เส้นทาง สายไหม มีความ สำคัญต่อ มนุษยชาติ ใน เรื่อง ใด

เส้นทาง สายไหม มีความ สำคัญต่อ มนุษยชาติ ใน เรื่อง ใด

เส้นทางสายไหม (Silk road หรือ Silk route) เป็นเส้นทางการค้าและการติดต่อทางวัฒนธรรมระหว่างตะวันออกและตะวันตก จากจีนผ่านมายังอินเดียและไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรป โดยมีสินค้าหลัก คือ ผ้าไหม จึงเป็นที่มาของชื่อ เส้นทางสายไหม เพราะเส้นทางโบราณนี้ราชวงศ์ฮั่นของจีน (206 ปีก่อน ค.ศ. ถึง ค.ศ. 220) โดย จักรพรรดิฮั่นหวู่ตี้ ได้ทรงริเริ่มทำการค้าผ้าไหมกับตะวันตกพร้อมทั้งสถาปนาเส้นทางสายไหมขึ้น ในราว 100 กว่าปีก่อนคริสตกาล

แต่ชื่อเรียก "เส้นทางสายไหม" นี้ปรากฏขึ้นในกลางศตวรรษที่ 19 ไม่ใช่ชื่อเรียกดั้งเดิมมาแต่ต้น นักภูมิศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ เฟอดินัล วอน ริชโทเฟน (Ferdinal von Richthofen ค.ศ.1833-1905) เป็นผู้ตั้งชื่อให้กับเส้นทางโบราณสายนี้ ซึ่งได้กลายเป็นชื่อที่นิยมเรียกกันติดปากไปทั่วโลกในเวลาต่อมา


เส้นทางไหมตั้งแต่เริ่มต้นนั้นเป็นเส้นทางบก มีจุดเริ่มต้นจากนครฉางอาน หรือ ซีอาน ในปัจจุบัน ข้ามชายแดนจีน ไปสู่ อินเดีย เปอร์เชีย เอเชียกลาง จนถึงกรุงคอนสแตนติโนเปิล หรือ อิสตันบูล ประเทศตุรกีในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นเส้นทางที่อยู่ในดินแดนของจีนเป็นหลัก ซึ่งเส้นทางนี้ยังแบ่งออกเป็นหลายสาย และสินค้าจะถูกส่งขายต่อเป็นทอดๆ ผ่านขบวนคาราวานจากเมืองหนึ่งไปสู่อีกเมืองหนึ่ง และยังเป็นเส้นทางสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากอินเดียเข้าสู่จีนในสมัยราชวงศ์ฮั่นอีกด้วย


ต่อมาได้เกิดเส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road) ขึ้น ในสมัยราชวงศ์ซ่ง ในช่วงที่เทคโนโลยีการเดินเรือได้รับการพัฒนารุดหน้า เส้นทางสายไหมทางทะเลจึงเริ่มขึ้น ผ่านช่องแคบมะละกา ไปยังศรีลังกา อินเดีย และแอฟริกาตะวันออก โดยเฉพาะในสมัยราชวงศ์หมิง มี เจิ้งเหอ นายพลคนสำคัญที่นำกองคาราวานสินค้าหลายร้อยลำเดินทางไปเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และอาจไปไกลถึงแอฟริกา ผ่านประเทศต่างๆ กว่า 30 ประเทศ

เส้นทาง สายไหม มีความ สำคัญต่อ มนุษยชาติ ใน เรื่อง ใด


ที่มาภาพ: http://th.wikipedia.org/


สินค้าที่นำเข้าจากตะวันตกมายังตะวันออกผ่านเส้นทางนี้ ได้แก่ ม้า อานม้า อูฐ ต้นองุ่น ผลองุ่น ขนสัตว์ หนังสัตว์ น้ำผึ้ง ทองคำ งาช้าง สัตว์และพืชจากต่างแดน หินกึ่งอัญมณี แก้ว พรม สิ่งทอ เป็นต้น ส่วนสินค้าจากตะวันออกที่ส่งออกไปขายในตะวันตก ได้แก่ ไหม ชา สีย้อมผ้า อัญมณี เครื่องเคลือบ เครื่องลายคราม เครื่องเทศ น้ำหอม งาช้าง ข้าว กระดาษ ดินปืน สิ่งประดิษฐ์จากทองแดงและทองคำ เป็นต้น

ยูเนสโก (UNESCO) ได้ขึ้นทะเบียนเส้นทางสายไหมใน จีน คาซัคสถาน และคีร์กิซสถาน เป็นมรดกโลก ใน พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) ภายใต้ชื่อ เส้นทางสายไหม : โครงข่ายเส้นทางฉนวนฉางอาน-เทียนชาน ด้วยเหตุผลว่า เส้นทางนี้เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นมรดกทางอารยธรรมของมนุษยชาติ ในฐานะเป็นเส้นทางโบราณในการติดต่อค้าขายและสื่อสารระหว่างตะวันออกกับตะวันตก


ตลอดเส้นทางสายไหมเราจะพบเห็นซากโบราณสถานและโบราณวัตถุจำนวนมากที่ถูกค้นพบตามเมืองต่างๆ เป็นประจักษ์พยานที่แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองมาแต่อดีตของเส้นทางสายไหมทั้งทางบกและทางทะเล ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นเส้นทางการค้าเท่านั้น ยังมีการเผยแผ่ศาสนา ลัทธิปรัชญา เทคโนโลยี วัฒนธรรม แม้กระทั่งโรคภัยไข้เจ็บร้ายแรง อย่างเช่น กาฬโรค ก็แพร่กระจายผ่านเส้นทางนี้ด้วย อันแสดงให้เห็นว่า เส้นทางสายไหมนั้นมีความสำคัญยิ่งทั้งในทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงตะวันออกและตะวันตกมานานหลายพันปี



ปี ค.ศ.2013 ผู้นำจีนเสนอข้อริเริ่มเรื่องพัฒนาเส้นทางสายไหม ที่จะเป็นการเชื่อมโยงภูมิภาคต่างๆเข้าด้วยกัน รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมการค้าการลงทุน และการไปมาหาสู่ระหว่างกันของประชาชนประเทศต่างๆ ทั่วโลก วันนี้ เราจะมาเล่าเรื่องความเป็นมาของเส้นทางสายไหมในสมัยโบราณ ตอนที่ 1

การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ ความคิดและบุคลากรระหว่างจีนกับต่างประเทศผ่านทางบกและทางทะเลมีประวัติศาสตร์มาช้านาน ซึ่งสามรารถย้อนไปถึงสมัยราชวงศ์ฉิง และราชวงศ์ฮั่น การแลกเปลี่ยนในด้านต่างๆ ที่มีมาช้านานนั้นได้เพิ่มความเข้าใจระหว่างประชาชนจีนกับต่างประเทศให้มากขึ้น และทำให้คลังทรัพย์สินทางวัตถุและทรัพย์สินทางปัญญาของมวลมนุษยชาติมีความหลากหลายยิ่งขึ้น

นายจจัง เชียน นักการทูตสมัยราชวงศ์ฮั่นเคยเดินทางไปดินแดนตะวันตก ดินแดนที่อยู่ทางทิศตะวันตกของจีนสองครั้ง เพื่อบุกเบิกเส้นทางสายไหมที่เลื่องชื่อลือนามทั่วโลก หนังสือประวัติศาสตร์ของจีนมีการบันทึกไว้ว่า นายจัง เชียน เป็นบุคคลแรกในการบุกเบิกเส้นทางสายไหม ทำให้เริ่มมีการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมระหว่างดินแดนตะวันตกกับตะวันออก

จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของจีน ชาวจีนโบราณเป็นผู้คิดค้นเทคนิคในการทอผ้าไหม ซึ่งรวมทั้งเทคนิคการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหม และทอผ้าไหม การทอผ้าไหมในจีนมีประวัติกว่า 5,000 ปีแล้ว

เส้นทาง สายไหม มีความ สำคัญต่อ มนุษยชาติ ใน เรื่อง ใด

ช่วงปลายยุคหินใหม่ ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำหวงเหอ และแม่น้ำแยงซีเจียง ได้เรียนรู้เทคนิคการทอไหม และผ้าเจียน (juan) ผ้าเจียนคล้ายผ้าไหมปัจจุบัน แต่บางกว่า

จีนมีตำนานเรื่องผ้าไหมหลายเรื่อง มีเรื่องหนึ่งเล่าว่า เมื่อ 4,000 กว่าปีก่อน มีอยู่ครั้งหนึ่ง จักรพรรดิหวงตี้ ผู้ได้รับพระราชสมัญญานามว่า บิดาแห่งประชาชาติจีน จัดงานเฉลิมฉลองชัยชนะการสู้รบกับชนเผ่าอื่น ระหว่างงาน มีเทพธิดาองค์หนึ่งเหาะลงมาจากฟ้า มือข้างหนึ่งกำเส้นไหมสีเหลือง และอีกข้างหนึ่งกำเส้นไหมสีเงิน เทพธิดามอบเส้นไหมเหล่านั้นให้แก่จักรพรรดิหวงตี้ จักรพรรดิหวงตี้รู้สึกดีพระราชหฤทัยมาก รีบรับสั่งให้ช่างทอเส้นไหมเหล่านั้นเป็นผ้าเจียน (juan) ต่อมา เทพธิดาองค์นี้ได้รับสมัญญาว่า เทพธิดาไหม ตำนานอีกเรื่องหนึ่งเล่าว่า นางสนมของจักรพรรดิหวงตี้คนหนึ่งเป็นผู้ค้นพบวิธีการสาวเส้นไหมจากรังไหม และสอนวิธีการสาวไหมให้แก่ชาวบ้านทั่วไป หลังจากนั้น เทคนิคการเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมจึงแพร่ออกไปในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศจีน

ครั้นถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น (ช่วงปี 206 ก่อนคริสต์ศักราช – ปีค.ศ. 220 ) อุตสาหกรรมทอผ้าไหมมีความก้าวหน้าอย่างมาก เล่ากันว่า ทุกครั้งที่จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นทรงลงพื้นที่ พระองค์จะนำผ้าไหมจำนวน 1 ล้านผี่ (ผี่เป็นหน่วยวัดความยาวผ้าไหม 1ผี่เท่ากับผ้าไหมกว้าง 1 เมตร ยาว 23 เมตร )ลงพื้นที่ด้วย เพื่อพระราชทานผ้าไหมเหล่านี้ให้แก่ข้าราชการที่มีผลงานดีเด่นในพื้นที่ต่างๆ ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า อุตสาหกรรมทอผ้าไหมในสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้มีความเจริญรุ่งเรืองมากแล้ว เมื่อปี 1972 มีการขุดพบโบราณวัตถุจำนวนหนึ่งจากสุสานแห่งหนึ่งในสมัยราชวงศ์ฮั่นที่เขตหม่าหวงตุย ในเมืองฉางซา ภายในสุสาน มีโบราณวัตถุที่ทำจากผ้าไหมกว่า 100 ชิ้น มีเสื้อที่ทำจากผ้าไหมตัวหนึ่งยาว 1.28 เมตร น้ำหนักเพียง 49 กรัมเท่านั้น มีผ้าไหมอีกผืนหนึ่งยาว 4.5 เมตร น้ำหนักเพียง 2.8 กรัมเท่านั้น ฝีมือถักทอผ้าไหมประณีตมาก จนนักโบราณคดีที่ขุดพบโบราณวัตถุเหล่านี้รู้สึกน่าทึ่งมาก

เส้นทางสายไหมมีความสำคัญต่อมนุษย์ชาติเรื่องใด

นอกจากเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญแล้ว เส้นทางนี้ได้ถูกใช้เพื่อเผยแพร่ศาสนา แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และองค์ความรู้ในการพัฒนาระหว่างกันอย่างกว้างขวาง เช่น จีนได้เรียนรู้พุทธศาสนา การทำน้ำตาลจากอ้อย และการใช้ฝ้ายทำเครื่องนุ่งห่มจากอินเดีย การทำเหล้าองุ่นจากอัฟกานิสถาน นอกจากนี้ ความรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม และอารยธรรมจากจีนถูกเผยแพร่ ...

เส้นทางสายไหมมีความสำคัญต่อพัฒนาการของมนุษยชาติด้วยเหตุผลในข้อใด

การค้าบนเส้นทางสายไหมเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาของอารยธรรมจีน อนุทวีปอินเดีย เปอร์เซีย ทวีปยุโรปและคาบสมุทรอาหรับ โดยเปิดอันตรกิริยาทางการเมืองและเศรษฐกิจทางไกลระหว่างอารยธรรม แม้ผ้าไหมเป็นสินค้าหลักจากจีน แต่ก็มีการค้าสินค้าอื่นจำนวนมาก ศาสนา ปรัชญาหลายความเชื่อและเทคโนโลยีต่าง ๆ จนถึงโรคก็ไปมาตามเส้นทางสายไหมเช่นกัน ...

เส้นทางสายไหม (Silk Road) มีความสำคัญอย่างไร

เส้นทางสายไหมไม่ได้นำพาความมั่งคั่งมาสู่แผ่นดินจีนเท่านั้น แต่ยังนำความเจริญมาสู่ถิ่นทุรกันดาร ชนเผ่าเร่ร่อนต่างผันตัวมาเป็นพ่อค้า พวกเขารวมตัวกันก่อตั้งเมืองในทะเลทรายที่ตั้งเรียงรายตั้งแต่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนต่อไปยังเอเชียกลาง

เส้นทางเส้นแพรไหมมีความสําคัญต่อประวัติศาสตร์โลกอย่างไร

เส้นทางแพรไหม (Silk Road) มีประวัติศาสตร์ที่รุ่งเรืองและยาวนานก่อนการเกิด คริสต์ศักราชถึง 200 กว่าปี เส้นทางแพรไหมเป็นแหล่งก าเนิดการแลกเปลี่ยนอารยธรรมต่าง ๆ ในแถบภูมิภาคเอเชียกลาง ตะวันออกลาง และยุโรป โดยเป็นเส้นทางการค้าที่มีความยาวถึง 7,000 ไมล์ พาดผ่านภูมิประเทศที่หลากหลาย โดยมีจุดประสงค์หลักคือการค้าขาย โดยในปี ค. ...