ภูมิปัญญา สมัยรัตนโกสินทร์

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด 
ส 4.3  ป.6/4  อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญสมัยรัตนโกสินทร์ที่น่าภาคภูมิใจและควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ได้
2. บอกวิธีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยสมัยรัตนโกสินทร์ได้
3. ปฎิบัติตนตามหลักภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมไทยได้

ภูมิปัญญา สมัยรัตนโกสินทร์

                ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีลักษณะของความสืบทอดจาก สมัยอยุธยา

และการรับวัฒนธรรมจากจีนที่มาพร้อมกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนจีนที่มีจํานวนมากขึ้น ในช่วงสมัยนี้

                ศิลปกรรมไทย เริ่มตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเป็นต้นมา ได้มีการ

ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและสร้างสรรค์จนมีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า “ศิลปะรัตนโกสินทร์” ผลงานด้านศิลปกรรม

ยุคนี้มีมากมาย และมีแนวความคิดการสร้างผลงานเป็นแบบศิลปะสมัยอยุธยา รวมทั้งผลงานที่ได้รับอิทธิพลจาก

ศิลปะภายนอกโดยเฉพาะศิลปะจีน

ภูมิปัญญา สมัยรัตนโกสินทร์

    งานจิตรกรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนใหญ่เป็นจิตรกรรมที่เขียนบนผนังอาคารพระอุโบสถ หรือพระ

วิหารจนถึงเพดาน ซึ่งเป็นลักษณะของการประดับตกแต่งและเล่าเรื่องราวทางศาสนาเพื่อจงใจ ให้พุทธศาสนิกชน

เกิดศรัทธา เช่น ภาพพุทธประวัติ ตัวอย่างจิตรกรรมยุคนี้ เช่น ภาพจิตรกรรมในพระที่นั่ง พุทไธสวรรย์พระราชวัง

บวรสถานมงคล ภาพจิตรกรรมในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ภูมิปัญญา สมัยรัตนโกสินทร์

    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จิตรกรรมไทยถือว่ามีความเจริญรุ่งเรือง มีลักษณะ เป็นแบบ

พระราชนิยม เช่น จิตรกรรมฝาผนังที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีน เช่น ภาพทิวทัศน์ประกอบด้วย ท้องฟ้า ต้นไม้ 

ดอกไม้ จิตรกรเอกที่มีผลงานดีเด่นในรัชกาลนี้คือ หลวงวิจิตรเจษฎาหรือครูทองอยู่ กับหลวงเสนีย์บริรักษ์หรือ

ครูคงหรือคงแป๊ะ   ภาพจิตรกรรมที่สําคัญ ได้แก่   ภาพจิตรกรรมที่วัดพระเชตุพน     วิมลมังคลาราม วัดพระ

ศรีรัตนศาสดาราม วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร วัดอรุณราชวราราม

     ประติมากรรม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผลงานประติมากรรม ยังมีไม่มาก

นัก ส่วนใหญ่เป็นการปั้นพระพุทธรูป เช่น พระประธานที่พระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎี ราชวรมหาวิหาร 

กรุงเทพมหานคร ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระพุทธรูป สร้างขึ้นใหม่หลายองค์ 

ลักษณะแตกต่างไปจากสมัยอยุธยาซึ่งถือได้ว่าเป็นแบบอย่างของ กรุงรัตนโกสินทร์โดยเฉพาะพระพุทธรูปที่สําคัญ

ซึ่งสร้างในรัชกาลนี้ ได้แก่ พระพุทธธรรมมิศราช โลกธาตุดิลกซึ่งเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวรา

รามงานประติมากรรมในสมัยรัชกาลที่  3 ที่สําคัญคือ  พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระประธานใน พระอุโบสถ

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

ภูมิปัญญา สมัยรัตนโกสินทร์

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

     สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นแบบแผนที่เรียกว่าถอดแบบ มาจากสมัยอยุธยา

ดังจะเห็นว่า การสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นการนําแบบอย่างของปราสาทราชวัง และ วัดวาอารามครั้งกรุงศรี

อยุธยาเจริญรุ่งเรือง สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นคือ พระบรมมหาราชวัง มีการสร้าง วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็น

วัดในพระราชวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์และมีวังหน้า เรียกว่า พระราชวังบวรสถานมงคล วังหลวงเรียกว่า

พระบรมมหาราชวัง วังหลังเรียกว่า พระราชวังบวรสถานพิมุข การสร้างอาคารปราสาทราชมณเฑียร พระตําหนัก

เรือนหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของโบสถ์วิหารครั้งสําคัญ

 โดยรับอิทธิพลของศิลปะจีน เช่น หน้าบันของ พระอุโบสถและพระวิหารเป็นแบบเรียบๆ ประดับด้วย

กระเบื้องเคลือบเป็นลวดลายดอกไม้และรูปสัตว์ต่างๆ ตามแบบจีน ตัดส่วนที่เป็นช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ซึ่งเป็น

ศิลปกรรมไทยแบบดั้งเดิมออกไป ตัวอย่าง งานศิลปะแบบพระราชนิยม เช่น วัดราชโอรสารามราชวรมหาวิหาร

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร นอกจากนี้พระองค์โปรดให้สร้างโลหะปราสาทแบบลังกา

ที่วัดราชนัดดาราม วรวิหาร

ภูมิปัญญา สมัยรัตนโกสินทร์
   
ภูมิปัญญา สมัยรัตนโกสินทร์

                วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร                                 โลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม

ภูมิปัญญา สมัยรัตนโกสินทร์

        สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มีการฟื้นฟูนาฏศิลป์ เช่น โขน ละคร ระบํา หุ่นและหนัง ให้เฟื่องฟูขึ้นอย่างมาก

เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงให้การสนับสนุนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้มี

การฝึกโขนทั้งในวังหลวง วังหน้าตลอดจนเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่โปรดให้ประชุมครูละคร เพื่อจัดทําตําราท่ารํา

ขึ้นใหม่ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร ได้แก่ เรื่องอุณรุท รามเกียรติ์ อิเหนา และดาหลัง   ต่อมาในรัชสมัยพระบาท

สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์บทละครขึ้นอีกหลายเรื่อง รวมทั้ง แก้ไขจากต้นฉบับของเดิม

เพื่อให้เหมาะที่จะแสดงละคร โดยให้มีบทร้องที่ไพเราะและงดงาม ทั้งกระบวนรํา  ทําให้ได้พัฒนาละครราชสํานัก

ขึ้นจนเกิดแบบแผนที่ละเอียดซับซ้อนในทุกด้าน จนกล่าวได้ว่าละครในที่แท้จริงถือกําเนิดในรัชสมัยนี้ นอกจากนี้

ทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอกเพิ่มอีก 5 เรื่อง คือ สังข์ทอง คาวี มณีพิชัย ไกรทอง ไชยเชษฐ์ และบทพระราช

นิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่องสังข์ศิลป์ชัย

        เครื่องดนตรีในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นคล้ายคลึงกับดนตรีที่มีมาแต่ครั้งสุโขทัยและอยุธยา โดยมีอยู่ 3

แบบ คือ ปี่พาทย์ มโหรี และเครื่องสาย สําหรับเพลงที่ใช้บรรเลงจะมีทั้งเพลงที่ใช้ดนตรี บรรเลงโดยไม่มีคนร้อง

เช่น เพลงโหมโรง เพลงหน้าพาทย์ ส่วนเพลงที่ใช้เนื้อร้องเข้าไปประกอบดนตรี เรียกว่า เพลงขับร้อง ทั้งทํานอง

และบทร้อง เพลงมีที่มาต่างๆ กันไป ซึ่งจะใช้บรรเลงในโอกาสต่างๆ เช่น ประกอบพิธี ประกอบการแสดงและขับ

กล่อม

ภูมิปัญญา สมัยรัตนโกสินทร์

        ยังคงเป็นแบบแผนเดียวกับสมัยอยุธยา เพราะเมื่อตั้งกรุงเทพฯ เป็น ราชธานีแล้วคนไทยที่เคยอยู่กรุงศรี

อยุธยาและกรุงธนบุรีคงจะอพยพมาอยู่ เมืองหลวงแห่งใหม่และใช้ภาษาถิ่นอยุธยาเป็นหลัก ดังปรากฏว่ามีการใช้

หนังสือจินดามณี เป็นตําราเรียนจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5

ภูมิปัญญา สมัยรัตนโกสินทร์

        วรรณกรรมมีพัฒนาการสืบเนื่องมาจากปลายสมัยอยุธยาและธนบุรี วรรณกรรมยุคนี้มีทั้งร้อยแก้ว และร้อย

กรองประเภทโคลงฉันท์ กาพย์ กลอน มีทั้งนิยาย บทพรรณนา สุภาษิต พระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลก

มหาราชโปรดให้ชําระกฎหมายโบราณ เรียกว่ากฎหมายตราสามดวง และโปรดให้เรียบเรียง พงศาวดารไทยและ

พงศาวดารต่างประเทศ เช่น มหายุทธการวงศ์ของมอญ แต่งบทละครเรื่องรามเกียรติ อิเหนา ดาหลัง และอุณรุท 

        นอกจากนี้ทรงพระราชนิพนธ์และให้กวีเรียบเรียงเรื่องต่างๆ เช่น นิราศรบพม่า ที่ท่าดินแดง งานแปลจาก

วรรณกรรมเอเชีย ได้แก่ อิหร่านราชธรรม แปลจากภาษาเปอร์เซีย ไซ่ฮั่น สามก๊ก แปลจากภาษาจีน พงศาวดาร

มอญเรื่องราชาธิราช แปลจากภาษามอญ

        รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นสมัยบ้านเมืองดีและเป็นยุคทองแห่งวรรณคดี พระองค์

ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นศิลปินเอก จึงทรงสนพระทัยที่จะปรับปรุงวรรณคดีให้ถึงพร้อมด้วย สุนทรียะ โดยทรง

พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนา บทละครนอกเรื่องสังข์ทอง ไกรทอง คาวี ไชยเชษฐ์ มณีพิชัย กาพย์เห่เรือ บท

พากย์โขน และเสภาขุนช้างขุนแผน กวีคนสําคัญในสมัยนี้คือ“สุนทรภู่” ซึ่งเป็นกวีในราชสํานักสร้างผลงานจำนวน

มากและมีหลายประเภทคือ นิราศ เสภา กลอน กลอนสุภาษิต บทเห่ ผลงานที่โดดเด่น เช่น พระอภัยมณี 

ลักษณวงศ์ สิงหไกรภพ กวีที่โดดเด่นอีกคนคือ นายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน) ผู้แต่งนิราศนรินทร์

        พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเอาพระทัยใส่วรรณคดีเช่นกัน ทรงส่งเสริมกวีหลายคน ให้สร้าง

สรรค์ผลงานทางวรรณกรรมสืบต่อมา เช่น โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมความรู้ตําราการแต่งคําประพันธ์ ตําราภาษา

ไทย ตําราแพทย์แผนไทย ตําราเวชศาสตร์ จารึกไว้บนแผ่นศิลา แล้วติดไว้ตามศาลารายรอบ พระอุโบสถวัดพระ

เชตุพน เพื่อมิให้ความรู้เหล่านี้สูญหายไปและให้ประชาชนได้อาศัยเป็นหลักในการศึกษา หาความรู้ด้วยตนเอง

พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เช่น สมุทรโฆษคําฉันท์ สรรพสิทธิ์คําฉันท์และ

ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก 11 กัณฑ์ ผลงานของสุนทรภู่ เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศเมืองสุพรรณ

        ในสมัยนี้มีการจัดตั้งโรงพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อใช้พิมพ์หนังสือสอนศาสนาและประกาศของราชการ หมอบ

รัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์รายปักษ์ชื่อบางกอกรีคอร์เดอร์ และงานสารคดีที่มุ่งให้ความรู้ทางวิชาการ และปลูกฝัง

ภูมิปัญญาของรัตนโกสินทร์มีอะไรบ้าง

ภูมิปัญญาบางด้านสืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทยในด้านต่างๆหลายด้าน.
การสร้างบ้านแปลงเมือง ... .
ระบบการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค ... .
การรักษาโรค ... .
การประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผา เครื่องปั้นดินเผา.

ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์มีอะไรบ้าง

ศิลปะรัตนโกสินทร์.
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม.
พระปรางค์วัดอรุณ.
วัดเทพธิดาราม สถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 3 ที่เรียกว่า แบบพระราชนิยม.
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท.
พระพุทธตรีโลกเชษฐ์.
จิตรกรรมฝาผนังวัดไชยทิศ.
จิตรกรรมฝาผนังแห่งวัดมหาพฤฒารามวรวิหาร.

ความสําคัญของภูมิปัญญาไทย มีอะไรบ้าง

ภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ช่วยสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงสร้างความภาคภูมิใจ และ ศักดิ์ศรีเกียรติภูมิ แก่คนไทยสามารถปรับประยุกต์หลักธรรมคำสอนทางศาสนาใช้กับชีวิตได้อย่างเหมาะสม สร้างความสมดุลระหว่างคนกับสังคม และธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน ช่วยเปลี่ยนแปลงปรับปรุงวิถีชีวิตของคน ไทยให้เหมาะสมได้ตามยุคสมัยที่เปลี่ยน ...

ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมคืออะไร

ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปกรรม ได้แก่ ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสาขาต่างๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ การละเล่นพื้นบ้าน และนันทนาการ ซึ่งแต่ละ ภาคจะมีการสร้างสรรค์ศิลปะพื้นบ้านที่แตกต่างกัน เช่น การแข่งตีกลองของภาคเหนือ การร้องอีแซวของภาค กลาง หมอลาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การรา ...