ระบบปฏิบัติการเบื้องต้น หมายถึงอะไร

ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ ดังนี้ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Allocation and Assignment)

การจัดแบ่งทรัพยากรเพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ หมายถึง ระบบปฏิบัติการจะจัดสรรทรัพยากร ที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องมีอยู่ ให้แก่ระบบการทำงานต่าง ๆ ในการประมวลผลคำสั่งงาน โดยจัดสรรเนื้อที่ในหน่วยความจำหลักให้แก่ข้อมูล โปรแกรม และควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ ที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์โทรคมนาคมที่ต่อพ่วง การรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อม ๆ กัน

ซึ่งจะเห็นว่า ระบบปฏิบัติการช่วยจัดสรรทรัพยากรของระบบซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดให้สามารถทำงานหลายๆงานได้ ก็อันเนื่องมาจากทรัพยากรหลัก ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ทรัพยากรด้านโพรเซสเซอร์ หรือที่เราเรียกว่า CPU ลำดับถัดมาคือ หน่วยความจำ หรือ Memory ซึ่งก็เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้จดจำจำบันทึกข้อมูลสำหรับการรับ ประมวลผล และแสดงผลข้อมูล สิ่งที่ขาดไม่ได้ต่อมาก็คือ อุปกรณ์นำเข้า/แสดงผล (Input/Output Devices) และส่วนสำคัญที่สุดก็คือ ข้อมูล (Data) ดังนั้นจึงต้องจัดสรรทรัพยากรเหล่านี้ให้กับหลายๆงานที่มีความต้องการใช้ทรัพยากรอย่างเดียวกัน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และทำให้ใช้ทรัพยากรเหล่านี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ระบบปฏิบัติ การนอกจากจะให้บริการในการจัดสรรลำดับการทำงานให้แก่อุปกรณ์ทรัพยากรภายในระบบคอมพิวเตอร์ และทำการยกเลิกเมื่อต้องการเลิกใช้งาน ยังช่วยให้บริการในการแชร์ทรัพยากรต่างๆภายในระบบให้สามารถใช้งานร่วมกันได้อีกด้วย

การกำหนดตารางการทำงาน (Scheduling)

การกำหนดตารางการทำงาน หมายถึง ระบบปฏิบัติการ จะเป็นผู้คอยกำหนดลำดับการทำงานให้แก่งานต่างๆ ที่ส่งเข้ามาให้หน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประมวลผลในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ในขณะที่โปรแกรมหนึ่งกำลังทำงาน ระบบปฏิบัติการก็จะเป็นผู้คอยจัดตารางการใช้อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า เช่น คีย์บอร์ด และการแสดงผลลัพธ์ เช่น จอภาพ เป็นต้น

และการตรวจสอบการทำงาน (Monitoring)

การตรวจสอบการทำงาน หมายถึง ระบบปฏิบัติการ จะเป็นผู้คอยตรวจสอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินอยู่ในระบบ โดยจะเก็บรายการที่แต่ละงานทำอยู่ รายการใช้งานที่กำลังประมวลผลอยู่ และรายการที่กำลังเข้าสู่ระบบ โดยไม่ได้รับอนุญาต

อาจกล่าวได้ว่า ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น

 

การติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface)

       ถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ และเป็นตัวกลางในการทำงานระหว่างผู้ใช้งาน (User) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ กล่าวคือทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานการทำงานระหว่างผู้ใช้กับฮาร์ดแวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง

เราสามารถแบ่งวิธีการติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface) ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. คอมมานด์ไลน์ (Command Line)

       เป็นการติดต่อกับผู้ใช้แบบขั้นแรกและขั้นพื้นฐาน ลักษณะการติดต่อกับผู้ใช้โดยให้ผู้ใช้ป้อนคำสั่งเป็นตัวอักษรที่มีรูปแบบของคำสั่งลงไป เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการทีละบรรทัดคำสั่งหรือเรียกว่า “คอมมานด์ไลน์ (Command Line)” เช่น ระบบปฏิบัติการดอส (DOS : Disk Operating System) ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux) เป็นต้น   ซึ่งนึกภาพตามก็คือ หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่มีแต่ชุดคำสั่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์

2. กราฟิก (GUI : Graphical User Interface) เป็นการนำรูปภาพหรือสัญลักษณ์มาใช้ในการสั่งงาน รูปแบบของระบบนี้ผู้ใช้ไม่ต้องจดจำคำสั่งเพียงเลือกรายการคำสั่ง หรือภาพแสดงสัญลักษณ์ของคำสั่งที่ปรากฏบนจอภาพ ผ่านทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล ได้แก่ เมาส์ คีย์บอร์ด เป็นต้น ระบบปฏิบัติการประเภทกราฟิก เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows

1. ระบบปฏิบัติการ (Operating System: OS) คืออะไร
ระบบปฏิบัติการ (Operating System: OS) คืออะไร

ระบบคอมพิวเตอร์แทบทุกระบบถือว่าระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญของระบบ โดยทั่วไประบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมประยุกต์ และผู้ใช้

1.1 ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วยทรัพยากรต่างๆ ที่มีในระบบ ได้แก่ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก หน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยความจำ นอกจากนี้ยังหมายความรวมถึง โปรแกรมภาษาเครื่อง และไมโครโปรแกรม ซึ่งเป็นส่วนที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นซอฟร์แวร์ในระดับพื้นฐาน (primitive level) โดยสามารถทำงานได้โดยตรงกับทรัพยากรระบบด้วยคำสั่งง่ายๆ เช่น ADD MOVE หรือ JUMP คำสั่งเหล่านี้จะถูกกำหนดเป็นขั้นตอน การทำงานของวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่งที่ไมโครโปรแกรมต้องแปลหรือตีความหมายจะอยู่ใน รูปแบบภาษาเครื่องและมักเป็นคำสั่งในการคำนวณ เปรียบเทียบ และการควบคุมอุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก

1.2 ระบบปฏิบัติการ เป็นโปรแกรมที่ทำงานเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้เครื่องและฮาร์ดแวร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้ใช้ระบบสามารถปฏิบัติงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยจะเอื้ออำนวยการพัฒนาและการใช้โปรแกรมต่างๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.3 โปรแกรมประยุกต์ คือซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ เช่น งานส่วนตัว งานทางด้านธุรกิจ งานทางด้านวิทยาศาสตร์ โปรแกรมทางธุรกิจ เกมต่างๆ ระบบฐานข้อมูล ตลอดจนตัวแปลภาษา เราอาจเรียกโปรแกรมประเภทนี้ว่า User’s Program โปรแกรมประเภทนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงในการพัฒนา เช่นภาษา C, C++, COBOL, PASCAL, BASIC ฯลฯ ตัวอย่างของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นใช้ในทางธุรกิจ เช่น โปรแกรมระบบบัญชีจ่ายเงินเดือน (Payroll Program) โปรแกรมระบบเช่าซื้อ (Hire Purchase) โปรแกรมระบบสินค้าคงหลัง (Stock Program) ฯลฯ ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็จะมีเงื่อนไขหรือแบบฟอร์มที่แตกต่างกัน ตามความต้องการหรือกฎเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งโปรแกรมประเภทนี้เราสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมเองได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานโปรแกรม

โปรแกรมเหล่านี้เป็นตัวกำหนดแนวทางในการใช้ทรัพยากรระบบ เพื่อทำงานต่างๆ ให้แก่ผู้ใช้หลากหลายประเภท ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งบุคคล โปรแกรม หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นตัวแปรภาษาต้องใช้ทรัพยากรระบบในการแปลโปรแกรมภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องแก่โปรแกรมเมอร์ ดังนั้น ระบบปฏิบัติการต้องควบคุมและประสานงานในการใช้ทรัพยากรระบบของผู้ใช้ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง

1.4 ผู้ใช้ ถึงแม้ระบบคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แต่ระบบคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้ถ้าขาดอีกองค์ประกอบหนึ่ง ซึ่งได้แก่ องค์ประกอบทางด้านบุคลากรที่จะเป็นผู้จัดการและควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น คอยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้งานโปรแกรมประยุกต์ที่ถูกพัฒนาขึ้น

แหล่งที่มา

ระบบปฏิบัติการ.สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2561.จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ระบบปฏิบัติการ

หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ.สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2561.จาก http://jsbg.joseph.ac.th/pm08/alesson/computer%20p3%20p4/__1.html

ซอฟท์แวร์ คืออะไร ?. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2561.จาก https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/software/

ซอฟต์แวร์ประยุกต์คืออะไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย.สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2561.จาก https://sites.google.com/site/mju5303103351cs203/sxftwaer-prayukt-khux-xari-baeng-xxk-pen-ki-prapheth-xari-bang-cng-xthibay

ระบบปฏิบัติการ.สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2561.จาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=25&chap=1&page=t25-1-infodetail05.html

ความหมายและหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ.สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2561.จาก https://sites.google.com/site/choothong13/rabb-ptibati-kar/1-khwam-hmay-laea-hnathi-khxng-rabb-ptibati-kar

ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์.สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2561.จาก https://sites.google.com/site/fawdahshop/kar-prakxb-khxmphiwtexr/rabb-pdibati-kar-khxmphiwtexr

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ.สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2561.จาก https://home.kku.ac.th/regis/student/snakiiz/New%20Folder/11.html