โรงเรียนในสังกัด กทม มีกี่โรงเรียน

“นโยบายเรียนฟรี 15 ปี” รัฐอุดหนุนครอบคลุม อนุบาล-มัธยมศึกษาตอนปลาย แต่ทำไมยังเห็นเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา สาเหตุหนึ่งมาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะครอบครัวที่ยากจน ตอกย้ำว่า เงินอุดหนุนรายหัวที่รัฐบาลจัดสรรไม่เพียงพอ ต่อสถานการณ์ความเป็นจริง แต่ละครอบครัวต้องเผชิญภาระค่าใช้จ่าย และค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น

แม้ล่าสุด ครม.จะมีมติ ปรับอัตราเงินอุดหนุนรายหัวตามความจำเป็นพื้นฐาน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้เรียนตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี แบบขั้นบันได 4 ปีงบประมาณ ตั้งแต่ปี 2566-2569 ปีละกว่า 2,000 ล้านบาท แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะเป็น “นโยบายเรียนฟรี” อย่างแท้จริง

โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่ง

ข้อมูลจากการสำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2564 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าคนกรุงเทพฯ ต้องจ่ายค่าอุปโภคบริโภคต่อครัวเรือนเฉลี่ย 13,738 บาทต่อเดือน ค่าใช้จ่ายดังกล่าวสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ 1.5 เท่า และมีค่าใช้จ่ายทางการศึกษาเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของพื้นที่อื่นทั่ประเทศถึงสองเท่า

ซ้ำเติมด้วยปัญหาความเหลื่อมล้ำที่พบว่า ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของเด็กที่มาจากครัวเรือนยากจน 10% ล่างสุดของกรุงเทพฯ จะอยู่ที่ 6,600 บาทต่อคนต่อปี ในขณะที่เด็กที่มาจากครัวเรือนที่รวยที่สุด 10% แรกของกรุงเทพฯ มีค่าใช้จ่ายทางการศึกษาที่สูงถึง 78,200 บาทต่อคนต่อปี ตัวเลขห่างกันถึง 12 เท่า

The Active รวบรวมข้อมูลจาก กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. และสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร เพื่อสำรวจดูว่า นักเรียนแต่ละคนได้รับงบประมาณจากการศึกษาไทยเท่าไหร่

นโยบายเรียนฟรี 15 ปี “อนุบาล-ม.ปลาย” ได้รับเงินอุดหนุน 5 รายการ

ค่าชุดนักเรียน 300-450 บาท/คน/ปี
ค่าอุปกรณ์การเรียน 200-420 บาท/คน/ปี
ค่าหนังสือเรียน 200-969 บาท/คน/ปี
ค่าจัดการเรียนการสอน 1,700-3,800 บาท/คน/ปี
ค่าจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 430-950 บาท/คน/ปี

รัฐอุดหนุนเฉพาะกลุ่มสำหรับนักเรียน และโรงเรียนที่มีความต้องการพิเศษ

โรงเรียนขนาดเล็ก
ประถมศึกษา น้อยกว่า 120 คน 500 บาท/คน/ปี
มัธยมศึกษา น้อยกว่า 300 คน 1,000 บาท/คน/ปี

ปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.), สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.), กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (อปท.), กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.), กรุงเทพมหานคร (กทม.)
ประถมศึกษา 1,000 บาท
มัธยมศึกษาตอนต้น 3,000 บาท
(ยังไม่ครอบคลุม ระดับอนุบาล กับ มัธยมปลาย)

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
อนุบาล – มัธยมตอนต้น 3,000 บาท

ทำความรู้จัก โรงเรียนในสังกัด กทม. โรงเรียนแห่งความหวัง?

นักเรียนในสังกัด กทม. ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลผ่านสำนักการศึกษา กทม. แต่มีส่วนที่เพิ่มมา จากงบประมาณของ กทม. ทำให้นักเรียนในสังกัด กทม. ได้รับเงินอุดหนุนที่มากกว่า โรงเรียนสังกัดอื่นในพื้นที่ กทม. ตัวอย่างเช่น ค่าอาหารกลางเช้า (รัฐไม่อุดหนุน), ค่าอาหารกลางวันเพิ่มให้อีกคนละ 4 บาท , ค่าประกันอุบัติเหตุ และค่าเครื่องแบบพิเศษ ฯลฯ

ขณะที่สวัสดิการ-รายจ่ายด้านบุคลากรการศึกษา จะถูกรวมไว้ในเงินอุดหนุนจากรัฐบาลผ่านสำนักการศึกษา กทม.

โรงเรียนในสังกัด กทม. ถูกเปรียบว่าเป็นโรงเรียนแห่งความหวังของสวัสดิการครู และนักเรียน แต่ด้วยความเป็นโรงเรียนในเขตปกครองพิเศษ ทำให้โรงเรียนในสังกัด กทม. ยังไม่มีฐานข้อมูลสำรวจเด็กยากจน และเด็กหลุดระบบการศึกษา ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่จะต่อยอดไปถึงการของบประมาณให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ขณะเดียวกัน กทม. ก็ยังเป็นพื้นที่แห่งความหลากหลาย มีนักเรียนตั้งแต่รวยสุด-ยากจนที่สุด เพราะต้องยอมรับว่า โรงเรียนในพื้นที่ กทม. มีทั้งสังกัดของ สพฐ. ที่ขึ้นอยู่กับกระทรวงศึกษาธิการ และ สังกัด กทม. อยู่ในความดูแลของแต่ละสำนักงานเขต การบูรณาความร่วมมือ เพื่อให้โรงเรียนในสังกัด กทม.มีมาตรฐานที่เท่าเทียม-เสมอภาค จึงยังคงเป็นโจทย์ยากระหว่างฝ่ายบริหารทั้งจากกระทรวงศึกษาธิการ และกรุงเทพมหานคร

ปัจจุบัน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครทั้งหมด 437 แห่ง ดูแลนักเรียน 261,160 คน แบ่งเป็นเปิดสอนระดับชั้น อนุบาล-มัธยมศึกษาตอนปลาย โดยช่วงชั้นที่มีการเปิดสอนน้อยที่สุด คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

โรงเรียน สังกัด กรุงเทพมหานคร 437 แห่ง
อนุบาล-ประถมศึกษา 327 แห่ง
ประถมศึกษา-มัธยมศึกษาตอนต้น 101 แห่ง
มัธยมศึกษาตอนปลาย มีเพียง 9 แห่ง

โดยพบข้อมูลเด็กหลุดจากระบบการศึกษา 2,615 คน  แบ่งเป็น อยู่ระหว่างการติดตาม 1,021 คน ติดตามได้แต่ไม่กลับเข้าระบบ 1,097 คน ติดตามไม่ได้แล้ว 497 คน

โรงเรียนในสังกัด กทม มีกี่โรงเรียน

ยกตัวอย่าง “ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา”นักเรียน ป.6 สังกัด กทม. เทียบ รัฐอุดหนุน

โดยโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้รับงบประมาณอุดหนุนการศึกษา 2 ทางด้วยกัน The Active ขอหยิบยกตัวอย่างการอุดหนุนผ่าน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งจะเห็นความแตกต่างระหว่างเงินอุดหนุนโดยรัฐ กับ งบประมาณเพิ่มเติมจาก กทม. อย่างชัดเจน

เด็กชั้น ป. 6 โรงเรียนในสังกัด กทม. ได้รับงบประมาณก้อนแรกมาจากรัฐบาล โดยสำนักการศึกษาจะจัดสรรให้โรงเรียนในสังกัดทั้ง 50 เขต แบ่งเป็น

  • ค่าอุดหนุนรายหัว 1,900 บาท/คน
  • ค่าหนังสือเรียน 859 บาท/คน
  • ค่าอุปกรณ์การเรียน 390 บาท/คน
  • ค่าเครื่องแบบ 360 บาท/คน
  • ค่าอาหารกลางวัน 21 บาท/คน

นอกจากนี้ ยังได้รับเงินอุดหนุนส่วนที่ 2 เพิ่มเติม จากงบประมาณของ กรุงเทพมหานครเอง
โดยแบ่งเป็น

  • ค่าเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ชุดนอน และชุดพละ 450 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน เพิ่มอีก คนละ 4 บาท เป็น 25 บาท
  • ค่าอาหารเช้า 15 บาท/วัน
  • และสุดท้ายเป็นค่าประกันอุบัติเหตุ 150 บาท/คน

แม้จะมีสวัสดิการที่เพิ่มเติมเข้ามาแต่หากดูภาพรวมงบประมาณอุดหนุนที่ได้รับจากการจัดสรรของรัฐบาล เฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี (ตั้งแต่ปี 2555-2565) ราว 9 พันล้านบาท -1 หมื่นล้านบาท จะพบว่าส่วนใหญ่มากถึง 60% ยังอยู่ที่เงินเดือนค่าจ้าง และเงินบำเหน็จดำรงชีพของบุคลากรทางการศึกษา

การนำร่องให้มิติการสำรวจฐานข้อมูลเด็กใน กทม. เพื่อของบประมาณเพิ่มเติม รวมถึงการให้ทีมสภา กทม. ที่ถูกคาดหวังให้เป็นกลไกสำคัญ ช่วยผลักดันให้งบประมาณของเด็ก ๆ ได้รับการจัดสรรเพื่อการศึกษามากขึ้น…

โรงเรียนในสังกัด กทม มีโรงเรียนอะไรบ้าง

โรงเรียนรัฐบาล.
โรงเรียนวัดนวลนรดิศ เขตภาษีเจริญ.
โรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม เขตภาษีเจริญ.
โรงเรียนแจงร้อนวิทยา เขตราษฎร์บูรณะ.
โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย เขตบางกอกน้อย.
โรงเรียนไชยฉิมพลีวิทยาคม เขตภาษีเจริญ.
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เขตปทุมวัน.
โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย เขตสัมพันธวงศ์.
โรงเรียนทวีธาภิเศก เขตบางกอกใหญ่.

โรงเรียนในกทม มีกี่ที่

ในปี 2564 กรุงเทพฯ มีสถานศึกษาชั้นประถมฯ และมัธยมฯ สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพฯ 437 แห่ง และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 158 แห่ง รวม 595 แห่ง ส่วนโรงเรียนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมี 825 แห่ง ซึ่งคิดเป็นโรงเรียนสามัญศึกษา 729 แห่ง และโรงเรียนนานาชาติ 96 แห่ง

สังกัดของโรงเรียนมีอะไรบ้าง

Facebook.
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยอยู่ในความดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต2(สพม.2) กระทรวงศึกษาธิการ ... .
สังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยอยู่ในความดูแลของสำนักงานเขตต่างๆ เช่นสำนักงานเขตสายไหม กระทรวงมหาดไทย ... .
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.).

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 มีโรงเรียนอะไรบ้าง

ลำดับ
ชื่อโรงเรียน
อำเภอ
1
โรงเรียนหนองจิกวิทยา
บางกะปิ
2
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช ลาดกระบัง
ลาดกระบัง
3
โรงเรียนพรตพิทยพยัต
ลาดกระบัง
4
โรงเรียนกวดวิชา อาอิวัง สาขาบดินทรเดชา
วังทองหลาง
โรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2bltk.ac.th › school-listnull