Cloud Storage มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

องค์ประกอบของระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ

ระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญคือ

· อินเตอร์เน็ตที่มีช่องสัญญาณสูงจนเกือบจะไม่มีจำกัด (Nearly unlimited bandwidth)

· เทคโนโลยีระบบเสมือนจริง (Increasingly sophisticated virtualization technologies)

· สถาปัตยกรรมเครือข่ายที่รองรับการเข้าถึงพร้อมกันจำนวนมาก (Multitenant Architectures)

· ลักษณะการใช้งานได้ของเซิรฟ์เวอร์ประสิทธิภาพสูง (Availability of extremely powerful servers)

จุดเด่นของ Cloud Computing

1) Agility : มีความรวดเร็วในการใช้งาน

2) Cost : ค่าใช้จ่ายน้อย หรืออาจไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับ Client

3) Device and Location Independence : ใช้ได้ทุกที่แค่มีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต

4) Multi-Tenancy : แบ่งการใช้ทรัพยากรให้ผู้ใช้จำนวนมากได้

5) Reliability : มีความน่าเชื่อถือ

6) Scalability : มีความยืดหยุ่น

7) Security : มีความปลอดภัย

8) Sustainability : มีความมั่นคง


ข้อดีของ Cloud Computing

1) ลดต้นทุนค่าดูแลบำรุงรักษาเนื่องจากค่าบริการได้รวมค่าใช้จ่ายตามที่ใช้งาน จริง เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าซ่อมแซม ค่าลิขสิทธิ์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าอัพเกรด และค่าเช่าคู่สาย เป็นต้น

2) ลดความเสี่ยงการเริ่มต้น หรือการทดลองโครงการ

3) สามารถลดหรือขยายได้ตามความต้องการ

4)ได้เครื่องแม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพ มีระบบสำรองข้อมูลที่ดี มีเครือข่ายความเร็วสูง

5) อยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ

ข้อเสียของ Cloud Computing

1) จากการที่มีทรัพยากรที่มาจากหลายแห่ง จึงอาจเกิดปัญหาด้านความต่อเนื่องและความรวดเร็ว

2) ยังไม่มีการรับประกันในการทำงานอย่างต่อเนื่องของระบบและความปลอดภัยของข้อมูล

3) แพลทฟอร์มยังไม่ได้มาตรฐาน  ทำให้ลูกค้ามีข้อจำกัดสำหรับตัวเลือกในการพัฒนาหรือติดตั้งระบบ site

4) เนื่อง จากเป็นการใช้ทรัพยากรที่มาจากหลายที่หลายแห่งทำให้อาจมีปัญหาในเรื่องของ ความต่อเนื่องและความเร็วในการเข้าทรัพยากรมากกว่าการใช้บริการHost ที่ Local หรืออยู่ภายในองค์การของเราเอง

Cloud Storage คือการเก็บข้อมูลบนเครื่อง Server และอยู่ในโลกออนไลน์ที่เราเรียกว่า Cloud ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในการเรียกดูและใช้งานข้อมูลบน Cloud ซึ่งอาจจะเก็บข้อมูลไว้ใน server หลาย ๆ ตัว โดยกระจายข้อมูลออกเป็นเครื่องละเล็กละน้อย ผู้ให้บริการคลาวด์ (Host) จะดูแลเป็นคนจัดการบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถลดต้นทุนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้ 

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีที่จะตอบรับกับสถานการณ์ยุค Big data ที่มีข้อมูลขนาดใหญ่ นั่นคือ Cloud storage ที่เป็น Software Defined Storage โดยหลักการง่าย ๆ ของ software defined storage คือ การรวมศูนย์ควบคุมให้เป็นจุดเดียวแล้ว Virtualize Storage Layer แบ่งเป็น pools ตามจุดประสงค์การใช้งานที่ต้องการ

Cloud Storage มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

รูปที่ 1 แสดง Infratructure แบบเก่า (ด้านบน) และแบบใหม่ที่ใช้ Software Defined Storage (ด้านล่าง)

ซึ่งจะพบว่าในระบบแบบเดิม แต่ละ Application จะมี Storage Tier เป็นของตัวเองและแยกจากกันโดยสมบูรณ์ ทำให้ Cluster ตรงกลางสองอัน มีปริมาณการใช้งานจนเต็มหรือเกือบเต็มแต่ว่า ใน Cluster ด้านข้างทั้งสองอันยังเหลือพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อยู่ Action ที่ทีม Infra ขององค์กรจะต้องทำคือ ต้องขยาย พื้นที่ในส่วนของ Cluster ตรงกลางสองอัน ทั้งที่ยังมีพื้นที่เหลือให้ใช้งานในระบบโดยรวมด้วยซ้ำ นอกจาก Cost ที่ต้องซื้อเพิ่มแล้ว ในแง่ของการใช้งานทรัพยากรให้คุ้มค่าก็ล้มเหลวอีก 

 

แต่หากเป็น Software Define Storage ปัญหานี้ก็จะหมดไป เนื่องจากใน Software Define Storage เรารวมศูนย์การควบคุม Storage Tiers ของทุก Application มาไว้ที่จุดเดียวกันแล้ว ทำให้เราสามารถ manage ได้อย่างอิสระว่า Application ตัวไหนเราจะให้พื้นที่เท่าไหร่ QoS แบบไหนและเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบภาพด้านบนขึ้นเราก็สามารถโยกย้ายพื้นที่ที่ยังไม่ถูกใช้งานไปให้กับส่วนที่ต้องการการใช้งานเยอะได้ทันทีโดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มเฉพาะจุด ภาพที่ทางฝ่าย Infrastructure จะมอง Capacity ของระบบก็จะเป็นภาพใหญ่ๆ ภาพเดียว ลดความยุ่งยากในการบริหารจัดการได้อีกด้วย

ความแตกต่างระหว่าง Traditional Storage กับ Software Defined Storage

Cloud Storage มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

รูปที่ 2 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง Traditional Storage กับ Software Defined Storage

ภาพรวมความแตกต่างระหว่าง Traditional Storage กับ Software Defined Storage (SDS) สามารถสรุปได้ดังนี้

  1. ในส่วนของ architecture แบบดั้งเดิม architecture ของแต่ละ application จะแยกจากกันชัดเจน ก้อนใครก้อนมัน แต่ว่าถ้าเป็น SDS ตัว Storage Tier จะเป็น pooled ที่ใช้งานร่วมกันโดยมีหน่วยบริหารจัดการเดียวกันในทุก Application
  2.  ในระบบแบบดั้งเดิมเนื่องจากการที่ศูนย์ควบคุมของแต่ละ application มันแยกกันทำให้การดีไซน์ระบบจะต้องคำนึงถึงความเข้ากันได้ของ Hardware ค่อนข้างเยอะซึ่งอาจจะนำไปสู่สถานการณ์ที่เรียกว่า Vendor Lock-in ได้ ขณะเดียวกัน ถ้ารวมศูนย์บริหารจัดการของทุก application มาไว้ที่เดียว อิสระในการเลือกและขยายจำนวน Hardware ก็จะมีมากขึ้นไม่ถูกจำกัดอีกต่อไป
  3. เป็นเรื่องของการกระจาย Workload ถ้าเป็นแบบดั้งเดิม Workload และ Capacity จะไป Overload อยู่ในจุดที่ถูกใช้งานมากและบริหารจัดการ Load ได้ค่อนข้างยาก แต่ว่าถ้าเป็น SDS เราจะสามารถบริหารจัดการ Workload ให้กระจายไปทั่วทั้ง Cluster ได้ดังรูปที่ 1

และนี่ก็คือสรุปภาพรวมข้อดีและข้อเสียของ SDS ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาของการดีไซน์ Cloud Storage Infrastructure ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีอีก 1 การทำนายที่น่าสนใจ เมื่อ Gartner ทำนายไว้ว่าภายในปี 2024 หรืออีกสองเกือบสามปีต่อจากนี้ 50% ของ Storage ทั้งหมดจะถูก Deploy แบบ SDS

อย่างไรก็ตาม เรามีความเชื่อมั่นว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โลกของเราจะถูกขับเคลื่อนด้วย data และสิ่งที่สำคัญทีสุดคือ Cloud Storage หรือ Storage ขนาดมหึมา เหตุผลที่เรามีความเชื่อเช่นนั้นเนื่องจากการที่เราจะประสบสำเร็จในการทำ AI ได้ นั้น จำเป็นต้องมีข้อมูลมหาศาล และการจะมีข้อมูลมหาศาลได้นั้นจำเป็นต้องมีที่เก็บในต้นทุนต่ำ และ Software defined storage จะเป็น Cloud storage ที่สามารถตอบโจทย์นี้ได้อย่างดีที่สุด 

ข้อเสียของระบบ Cloud Storage คืออะไร

ข้อเสียของ Cloud Storage 1. จำเป็นต้องใช้งานผ่านการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเท่านั้น ถ้าไม่มีอินเตอร์เน็ตในบริเวณนั้น ก็ไม่สามารถใช้งานข้อมูลใน Cloud ได้ 2. มีค่าใช้จ่ายจากการจัดเก็บ

ข้อดีของ "Cloud" มีอะไรบ้าง

Cloud หรือ Cloud Computing คือ ระบบที่ช่วยให้การใช้งานด้านต่างๆ เช่น ระบบการเก็บข้อมูล การติดตั้งฐานข้อมูลหรือระบบภายในให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสามารถปรับเพิ่ม-ลดพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลได้ตามการใช้งานจริง ยืดหยุ่นได้ทุกเวลา ช่วยลดต้นทุนธุรกิจและรองรับการขยายตัวของธุรกิจในอนาคต Cloud จึงกลายมาเป็น ...

Cloud Computing มีข้อดี ข้อเสสีย อย่างไร

1) ลดต้นทุนค่าดูแลบำรุงรักษาเนื่องจากค่าบริการได้รวมค่าใช้จ่ายตามที่ใช้งาน จริง เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าซ่อมแซม ค่าลิขสิทธิ์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าอัพเกรด และค่าเช่าคู่สาย เป็นต้น 2) ลดความเสี่ยงการเริ่มต้น หรือการทดลองโครงการ 3) สามารถลดหรือขยายได้ตามความต้องการ

Cloud Storage ดียังไง

ประโยชน์ของการใช้งาน Cloud Storage สามารถเข้าถึงไฟล์ต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา สามารถเพิ่มขนาดจัดเก็บไฟล์ได้ คุ้มค่ามากกว่าการซื้ออุปกรณ์จัดเก็บไฟล์อย่างพวกฮาร์ดดิสก์ ไม่มีความเสี่ยงกับในเรื่องของอุปกรณ์จัดเก็บไฟล์เสีย