การเขียน story board อยู่ในขั้นตอนใดของ addie model

ADDIE Model คือ หลักการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาอย่างเป็นระบบที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก มีจุดมุ่งหมายในการออกแบบให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ด้วยการวิเคราะห์ที่สาเหตุของปัญหา คิดค้นขึ้นโดย Florida State University’s Center for Educational Technology ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ

การเขียน story board อยู่ในขั้นตอนใดของ addie model

เพื่อให้เห็นภาพกระบวนการชัดเจนมากขึ้น จึงจะขอเปรียบเทียบกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ กับการออกแบบบ้านด้วย ADDIE Model ดังนี้

 

การเขียน story board อยู่ในขั้นตอนใดของ addie model

1. Analysis (การวิเคราะห์)

การออกแบบบ้าน : กำหนดคุณลักษณะของบ้านที่ต้องการ เช่น ขนาดพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน จำนวนห้อง วัสดุที่ใช้ การตกแต่งภายในและภายนอก 

การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ : กำหนดเป้าหมาย (Target / Goal) เช่น ความรู้ ทักษะ หรือพฤติกรรมในการทำงานที่ต้องการพัฒนา ระดับของการเรียนรู้ที่ต้องการ


2.   Design (การออกแบบ)

การออกแบบบ้าน : ออกแบบพิมพ์เขียว โครงสร้างของบ้านตามคุณลักษณะที่ได้กำหนดไว้

การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ : ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ การวัด ติดตาม ประเมินผล และแผนการสอน ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

เชื่อว่าครูหลายคนเคยประสบพบเจอกับปัญหาเหล่านี้ เด็กไม่สนใจการเรียน กิจกรรมที่จัดไม่ตอบโจทย์ สื่อที่ทำออกมาดึงดูดเด็กได้ไม่ดีพอ ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เพราะวันนี้ผมจะพาทุกคนไปรู้จักกับ ADDIE model แนวคิดการออกแบบสื่อที่จะเข้ามาช่วยเหลือครูทุกคนให้ออกแบบสื่อได้ตอบโจทย์กับผู้เรียนมากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็ไปรู้จักกับ ADDIE Model พร้อมกันเลย...

.

ADDIE Model คืออะไร

ADDIE Model คือ เป็นแนวคิดกระบวนการออกแบบหลักสูตร สื่อ กิจกรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้น ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย อย่างเป็นระบบระเบียบ โดยจะเน้นไปที่การเก็บข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อนำข้อมูลนั้นมาออกแบบ ตัวสื่อ หลักสูตร และกิจกรรมให้ครอบคลุมกลุ่มผู้เรียน โดยกระบวนการออกแบบสื่อของ ADDIE Model นั้นประกอบด้วยขั้นตอน 5 อย่างดังนี้

1. วิเคราะห์ (Analysis)

เป็นขั้นตอนที่เราจะวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ออกแบบ บทเรียน สื่อหรือกิจกรรม โดยข้อมูลที่เราจะต้องวิเคราะห์ประกอบด้วยข้อมูลคร่าวๆดังนี้

วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน

  • เป็นการวิเคราะห์ปัญหาของผู้เรียนว่า พวกเขามีปัญหาอะไร ชอบการเรียนรู้แบบใด ไม่ชอบการเรียนรู้แบบใด วิเคราะห์ความต้องการปัจจุบันของผู้เรียน และของเรา เพื่อหาแนวทางการออกแบบการเรียนรู้ที่ตอบวัตถุประสงค์ร่วมกัน

วิเคราะห์ผู้เรียน

  • วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียน เพื่อนำไปใช้พิจารณาออกแบบ กิจกรรม สื่อ หรือแผนการเรียน โดยข้อมูลสำคัญที่ควรวิเคราะห์ได้แก่ องค์ความรู้ ประสบการณ์ เพศ อายุ แรงจูงใจในการเรียน ไปจนถึง ความถนัด

ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้

  • ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สิ่งสำคัญของการออกแบบ แผนการสอน สื่อ และ กิจกรรม คือ เราจำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์ที่ตั้งเป้าไว้เสมอว่าอยากให้เด็กได้อะไร ดังนั้นเพื่อให้จัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรกำหนดให้ชัดเจนว่า เราอยากให้เด็กได้อะไร เช่น ความรู้ ทักษะ และ ทัศนคติ

วิเคราะห์ข้อจำกัดและทรัพยากรที่จำเป็น

  • วิเคราะห์ข้อจำกัดเป็นการตรวจสอบผู้เรียน และวิเคราะห์ว่าพวกเขามีข้อจำกัดในการเรียนรู้หรือไม่ เช่น ข้อจำกัดด้าน คุณทรัพย์ หรืออาจเป็นข้อจำกัดด้านร่างกาย เช่น เป็นผู้พิการ ดังนั้นการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบข้อจำกัดเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อที่เราจะได้หาแนวทางจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่มได้อย่างทั่วถึงโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง นอกจากข้อจำกัด แล้วอีกหนึ่งอย่างที่ควรวิเคราะห์คือ แผนการเรียน สื่อ หรือกิจกรรมที่เราต้องการจะทำนั้น มีข้อจำกัดพิเศษหรือไม่ เช่น จำเป็นต้องใช้คอม หรือ Smartphone การระบุให้ชัดเจนจะช่วยให้เราออกแบบการเรียนรู้ได้ครอบคลุมเป็นระบบมากขึ้น

2. ออกแบบ (Design)

ขั้นตอนการออกแบบจะเป็นขั้นที่เรานำข้อมูลที่วิเคราะห์ รวบรวมในขั้นก่อนหน้านี้ มาใช้ออกแบบแผนการเรียน สื่อ หรือกิจกรรมของเราให้ออกมาเป็นระบบระเบียบเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยในขั้นนี้ จะนำหัวข้อปัญหาที่เราระบุได้ มาลอง Brain storm หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาจัดทำเป็นสื่อ หรือแผนการเรียน โดยเครื่องมือที่แนะนำให้ใช้ในขั้นนี้คือ

2.1. Brain storm chart 

เครื่องมือตัวนี้จะช่วยให้เราเห็นข้อมูลในมุมกว้างของเนื้อหาที่เราหยิบยกมาออกแบบ

ที่มาภาพ: https://th.bing.com/th/id/OIP.CBiUzR-1hgeMy2nl26mkawHaE2?pid=Api&rs=1

2.2. Concept chart 

เครื่องมือตัวนี้เป็นการต่อยอดจาก Brain storm chart โดยการนำข้อมูลใน Brain storm chart มาจัดแบ่งประเภทให้ถูกต้องเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปออกแบบ แผนการเรียน กิจกรรม หรือ สื่อ เมื่อกำหนดเนื้อหาและจัดแบ่งประเภทได้แล้ว ก็มาสู่ขั้นต่อไปคือ การจัดทำ Flow Chart

***ตัวอย่างการจัดประเภท เช่น สีแดงคือการจัดประเภทเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้อง สีน้ำเงินคือ การจัดประเภทเรื่องที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับหัวข้อหลัก

2.3. Flow chart

Flow chart คือ แผนผังแสดงการดำเนินเรื่องราวของ แผนการเรียน สื่อ หรือกิจกรรมของเรา การทำ Flow chart จะทำให้เราเห็นกระบวนการทำงานของ สื่อ หรือ แผนการเรียนที่เราออกแบบชัดขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดทำ Story board ต่อไป

ที่มาภาพ: https://th.bing.com/th/id/OIP.ffLc-k754ZgRR7Uroca78AHaFi?pid=Api&rs=1

2.4. Story board

Story Board คือ ขั้นต่อจาก Flow chart ที่นำเอา แผนผังการดำเนินเรื่องราวนั้น มาทำการลงรายละเอียดให้สมบูรณ์ขึ้น โดยอาจมีการออกแบบหน้าตาของแผนการเรียน สื่อ หรือกิจกรรม คร่าวๆ ว่าอยากได้ออกมาเป็นประมาณไหน มีการลงรายละเอียดเวลาว่า แต่ละขั้นต้องใช้เวลาเท่าไหร่ หลังจากทำขั้นตอนนี้เสร็จจะต้องทำอะไรต่อไป เป็นขั้นตอนการลงรายละเอียดโครงร่างของแผนการสอน สื่อ หรือกิจกรรม ก่อนนำไปพัฒนาจริง

ที่มาภาพ: teachwire.net/uploads/resource/Storyboards.png

***เมื่อออกแบบเนื้อหาเสร็จแล้วสิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืมทำคือ การนำเนื้อหาไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบว่ามีความครอบคลุม ถูกต้องหรือไม่ ในกรณีของครู อาจเป็นการขอความเห็นจากเพื่อนครูที่สอนในรายวิชาเดียวกัน เป็นต้น

3.การพัฒนา (Develop)

เป็นขั้นตอนการนำภาพร่าง หรือโครงร่างที่ทำไว้ใน Story board มาลองทำเป็นชิ้นงานจริง ๆ เมื่อออกแบบเสร็จก็ต้องไม่ลืมเอาไปให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือผู้เชี่ยวชาญช่วยดูว่า เหมาะสมหรือไม่ หากไม่เหมาะสมก็จะต้องนำมาปรับต่อ ในกรณีของครู อาจเป็นการนำตัวชิ้นงานต้นแบบไปให้เพื่อนครูลองประเมินดูว่า เหมาะสมหรือไม่ หรืออาจนำไปให้ผู้เรียนบางกลุ่มลองใช้งานดูเพื่อรับ Feedback จากนั้นนำ Feedback นั้นมาพัฒนาชื้นงานต่อให้ตอบโจทย์ผู้เรียนมากขึ้น

4.การนำไปใช้ (Implement)

ในขั้นตอนการนำไปใช้นั้น คือ การนำชิ้นงานต้นแบบที่พัฒนาปรับปรุงแล้วไปลองให้ผู้เรียนใช้งานจริง โดยขั้นตอนนี้ จะเริ่มตั้งแต่การสอนใช้งานเบื้องต้น การให้ลองใช้งานจริง ไปจนถึงตอนท้ายคือมีการประเมิน เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาต่อให้ตัวแผนการเรียน สื่อ หรือกิจกรรม มีประสิทธิภาพมากขึ้น

5.การประเมิน (Evaluation)

ขั้นการประเมินนั้นทำได้หลากหลายแบบทั้ง แบบ Summative และ Formative แต่หากเป็นไปได้คุณครูควรจะจัดทำทั้งสองแบบ เพราะการทำการประเมินแบบ Formative หรือการประเมินระหว่างเรียนนั้น จะทำให้เห็นพัฒนาการของตัวเด็ก เห็นว่าปัญหาของเด็กคืออะไร ข้อมูลตรงนี้จะช่วยในการปรับปรุงชิ้นงานให้ดีขึ้นได้ ในส่วนของ Summative นั้นจะทำให้เห็นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนว่า เป็นอย่างไร ดีขึ้น / พอใช้ / หรือแย่ลง นอกจากนี้การประเมินยังครอบคลุมไปถึงความพึงพอใจในการใช้งานด้วย โดยผลการประเมินความพึงพอใจตรงนี้จะทำให้เห็นข้อดีข้อเสีย จุดแข็งจุดอ่อนของ แผนการเรียน สื่อ หรือกิจกรรมของเรา ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ในการออกแบบ บทเรียน สื่อ หรือกิจกรรม ตัวใหม่ของเราในอนาคต

.

ก็จบกันไปแล้วนะครับกับแนวทางการออกแบบ แผนการเรียนรู้ สื่อ หรือ กิจกรรม ด้วยแนวคิด ADDIE model ก็หวังว่าข้อมูลครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนครูทุกคนไม่มากก็น้อย สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณทุกคนที่เข้ามาศึกษาบทความชิ้นนี้ครับ ขอบคุณครับ...

กระบวนการของ addie Model มีขั้นตอนใดบ้าง

การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้ ADDIE Model ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ 2) การออกแบบ 3) การพัฒนา 4) การน าไปใช้ 5) การประเมินผล ทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ครอบคลุมกระบวนการออกแบบและพัฒนาทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้นจนได้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์ ส าหรับแนวคิดของกาเย่น ามาใช้ในขั้นตอนการออกแบบ ...

การเขียน Story Board และ Flowchart จัดอยู่ในขั้นตอนใดของ addie Model

ขั้นตอนการพัฒนา (Develop) (ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรแกรมและผลิตเอกสารประกอบการเรียน) ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้.
การออกแบบ Courseware (การออกแบบบทเรียน) ... .
การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)(ขั้นตอนการเขียนผังงานและสตอรี่บอร์ดของ อลาสซี่).
การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design).

Addie Model มีความสําคัญอย่างไร

ADDIE Training model คือ หลักการออกแบบการเรียนรู้ ที่เน้นการเก็บข้อมูลอย่างละเอียด และนำมาใช้ในการออกแบบหลักสูตร สื่อ หรือกิจกรรม ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้เข้าร่วมมากที่สุด

Addid Model มีลำดับการพัฒนากี่ขั้น

ขั้นตอนของ ADDIE Model ประกอบด้วย 1. Analysis (การวิเคราะห์) 2. Design (การออกแบบ) 3. Development (การพัฒนา) 4. Implementation (การนาไปใช้) 5. Evaluation (การประเมินผล) Page 2 2 เอกสารประกอบการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ดร.สุไม บิลไบ, 2557 จากขั้นตอนทั้ง 5 ของ ADDIE Model สามารถนามาประยุกต์ใช้ในการ ...