Resource pooling หมายถึงข้อใด

Resource pooling หมายถึงข้อใด

กระแสชของ Cloud Computing ในบ้านเราแรงขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกคนพูดถึง  Cloud  พอถามว่าใครใช้ Cloud  บ้าง? ทุกคนจะบอกเสียงเดียวกว่าองค์กรตัวเองก็ติดตั้งระบบ Cloud  แล้ว แต่ที่ผมแปลกใจคือเวลาผมบรรยายตามที่ต่างๆให้กับคนไอทีที่เป็นผู้ดูแลระบบไอทีในองค์กร เมื่อเวลาถามว่าใครเคยใช้เคยเล่น  Public IaaS อย่าง  Amazon Web Services แล้วกลับพบว่าแทบจะมีจำนวนน้อยมากหรือเกือบไม่มีเลย จำนวนมากไม่เคยเห็นหน้าจอ Admin Console ของระบบ Amazon ไม่ทราบว่ามีบริการ IaaS อะไรอยู่ จึงอาจสรุปสั้นๆว่าโดยแท้จริงหน่วยงานส่วนใหญ่ในบ้านเรายังไม่เป็น  Cloud  เพราะแม้แต่ผู้ดูแลระบบยังไม่เข้าใจความหมาย Cloud  ที่แท้จริง ผู้ใช้จะมาใช้  Cloud ได้อย่างไร

ซึ่งเวลาองค์กรในบ้านเราเวลาพูดถึง Cloud จริงๆแล้วเรากำลังพูดถึง  Virtualization มากกว่า  Cloud Computing  เพราะระบบที่ทำอยู้ไม้ได้มีคุณสมบัติของ  Cloud ที่สำคัญ 5 อย่างคือ

  • On demand self service
  • Broad network access
  • Resource pooling
  • Rapid elasticity
  • Measured Service

อีกตัวอย่างหนึ่งที่อยากกล่าวถึง วันก่อนผมมีโอกาสได้ให้คำปรึกษากับหน่วยงานไอทีภาคเอกชนรายหนึ่ง ที่จะจัดหาซื้อเครื่อง Server  ราคาเป็นแสนแล้วต้องไปเช่า Data Center  เพื่อทำ  Co-Location เดือนละหลายพัน เพื่อทำระบบอีเมล์และ  Application  เล็กๆน้อย พอถามว่าทำไมไม่ใช้ Cloud  พร้อมทั้งแสดงหน้าจอราคาของ Cloud Provider  ต่างประเทศอย่าง  www.digitalocean.com หรือของในประเทศอย่าง True IDC ซึ่งดูเรื่องราคาจะคุ้มค่ากว่า คำตอบที่ผมได้รับกลับเป็นในเรื่องการอ้างความปลอดภัยบ้าง การจะขยาย Server  อนาคตบ้าง และพยายามนึกถึงข้อจำกัดต่างๆซึ่งบางครั้งขาดหลักการของ  Cloud จึงทำให้ผมเห็นชัดเจนว่า วัฒนธรรมผู้ดูแลระบบไอทีบ้านเรายังยึดติดกับความเป็นเจ้าของ อยากเห็นตัวเครื่อง และยังขาดความเข้าใจเรื่อง  Cloud ที่ถูกต้อง

Resource pooling หมายถึงข้อใด

รูปที่ 1 ราคาการใช้บริการ  Cloud ของ DigitalOcean

Resource pooling หมายถึงข้อใด

รูปที่  2 True IDC  หนึ่งในผู้ให้บริการ IaaS Public Cloud  ในประเทศ

ระบบใดควรขึ้น Cloud Computing

คำถามแรกที่คนมักจะถามคือผมควรใช้ Public Cloud ดีไหม  Cloud มีความปลอดภัยไหม

ในแง่ของระบบความปลอดภัย ผมว่าก่อนที่เราจะถามว่า Cloud ปลอดภัยแค่ไหน เราจะต้องแยกแยะชั้นความลับข้อมูลและระบบเราก่อน กล่าวคือทำ Classification  ผมเชื่อว่าข้อมูลบางอย่างของเราเป็นความลับแต่บางอย่างก็ไม่เป็นความลับ ดังนั้นบางอย่างเราสามารถนำไปเก็บที่สาธารณะได้บางอย่างอาจต้องเก็บไว้ในองค์กร ผมอยากคิดเสมือนว่าถ้าเรามีตู้เซฟไว้ในบ้าน เราคงไม่เอาของทุกอย่างในบ้านเป็นเก็บไว้ในตู้เซฟและบางอย่างเราสามารถเอามาวางไว้นอกตัวบ้านด้วยซ้ำโดยไม่ต้องกังวลว่าจะสูญหายมากนัก

องค์กรต้องดูก่อนว่าองค์กรของตัวเองเป็นรูปแบบใด ถ้าองค์กรเป็น SME การใช้  Cloud  อาจมีความเหมาะสมข้อมูลส่วนใหญ่มักจะไม่เป็นความลับ และ  Cloud Provider  รายใหญ่ๆก็มักจะมีมาตรฐานความปลอดภัยที่ดี การใช้บริการ  Public Cloud  เผลอๆการรักษาความลับข้อมูลในองค์กรอาจปลอดภัยกว่าการให้พนักงานในองค์กรมาจัดการเสียอีก เพราะโดยมากการรั่วไหลของข้อมูลมักจะมาจากองค์กรภายใน

องค์กรใหญ่ๆก็สามารถนำระบบบางระบบที่ต้องออกอินเตอร์เน็ตอยู่แล้ว และไม่มีความลับมากขึ้น Public Cloud ได้เช่น  ระบบอีเมล์ที่มีหลายองค์กรหันไปใช้อีเมล์ของ  Google Apps  หรือ  Office 365 ซึ่งในปัจจุบันทราบว่ามีธนาคารหลายแห่ง รวมทั้งสถาบันการศึกษามาใช้กัน นอกจากนี้อาจรวมถึงระบบอื่นๆที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อกฎระเบียบหรือมาตรฐานขององค์กรเช่นระบบ  Salesforce   ที่ทางธนาคารในประเทศไทยบางแห้งนำเข้ามาใช้ แต่อย่างไรก็ตามองค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ความมั่นคง บางครั้งการใช้่ Public Cloud อาจไม่เหมาะสมนัก เช่น หน่วยงานด้านความมั่นคง หรือด้านสาธารณสุข ด้านภาษี

สำหรับการใช้ Server  ที่เป็น Public Cloud  ถ้าองค์กรห่วงเรื่องความปลอดภัย เราก็สามารถที่จะเลือกใช้ผู้ให้บริการที่สามารถทำ  Virtual Private Cloud ที่จะแยกระบบของเรา ออกจากบริการของ  Public Cloud ทั่วไปทำให้สามารถใช้บริการใน  Virtual Network  ที่มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น ตัวอย่างของการให้บริการแบบนี้คือ Amazon Virtual Private Cloud  ของ  AWS และมีตัวอย่างของผู้ให้บริการในประเทศอย่าง WhiteSpace-Cloud

Resource pooling หมายถึงข้อใด

รูปที่ 3 WhiteSpace  ผู้ให้บริการ Virtual Private Cloud ในประเทศไทย

การใช้ Server  ที่เป็น Public IaaS Cloud จะมีประโยชน์ในแง่ของการพัฒนาระบบ Application ใหม่ หรือย้ายระบบ Application เดิมที่อยู่ใน Server Hosting  ในองค์กรไปสู่ Public Cloud เพื่อลดค่าใช้จ่ายการที่จะต้องบำรุงรักษาและดูแล Data Center  ในองค์กรของตัวเอง ซึ่ง Application  ส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ติดปัญหาเรื่องกฎระเบียบ เรื่องความปลอดภัยของข้อมูล โดยมากมักจะย้ายขึ้นมาบน Public Cloud ได้ แต่ก็มีบางระบบเช่น Legacy Application หรือ Mission Critical Application  ที่ไม่ควรรันหรือย้ายไปบน  Public Cloud เพราะอาจไม่สามารถย้ายได้ด้วยปัญหาทางเทคนิคและมีความเสี่ยง

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจในการใช้ Public Cloud คือการใช้เป็นระบบสำรองหรือ DR Site  ซึ่งทำให้เราลดรายจ่ายในการที่จะต้องจัดหา Backup Server นอกจากนี้ระบบ  Software  หลายๆอย่างสามารถที่จะใช้  public SaaS  ได้อาทิเช่น ระบบ  Desktop Software, ระบบ  CRM, ระบบ  Workflow  หรือระบบ HR  ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนา Application ไปด้วย

ระบบ Cloud Computing เสถียรพอหรือไม่

ประเด็นต่อมาที่มักจะได้ยินบ่อยคือกลัวระบบ Cloud Computing  จะล่ม เพราะแม้แต่ผู้ให้บริการรายใหญ่อย่าง  Amazon Web Services  ก็เคยล่ม

ผมคิดว่าประเด็นนี้เกิดจากเรามั่นใจในผู้ดูแลระบบของเรามากเกินไปว่าเก่งกว่าคนของผู้ให้บริการ  Cloud  ทั้งๆที่ผู้ให้บริการ  Cloud โดยมากจะมีผู้ดูแลระบบที่ดี มี Server อยู่เป็นจำนวนมากอาทิเช่น Amazon มี Server หลายแสนตัว จะมีระบบ  DR Site และผ่านมาตรฐานต่างๆที่ดี ผู้ดูแลระบบมักจะมีความเชี่ยวชาญด้าน Data Center โดยตรงดีกว่าองค์กรขนาดเล็ก

การที่เรามี Server เองก็เสมือนเราซื้อรถมาใช้เอง ต้องดูแลเอง บำรุงรักษาเอง ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่การใช้บริการ Cloud  เปรียบเสมือนบริการเช่าหรือใช้รถสาธารณะซึ่งก็มีบริการหลายแบบ ตั้งแต่รถสองแถว รถเมล์ รถไฟฟ้า รถ Limousine ก็ขึ้นอยู่กับบริการที่เราเลือก ถ้าเราเรียกบริการทีดีก็อาจมีราคาสูงขึ้น แต่มีความปลอดภัย และมีความเสถียรขึ้น การที่  Cloud Server ใหญ่ๆอย่าง Amazon ล่ม ก็ย่อมเป็นข่าวใหญ่ เพราะเปรียบเสมือนเครื่องบินตกที่นานๆจะเกิดขึ้นที แต่ Server ในองค์กรทั่วๆไปบ่อยครั้งที่ล่ม และอาจมากกว่าของ  Amazon  แต่ไม่เป็นข่าวหรอกครับ เพราะมันเหมือนกับข่าวรถชนกันที่เกิดขึ้นประจำทุกๆวัน

ระบบ Cloud Computing ไม่รู้ว่าอยู่ใดเก็บข้อมูลเราตรงไหน

อีกประเด็นหนึ่งที่ผู้ใช้เป็นห่วงคือไม่ทราบตำแหน่งของเครื่อง Server หรือ ที่เก็บข้อมูล

คำว่า Cloud Computing ก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นระบบประมวลผลบนก้อนเมฆ เราไม่ทราบว่าระบบหรือ Server  อยู่ที่ใด  คำถามที่ผมอยากถามกลับคือว่าแล้วจะทราบไปทำไมละ ทุกวันนี้เราใช้ไฟฟ้าเราทราบไหมว่าผลิตมาจากที่ใด เราใช้ Facebook ใช้ Line เราสนใจไหมว่าระบบรันมาจากที่ไหน ตราบใดที่ตอบโจทย์เราได้ ระบบทำงานอย่างต่อเนื่องไม่ล่ม เราก็พอใจและยินดีที่ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

การมี  Server  ของตัวเองบ่อยครั้งเราก็จะจัดหา  Server  มาแล้วก็เห็นเครื่องเพียงแค่ไม่กี่ครั้ง ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ใน  Data Center  แล้วเราก็็แทบจะไม่เคยเห็นเครื่องอีกเลยยกเว้นว่าจะมีปัญหาเราถึงจะเข้าไปดูว่าเกิดอะไรขึ้น ลองจินตนาการว่าถ้าเราใช้ Cloud แล้วระบบไม่เคยล่ม เราก็คงไม่มีเหตุที่จะต้องเข้าไปดู หรือถ้ามีปัญหาแล้วเราสามารถติดต่อผู้ให้บริการมาแก้ปัญหาให้เราได้ เราก็ไม่ต้องไปกังวลอะไร

ส่วนเรื่อง  Data  อาจมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาเพราะ  ข้อมูลเราย้ายไปอยู่บน Cloud  ถึงแม้ผู้ให้บริการจะไม่มายุ่งเกี่ยวกับข้อมูลของเรา แต่การสำรองข้อมูลสำหรับเก็บไว้ใช้เองในอนาคตอาจเป็นหน้าที่ของเราเอง เพราะเมื่อเราเลิกใช้บริการ Cloud หรือจะย้ายผู้ให้บริการเป็นเจ้าอื่นก็เป็นหน้าที่ของเราต้องจัดการเรื่องข้อมูลเอง

เราควรเลือกผู้ให้บริการ   Cloud อย่างไร

ปัจจุบันเรามีผู้ให้บริการ Data Center หรือ  Software  จำนวนมากที่พยายามบอกว่าตัวเองเป็นผู้ให้บริการ  IaaS หรือ  SaaS  ผู้ให้บรืการ  Data Cenetr บางรายก็อาจทำแค่  Virtualization ผู้ให้บริการ  Software  บางรายก็อาจเป็นแค่  Web Application ที่โฮสต์อยู่บน  Server ตัวเองไม่สามารถขยายได้โดยง่ายและไม่เสถียร

การจะเลือกผู้ให้บริการ Cloud จึงจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลต่างๆให้ดีโดยอาจต้องดูข้อมูลต่างๆเช่น

  • ข้อมูลด้าน  Data Center  จำนวน  Server ที่ใช้
  • Technology  ด้่าน Cloud Computing  ที่ใช้
  • ลูกค้่าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
  • การรับประกันเรื่อง  Reliability/Uptime
  • มาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอื่นๆของผู้ให้บริการ
  • ข้อตกลงการใช้บริการ
  • ความน่าเชื่อถือและมั่นคงของผู้ให้บริการ

ประเด็นสำคัญในการเลือกใช้บริการ  Cloud  จึงอยู่ที่มีข้อตกลงการใช้บริการ  (SLA: Service Level Agreement)  ทีดี ประเด็นนี้เราต้องรอบคอบและควรศึกษาให้ละเอียด เพื่อจะได้ดูว่าผู้บริการรับรองการบริการเพียงใด หากมีข้อเสียหายจะรับผิดชอบเพียงใด

ประเด็นหนึ่งเรื่องผู้ให้บริการ  IaaS Public Cloud หลายคนจะเห็นว่าราคาของผู้บริการต่างประเทศจะราคาถูกกว่าของผู้ให้บริการในประเทศ ข้อนี้จริงอยู่เพราะระบบของผู้ให้บริการต่างประเทศมีขนาดใหญ่ มีความสมบูรณ์และบริการที่หลากหลายกว่า มีลูกค้าจำนวนมากกว่า แต่ก็จะติดเรื่องของการ  Support และการบริการที่ถ้าเราใช้บริการจากผู้ให้บริการในประเทศ เราอาจได้บริการที่เข้าถึงได้ง่ายกว่า

บทสรุปเราจะใช้บริการรายใดก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเราเองอยู่ที่ความพร้อมด้านบุคลากรของเรา งบประมาณ และประเภทของการบริการ