โรคที่เกิดจากภาวะการตั้งครรภ์

 

โรคที่เกิดจากภาวะการตั้งครรภ์

คนอยากมีลูกต้องระวัง เพราะ 10 โรคเสี่ยงต่อการตั้งท้องที่ตัวเองเป็นอยู่ก่อนตั้งครรภ์อาจส่งผลอันตรายถึงลูกได้ทั้งตอนท้องและตอนคลอด

10 โรคประจำตัวที่คนอยากมีลูกต้องคิดให้ดีก่อนตั้งครรภ์ เพราะอันตรายถึงลูกได้

ก่อนตั้งครรภ์ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมตัวก่อนอยู่แล้ว ด้วยการตรวจสุขภาพร่างกายก่อนมีน้อง ว่ามีความพร้อมหรือไม่ และคุณแม่ที่มีโรคประจำตัวก็ต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการ รับการรักษา และการดูแลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ รวมถึงการดูแลรักษาโรคที่อาจจะเกิดในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อความปลอดภัยทั้งตัวคุณแม่และทารก นี่คือ 10 โรคเสี่ยงสำหรับการตั้งครรภ์ที่ควรพิจารณาก่อนตั้งสินใจตั้งครรภ์

  1. โรคหัวใจ
    คุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจ พบบ่อยว่ามีปัญหาเกี่ยวกับลิ้นหัวใจรั่วจากการติดเชื้อบางชนิด หรือมีปัญหาผนังกั้นห้องหัวใจมีรูโหว่ เมื่อคุณแม่ต้องการตั้งครรภ์ ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาว่าอาการของโรคมีระดับความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน และจะสามารถตั้งครรภ์ได้หรือไม่ โดยปกติหัวใจจะทำงานค่อนข้างหนัก เพื่อสูบฉีดเลือดผ่านเข้าออกให้สมดุล เมื่อตั้งครรภ์โดยเฉพาะครึ่งหลังของอายุครรภ์ ปริมาณเลือดจะเพิ่มขึ้นถึง 40% หัวใจจึงยิ่งทำงานหนักมากขึ้น คุณแม่ที่มีโรคหัวใจบางคนอาจเกิดอาการหัวใจวายขณะตั้งครรภ์ได้
  2. โรคลมบ้าหมูหรือลมชัก
    ลมบ้าหมูหรือลมชักเกิดจากการมีแผลในสมอง จึงมีการส่งคลื่นสมองออกมาผิดปกติ ซึ่งจะทำให้คุณแม่เกิดอาการชักและหมดสติไปชั่วครู่ หลังการชัก เป็นผลให้คุณแม่จะขาดออกซิเจนชั่วคราว มีผลต่อการส่งออกซิเจนไปเลี้ยงทารกในครรภ์ คุณแม่ที่เป็นโรคนี้ร้อยละ 50 จะไม่มีอาการเพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ร้อย 40 บอกว่ามีอาการดีขึ้น และร้อยละ 10 แพทย์ผู้ดูแลครรภ์ต้องเพิ่มขนาดยาควบคุมการชัก
  3. โรคไต
    ปกติไตจะทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดและขับของเสียจากการเผาผลาญพลังงานในร่างกายออกทางปัสสาวะ ขณะคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีของเสียจากทารกที่ฝากออกมาทางสายสะดือเข้าสู่กระแสเลือดของคุณแม่ด้วย เพราะฉะนั้นไตของคุณแม่จะต้องทำหน้าที่หนักขึ้น คุณแม่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อติดตามดูแลอาการอย่างใกล้ชิดตลอดการตั้งครรภ์
  4. โรคเบาหวาน
    คุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานหรืออาจเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดจากเมื่อตั้งครรภ์จะมีฮอร์โมนหลายตัวที่ผลิตจากรก ฮอร์โมนเหล่าจะมีฤทธิ์ต่อต้านอินซูลิน ทำให้อินซูลินของคุณแม่ลดต่ำลงจนไม่พอที่จะดึงน้ำตาลในเลือดมาเก็บไว้ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคุณแม่สูงตลอดเวลา ลูกจะได้รับเลือดที่มีน้ำตาลในเลือดสูงจากคุณแม่ด้วยผลจากการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์คือ ลูกกลายเป็น Sugar Baby คือ ตัวใหญ่มากกว่าเด็กทารกแรกคลอดปกติทั่วไป หน้าอ้วนเหมือนอมลูกกวาด เมื่อคุณแม่เป็นโรคเบาหวานต้องไปปรึกษาแพทย์เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติตลอดการตั้งครรภ์ และต้องป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากเบาหวานได้
  5. โรคหัดเยอรมัน
    โรคหัดเยอรมันที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ สามารถทำให้ทารกพิการหรือกลายเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว เช่น การติดเชื้อหัดเยอรมันในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ทารกอาจกลายเป็นเด็กพิการลิ้นหัวใจรั่ว ตาบอดจากต้อกระจก สมองเล็กลีบ ทำให้เกิดโรคปัญญาอ่อน เป็นต้น ทำให้คุณแม่หวาดกลัวโรคนี้มาก แต่ทั้งนี้ถ้าได้รับวัคซีนป้องกันก็จะช่วยไม่ให้เกิดเรื่องที่น่าเสียใจขึ้นได้

    คุณแม่สามารถทำให้ตัวเองปลอดจากโรคหัดเยอรมันได้ด้วยการเจาะเลือดตรวจภูมิต้านทานก่อน สำหรับคุณแม่ที่เคยเป็นโรคนี้แล้วจะมีภูมิต้านทานไปตลอดชีวิต แต่ถ้าตรวจไม่พบภูมิต้านทาน คุณแม่ควรฉีดวัคซีนป้องกันก่อนจะตั้งครรภ์ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน กรณีที่ตั้งครรภ์แล้วยังไม่เคยได้รับวัคซีนนี้ ควรเจาะเลือดดูระดับความต้านทาน ถ้ายังมีภูมิต้านทาน คุณแม่สบายใจได้ แต่ถ้าไม่มีภูมิเลยหรืออยู่ในระดับต่ำ คุณแม่ห้ามฉีดวัคซีนตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ เพราะวัคซีนหัดเยอรมันเป็นวัคซีนไวรัสที่มีชีวิต 


โรคที่เกิดจากภาวะการตั้งครรภ์

6. โรคซิฟิลิส
ถ้าตรวจพบในขณะตั้งครรภ์ไม่เกิน 5 เดือน จะสามารถรักษาให้หายขาด โดยที่เชื้อซิฟิลิสยังไม่เข้าไปทำอันตรายหรือสร้างความพิการให้ทารกในครรภ์ แต่ถ้าหลังจากอายุครรภ์ 5 เดือนแล้ว เชื้อซิฟิลิสจะสามารถผ่านรกไปถึงทารกได้ ทำให้เกิดความพิการต่าง ๆ เช่น ลิ้นหัวใจรั่ว แท้งลูก คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อย หรือรุนแรงถึงขั้นทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์

7. โรคเอดส์
โรคเอดส์ถือเป็นโรคอันตรายที่ทุกคนหวาดกลัว เพราะเกี่ยวกับชีวิตและยังไม่มียารักษา กรณีคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ตรวจพบเชื้อเอชไอวี (HIV) ในระยะตั้งครรภ์อ่อน ๆ สามารถปรึกษากับแพทย์ถึงการทำแท้งหรือยังคงรักษาการตั้งครรภ์ต่อไป ถ้าคุณแม่มีความต้องการที่จะตั้งครรภ์ แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสแก่คุณแม่ในเดือนสุดท้ายก่อนคลอด ซึ่งโอกาสที่เจ้าตัวเล็กติดเชื้อไวรัสจากแม่ขณะคลอดจะลดลงจากประมาณ 30% เหลือไม่เกิน 8%

8. ภูมิแพ้ หอบหืด
คุณแม่ที่เป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืด จะต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้อาการแพ้กำเริบ ช่วงตั้งครรภ์คุณแม่ยังสามารถใช้ยาพ่นจมูกขยายหลอดลม และสารสเตียรอยด์ที่นิยมใช้กันได้อยู่ เนื่องจากค่อนข้างปลอดภัย อย่างไรก็ตามเมื่อตั้งครรภ์ ต้องแจ้งแพทย์ที่ดูแลรักษาโรคภูมิแพ้ว่าสงสัยจะตั้งครรภ์และควรแจ้งสูตินรีแพทย์ที่ดูแลการตั้งครรภ์ด้วยว่ารักษาโรคภูมิแพ้อยู่ เพื่อให้การดูแลและการให้ยาต่าง ๆ เป็นไปอย่างปลอดภัยที่สุด นอกจากนั้นคุณแม่ควรให้แพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิดและไม่ควรซื้อยามาใช้เองเด็ดขาด

9. โรคธาลัสซีเมีย
ยีนที่ผิดปกติจะทำให้เกิดการสร้างสารโพลีเปปไตด์โกลบิน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในเม็ดเลือดแดงลดน้อยลงหรือไม่สร้างเลย ทำให้มีอาการซีดเล็กน้อยหรือถึงขั้นต้องให้เลือดทดแทน โรคทาลัสซีเมียนี้เป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรมชนิดด้อย คุณพ่อคุณแม่มักไม่มีอาการปรากฏ แต่จะมียีนแฝงอยู่ในตัว เมื่อต่างฝ่ายต่างถ่ายทอดยีนด้อยจึงทำให้ลูกได้รับยีนที่ผิดปกติเต็มที่ แสดงอาการของโรคทาลัสซีเมียชัดเจน

ทารกที่เป็นโรคทาลัสซีเมียอาจมีความรุนแรงมากจนทำให้เสียตั้งแต่ในครรภ์ คลอดแล้วเสียชีวิต หรือเสียชีวิตตั้งแต่อายุน้อย ๆ บางรายอาจรอดชีวิตแล้วเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่ความผิดปกติจะไม่สิ้นสุดลงเพียงเท่านี้ เพราะสามารถถ่ายทอดต่อไปยังลูกหลานได้ โรคเบต้าทาลัสซีเมีย ทารกที่คลอดออกมาแล้วมีชีวิตรอด อาจมีอาการซีดมาก เจริญเติบโตช้า ตับม้ามโต จำเป็นจะต้องเติมเลือดบ่อย ๆ เพื่อยืดการมีชีวิตต่อได้ประมาณ 10 – 30 ปี

10. ไวรัสตับอักเสบบี
โรคไวรัสตับอักเสบบีเป็นโรคที่พบกันบ่อยในเมืองไทย มีคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นพาหะของโรคนี้กันมาก ผู้ที่เป็นพาหะของโรคมีโอกาสเกิดโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับสูงกว่าคนทั่วไป 200 เท่า และสามารถติดต่อกันง่ายที่สุดโดยผ่านทางเลือด ดังนั้นโอกาสที่ทารกจะติดโรคนี้จากแม่ก็โดยการสัมผัสกับเลือดที่เป็นพาหะในขณะคลอดนั่นเอง วิธีป้องกันคือการฉีดวัคซีนป้องกันให้แก่ทารกภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด และฉีดกระตุ้นภูมิต้านทานอีก 3 เข็ม คือ ตั้งแต่หลังคลอด เมื่ออายุได้ 1 เดือน และ 6 เดือน

ทั้ง 10 โรคนี้ หากผู้หญิงเป็นแล้วอยากตั้งครรภ์ หรือ เป็นอยู่แล้วเกิดตั้งครรภ์ขึ้น ต้องปรึกษาแพทย์อย่างเคร่งครัดนะคะ เพื่อให้ทารกเกิดมาสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ

ย้อนกลับ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 10 โรคประจำตัวที่คนอยากมีลูกต้องคิดให... (หน้า 1) ถัดไป

ข้อใดเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดแทรกซ้อนจากสภาวะตั้งครรภ์

โหิตจาง Anemia หมายความเข้มข้นของเลือดจางกว่าปกติผู้ที่มีโลหิตจางจะมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ การรักษาจะต้องแก้ที่สาเหตุ เช่นหากมีเลือดออกจากริดสีดวงจะต้องแก้ที่รักษาโรคริดสีดวง สำหรับคนท้องจะต้องให้ธาตุเหล็กและกรดโฟลิกเสริม

ภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้งมีอะไรบ้าง

ทำแท้งเถื่อน เสี่ยงถึงชีวิต.
ทำแท้งไม่สำเร็จ ไม่สามารถขับเอาเนื้อเยื่อของครรภ์ออกมาจากมดลูกได้หมด.
มีอาการตกเลือด หรือเลือดออกมาก.
เกิดภาวะติดเชื้อ.
มดลูกทะลุจากการวัตถุมีคม.
อันตรายต่อระบบสืบพันธ์ุและอวัยวะภายในจากการสอดใส่วัตถุอันตรายในการทำแท้ง เช่น ไม้ เข็มถักไหมพรม หรือเศษแก้วแตกไปยังช่องคลอดหรือทวารหนัก.

โรคใดที่ติดต่อผ่านทางรกเข้าสู่ทารกในครรภ์ได้

เชื้อลิสเทอเรียเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อลิสเทอเรีย (Listeriosis) ที่หายากและอันตราย หากหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อแบคทีเรียนี้อาจส่งผ่านทางรกไปถึงลูกในท้องได้ค่ะ มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอันตราย เช่น ภาวะโลหิตเป็นพิษ คลอดก่อนกำหนด หรือแม้แต่การแท้งบุตร