ภาพถ่ายทางดาวเทียม ประโยชน์

1.3 ประโยชน์ของการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ        มีประโยชน์อย่างกว้างขวางมากมาย ซึ่งพอสรุปดังนี้        1) การใช้ทำแผนที่ภูมิประเทศ    เป็นงานเริ่มแรกและงานหลักในการถ่ายภาพทางอากาศ และนิยมใช้ทำแผนที่มากที่สุด โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศร่วมกับงานสำรวจภาคสนาม ทั้งการรังวัดค่าพิกัดทางราบและหรือทางดิ่งของจุดควบคุมภาพถ่าย เพื่อใช้ในการขยายจุดควบคุม ในงานสามเหลี่ยมทางอากาศ (Aerial triangulation)  กรมแผนที่ทหาร ใช้เป็นข้อมูลหลักในผลิตแผนที่ฐาน กรมชลประทาน ใช้ทำแผนที่ภูมิประเทศเพื่อก่อสร้างระบบชลประทาน การนำภาพถ่ายทางอากาศมาใช้ช่วยทำให้ลดภาระค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในงานสำรวจภาคสนามได้มาก เมื่อเปรียบเทียบกับงานสำรวจภาคพื้นดินด้วยกล้องธีโอโดไลด์ (Theodolite)  แต่เพียงอย่างเดียว
       2) ด้านวิศวกรรม เช่น การสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคมต่าง ๆ การคำนวณปริมาณงานขุดและการถมดิน การประมาณราคาค่าก่อสร้าง และช่วยสร้างแบบจำลองเชิงพื้นที่เพื่อหารูปแบบการระบายน้ำ
       3) ด้านการรังวัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน (Cadastral Survey) ภาพถ่ายทางอากาศช่วยสร้างแผนที่ถือครองได้ โดย พ.ศ. 2516-2521 กรมที่ดิน ใช้ภาพถ่ายปรับแก้ (Rectified photo) เพื่อการออกโฉนดที่ดิน นส.3 ก. ด้วยมาตราส่วน1:15,000 หรือเอกสารสิทธิ์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ และ พ.ศ. 2538 ได้ผลิตภาพถ่ายมาตราส่วน 1:4,000 ในพื้นที่นอกเขตเทศบาล และมาตราส่วน 1:1,000 ในเขตเทศบาลและเขตเมือง เป็นต้น
       4) ด้านการวางผังเมือง กรมโยธาธิการและการผังเมือง นำไปใช้กำหนดขอบเขตการใช้ทประโยชน์ที่ดิน เช่น ย่านการค้า ย่านที่อยู่อาศัย ย่านอุตสาหกรรม การกำหนดโครงข่ายการคมนาคม ซึ่งเป็นประโยชน์ในการวางผังเมืองทั้งในปัจจุบันและอนาคต
       5) ด้านกิจการทหาร ในส่วนนี้หมายถึงการใช้ภาพถ่ายทางอากาศสืบราชการลับและงานด้านความมั่นคงของประเทศร่วมกับภาพถ่ายดาวเทียมและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในการวางแผนยุทธการและกำหนดยุทธศาสตร์ต่าง ๆ
       6) ด้านสิ่งแวดล้อม และการวางแผนจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทั้งนี้เพื่อการ ติดตามการเปลี่ยนแปลง และวางแผนอนุรักษ์เพื่อความเหมาะสม การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ การสำรวจการใช้ทรัพยากรที่ดิน
       7) ด้านการป่าไม้ กรมป่าไม้ นำภาพถ่ายทางอากาศเพื่อประโยชน์ในการป่าไม้ การหาปริมาตรไม้โดยอาศัยการเปรียบเทียบจากแปลงตัวอย่าง การเก็บสถิติต่าง ๆ เช่น ความสูงเฉลี่ยของแปลงตัวอย่าง หาเส้นผ่าศูนย์กลางของเรือนยอด การปกคลุมของเรือนยอด การหาพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งสามารถวัดได้ง่าและรวดเร็วโดยใช้ภาพถ่ายดิ่งที่มีส่วนซ้อน เพื่อมองเห็นภาพทรวดทรงหรือภาพ 3 มิติ

การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากดาวเทียม

1 Aug 2016 ภาคภูมิ เหล่าตระกูล หมวดหมู่ของบทความ: ภูมิสารสนเทศ

     การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากดาวเทียม

     ข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง เริ่มแรกเป็นการใช้แปลตีความด้วยสายตาข้อมูลในลักษณะภาพถ่าย ภาพพิมพ์ หรือฟิล์ม ปัจจุบันใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยและการที่ดาวเทียมบันทึกภาพตามเวลาการโคจรที่กำหนด ทำให้ได้รับข้อมูลที่ทันสมัยตามช่วงเวลา สามารถที่นำไปใช้ประโยชน์ผสมผสานกับข้อมูลอื่นๆ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและการพัฒนาแบบยั่งยืน สามารถสรุปการประยุกต์ข้อมูลจากดาวเทียมในด้านต่างๆ ได้ดังนี้

1. ด้านป่าไม้

ด้านป่าไม้ใช้ในการศึกษาจำแนกชนิดป่าไม้ต่างๆ พรรณไม้ป่าชายเลน สวนป่า การประเมินหาพื้นที่ไฟป่า และติดตามการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้มาอย่างต่อเนื่อง

ภาพถ่ายทางดาวเทียม ประโยชน์

2. ด้านการเกษตร

ใช้ในการศึกษาหาพื้นที่เพาะปลูก พืชเศรษฐกิจต่างๆ การพยากรณ์ผลผลิต ประเมินความเสียหายจากภัยธรรมชาติและจากศัตรูพืช ตลอดจนการวางแผนกำหนดเขตเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ลำไย ข้าว อ้อย ข้าวโพดมันสำปะหลัง สับปะรด ปาล์มน้ำมัน และยางพารา

ภาพถ่ายทางดาวเทียม ประโยชน์

3. ด้านการใช้ที่ดิน

ข้อมูลจากดาวเทียมใช้ในการทำแผนที่การใช้ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดินที่ทันสมัยและต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดการการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม

ภาพถ่ายทางดาวเทียม ประโยชน์

ภาพถ่ายทางดาวเทียม ประโยชน์

ภาพถ่ายทางดาวเทียม ประโยชน์

ภาพถ่ายทางดาวเทียม ประโยชน์

4. ด้านธรณีวิทยา และธรณีสัณฐาน

ข้อมูลด้านโครงสร้างทางธรณี โดยเฉพาะลักษณะภูมิประเทศ และธรณีสัณฐาน สามารถศึกษาได้อย่างชัดเจนจากข้อมูลจากดาวเทียม การทำแผนที่ธรณีโครงสร้างของประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่บอกถึงแหล่งแร่แหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ ตลอดจนแหล่งน้ำบาดาล และการวางแผนการสร้างเขื่อน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำเอาข้อมูลจากดาวเทียมไปใช้ศึกษาทางด้านโบราณคดี เช่น พื้นที่เมืองโบราณ แนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก ขอบเขตของหินต่างชนิดกัน เป็นต้น

ภาพถ่ายทางดาวเทียม ประโยชน์

ภาพถ่ายทางดาวเทียม ประโยชน์

5. ด้านอุทกวิทยา และการจัดการทรัพยากรน้ำ

ข้อมูลจากดาวเทียมมีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับคลองชลประทาน แม่น้ำ ลำคลอง อ่างเก็บน้ำ และเขื่อน การศึกษาการแพร่กระจายของตะกอนในอ่างน้ำเพื่อการบำรุงรักษาเขื่อน การทำแผนที่น้ำท่วมเพื่อประเมินความเสียหายจากอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ในการวางแผนป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก และบรรเทาช่วยเหลือราษฎรประสบภัยน้ำท่วม ติดตามการเปลี่ยนแปลงเส้นและความกว้างของแม่น้ำ ศึกษาคุณภาพของน้ำ ใช้ในการประเมินวิเคราะห์พื้นที่ประสบภัยแล้ง รวมทั้งการวางแผนการสร้างแหล่งเก็บกักน้ำ เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฯลฯ

ภาพถ่ายทางดาวเทียม ประโยชน์

ภาพถ่ายทางดาวเทียม ประโยชน์

6. ด้านสมุทรศาสตร์และทรัพยากรชายฝั่ง

ข้อมูลจากดาวเทียมนำไปใช้ในการศึกษาการแพร่กระจายของตะกอน พื้นที่หาดเลน และทรัพยากรชายฝั่ง การทำแผนที่เพาะเลี้ยงและการประมงชายฝั่ง ซึ่งเป็นประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง

ภาพถ่ายทางดาวเทียม ประโยชน์

ภาพถ่ายทางดาวเทียม ประโยชน์

7. ด้านการทำแผนที่

ข้อมูลจากดาวเทียมมีประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงแผนที่ภูมิประเทศให้ถูกต้องและทันสมัยการทำแผนที่โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน เส้นทางคมนาคม แผนที่ผังเมือง เพื่อการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรด้านต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย

ภาพถ่ายทางดาวเทียม ประโยชน์

ภาพถ่ายทางดาวเทียม ประโยชน์

8. ด้านภัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลจากดาวเทียมถูกนำมาใช้ในการศึกษาประเมินความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และวางแผนลดความสูญเสียจากภัยพิบัติต่างๆ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม วาตภัยจากไต้ฝุ่น ด้านสิ่งแวดล้อมสามารถใช้ในการติดตามการแพร่กระจายของตะกอนจากการทำเหมืองแร่ในทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง การกระจายของน้ำเสีย การบุกรุกทำลายป่าไม้ เป็นต้น

ภาพถ่ายทางดาวเทียม ประโยชน์

9. ด้านการผังเมืองและการขยายเมือง

ข้อมูลจากดาวเทียมที่มีความละเอียดสูงสามารถใช้ในการติดตามการขยายตัวเมืองและแหล่งชุมชนเพื่อการวางแผนรองรับด้านโครงสร้างพื้นฐาน การหาตำแหน่งหมู่บ้านชนกลุ่มน้อย หรือหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการตั้งถิ่นฐานใหม่

ภาพถ่ายทางดาวเทียม ประโยชน์

10.ด้านความมั่นคงของชาติ

ดาวเทียมสามารถถ่ายภาพที่มีรายละเอียดสูงเพียงพอที่ใช้สังเกตการณ์ต่างๆ โดยสามารถใช้ถ่ายภาพพื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยงด้านความมั่นคงสูง เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ จัดทำเป็นคลังข้อมูลการข่าวได้ นอกจากนี้ใช้ในการตรวจการปลูกพืชเสพติด และตรวจจับพื้นที่อาจมีการขนย้ายยาเสพติดได้ผลประโยชน์ด้านความมั่นคงที่จะได้รับไม่อาจประเมินค่าได้

ภาพถ่ายจากดาวเทียมมีประโยชน์อย่างไร

ข้อมูลจากดาวเทียมถูกนำมาใช้ในการศึกษาประเมินความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และวางแผนลดความสูญเสียจากภัยพิบัติต่างๆ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม วาตภัยจากไต้ฝุ่น ด้านสิ่งแวดล้อมสามารถใช้ในการติดตามการแพร่กระจายของตะกอนจากการทำเหมืองแร่ในทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง การกระจายของน้ำเสีย การบุกรุกทำลายป่าไม้ เป็นต้น

ข้อมูลจากดาวเทียมมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

ข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ได้เอื้ออำนวยประโยชน์อย่างยิ่งต่อหน่วยงานราชการต่างๆ ในการนำเอาข้อมูลไปศึกษาวิจัย เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งพอยกตัวอย่างได้ เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมป่าไม้ กรมพัฒนาที่ดิน กรมทรัพยากรธรณี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมชลประทาน กรมแผนที่ทหาร สำนัก งานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นอาทิ รวมไป ...