อุตสาหกรรมการบิน ทำงานอะไร

จากอดีตจนถึงปัจจุบัน คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว ได้ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพเพียบพร้อมทั้งด้านสติ ปัญญา ความรู้ และความฉลาดทางอารมณ์ เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย บัณฑิตของคณะมีโอกาสได้รับใช้สังคมในหลากหลายอาชีพ ทั้งทางด้านวิชาการและบริการ อาทิ ประชาสัมพันธ์ เลขานุการ ธุรการ การท่องเที่ยวและการโรงแรม สายการบิน การธนาคาร ธุรกิจในรูปแบบต่างๆ วงการหนังสือ และสื่อสิ่งพิมพ์ วงการแปล องค์กรระหว่างประเทศ และงานอื่นๆ อีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาอังกฤษ

Show

บัณฑิตของสาขาสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว นิทรรศการ และการประชุม สามารถนำ​ความรู้และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในการท่องเที่ยว รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวประกอบอาชีพต่างๆ เช่น มัคคุเทศก์ พนักงานบริษัทนำเที่ยวและบริษัทธุรกิจตัวแทนท่องเที่ยวผู้ประสานงานธุรกิจการจัดประชุม นิทรรศการ และการจัดสัมมนานักการตลาดการท่องเที่ยวนักวางแผนและพัฒนาการท่องเที่ยวผู้ประกอบการธุรกิจ  นำเที่ยวผู้ประกอบการธุรกิจตัวแทนท่องเที่ยวผู้ประกอบการธุรกิจไมซ์ พนักงานในองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและธุรกิจไมซ์ทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ และพนักงานและผู้ประกอบการในธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ยานพาหนะ โรงแรม ร้านอาหาร ของที่ระลึก เป็นต้น

บัณฑิตของสาขาการจัดการการโรงแรมสามารถนำ​ความรู้และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการโรงแรม รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันบัณฑิตสาขาวิชาการการโรงแรมประกอบอาชีพต่างๆ เช่น เจ้าของกิจการในสาขาอาชีพโรงแรมและการปฏิบัติการด้านอาหาร พนักงานแผนกต่างๆ ของโรงแรม เชฟ ผู้รับจัดงานอีเว้นท์ นักจัดเลี้ยง นักจัดดอกไม้ บาริสต้า นักออกแบบตกแต่งอาหาร นักออกแบบรายการอาหาร พนักงานสปา เจ้าของธุรกิจสปาและความงาม นักสื่อสารทางการตลาด ผู้ให้ความรู้ในสาขาอาชีพ

บัณฑิตของสาขาวิชาการจัดการธุรกิจสายการบินสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ประกอบอาชีพต่าง ๆ ในธุรกิจสายการบิน เช่น

สาระดีๆมีมาฝากกันเป็นประจำ สำหรับสัปดาห์นี้ จะพามาทำความรู้จักกับ 5 อาชีพสุดปังในสายงานธุรกิจด้านการบิน ว่าแต่เคยสงสัยบ้างไหมว่า เมื่อเราเรียนการจัดการธุรกิจด้านการบิน จบมาแล้วทำงานอะไรได้บ้าง วันนี้จะพามาไขคำตอบกับ  อาจารย์รังสีจันท์ สุวรรณสทิศกร หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการธุรกิจด้านการบิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กันนะครับ!!

อุตสาหกรรมการบิน ทำงานอะไร
อุตสาหกรรมการบิน ทำงานอะไร

อ.รังสีจันท์ สุวรรณสทิศกร กล่าวว่า สำหรับอาชีพของคนที่เรียนจบทางด้านการจัดการธุรกิจการบินนั้นมีมากมาย แต่วันนี้จะพามาทำความรู้จักกับ 5 อาชีพสุดปังในสายงานธุรกิจด้านการบิน!

  1. พนักงานต้อนรับภาคพื้นดิน (Ground/ Airport Station Attendant)

ต้อนรับและดูแลอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารภายในสนามบิน ตั้งแต่เข้ามาใช้บริการของสายการบินจนส่งผู้โดยสารขึ้นเครื่องบิน อาจแบ่งหน้าที่ไปตามพื้นที่ต่างๆของสนามบินเช่น เคาน์เตอร์เช็คอิน ประตูขึ้นเครื่อง หรือ ห้องรับรองพิเศษ เป็นต้น

  1. พนักงานอำนวยการบิน (Flight Dispatcher)

การวางแผนเส้นทางการบิน คำนวณเชื้อเพลิง จุดพักระยะการบิน สภาพอากาศและการวางแผนเส้นทางสำรองเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น

  1. พนักงานหรือเจ้าหน้าที่สายบริหาร (Airline Administrative Support)

ทำหน้าที่สนับสนุการทำงานได้แก่ ฝ่ายการตลาดของสายการบินทำหน้าที่ออกโปรโมชั่น การส่งเสริมการขาย หรือ ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ที่ทำหน้าที่ดูแลการจ้างงาน และผลประโยชน์/ผลตอบแทนของพนักงานทุกแผนกในสายการบิน

  1. เจ้าหน้าที่จำหน่ายบัตรโดยสารและสำรองที่นั่งเครื่องบิน (Ticketing and Reservation Agent)

ทำการขายตั๋วหรือเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินและวันเดินทางให้แก่ผู้โดยสาร สำรองที่นั่งให้ผู้โดยสาร การระบุความช่วยเหลือพิเศษในวันเดินทาง เช่น การขอรถเข็น การขออาหารพิเศษตามหลักศาสนาหรือข้อจำกัดด้านสุขภาพ หรือแม้กระทั่งการขอคืนเงินกรณีเดินทางไม่ได้

  1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ (Cargo Service)

คัดแยก บรรจุ และคัดเลือกเที่ยวบินในการจัดส่ง วางแผนการบรรจุหีบห่อให้ได้ขนาดของห้องโดยสาร เพื่อให้ขนส่งสินค้าได้มากที่สุด

ทุกวันนี้การเดินข้ามประเทศเป็นเรื่องที่เรียกได้ว่าสะดวกสบายและง่ายขึ้นมาก เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้การเดือนทางระยะไกลที่ในสมัยก่อนกินเวลาหลายสัปดาห์กลายเป็นใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้นบนเครื่องบิน ถึงแม้ว่าเพราะปัญหาโรคระบาดที่ทำให้ในระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ธุรกิจสายการบินต้องสะดุดอยู่บ้าง แต่เป็นที่แน่นอนเลยว่าเมื่อวิกฤตินี้ผ่านพ้นไปแล้วธุรกิจสายการบินจะต้องกลับมาเติบโตอีกครั้งอย่างแน่นอน และเมื่อธุรกิจยิ่งเติบโตมากขึ้นเท่าไหร่ความต้องการในสายอาชีพที่ทำงานในสนามบินและเกี่ยวข้องกับธุรกิจสายการบินก็จะยิ่งเป็นที่ต้องการมากขึ้นไปอีก วันนี้ผู้เขียนเลยจะแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกับอาชีพต่าง ๆ ที่ทำงานในสนามบินกัน! จะมีอะไรบ้างไปดูเลย!

สมัครงานสนามบินสุวรรณภูมิต้องดู!! 4 ตำแหน่งงานน่าสนใจสำหรับวุฒิป.ตรี

11 อาชีพที่ทำงานในสนามบิน ที่น่าสนใจไม่ควรพลาด!

1.ทำงานในสนามบิน พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (Flight Attendant/Cabin crew/Cabin attendant)

อุตสาหกรรมการบิน ทำงานอะไร

            พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหรือที่คุ้นหูกันในชื่อ ‘แอร์โฮสเตส’ หรือ ‘สจ๊วต’ ซึ่งคนที่ทำอาชีพนี้จะเรียกได้ว่าเป็นหน้าเป็นตาให้แก่สนามบินเลยทีเดียว เพราะพนักงานต้อนรับบทเครื่องบินมีหน้าที่ให้บริการและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารบทเครื่องบิน คอยดูแลว่าผู้โดยสารต้องการอะไรบ้างระหว่างเที่ยวบิน ไม่ว่าจะเป็น เครื่องดื่ม อาหาร ตลอดจนคอยดูแลความเรียบร้อยและความปลอดภัยของผู้โดยสารระหว่างเที่ยวบิน

2 .ทำงานในสนามบินนักบินเครื่องบินพาณิชย์ (Airline Pilot)

อุตสาหกรรมการบิน ทำงานอะไร

           อาชีพนักบินเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในอาชีพที่สำคัญสุด ๆ ที่ทำงานในสนามบินเลยก็ว่าได้ เพราะว่านักบินนั้นนอกจากจะต้องเป็นผู้คำนวนและวางแผนเส้นทางการบินอย่างรอบคอบแล้ว นักบินยังต้องเป็นผู้รับผิดชอบชีวิตลูกเรือและผู้โดยสารทุกคนบนเครื่องอีกด้วย ดังนั้นคนที่จะเป็นนักบินได้ต้องเป็นคนที่สามารถทำงานภายใต้แรงกดดันและความเครียดได้เป็นอย่างดี

3.ทำงานในสนามบิน เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Controller)

อุตสาหกรรมการบิน ทำงานอะไร

           อีกอาชีพที่ทำงานในสนามบินที่สำคัญไม่แพ้กันนั่นก็คือ เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ หรือ ATC อาชีพนี้เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในอาชีพที่เครียดที่สุดในโลกเพราะว่า ATC นั้นจะเป็นผู้ทำหน้าที่ดูแล กำหนดทิศทาง-ความเร็ว เพดานบินให้แก่นักบินในแต่ละวัน ตั้งแต่เครื่องบินเริ่มออกเดินทางจนกลังทั่งเครื่องลงจอดที่สนามบินปลายทาง แถมในแต่ละวันมีเที่ยวบินเข้า-ออกสนามบินเป็นสิบ ๆ เที่ยว ดังนั้นคนที่จะมาเป็น ATC นั้นจะต้องเตรียมพร้อมรับมือกับความเครียดในแต่ละวันให้ดี

ไขข้อสงสัย กับ “5 คำถามเกี่ยวกับอาชีพช่างซ่อมเครื่องบิน” ผู้อยู่เบื้องหลังความพร้อมและความปลอดภัยของเครื่องบิน

4 .ทำงานในสนามบินพนักงานบริการภาคพื้น (Ground Attendant/Ground Services/Airport Station Attendant)

อุตสาหกรรมการบิน ทำงานอะไร

           พนักงานบริการภาคพื้นจะมีหน้าที่คอยให้การบริการ ดูแล และให้ความช่วยเหลือลูกค้าภายในสนามบิน ไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถามต่าง ๆ จากลูกค้า คอยประสานงานกรณีที่ลูกค้ามีปัญหาก่อนขึ้นเครื่อง เป็นผู้ตรวจรับบัตรโดยสารและสัมภาระต่าง ๆ โดยเราจะสามารถเจอพนักงานบริการภาคพื้นได้ตั้งแต่ที่เคาท์เตอร์เช็คอินของสนามบิน คอยให้การต้อนรับลูกค้าตั้งแต่ก้าวเท้าเข้าสนามบินไปจนขึ้นเครื่อง

5 .ทำงานในสนามบินวิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน (Aircraft Maintenance Engineer)

อุตสาหกรรมการบิน ทำงานอะไร

            วิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยานหรือช่างซ่อมบำรุงเครื่องบินนั้นเป็นหนึ่งในอาชีพที่ถึงแม้จะสำคัญมาก ๆ ต่อธุรกิจสายบินแต่ก็ยังคงขาดแคลนอยู่ ช่างซ่อมบำรุงอากาศยานมีหน้าที่คอยตรวจเช็คและซ่อมบำรุงตัวเครื่องบิน กลไก รวมไปถึงระบบต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกเครื่องบิน คอยดูว่ามีจุดไหนที่เสียหรือไม่ ถ้าพบจุดที่เสียก็ต้องซ่อมให้เรียบร้อย จึงจะสามารถนำเครื่องบินลำนั้นไปใช้งานได้ เพราะถ้าเครื่องบินเสียขณะเดินทางละก็อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุขณะบินได้

6.ทำงานในสนามบิน เจ้าหน้าที่บริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น (Ground Equipment Services) 

อุตสาหกรรมการบิน ทำงานอะไร

            เจ้าหน้าที่บริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้นนั้นมีหน้าที่ดูแลและจัดเตรียมอุปกรณ์ภาคพื้นต่าง ๆ ในสนามบินที่ให้บริการแก่ผู้โดยสาร ทั้งงานพาหนะ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ภายในสนามบินไม่ว่าจะเป็น ขนย้ายสัมภาระและอุปกรณ์บริการเครื่องบินต่าง ๆ เช่น คอยลากเครื่องบินเข้า-ออกจุดจอดอากาศยาน กล่าวคือคอยอำนวยความสะดวกให้กับเครื่องบินขณะอยู่บนลานจอดนั่นเอง

7.ทำงานในสนามบิน เจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ (Cargo Services)

อุตสาหกรรมการบิน ทำงานอะไร

           เจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ มีหน้าที่คอยดูแล ควบคุม และรับผิดชอบการขนส่งสินค้าผ่านทางเครื่องบินให้ปลอดภัยและได้มาตรฐาน

8.ทำงานในสนามบิน เจ้าหน้าที่ฝ่ายครัวการบิน (Catering)

อุตสาหกรรมการบิน ทำงานอะไร

รูปภาพจาก Thai Airways

            เจ้าหน้าที่ฝ่ายครัวการบินจะเป็นผู้ดูแลและจัดเตรียมอาหารให้ผู้โดยสารและพนักงานในแต่ละเที่ยวบิน ไม่เพียงแต่เตรียมแค่เฉพาะอาหารเท่านั้น ยังต้องคอยจัดเตรียมและตรวจเช็คอุปกรณ์และภาชนะต่าง ๆ ที่จะนำขึ้นเครื่องให้เพียงพอ ไม่ขาดไม่เกิน เพราะน้ำหนักแต่ละอย่างที่คาดเคลื่อนอาจส่งผลต่อการคำนวนระยะเวลาและปริมาณน้ำมันในการบินได้

9.ทำงานในสนามบิน เจ้าหน้าที่จองตั๋วเครื่องบิน (Reservation Sales Agent)

อุตสาหกรรมการบิน ทำงานอะไร

           เจ้าหน้าที่จองตั๋วเครื่องบินมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าที่ต้อวการจองตั๋วเครื่องบินผ่านทางโทรศัพท์ โดยจะต้องให้คำปรึกษาตั้งแต่เรื่องการซื้อ-ขายตั๋ว สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ระหว่างเที่ยวบิน การเลือกที่นั่ง  ไปจนถึงให้คำแนะนำเรื่องการวางแผนการเดินทางอื่น ๆ เช่น ข้อมูลการเดินทาง การทำประกันฯเมื่อต้องเดินทางออกต่างประเทศ เป็นต้น

10.ทำงานในสนามบิน เจ้าหน้าที่จำหน่ายบัตรโดยสารเครื่องบิน (Airline Ticket Agent) 

อุตสาหกรรมการบิน ทำงานอะไร

          เจ้าหน้าที่จำหน่ายบัตรโดยสารเครื่องบินนั้นเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในอาชีพแรก ๆ ทีเราจะได้เจอในสนามบินเลย เพราะเจ้าหน้าที่จำหน่ายบัตรโดยสารเครื่องบินจะประจำอยู่ที่เคาท์เตอร์ Check-in เป็นคนแรกที่ผู้โดยสารจะต้องติดต่อก่อนจะดำเนินการขั้นตอนอื่น ๆ ต่อไป

11.ทำงานในสนามบิน  เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

อุตสาหกรรมการบิน ทำงานอะไร

            เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ฝ่าย IT ในสนามบินนั้นจะเป็นผู้ทำหน้าที่ประสานงานด้านคอมพิวเตอร์ภายในสายการบิน คอยตรวจสอบ บำรุงรักษา ระบบ และเครือข่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีภายในสายการบิน เพื่อให้สายการบินทำงานได้สะดวกมายิ่งขึ้น

5 ตำแหน่งงาน[Part time]ในสนามบินสุวรรณภูมิ

บทสรุปส่งท้าย: ทำงานในสนามบินไม่ได้มีแค่ ‘นักบิน’ และ ‘แอร์โฮสเตส’ เท่านั้น

อุตสาหกรรมการบิน ทำงานอะไร

หลายคนอาจคิดว่างานในสนามบินที่สำคัญ ๆ คงมีแต่ ‘นักบิน’ และ ‘แอร์โฮสเตส’ เท่านั้น แต่ความจริงแล้วยังมีอาชีพอื่นอีกมากมายที่สำคัญต่อธุรกิจสายการบิน เพราะฉะนั้นใครสนใจอยากทำงานในสนามบิน ผู้เขียนก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยแนะนำทางเลือกอื่น ๆ ให้กับคุณได้