ระบบจัดการฐานข้อมูล dbms คืออะไร

ก่อนที่จะพูดถึง DBMS นั้นต้องทำความรู้จักกับ Database เสียก่อน โดยการเก็บข้อมูลจะมีอยู่ 2 รูปเเบบหลัก ๆ คือเป็นไฟล์ กับ เป็นฐานข้อมูล ซึ่งฐานข้อมูลจะเก็บข้อมูลในรูปเเบบของตารางเเละเเต่ละตารางจะมีความสัมพันธ์ระหว่างกันผ่านค่าที่กำหนดเอาไว้ การจัดการกับสิ่งเหล่านี้ถูกเรียกว่า Database Management System (DBMS)

DBMS ทำอะไรบ้าง

ในระบบการจัดการฐานข้อมูลนี้มีหลักการ 2 อย่างหลัก ๆ คือ RDBMS เเละ ORDBMS

Relational Database Management System

  • เซตของข้อมูลที่อยู่ในตารางที่แต่ละตารางมีความสัมพันธ์กันซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ โดยนำ SQL มาจัดการกับเรื่องนี้ ข้อมูลที่เก็บจะมีลักษณะเป็น Database ในรูปตาราง และมีตัวระบุคือ primary key บางครั้งเราอาจเรียก RDBMS ว่าเป็นส่วนขยายของ DBMS

Object Relational Database Management System

  • เป็นการนำ DBMS, RDBMS, and Object Relation มาใช้งานร่วมกัน โดยที่ใช้หลักการของ Object oriented programming เข้ามาช่วย ข้อแตกต่างของ ORDBMS คือการมองข้อมูลในลักษณะของวัตถุ มีลักษณะและความสามารถเฉพาะ เหมาะกับ NoSQL

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้คือหลักการจัดการกับข้อมูล

ขอบเขตของข้อมูล

เนื่องจากข้อมูลในโลกยุคดิจิตอลนั้นมีปริมาณที่มหาศาลมากจึงจำเป็นต้องจำกัดความเเละลักษณะการนำมาใช้งานเพื่อให้ง่ายต่อการทำงาน โดยมีขอบเขตต่าง ๆ ดังนี้

Data Lake

  • คลังที่เก็บทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นข้อมูลเอาไว้ไม่ว่าจะเป็น structured data, semi structured data, and unstructured data ซึ่งช่วยให้นักวิทยาการข้อมูลเห็นรูปแบบที่ซ่อนอยู่ของข้อมูลได้ กับการเพิ่ม volume, quality, meta data ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ก็มีความเสี่ยงในเรื่องของความปลอดภัยและการเข้าถึงข้อมูล

Data Warehouse

  • เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกลยุทธ์ของการใช้ข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกแก่ธุรกิจ โดยจะเก็บไฟล์ของข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาช่วยตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ของธุรกิจ สรุปสั้น ๆ คือการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยให้การตัดสินใจทางธุรกิจไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์หรือการทำงานต่าง ๆ เป็นไปได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Data Mart

  • เป็น subset ของข้อมูลใน Data warehouse ที่สนใจเฉพาะเจาะจงลงไปเป็นเรื่อง ๆ มีขนาดเล็ก ช่วยให้ผู้ใช้งานทำงานได้ง่ายขึ้นด้วยการลดปริมาณของข้อมูล (แบ่งออกตามประเภท) ง่ายต่อการเข้าถึงและง่ายต่อการดำเนินงานอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการทำงานแบบ Agile (เน้นไปที่ความรวดเร็วในการไปสู่ผลลัพธ์) ประเภทของ Data Mart ได้แก่
    • Dependent – เป็นการสร้าง data mart โดยใช้แหล่งข้อมูลจากการดำเนินงานจริง หรือจากภายนอก และอาจใช้ทั้งสองแหล่งเลยก็ได้ (รวบรวมข้อมูลมายัง warehouse แล้วจึงสกัดออกไปเป็น mart)
    • Independent – เป็นการสร้าง data mart ที่สร้างขึ้นโดยไม่ต้องใช้ข้อมูลของส่วนกลางจาก Data warehouse (ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลมยัง mart ทันที มักเป็นงานขนาดเล็กหรือจำพวกไอเดีย แนวคิด)
    • Hybrid – เป็น Data mart แบบที่นำข้อมูลมาได้ทั้งจาก data warehouse และ การดำเนินงาน

SQL and NoSQL

สองสิ่งนี้คือภาษาสำหรับจัดการกับฐานข้อมูล โดย SQL จัดการกับข้อมูลที่มีโครงสร้าง (Structured Query Language) เเละ NoSQL ไว้จัดการกับข้อมูลที่มีความหลากหลายกว่า (Not only Structured Query Language )

SQL

  • เป็นภาษาที่มี syntax ใกล้เคียงกับภาษาของมนุษย์มาก ใช้งานกับข้อมูลที่มีโครงสร้างที่ประกอบด้วย fields เเละ รายละเอียดต่าง ๆ โดยฐานข้อมูลที่มีจะถูกเตรียมให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ รวมถึงยัง query ได้ง่ายอีกด้วย เช่น Web application จำพวก E-Commerce ที่ต้องมี Record เกี่ยวกับ Transaction ในการซื้อขาย รายการสินค้า ข้อมูลสมาชิก เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะถูกเก็บในฐานข้อมูลเเละจัดการด้วย SQL ทั้งนี้ยังมีการใช้นำไปใช้จัดการระบบต่าง ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะในธุรกิจเอกชน องค์กร หน่วยงานรัฐ ฯลฯ

NoSQL

  • เหมาะกับข้อมูลที่มีรูปแบบหลากหลาย มีความรวดเร็ว (Big Data) เพราะ NoSQL เหมาะกับ distributed system ข้อมูลไม่จำเป็นต้องมี schema ตายตัว เเละ ยังสามารถเป็น Non Relation ได้อีกด้วย ส่วนมากถูกนำมาใช้กับ social media ในการจัดการข้อมูลของ user เเละโพสต์ต่าง ๆ ที่มีจำนวนมาก อาทิเช่น Facebook, Twitter, Instagram เเละ Pinterest เป็นต้น

Conclusion

ข้อมูลที่ถูกเก็บใน Database นั้นมีวิธีการจัดการที่เรียกว่า DBMS ซึ่งเเยกออกได้เป็น RDBMS เเละ ORDBMS  มีภาษาที่ไว้จัดการคือ SQL เเละ NoSQL โดยข้อมูลจะมีขอบเขตต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับการใช้งานได้เเก่ Data Lake, Data Warehouse, Data Mart

ระบบจัดการฐานข้อมูล dbms คืออะไร

DBMS คือ เมษายน 30, 2009

ระบบจัดการฐานข้อมูล คืออะไร?
ระบบจัดการฐานข้อมูล หรือ Database Management System : DBMS คือ ซอฟท์แวร์โปรแกรมหรือกลุ่มของซอฟท์แวร์โปรแกรมที่ทำหน้าที่เข้าถึงและจัดการกับข้อมูลจำนวนมากที่มีความสัมพันธ์กัน เปรียบเสมือนตัวกลางระหว่างผู้ใช้งานกับฐานข้อมูลและระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบแวดล้อมของระบบจัดการฐานข้อมูล หรือ ส่วนประกอบแวดล้อมของระบบจัดการฐานข้อมูลComponents of DBMS Environment ประกอบด้วย 5 ส่วนที่สำคัญ ต่อไปนี้
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) เครื่องคอมพิวเตอร์และจำนวนพื้นที่สำหรับเก็บข้อมูล ซึ่งมีหลายระดับการใช้งานให้เลือกใช้ขึ้นอยู่กับลักษณะงานขององค์กรและผลิตภัณฑ์ระบบจัดการฐานข้อมูลต้องมีประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูลสูงทั้งด้านความเร็วและความจุข้อมูล ต้องมีการ ปรับปรุงอยู่เสมอ เพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ซอฟต์แวร์ (Software) ประกอบด้วยฐานข้อมูล ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์ที่เกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลในกรณีที่มีการเชื่อมโยงเครือข่าย และโปรแกรมประยุกต์หรืออาจจะเป็นภาษาสืบค้นข้อมูลที่เรียกว่า Query Language ก็ได้ นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือที่ใช้
โช่วยในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ได้รวดเร็วในลักษณะที่เป็นวิธีทางข้อความ (Text Mode) หรือวิธีทางรูปภาพ (Graphic Mode)
3. ข้อมูล (Data) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ใช้งานโดยเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างคนและระบบข้อมูลในฐานข้อมูล ทั้งตัวข้อมูลและโครงสร้างของข้อมูล นิยามโครงสร้างของฐานข้อมูล เรียกว่า Schema จะขึ้นอยู่กับตัวแบบข้อมูล (Data Model) ซึ่งโครงสร้างของ ฐานข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ในพจนานุกรม (System Catalog)
4. วิธีการดำเนินงาน (Procedure) คือคำสั่งหรือกฎเกณฑ์ในการออกแบบและใช้ ฐานข้อมูลในการประมวลผล ฐานข้อมูลจะมีเอกสารที่แจกแจงรายละเอียดให้ผู้ใช้งานหรือผู้ดูแลระบบฐานข้อมูลทราบถึงขั้นตอนการดำเนินงาน
5. บุคลากร (People) แบ่งเป็น 4 ประเภทตามหน้าที่และบทบาท ได้แก่ พนักงานดูแลและบริหารข้อมูล นักออกแบบฐานข้อมูล นักออกแบบและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์และผู้ใช้บริการฐานข้อมูล
หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล
ระบบจัดการฐานข้อมูลที่ดี ต้องมีความสามารถในการจัดการที่หลากหลายซึ่งในเรื่องนี้เป็นที่แน่นอนว่า คุณลักษณะของระบบจัดการฐานข้อมูลเมนเฟรมแบบเต็มสเกล (full-scale mainframe DBMS) ต้องมีความหลากหลายที่มากกว่าของระบบบนไมโครคอมพิวเตอร์ อย่างไร ก็ตามจะขอกล่าวถึงเฉพาะคุณลักษณะเด่นๆ ของระบบจัดการฐานข้อมูลบนไมโครคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้
1. ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล (Data Storage) การเรียกค้น (Retrieval) และการ แก้ไขเปลี่ยนแปลง (Update) เป็นความสามารถพื้นฐานที่ระบบจัดการฐานข้อมูลทุกตัวจะต้องมี ซึ่งถึงแม้ว่าระบบจัดการฐานข้อมูลจะอำนวยความสะดวกในเรื่องนี้ แต่ก็เป็นหน้าที่ของผู้ใช้ที่จะต้องรู้ถึงโครงสร้างฐานข้อมูลและการกระทำกับฐานข้อมูลนั้นด้วย
2. ความสามารถในการเข้าถึงพจนานุกรม (Catalog) ซึ่งเป็นที่เก็บนิยามของข้อมูลบนฐานข้อมูล เป็นส่วนที่มีความสำคัญสำหรับผู้บริหารฐานข้อมูลหรือโปรแกรมเมอร์ที่จะเขียนโปรแกรมเพื่อใช้งานฐานข้อมูลนั้น
3. การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงแก้ไขร่วมกัน (Shared Update) เป็นการเพิ่มความมั่นใจในความถูกต้องเมื่อมีผู้ใช้หลายคนต้องการเปลี่ยนแปลงแก้ไขฐานข้อมูลในเวลาเดียวกัน
4. การสำรองข้อมูล (Backup) และการกู้ข้อมูล (Recovery) เป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับฐานข้อมูล โดยจะทำการสำรองฐานข้อมูลไว้และในกรณีที่เกิดความ
เสียหายขึ้น ก็จะทำการกู้ข้อมูลโดยใช้ส่วนที่สำรองไว้ แต่มีข้อเสียคือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อนเกิดความเสียหายจะไม่ถูกบันทึกไว้
5. การรักษาความปลอดภัย เป็นการเพิ่มความมั่นใจว่าผู้ใช้งานที่ได้รับการอนุญาตเท่านั้นที่จะสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลได้ ซึ่งทำได้โดยการกำหนดรหัสผ่านให้กับผู้ใช้ การเข้ารหัสข้อมูล และการกำหนดมุมมองของผู้ใช้
6. การรักษา Integrity ของข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการสร้างเงื่อนไขให้กับข้อมูลใน ฐานข้อมูล รวมถึงกฎข้อบังคับต่างๆที่จะถูกใช้เมื่อมีความต้องการจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆ
7. ความสามารถในการให้อิสระแก่ข้อมูล เป็นการสนับสนุนให้โปรแกรมเป็นอิสระจากโครงสร้างที่ซับซ้อนของฐานข้อมูล โดยการกำหนดโครงสร้างของฐานข้อมูลแยกออกมา ทำให้การเปลี่ยนแปลงต่างๆ กับโครงสร้างนี้จะไม่มีผลต่อโปรแกรมที่ใช้ฐานข้อมูล
8. การนำเสนอยูทิลิตี้ต่างๆ เป็นยูทิลิตี้ที่ใช้ในการบำรุงรักษาทั่วไปในฐานข้อมูล เช่น การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของฐานข้อมูลได้ การอนุญาตให้เข้าถึงดอสได้จากในระบบจัดการฐานข้อมูล
ข้

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

 

ให้ความเห็น


ระบบจัดการฐานข้อมูล dbms คืออะไร