เป้าหมาย SDGs เป้าหมายที่ 17 เป็นมิติด้านใด

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย (Goals) ภายใต้เป้าหมายหนึ่ง ๆ จะมีเป้าหมายย่อย ๆ เรียกว่า เป้าประสงค์ (Targets)มีจำนวนทั้งสิ้น 169 เป้าประสงค์ และเพื่อให้ทราบถึงความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าประสงค์ต่าง ๆ ตัวชี้วัด (Indicators)จำนวน 232 ตัวชี้วัด (ทั้งหมด 244 ตัวชี้วัดแต่มีตัวที่ซ้ำ 12 ตัว) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อติดตามความก้าวหน้าของเป้าประสงค์นั้น ๆ

เป้าหมาย SDGs เป้าหมายที่ 17 เป็นมิติด้านใด

เป้าหมายทั้ง 17 เป้าหมายประกอบด้วย

  • เป้าหมายที่ 1:ขจัดความยากจน
  • เป้าหมายที่ 2:ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการสำหรับทุกคนในทุกวัย
  • เป้าหมายที่ 3:สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย
  • เป้าหมายที่ 4:สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • เป้าหมายที่ 5:บรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สตรีและเด็กหญิง
  • เป้าหมายที่ 6:สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยส้าหรับทุกคนและมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน
  • เป้าหมายที่ 7:สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเยา
  • เป้าหมายที่ 8:ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน
  • เป้าหมายที่ 9:สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม
  • เป้าหมายที่ 10:ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ
  • เป้าหมายที่ 11:ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน
  • เป้าหมายที่ 12:สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
  • เป้าหมายที่ 13:เร่งต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น
  • เป้าหมายที่ 14:อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • เป้าหมายที่ 15:ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟิ้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
  • เป้าหมายที่ 16:ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรมและสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผลรับผิดชอบและครอบคลุมในทุกระดับ
  • เป้าหมายที่ 17:เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน

สิ่งสำคัญที่ต้องทราบ คือ

ประการแรก– เป้าหมายทั้ง 17 ข้อ สะท้อน 3 เสาหลักของมิติความยั่งยืน (Three Pillars of Sustainability) คือ มิติสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม บวกกับอีก 2 มิติคือ มิติสันติภาพและสถาบัน และมิติเรื่องหุ้นส่วนการพัฒนา ที่เป็นเชื่อมร้อยทุกมิติของความยั่งยืนไว้ด้วยกัน รวมเป็น 5 มิติ องค์การสหประชาชาติแบ่งเป้าหมาย 17 ข้อ ออกเป็น5 กลุ่ม (เรียกว่า 5 Ps) ประกอบด้วย

  • People (มิติสังคม):ครอบคลุมเป้าหมายที่ 1 2 3 4 และ 5
  • Prosperity (มิติเศรษฐกิจ):ครอบคลุมเป้าหมายที่ 7 8 9 10 และ 11
  • Planet (มิติสิ่งแวดล้อม):ครอบคลุมเป้าหมายที่ 6 12 13 14 และ 15
  • Peace (มิติสันติภาพและสถาบัน):ครอบคลุมเป้าหมายที่ 16
  • Partnership (มิติหุ้นส่วนการพัฒนา):ครอบคลุมเป้าหมายที่ 17

 ประการที่สอง– เนื้อหาของ SDGs หาได้อยู่ที่เป้าหมาย (Goals) ไม่ แต่อยู่ที่ระดับเป้าประสงค์​(Targets) เป้าประสงค์เหล่านี้บอกถึงลักษณะของสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในโลกที่ SDGs บรรลุแล้ว มีนัยยะที่บอกถึงภาพฝัน ถึงวิสัยทัศน์ ของการพัฒนาที่นำเสนออยู่ในวาระการพัฒนา 2030ฉะนั้นหากต้องการทราบว่า SDGs ครอบคลุมเรื่องอะไรบ้างต้องพิจารณาที่ระดับเป้าประสงค์(โปรดดูเอกสารแนบ 1)

ประการที่สาม–ตัวชี้วัด 232 ตัวนั้นเป็นตัวชี้วัดที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการติดตามความก้าวหน้าในระดับโลก หาใช่ตัวชี้วัดที่จะนำมาใช้ในระดับประเทศอย่างเหมาะสมทั้งหมดไม่ และการเลือกตัวชี้วัดแต่ละตัวนั้นก็เพื่อให้สามารถสะท้อนสาระสำคัญของเป้าหมายนั้น แต่อาจไม่ได้ครอบคลุมทุกมิติที่ระบุไว้ในเป้าประสงค์ ดังนั้นแต่ละประเทศจะต้องกลับมาพัฒนาตัวชี้วัดระดับประเทศและระดับท้องถิ่นเพื่อให้SDGs สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงในระดับประเทศและท้องถิ่นได้ มิเช่นนั้นแล้วประเทศไทยอาจจะบรรลุทุกตัวชี้วัด (Indicators) แต่ไม่บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ก็เป็นได้ นอกจากนี้ จากจำนวนทั้งหมด 232 ตัวชี้วัด ประมาณ 1 ใน 4 (64 ตัว) ยังไม่มีรายละเอียดสำหรับการเก็บข้อมูล และตัวชี้วัดมีการเปลี่ยนแปลงได้ในขณะที่เป้าหมายและเป้าประสงค์จะไม่มีการปรับในระดับโลกแล้ว

ประการที่สี่– SDGsมิใช่ข้อตกลงที่มีการบังคับสัญญาและลงโทษ แต่เป็นการเข้าร่วมโดยสมัครใจของประเทศต่าง ๆ และมีการทบทวน (Review) ประจำปีผ่านการนำเสนอ รายงานการทบทวนระดับชาติโดยสมัครใจ (Voluntary National Review) ในการประชุมระดับสูงทางการเมืองว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-Level Political Forum on Sustainable Development: HLPF) ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนกรกฎาคม ที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทุกประเทศสามารถสมัครเข้านำเสนอหรือไม่ก็ได้

ประการที่ห้า– การรู้จักแต่เพียง 17 เป้าหมายโดยไม่เข้าใจหลักการเบื้องหลังอาจทำให้นำ SDGs ไปใช้แบบผิดฝาผิดตัวก็เป็นได้ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป็นเป้าหมายที่เน้นการพัฒนาที่ครอบคลุม (Inclusive)มุ่งการเปลี่ยนแปลง (Transformative)และบูรณาการ (Integrated)ที่ทุกประเทศต่างมีโจทย์ที่จะต้องนำไปปฏิบัติมิใช่เพียงประเทศยากจน (Universal)แต่ในขณะเดียวกันก็เน้นการนำไปปฏิบัติและแก้ปัญหาในระดับท้องถิ่น (Locally-focused)นั่นหมายถึงว่า แม้เป้าหมายจะแบ่งเป็น 17 เป้าหมาย แต่การพิจารณาและดำเนินการจะต้องเป็นไปอย่างบูรณาการ เห็นความเชื่อมโยง (Interlinkage)มุ่งผลลัพธ์ (outcome-based) และให้ความสำคัญกับคนกลุ่มที่เปราะบาง (Vulnerable people)คนยากจน และคนกลุ่มต่าง ๆ ที่มักถูกทิ้งไว้ข้างหลัง และแม้ว่า SDGs จะเป็นเป้าหมายระดับโลก แต่การนำ SDGs ไปปรับให้เหมาะกับบริบทของพื้นที่ (Localization of the SDGs)ก็เป็นเรื่องสำคัญ ต้องให้ท้องถิ่นเป็นเจ้าของ มีการให้ความหมายแก่เป้าประสงค์ (Targets)และตัวชี้วัด (Indicators)ที่เหมาะสมกับท้องถิ่น และร่วมผลักดัน โดยหลักการ การขับเคลื่อน SDGsควรจะเป็นกระบวนการที่เริ่มจากฐานรากขึ้นสู่ระดับนโยบาย (Bottom-Up)และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทหลักในการนำ SDGs ไปปฏิบัติ

ประการที่หก– SDGs ไม่ใช่เรื่องตัวชี้วัดแต่เพียงอย่างเดียวSDGs เปิดโอกาสใหม่ ๆ ขึ้นมากมายเพราะในทางปฏิบัติ SDGsมีฐานะเป็นเครื่องมืออื่นด้วยนอกเหนือจากการชี้วัดสถานการณ์ความยั่งยืนเช่น

SDGs 17 มีกี่มิติ

สำหรับ SDGs หรือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย โดยองค์การสหประชาชาติแบ่งทั้ง 17 ข้อ ออกเป็น 5 มิติ ได้แก่ มิติสังคม (People) มิติเศรษฐกิจ (Prosperity) มิติสิ่งแวดล้อม (Planet) มิติสันติภาพและสถาบัน (Peace) และมิติหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership)

SDGs 17 ข้อ มีอะไรบ้าง

1.No Poverty ขจัดความยากจนทุกรูปแบบทุกสถานที่ 2.Zero Hunger ขจัดความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน 3.Good Health and well-being รับรองการมีสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนทุกช่วงอายุ 4.Quality Education รับรองการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน

เป้าหมาย SDGs มีกี่เป้าหมาย

เกี่ยวกับ SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย ประกอบไปด้วย 169 เป้าหมายย่อย (SDG Targets) ซึ่งมีความเชื่อมโยงและเกื้อหนุนกัน สามารถจัดกลุ่มตามปัจจัยที่เชื่อมโยงกันใน 5 มิติ (5P) ได้แก่ People, Planet, Prosperity, Peace และ Partnership…..

Sustainable Development Goals (SDGs) มีอะไรบ้าง

SDGs ประกอบด้วยเป้าหมาย 17 ข้อ ดังนี้ เป้าหมายที่ 1 : ขจัดความยากจน เป้าหมายที่ 2 : ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการสำหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 3 : สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย