ปัจจัยใดที่ส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ *

หนึ่งในสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เจ้าตัวน้อยต้องเข้ารับการรักษาในหน่วยดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติ (Neonatal Intensive Care Unit: NICU) คือการคลอดก่อนกำหนด นั่นคือการคลอดก่อนครบสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ เนื่องมาจากอายุและโรคประจำตัวของมารดา ความผิดปกติของโครโมโซมของลูก รวมถึงกรรมพันธุ์และอื่น ๆ ดังนั้นการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทาง เครื่องมือเทคโนโลยีครบครัน ที่สำคัญคือมีหน่วยดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติคอยดูแล ย่อมช่วยให้คลอดเจ้าตัวน้อยได้อย่างราบรื่น

เมื่อไรเรียกคลอดก่อนกำหนด

การคลอดก่อนกำหนด (Preterm Labor) เป็นภาวะการคลอดก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ ซึ่งทารกเหล่านี้ถึงแม้ว่าอวัยวะต่าง ๆ ครบสมบูรณ์ แต่การทำงานของอวัยวะแทบทุกส่วนยังไม่ดีเท่าทารกครบกำหนด ซึ่งช่วงหลังคลอดมักต้องการการดูแลเป็นพิเศษและต้องอยู่รักษาในโรงพยาบาลนานกว่าปกติ


ปัจจัยเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนด

ปัจจัยที่ทำให้คลอดก่อนกำหนดเกิดขึ้นได้ทั้งจากมารดาและบุตรในครรภ์ ประกอบไปด้วย

  1. มารดา
    • อายุของมารดา มารดาอายุน้อยเกินไป คือน้อยกว่า 18 ปี หรือมารดาที่อายุมากเกินไป คือมากกว่า 35 ปี ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดการคลอดก่อนกำหนด
    • โรคประจำตัวของมารดาขณะตั้งครรภ์ อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
    • มีประวัติเคยคลอดก่อนกำหนด ส่งผลให้ครรภ์ต่อมามีการคลอดก่อนกำหนดมากขึ้น
    • มดลูกขยายตัวมากเกินไป เช่น ครรภ์แฝด ภาวะน้ำคร่ำมากกว่าปกติ เป็นต้น
    • มดลูกมีความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น ปากมดลูกสั้น เป็นต้น
    • ติดเชื้อในร่างกาย เช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากขณะตั้งครรภ์ท้องจะโตไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะได้ ส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ทำให้มีโอกาสเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด
    • การอักเสบในช่องคลอด
    • ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติดขณะตั้งครรภ์
    • ฟันผุและการอักเสบของเหงือก
  2. บุตรในครรภ์ หากบุตรในครรภ์มีความผิดปกติของโครโมโซมหรือมีภาวะติดเชื้อ จะทำให้มารดามีอาการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนดได้

สัญญาณเตือนคลอดก่อนกำหนด

  • ปวดหลังช่วงล่างหรือบริเวณเอว เป็นต่อเนื่องหรือเป็น ๆ หาย ๆ แม้จะเปลี่ยนท่าทาง
  • เจ็บท้องต่อเนื่องกัน 4 ครั้งใน 20 นาที หรืออาจเกิดเป็นระยะ ๆ เนื่องจากการหดตัวของมดลูก
  • มีมูกหรือเลือดออกทางช่องคลอด
  • รู้สึกลูกดิ้นน้อยกว่าปกติ
  • บวมและความดันโลหิตสูงขึ้น อาจเป็นสัญญาณหนึ่งของครรภ์เป็นพิษ

ปัจจัยใดที่ส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ *
ปัจจัยใดที่ส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ *

ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด

ในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด สิ่งสำคัญคือ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น โดยกุมารแพทย์สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดจะให้การดูแล ดังนี้

  • พูดคุยรายละเอียดพร้อมให้คำแนะนำพ่อแม่อย่างใกล้ชิด
  • ดูการหายใจของทารกและติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากทารกบางรายจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายทารกให้อบอุ่นเหมาะสม
  • ตรวจเลือดเท่าที่จำเป็น
  • ดูแลการทานนมของทารกให้ปริมาณเพียงพอกับความต้องการที่ควรได้รับ สนับสนุนเรื่องนมแม่
  • ดูแลรักษาทารกจนมีน้ำหนักมากกว่า 2,000 กรัมจึงสามารถกลับบ้านได้
  • เตรียมความพร้อมให้กับคุณแม่ก่อนกลับไปที่บ้าน

อย่างไรก็ตามการวางแผนก่อนตั้งครรภ์และฝากครรภ์ในโรงพยาบาลที่มีหน่วยดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติคือสิ่งสำคัญ เพราะหากคุณแม่ต้องเผชิญกับภาวะคลอดก่อนกำหนด เจ้าตัวน้อยจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ที่สำคัญการใส่ใจดูแลครรภ์ ระมัดระวังในการรับประทานอาหาร และการทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น ย่อมช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดได้

“เมื่อพบภาวะเป็นพิษร้ายแรงที่เสี่ยงต่อชีวิตแม่ แพทย์อาจพิจารณายุติการตั้งครรภ์ แต่ถ้ายังสามารถประคับประคองไปได้เราก็จะพยายามรอจนถึงที่สุดคือจนกว่าทารกจะมีโอกาสรอดโดยที่คุณแม่ก็ปลอดภัยด้วย ซึ่งกรณีเช่นนี้เราจะทำงานร่วมกันกับกุมารแพทย์เวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิดเพื่อประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ก่อนตัดสินใจ” รศ.นพ.รสิก กล่าว

“การตั้งครรภ์ทุกครั้งถือว่ามีความเสี่ยงแต่จะเสี่ยงมากหรือน้อยเท่านั้น ดังนั้นว่าที่คุณแม่ควรตรวจร่างกายเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์และฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ”

รศ.นพ.รสิก รังสิปราการ

อย่างไรที่เข้าข่ายครรภ์เสี่ยง

เมื่อมีการฝากครรภ์ แพทย์จะประเมินภาวะครรภ์เสี่ยงสูงด้วยการซักประวัติและตรวจร่างกายคุณแม่ตั้งครรภ์ก่อน หากพบในเบื้องต้นว่ามีความเสี่ยง แพทย์จะตรวจวินิจฉัยต่อตามความเหมาะสมเป็นกรณีไป เช่น หากเป็นความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด สามารถวินิจฉัยเพิ่มเติมได้ด้วยการอัลตราซาวนด์เพื่อวัดความยาวของปากมดลูก หากพบว่าปากมดลูกสั้นกว่า 2.5 เซนติเมตรจากปกติที่ 3.5 เซนติเมตรก็อาจถือได้ว่ามีโอกาสคลอดก่อนกำหนด

“นอกเหนือจากการใช้ยาและให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพื่อลดการบีบตัวของมดลูกแล้ว ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยยับยั้งการคลอดก่อนกำหนด ได้แก่ การเย็บผูกปากมดลูก (cervical cerclage) ซึ่งเป็นการเย็บปิดปากมดลูกไว้จนกว่าจะคลอด โดยสามารถทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ขึ้นไป” ส่วนกรณีของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีโอกาสเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้นั้น แพทย์อาจตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันด้วยการอัลตราซาวนด์วัดการไหลเวียนของหลอดเลือดที่เลี้ยงมดลูก (uterine artery) ร่วมกับการตรวจสารบ่งชี้ ภาวะครรภ์เป็นพิษ

ประเมินทารกในครรภ์

เพราะทารกในครรภ์เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของการตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูง ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ แพทย์จึงต้องประเมินทารกในครรภ์เพื่อตรวจหาความผิดปกติและวางแผนป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการตรวจอัลตราซาวนด์เพื่อดูรูปร่างลักษณะ ขนาด และน้ำหนักทารก รวมถึงการตรวจคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ ซึ่งทำได้หลายวิธี อาทิ