สภาพแวดล้อมมีผลต่อทารกหรือไม่อย่างไร

สิ่งใดบ้างที่ต้องหลีกเลี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์?

คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ควรรู้ว่าสิ่งใดเป็นอันตรายและจะหลีกเลี่ยงได้อย่างไรด้วยนะคะ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและลดความรุนแรงของปัญหา แต่ความจริงคือการป้องกันทำได้จากปัจจัยภายนอกเพียงระดับหนึ่งเท่านั้นนะคะ เช่นการเดิน การป้องกันจากการกระแทกต่างๆ ไม่สามารถควบคุมความเสี่ยงทั้งหมดนะคะ ทั้งนี้ก็ยังมีปัจจัยภายในที่คุณแม่ทุกคนล้วนมีโอกาสตั้งท้องลูกที่มีอวัยวะพิการหรือมีความผิดปกติได้ราว 3%-5% และความเสี่ยงอาจเพิ่มขึ้นหากมีปัจจัยกระตุ้นมากขึ้นค่ะ ข้อมูลและความรู้ว่าสิ่งใดอันตรายและควรหลีกเลี่ยงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะดูเหมือนระหว่างตั้งครรภ์มีเรื่องน่าวิตกกังวลมากมาย ทั้งนี้คุณแม่ควรเลือกฟังเฉพาะเรื่องที่ต้องการฟัง ส่วนเรื่องร้ายและภัยอันตรายที่แม้ว่าจะไม่อยากได้ยินแต่ก็อาจจะได้ยินบ้างก็ไม่จำเป็นต้องมาคิดหรือใส่ใจทุกเรื่องนะคะ เพราะจะยิ่งทำให้คุณแม่มีความวิตกกังวลมากกว่าเดิม อยากให้มองเป็นเรื่องปกติที่คุณแม่อาจกังวลถึงสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ แต่ก็ไม่ยากเกินไปที่จะเรียนรู้วิธีรับมือและหลีกเลี่ยงปัจจัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งสิ่งที่ควรระมัดระวังมีดังต่อไปนี้

กรดโฟลิก

อาหารที่มีกรดโฟลิกสูง เป็นสิ่งสำคัญมากโดยเฉพาะในช่วง ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก หากได้รับกรดโฟลิกน้อยเกินไปอาจเป็นสาเหตุให้เด็กมีภาวะความบกพร่องของท่อประสาท เช่น ภาวะความบกพร่องทางกระดูกสันหลัง อาหารเสริมวิตามินก่อนคลอดที่มีคุณภาพดีจะมีส่วนผสมของกรดโฟลิก 0.5 มิลลิกรัม หรือ 500 ไมโครกรัมเป็นอาหารที่ควรกินเสริมทุกวันนะคะ อาหารที่มีกรดโฟลิกสูง ได้แก่ ผักใบเขียว ซีเรียลคุณภาพดี และตับค่ะ

เชื้อลิสเตอเรีย

ลิสเตอเรีย เป็นแบคทีเรียที่พบในอาหารบางชนิดซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อหญิงมีครรภ์และควรหลีกเลี่ยง เพราะเสี่ยงติดเชื้อลิสเตอเรียที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตและอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เชื้อนี้อาจพบในอาหารหลาย ได้แก่ ชีสแบบนุ่ม อาหารไม่ได้ปรุงสุก เนื้อดิบ โคลสลอว์ ซูชิ อาหารแช่แข็งที่เก็บความเย็นไม่พอ นมและผลิตภัณฑ์ทำจากนมที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอร์ไรส์อย่างสมบูรณ์ และอาหารทะเลก็มีความเสี่ยงเช่นกันค่ะ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมหัวข้อ การติดเชื้อแบคทีเรีย Listeria ในช่วงตั้งครรภ์

เนื้อปลา

เนื้อปลามักเป็นอาหารทางเลือกแรกๆที่คุณแม่ส่วนใหญ่ชื่นชอบ เพราะรับประทานง่าย ย่อยง่าย และมีประโยชน์กับคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ปลาบางชนิดก็มีความเสี่ยงหากรับประทานระหว่างตั้งครรภ์ได้เช่นกันนะคะ เนื่องจากมีสารปรอทสะสมปริมาณมากพบได้ในปลาบางชนิด หากทารกในครรภ์รับสารปรอทสะสมปริมาณมากอาจส่งผลต่อพัฒนาการของระบบประสาทที่อาจเกิดความผิดปกติได้ พบได้ในปลาใหญ่ที่อยู่ระดับสูงในห่วงโซ่อาหาร เช่น ฉลาม, ปลามาร์ลิน, ปลาทูน่าครีบน้ำเงิน, ปลาออเรนจ์รัฟฟีหรือปลาหัวเมือก, ปลากระโทงดาบ ปลาจำพวกนี้ควรหลีกเลี่ยงนะคะ คุณแม่สามารถกดไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ น้ำมันสกัดจากปลาและการรับประทานปลาช่วงตั้งครรภ์

แอลกอฮอล์

หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะดื่มปริมาณน้อยขนาดไหนก็ยังมีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เนื่องจากรกในครรภ์กรองระดับแอลกอฮอล์ได้ไม่สมบูรณ์ หากคุณแม่ดื่ม แอลกอฮอล์ยังคงเข้าสู่ลูกโดยตรง ถ้าคุณแม่คุ้นเคยกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่จำเป็นต้องกังวลนะคะ เพียงแค่งดเว้นการดื่มในช่วงตั้งครรภ์เท่านั้น

ยา

หากคุณแม่ได้รับยาตามแพทย์สั่ง ซึ่งแพทย์ทราบแล้วว่ากำลังท้อง ไม่ควรหยุดยาด้วยตัวเองนะคะ เพราะการหยุดยากะทันหันอาจอันตรายต่อสุขภาพ หากมีข้อสงสัยโปรดปรึกษาแพทย์และเภสัชกรอีกครั้ง โรงพยาบาลขนาดใหญ่ของรัฐบาลส่วนใหญ่มีสายด่วนให้ปรึกษาและคุยเรื่องการใช้ยากับเภสัชกรได้

คำแนะนำเกี่ยวกับ การใช้ยาของหญิงตั้งครรภ์ หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่แน่ใจ ไม่ควรซื้อยาด้วยตัวเอง อย่าคิดว่ายาชนิดนั้นปลอดภัยเพียงเพราะฉลากระบุว่า "ทำจากธรรมชาติ" แม้ว่ายาจะปลอดภัยกับคุณแม่ในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่ แต่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ที่มีขนาดเล็กมาก หากไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน ตรวจสอบให้แน่ใจว่ารับประทานยากปริมาณถูกต้องในช่วงเวลาที่เหมาะสม ทำตามวิธีที่แนะนำ เช่น ไม่รับประทานยาในขณะท้องว่าง

การแพทย์ทางเลือก

การรักษาด้วยสมุนไพรหรือธรรมชาติบำบัดในระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรกอาจมีความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัย ไม่มีอันตรายจากสารพิษ ฉลากที่ระบุว่าทำจากธรรมชาติไม่ได้พิสูจน์ว่ามีการควบคุมคุณภาพหรือความปลอดภัย แพทย์ทางเลือกจำนวนมากยังไม่ผ่านการทดสอบอย่างเข้มงวดและไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ว่าปลอดภัยกับแม่และเด็ก ต้องระมัดระวังตรวจสอบรายละเอียดและปริมาณว่าใช้อย่างไรจึงปลอดภัย

เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ควรจำกัดปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับต่อวันไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม ซึ่งปกติกาแฟ 1 แก้วมีคาเฟอีนประมาณ 130 มิลลิกรัม ไม่ควรดื่มเกินวันละ 2 แก้ว หรือน้ำชาวันละ 4 ถ้วยต่อวันถือว่าปลอดภัย ส่วนเครื่องดื่มโคล่าจำกัดน้อยกว่า 1 ลิตรต่อวัน แนะนำว่าควรเลือกสูตรหวานน้อยหรือไม่หวาน และเครื่องดื่มชูกำลังน้อยกว่า 1 กระป๋องต่อวัน

สารพิษในสิ่งแวดล้อม

สารตะกั่ว สารเคมี การตรวจเอกซเรย์และรังสีไอออไนซ์ ละอองสี ยาฆ่าแมลง และสารทำความสะอาด ล้วนมีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์และทารกในท้อง หากมีโอกาสเสี่ยงสัมผัสอันตรายควรอยู่ในห้องที่ระบายอากาศได้ดี สวมเสื้อผ้าและหน้ากากป้องกัน การหายใจเข้าปอดหรือดูดซึมสารพิษผ่านทางผิวหนังอาจส่งผ่านไปถึงทารกในท้องได้ หากทำงานในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงได้รับสารพิษ ควรแจ้งให้นายจ้างทราบว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์และมองหาสถานที่ที่ปลอดภัยกว่า

การสูบบุหรี่

บุหรี่มีสารนิโคตินและสารเคมีอันตรายอื่น ๆ มีผลให้ทารกแรกเกิดมีขนาดตัวเล็กกว่าค่าเฉลี่ย เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด หรือเสียชีวิตจากภาวะ SIDS ซึ่งหมายถึงภาวะไหลตายในทารก มีอาการหอบหืดและโรคระบบทางเดินหายใจ คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หากสูบบุหรี่ ร่างกายจะผลิตน้ำนมน้อยลง และเด็กทารกยังได้กลิ่นบุหรี่อยู่ตลอดเวลาด้วย แพทย์ไม่แนะนำให้ใช้วิธีการบำบัดทดแทนนิโคตินในระหว่างตั้งครรภ์ ควรเลิกสูบบุหรี่ด้วยวิธีอื่นค่ะ

ยาเสพติด

หากทารกเกิดจากแม่ที่ใช้ยาเสพติดจะเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่าเด็กทั่วไป เช่น แท้งลูก คลอดก่อนกำหนด ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ลูกเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในท้อง เด็กแรกคลอดน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติและมีภาวะเสพติดยาตั้งแต่แรกเกิด เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยค่ะ โรงพยาบาลขนาดใหญ่มีโปรแกรมหรือหลักสูตรพิเศษช่วยเหลือคุณแม่ที่มีปัญหาติดยาโดยทีมแพทย์และมืออาชีพหลายสาขามาร่วมกันช่วยเหลือ คุณแม่ขอคำปรึกษาจากแพทย์ที่จะแนะนำศูนย์ดูแลบำบัดยาเสพติดที่เหมาะสมให้ได้ค่ะ

สภาพแวดล้อมมีผลต่อทารกหรือไม่อย่างไร

การเจ็บป่วย

ในระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่อาจเจ็บป่วย ติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย คุณแม่ควรดูแลสุขภาพตนเองให้ดี หญิงตั้งครรภ์อาจจะอยู่ในช่วงที่ระบบภูมิต้านทานต่ำ หากไม่ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี อาจเสี่ยงติดเชื้อง่ายขึ้นค่ะ เชื้อไวรัสส่วนใหญ่แพร่กระจายอยู่ในอากาศและสูดดมผ่านละอองไอน้ำเล็ก ๆ หายใจเข้าไปทางจมูกได้ ต้องพยายามล้างมือบ่อย ๆ เมื่ออยู่ในที่สาธารณะควรสวมหน้ากากอนามัยด้วย เมื่อผู้อื่นมีอาการไอ จาม หรือกำลังอาเจียนควรกลั้นหายใจไว้สักครู่

การติดเชื้อไวรัส 2 ชนิดที่อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน และโรคอีสุกอีใส นอกจากนี้ยังมีเชื้อไวรัสอันตรายอื่น ๆ เช่น เชื้อไซโตเมกะโลไวรัส ภาวะติดเชื้อไวรัส Parvovirus (B-19) ที่ทำให้มีผื่นแดงบนแก้ม โรคติดเชื้อปรสิตท็อกโซพลาสโมซีสที่พบในอุจจาระแมว โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) โรคติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ และโรคซิฟิลิส

อาบน้ำอุ่น สปาน้ำแร่และห้องซาวน่า

ในช่วงตั้งครรภ์ 2-3 เดือนแรก ตัวอ่อนทารกอ่อนไหวต่ออุณหภูมิร่างกายของแม่ สภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงต่อเนื่องอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กทารกด้วย อุณหภูมิของคนเราโดยทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ 36.1-37.3 องศาเซลเซียส แนะนำให้แม่ที่กำลังตั้งครรภ์ท้องอ่อน ๆ ควรระมัดระวังไม่ให้เกิดอาการป่วยไข้ หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงถึง 39 องศาเซลเซียส และแม้ว่าคุณแม่จะอายุครรภ์เกินจากช่วงไตรมาสแล้วไปแล้ว ก็ยังควรหลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนจัดออกไปก่อนนะคะ เพราะมีผลเสียหลายประการ คุณแม่สามารถกดไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาบน้ำร้อนจัดช่วงตั้งครรภ์อาจมีปัญหา

การเลี้ยงแมว

ครอบครัวยังคงเลี้ยงแมวต่อไปได้นะคะ แม้ว่าแมวเป็นสัตว์ที่แพร่เชื้อปรสิตที่ติดต่อสู่คนผ่านอุจจาระของแมวที่ติดเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคท็อกโซพลาสโมซิส หญิงตั้งครรภ์ควรสวมถุงมือและล้างมือให้สะอาดทุกครั้งที่เก็บอุจจาระแมว เพื่อป้องกันการติดเชื้อเมื่อหยิบอาหารเข้าปาก ต้องล้างผักผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทาน หลีกเลี่ยงอาหารพืชผักที่ไม่แน่ใจว่าล้างสะอาดดีแล้ว

ภาวะความรุนแรงและการคุกคาม

ความรุนแรงภายในครอบครัวหรือการคุกคามมีผลกระทบอย่างมากในช่วงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม พ่อแม่ยังอายุน้อยและไม่ได้รับการสนับสนุน หรือมีความเครียด ยิ่งเสี่ยงต่อปัญหาความรุนแรงหรือความขัดแย้งในครอบครัวมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีปัจจัยลบอื่น ๆ เช่น ว่างงาน ไร้ที่อยู่ ใช้ยาเสพติดและแอลกอฮอล์ อาจทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง

หากคุณแม่กำลังมี ทารกในครรภ์ หรือลูกคนโต แม้แต่สัตว์เลี้ยงอยู่ในจุดเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อความรุนแรงและต้องการความช่วยเหลือ ควรแจ้งแพทย์ที่ฝากครรภ์หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐดูแลเรื่องสวัสดิการแม่และเด็กเพื่อที่จะหาที่ปลอดภัยให้แก่แม่และเด็ก มองหาคนที่เชื่อถือได้และขอความช่วยเหลือในยามที่ต้องการด้วยนะคะ

สภาพแวดล้อมมีผลต่อทารกหรือไม่อย่างไร

เข็มขัดนิรภัยในรถยนต์

เข็มขัดนิรภัยที่มีมาตรฐานเป็นอุปกรณ์ปลอดภัยที่สุดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในการเดินทางด้วยรถส่วนตัว รถสาธารณะ เครื่องบิน หรือยานพาหนะอื่น ๆ แม้จะรู้สึกไม่สบายตัว แต่ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นมา เข็มขัดนิรภัยจะช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุ ช่วยชีวิตคุณแม่ปลอดภัยและลูกน้อยให้ปลอดภัยได้ค่ะ

อันตรายต่างๆสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์สามารถทำให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดหรือไม่เกิดขึ้นเลยได้นะคะ ถ้าคุณแม่รู้ทันและป้องกันหรือรับมือได้ทันท่วงที คุณแม่สามารถอ่านวิธีการเลี้ยงลูกรวมถึงพัฒนาการของลูกในครรภ์ในแต่ละสัปดาห์จากเว็บไซต์ Huggies ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติมอื่นๆ สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ

สภาพแวดล้อมมีผลกระทบต่อมารดาตั้งครรภ์อย่างไร

มลพิษสิ่งแวดล้อมหรือสารพิษปนเปื้อนในอากาศที่หายใจ อาหาร และนาดื่ม การประกอบอาชีพของผู้หญิงตังครรภ์ที่อยู่ในสภาพแวดล้อม ที่ต้องสัมผัสสารเคมีตลอดเวลา หรือการใช้ยาโดยไม่ระมัดระวัง ขณะตังครรภ์ทังนียังรวมถึงเรื่องของสภาพสังคม เศรษฐกิจ และความเครียด สิ่งเหล่านีล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของผู้หญิงตังครรภ์และพัฒนาการของทารกใน ...

ปัจจัยใดที่ส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ *

ปัจจัยของการเกิดภาวะครรภ์เสี่ยง อายุ โดยช่วงอายุที่มีความเสี่ยงคือต่ำกว่า 18 ปีและ 35 ปีขึ้นไป รูปแบบการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติดต่างๆ ประวัติการป่วย ในกรณีที่คุณแม่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงในการตั้งครรภ์ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต และโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย

ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ ได้แก่ อายุ ปัญหาสุขภาพ โรคประจำตัว การใช้ชีวิตและปัญหาขณะตั้งครรภ์ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพครรภ์ สุขภาพคุณแม่และสุขภาพทารกในครรภ์ ทั้งยังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักแรกเกิดต่ำ พิการแต่กำเนิด หรือทารกเสียชีวิตขณะคลอดได้ การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์และการดูแลสุขภาพ ...

ปัจจัยใดที่มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และการหลีกเลี่ยงมากที่สุด

สิ่งใดบ้างที่ต้องหลีกเลี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์?.
สิ่งใดบ้างที่ต้องหลีกเลี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์? ... .
กรดโฟลิก ... .
เชื้อลิสเตอเรีย ... .
เนื้อปลา ... .
แอลกอฮอล์ ... .
ยา ... .
การแพทย์ทางเลือก ... .
เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน.