พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ประหาร

หลายคนรู้จักมารี-เตแรซ ในฐานะลูกสาวคนโตและทายาทคนเดียวของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารี อ็องตัวแน็ต ที่รอดชีวิตจากการปฏิวัติฝรั่งเศส หลายคนรู้ว่ามารี-เตแรซ ถูกเนรเทศและได้ลี้ภัยไปอยู่ในราชสำนักเวียนนาภายใต้การดูแลของญาติฝ่ายพระมารดาในออสเตรีย แต่หลายคนไม่รู้ว่าชีวิตแสนเศร้าของเจ้าหญิงไม่ได้จบลงแค่นั้น

เจ้าหญิงมารี-เตแรซ ทรงมีชีวิตยืนยาวถึง 72 ปี ทรงมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงของฝรั่งเศสอีกหลายครั้ง และที่สำคัญ เคยได้ขึ้นเป็นราชินีแห่งฝรั่งเศสเป็นเวลา 20 นาที ก่อนถูกเนรเทศออกจากประเทศที่ทรงเป็นเจ้าหญิงโดยกำเนิดอีกครั้ง

เกิดอะไรขึ้นกับมาดามรอแยลคนสุดท้ายก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ประหาร

Young Marie-Thérèse

“เด็กน้อยที่น่าสงสาร แม้ไม่ได้เป็นลูกชายแบบที่คาดหวังแต่ก็ไม่ได้ทำให้ลูกเป็นที่รักน้อยลงเลยสักนิด หากเป็นเด็กชาย แม่จะต้องแบ่งลูกให้กับคนทั้งประเทศ แต่เมื่อเป็นลูกสาว ลูกจะเป็นของแม่แต่เพียงผู้เดียว”

มารี อ็องตัวแน็ต กล่าวไว้เช่นนี้ในปี 1778 เมื่อเจ้าหญิงมารี-เตเเรซ ลืมตาดูโลก แม้ไม่ใช่ทายาทเพศชายตามความคาดหวัง แต่การประสูติของพระธิดาองค์แรกหลังการแต่งงานที่ยาวนานถึง 8 ปี ก็เป็นสัญญาณที่ดีว่ากษัตริย์และราชินีสามารถมีทายาทที่สมบูรณ์แข็งแรงได้อีกในอนาคต 

มารี-เตเเรซ ได้รับการขนานพระนามตามสมเด็จยาย คือพระนางมาเรีย เทเรซา จักรพรรดินีแห่งออสเตรีย ผู้เป็นพระมารดาของพระนางมารี อ็องตัวแน็ต ในฐานะลูกสาวของกษัตริย์ เจ้าหญิงมารี-เตเเรซ ได้รับตำแหน่งแต่กำเนิดว่า Filles de France (A Daugther of France หรือลูกสาวของฝรั่งเศส) และได้รับการเรียกขานตามศักดิ์ของลูกสาวคนโตว่า มาดามรอแยล (Madame Royale)

ชีวิต 10 ปีแรกของมารี-เตเเรซ พรั่งพร้อมไปด้วยความสุข เธอเป็นดวงใจของพระมารดาที่มักใช้เวลาส่วนตัวดูแลพระธิดาอย่างใกล้ชิด

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ประหาร

Queen Marie Antoinette of France and two of her Children Walking in The Park of Trianon – Nationalmuseum

มารี อ็องตัวแน็ต เป็นแม่ที่ทุ่มเทแต่เข้มงวด ต่างจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ที่ผ่อนปรนมากกว่าและตามใจพระธิดาไปเสียทุกเรื่อง มารี อ็องตัวแน็ต ไม่ต้องการให้ลูกสาวเติบโตมาเป็นคนเย่อหยิ่งเหมือนบรรดาลูกสาวที่ไม่ได้แต่งงานของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 (ซึ่งมีศักดิ์เป็นสมเด็จอาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16) จึงพยายามเลี้ยงดูลูกสาวให้เป็นคนติดดิน โปรดให้เชิญลูกหลานตระกูลสามัญชนมาร่วมงานเลี้ยงอาหารเย็น และทรงสอนให้เจ้าหญิงรู้จักแบ่งปันของเล่นแก่เด็กยากจน

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ประหาร

The French royal family in 1823

ในความทรงจำของเจ้าหญิงมารี-เตเเรซ พระมารดาของพระองค์ทรงสอนให้ลูกสาวเห็นอกเห็นใจคนอื่น และมักใส่ใจกับความทุกข์ยากของประชาชน ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่ขัดแย้งกับที่สังคมส่วนใหญ่มอบให้พระนาง

หนึ่งในบันทึกของมารี-เตเเรซ กล่าวถึงเหตุการณ์ในวันคริสต์มาสปี 1784 หลังจากที่เธอได้รับของขวัญสวยงามมากมายจากขุนนางในราชสำนัก แต่กลับไม่ได้รับของขวัญจากพระมารดา พระนางมารี อ็องตัวแน็ต กล่าวกับลูกสาวว่า 

“แม่ควรจะให้ของขวัญที่สวยงามกับลูกเหมือนคนอื่นๆ แต่ฤดูหนาวเป็นเวลาที่ยากลำบาก มีผู้คนมากมายกำลังทนทุกข์ พวกเขาไม่มีขนมปังกิน ไม่มีเสื้อผ้าใส่ และไม่มีไม้สำหรับเผาไฟสร้างความร้อน แม่ได้ให้เงินกับพวกเขาไปหมดแล้ว ไม่เหลือพอที่จะซื้อของขวัญให้ลูกในปีนี้”

อย่างไรก็ดี ชีวิตแสนสุขของเจ้าหญิงก็เป็นอันต้องจบลงในปี 1789 เมื่อฝูงชนผู้เกรี้ยวกราดเดินทางมาถึงแวร์ซาย ชะตาชีวิตของครอบครัวที่เคยมีอำนาจเหนือประชาชนหลายล้าน บัดนี้ตกอยู่ในกำมือของกลุ่มคนจากคณะปฏิวัติ

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ประหาร

Farewells of Louis xvi to his family on 20 January 1793 at the temple painting by Jean Jacques Hauer

ในวันที่ 20 มกราคม 1793 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกตัดสินว่าเป็นกบฏ โทษคือประหารชีวิต เย็นวันนั้นพระองค์ได้รับอนุญาตให้ใช้ค่ำคืนสุดท้ายอยู่กับครอบครัวเพื่อบอกลา 

‘รถม้าของกษัตริย์เดินทางเป็นเวลา 2 ชั่วโมงเพื่อไปยังตะแลงแกง สองข้างทางไม่มีอะไรนอกจากฝูงชนมากมายที่ถืออาวุธและมองมาด้วยสีหน้าโกรธเกรี้ยว บ้างถือหอก บ้างถือกระบอกปืน ไม่มีการลดเสียงเพื่อไว้อาลัย ใบหน้าเหล่านั้นเป็นของผู้คนที่สิ้นหวังที่สุดในกรุงปารีส’

ข้อความข้างต้นได้รับการบันทึกโดยเฮนรี เอสเซ็กซ์ เอดจ์เวิร์ท บาทหลวงคาทอลิกที่ติดขบวนไปส่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 อดีตกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสถึงแดนประหาร 

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ประหาร

Storming of the Bastille

‘ขบวนรถม้าออกเดินทางราวแปดโมงเช้า มีทหารม้า 1,200 นายให้การคุ้มกัน ข้าพเจ้ามอบหนังสือสวดมนต์สั้นให้พระเจ้าหลุยส์ อดีตกษัตริย์รับหนังสือด้วยความยินดี เมื่อรถม้าจอดสนิท พระเจ้าหลุยส์ถูกพาตัวลงจากรถม้า ทหาร 3 นายพยายามถอดเครื่องทรงของพระองค์ แต่ทรงปฏิเสธและปลดเครื่องทรงต่างๆ ด้วยพระองค์เอง ทรงได้รับข้อเสนอให้ปิดตาก่อนขึ้นกิโยติน แต่ทรงปฏิเสธ

‘ความตายของข้าพเจ้าเป็นไปด้วยความสุขของราษฎร แต่ข้าพเจ้าเสียใจกับฝรั่งเศส และเกรงว่าประเทศนี้จะต้องระทมทุกข์ต่อไปด้วยความพิโรธของพระผู้เป็นเจ้า’ พระองค์ทรงประกาศว่าบริสุทธิ์จากอาชญากรรมที่ถูกกล่าวหา และภาวนาว่าพระโลหิตของพระองค์จะไม่ไหลหลั่งบนผืนแผ่นดินของฝรั่งเศส

ทันทีที่คมมีดตกลง หนึ่งในทหารที่น่าจะอายุไม่เกิน 18 ปี รีบวิ่งเข้าไป แล้วชูพระเศียรของอดีตกษัตริย์ให้เห็นโดยทั่วกัน ผู้คนโห่ร้องแสดงความยินดี หมวกถูกโยนขึ้นพร้อมกันในอากาศ คำประกาศว่า ‘Vive la République!’ (สาธารณรัฐจงเจริญ!) ก้องดังไปทุกหนแห่ง โลหิตของกษัตริย์หลั่งแล้ว ชัยชนะเป็นของคณะปฏิวัติฝรั่งเศส

หลังการสวรรคตของพระบิดา ครอบครัวของเจ้าหญิงถูกจับขังแยกกัน ไม่มีโอกาสได้พบหน้าคนในครอบครัว และได้รู้ชะตากรรมของสมาชิกคนอื่นๆ ผ่านคำบอกเล่าในภายหลัง เธอทราบว่าน้องชายเพียงคนเดียว เจ้าชายหลุยส์ ชาร์ลส์ ซึ่งบัดนี้ขึ้นเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 17 ตามธรรมเนียมปฏิบัติของราชวงศ์สิ้นพระชนม์ในระหว่างถูกคุมขัง ในขณะที่มารี อ็องตัวแน็ต ผู้เป็นพระมารดา และเจ้าหญิงเอลิซาเบท ผู้เป็นสมเด็จอา (น้องสาวของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16) ถูกตัดสินประหารชีวิต 

มีข่าวว่าอีกไม่นานมารี-เตแรซ เองก็ต้องถูกประหารด้วยเช่นกัน เจ้าหญิงที่เหลือเพียงลำพัง มีของใช้ติดกายเป็นหนังสือเพียง 2 เล่ม เธอเขียนบันทึกบนกำแพงที่คุมขัง 

‘มารี-เตเเรซ ชาร์ลอตต์ เป็นบุคคลที่ไม่มีความสุขที่สุดในโลก เธอไม่รู้โชคชะตาของผู้เป็นแม่ และแม้จะขอร้องเป็นพันครั้งก็ไม่อาจพบหน้ากันได้อีก คุณแม่ผู้แสนดี! ฉันไม่มีโอกาสได้ยินข่าวคราวจากท่านแม้สักคำ คุณพ่อที่รัก! ขอทรงคุ้มครองปกป้องลูกจากบนสวรรค์ ถึงพระผู้เป็นเจ้า! โปรดให้อภัยพวกเขาเหล่านั้น ผู้ทำให้บิดา-มารดาของลูกต้องทนทุกข์ทรมาน’

 

ในปี 1795 มีข่าวว่าราชสำนักออสเตรียพยายามเจรจาเพื่อช่วยเหลือลูกสาวคนสุดท้าย สายเลือดพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 มารี-เตเเรซ ปฏิเสธการย้ายไปเวียนนาเพราะรู้สึกว่าครอบครัวฝั่งออสเตรียของพระมารดาได้ละทิ้งครอบครัวของเธอตั้งแต่ต้น เธอประสงค์จะอยู่และตายในฝรั่งเศส แต่เมื่อการเจรจาจบลง เจ้าหญิงคนสุดท้ายได้รับการช่วยเหลือและส่งตัวออกจากฝรั่งเศสไปยังราชสำนักเวียนนา ขณะนั้นเธอมีอายุ 17 ปี รวมเวลาที่ถูกขังในฐานะนักโทษของคณะปฏิวัติทั้งสิ้น 3 ปี 4 เดือน กับอีก 5 วัน

มารี-เตแรซ มาถึงราชสำนักเวียนนาในวันที่ 9 มกราคม 1796 เจ้าหญิงที่บอบช้ำจากเหตุการณ์เลวร้ายปฏิเสธที่จะสวมเสื้อผ้าสีอื่นนอกจากสีดำ เธอกลายเป็นคนเก็บตัว พูดจาน้อย และแทบไม่สุงสิงกับญาติฝั่งพระมารดา เมื่อมีการกล่าวถึงการแต่งงานของเจ้าหญิงกับอาร์ชดยุกออสเตรีย เธอปฏิเสธคำขอแต่งงานทั้งหมดด้วยเชื่อว่าตัวเองควรแต่งงานกับทายาทราชวงศ์ฝรั่งเศสตามความคาดหวังของบิดา-มารดาผู้ล่วงลับ

 

ในปี 1799 เจ้าหญิงเดินทางไปลัตเวียเพื่อพบกับเจ้าชายหลุยส์ สตานิสลาส ซาเวียร์ เคานต์แห่งพรอว็องส์ น้องชายของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งอ้างสิทธิเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส กษัตริย์ผู้ไร้บัลลังก์พำนักอยู่ใต้การคุ้มกันของจักรพรรดิพอลที่ 1 แห่งรัสเซีย ได้เสนอให้หลานสาวแต่งงานกับทายาทของพระองค์ คือเจ้าชายหลุยส์ อ็องตวน ดยุกแห่งอ็องกูแลม (พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ไม่มีลูกชาย แต่ได้เสนอให้มารี-เตแรซ แต่งงานกับหลานชายซึ่งมีสิทธิสืบทอดบัลลังก์หากระบอบกษัตริย์ได้รับการฟื้นฟูในฝรั่งเศส) ทั้งสองแต่งงานกันในวันที่ 10 มิถุนายนปีเดียวกัน

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ประหาร

Prince Louis Duke of Angouleme

เจ้าหญิงมารี-เตเเรซ ได้รับของขวัญงานแต่งงานเป็นแหวนที่พระบิดาของเธอเคยสวม ตัวแหวนสลักอักษร ‘M.A.A.A’ ย่อมาจาก Marie Antoinette Archiduchesse d’Autriche (มารี อ็องตัวแน็ต อาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย) สลักวันที่ 6 พฤษภาคม 1770 มารี-เตแรซ ร้องไห้ด้วยความดีใจหลังได้รับแหวนที่เป็นตัวแทนของพ่อแม่ที่เสียชีวิต 

ชีวิตแต่งงานของมารี-เตแรซ กับเจ้าชายหลุยส์ ไม่ได้เกิดขึ้นจากความรักและห่างไกลกับคำว่ามีความสุข มารี-เตแรซ เป็นตัวแทนของระบบเจ้าขุนมูลนายแบบเก่า การถูกคุมขังและเหตุการณ์เลวร้ายทำให้เจ้าหญิงกลายเป็นคนอมทุกข์ เธอมีความมุ่งมั่นในการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ เป็นสตรีที่น่านับถือ แต่ไม่ได้รับความรัก เจ้าชายหลุยส์ให้ความเคารพภรรยาเสมอและได้ความเคารพจากเธอเป็นการตอบแทน  

 

ในปี 1815 มีการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ราชวงศ์บูร์บงหลังนโปเลียนลงจากอำนาจ พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ได้รับการยอมรับให้กลับมาปกครองฝรั่งเศส พร้อมกับมารี-เตแรซ ได้กลับฝรั่งเศสครั้งแรกในรอบ 20 ปี เธอไปเยี่ยมห้องขังที่น้องชายเสียชีวิตและเคารพศพพ่อแม่ที่สุสานแมเดลีน หนึ่งในสุสานที่ใช้ฝังศพเจ้านายและผู้ถูกตัดสินประหารชีวิตในการปฏิวัติฝรั่งเศส 

9 ปีต่อมา พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 สวรรคต น้องชายของพระองค์และพ่อสามีของมารี-เตแรซ ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 ในที่สุดเจ้าหญิงแห่งฝรั่งเศสก็ได้กลับมายืนในจุดที่เธอคู่ควร

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ประหาร

Marie Therese Charlotte

ในฐานะเจ้าหญิงรัชทายาทของราชบัลลังก์ ฐานะของเธอมั่นคงอยู่ 6 ปี ก่อนเกิดการปฏิวัติครั้งที่ 2 ในปี 1830 การปฏิวัติครั้งนี้มีชื่อเรียกในประวัติศาสตร์ว่า การปฏิวัติเดือนกรกฎาคม สาเหตุหลักมาจากการที่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 ต้องการยกเลิก Charter of 1814 ซึ่งเป็นข้อตกลงว่าระบอบกษัตริย์ของฝรั่งเศสจะอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ เพราะทรงต้องการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์แบบดั้งเดิม นำไปสู่ความไม่พอใจของประชาชนจนเกิดการปะทะรุนแรง

ชาร์ลส์ไม่มีทางเลือกนอกจากการสละราชสมบัติ และเนื่องจากคณะปฏิวัติต้องการสนับสนุนญาติของพระองค์ คือเจ้าชายหลุยส์-ฟิลิป แห่งออร์เลอ็อง ผู้สัญญาว่าจะปฏิวัติระบบราชการแบบอนุรักษนิยมไปสู่คณะรัฐบาลแบบเสรีนิยม เจ้าชายหลุยส์ พระสวามีของพระนางมารี-เตแรซ จึงขึ้นครองราชย์แต่ในนามเพื่อสละราชบัลลังก์ให้กษัตริย์ที่ประชาชนต้องการ 

 

ในช่วงเวลาที่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 ประกาศสละราชฯ และก่อนที่เจ้าชายหลุยส์จะเซ็นเอกสารตามต่อ มีช่วงว่างอยู่ประมาณ 20 นาทีที่เจ้าชายหลุยส์ได้รับยกขึ้นเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 19 และมารี-เตแรซ ได้ชื่อว่าเป็นราชินีของฝรั่งเศส (ตามหลัก comte d’Artois หรือการสืบบัลลังก์ทันทีที่กษัตริย์สละราชสมบัติหรือสวรรคต) พระนางมารี-เตแรซ ผู้มีความมุ่งมั่นสูงสุดในการฟื้นคืนระบอบกษัตริย์ได้แต่ร้องไห้อ้อนวอนขอให้พระสวามีคิดดูใหม่แต่ก็ไม่เป็นผล เหตุผลที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 19 ยอมสละราชสมบัติง่ายๆ ในเวลาไม่กี่นาทียังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน พระองค์ไม่เขียนบันทึกความทรงจำและเหตุการณ์ในวันนั้นก็ไม่ถูกเล่าซ้ำอีก

อดีตพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 และอดีตกษัตริย์หลุยส์ที่ 19 พาทั้งครอบครัวลี้ภัยอีกครั้งไปยังประเทศอังกฤษ เปิดทางให้เจ้าชายหลุยส์-ฟิลิป แห่งออร์เลอ็อง ขึ้นเป็นพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปที่ 1 กษัตริย์องค์สุดท้ายจากสายราชวงศ์บูร์บง ปกครองประเทศอยู่ 18 ปี ก่อนที่ฝรั่งเศสจะเกิดการปฏิวัติครั้งที่ 3 และเปลี่ยนระบอบการปกครองกลับมาเป็นสาธารณรัฐอีกครั้ง 

มารี-เตแรซ และครอบครัวไม่ได้กลับไปฝรั่งเศสอีกหลังจากนั้น เธอใช้ชีวิตเพื่อดูแลอดีตพระเจ้าชาร์ลส์ผู้แก่ชรากระทั่งสิ้นพระชนม์ และเมื่อสามีของเธอจากไปในปี 1844 มารี-เตแรซ ย้ายกลับไปใช้ชีวิตตามลำพังในออสเตรีย เธอใช้เวลาที่เหลือไปกับการปลีกวิเวก อ่านหนังสือ และสวดมนต์ 

มารี-เตแรซ จบชีวิตแสนเศร้าในวันที่ 19 ตุลาคม 1851 เป็นเวลา 3 วันหลังครบรอบ 58 ปี วันสิ้นพระชนม์ของพระนางมารี อ็องตัวแน็ต และเนื่องจากมารี-เตแรซ ไม่มีทายาท สายเลือดองค์สุดท้ายของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และราชินีมารี อ็องตัวแน็ต จึงจบลงที่ตรงนี้ 

ทำไม พระเจ้าหลุยส์ที่16ถึงโดนประหาร

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาทรยศต่อชาติ เนื่องจากพระองค์ทรงวางแผนร่วมมือกับต่างชาติเพื่อต่อต้านฝ่ายปฏิวัติ พระองค์ถูกตัดสินว่ามีความผิด และต้องโทษประหารด้วยกิโยตินในวันที่ 21 มกราคม 1793.

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารี ออง ตัวแนตถูกประหารชวิตที่ใด

ในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1793 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยติน ต่อหน้าสาธารณชนที่ ปลาส เด ลา กงกอร์ด (Place de la Concorde) ปัจจุบันได้กลายเป็นแลนด์มาร์กหนึ่งที่รู้จักกันดีของนักท่องเที่ยวเมื่อไปเยือนฝรั่งเศส จุดเด่นคือเสาหินแกรนิตสีชมพูทรงแหลมตั้งตระหง่านอยู่ตรงกลางจัตุรัส มีความสูง 23 เมตร และหนักถึง 222 ...

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารีอองตัวเนตต์ถูกจับประหารด้วยวิธีการใด

ในวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ.1792 สภาคณะปฏิวัติแห่งชาติฝรั่งเศสได้ลงมติให้ประหารกษัตริย์ ส่งผลให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกประหารในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ.1793 ด้วยเครื่องประหารกิโยติน

พระเจ้าหลุยส์ที่16 ยุคใด

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ขึ้นครองราชย์ในปี 1774 นโบายในช่วงต้นรัชสมัยอย่างการฟื้นฟูอำนาจของรัฐสภา ทำให้พระองค์ได้รับการยอมรับระดับหนึ่ง แต่การดำเนินนโยบายด้านการทหาร และให้การสนับสนุนการตั้งอาณานิคมในอเมริกาได้ทำให้ฝรั่งเศสประสบกับวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง และพระองค์ก็ไม่อาจจัดการกับปัญหาได้อย่างเหมาะสมนำไปสู่การเสื่อม ...