพล็ตฟอร์มถ้าไม่มีตลาดรองรับ และต้องไม่ลืมว่า VC ไม่สามารถลงทุนได้กับทุกสตาร์ทอัพ และ บริษัทใหญ่ ๆ ก็ต้องเลือกสตาร์ทอัพที่ช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จเช่นกัน

ภาพจาก งาน Techsauce Global Summit 2018



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง Line@ : @marketeer

การทำให้เป็นแพลตฟอร์มคืออะไร
การทำให้เป็นแพลตฟอร์มคืออะไร


การสร้าง แพลตฟอร์ม คืออะไร

Platform หรือ แพลตฟอร์ม เป็นรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ที่ช่วยสร้าง “มูลค่าเศรษฐกิจ” มากกว่า 2 กลุ่มธุรกิจขึ้นไป เป็นเสมือนตัวกลางระหว่างผู้บริโภค (consumer) และ ผู้ผลิต (producers) คอยอำนวยความสะดวกต่างๆ ตัวอย่างเช่น Airbnbm, PayPal, Shopee, Grab ,Facebook เป็นต้น

แพลตฟอร์มหมายความว่าอะไร

แพลตฟอร์ม (platform) ปกติแล้วหมายถึง แท่น , ฐาน แต่สำหรับความหมายทางคอมพิวเตอร์ แพลตฟอร์ม หมายถึง โครงสร้างพื้นฐานของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าเป็นฐานบริการให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน

การสร้าง Platform มีกี่ประเภท

เราอาจแบ่ง Platform ได้เป็น 4 ประเภทดังนี้.
ค้าปลีก: eBay, Alibaba, Amazon marketplace..
สื่อ: YouTube, Forbes.com..
การเงิน: PayPal, Kickstarter, Alipay..
Mobile computing: iOs, Android..
ซอฟต์แวร์: Salesforce..
การท่องเที่ยว: Airbnb, Tripadvisor..
บริการรถสาธารณะ: Uber, Grab..
การศึกษา: Coursera, Udemy..

แพลตฟอร์มกับแอพพลิเคชั่นแตกต่างกันอย่างไร

Platform ต่างจาก App อย่างไร ? ทุก Platform เริ่มต้นจาก App ที่มีทำหน้าที่หลักเพียงเดียวเท่านั้น แต่ Platform คือ การพัฒนา App ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้มากขึ้น และทำให้ผู้ใช้อยากอยู่บนแอปฯ นั้นให้นานที่สุด