หน่วยงานใดที่ดูแลรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยโดยตรง

หมวดหมู่

ข่าวสาร

ข่าวประชาสัมพันธ์

รับสมัครงานและประกาศผล

ประกาศงานบุคคล

อบรม / สัมมนา

นิทรรศการ

ภาพกิจกรรม

สถานการณ์น้ำ

รายงานสถานการณ์น้ำประจำวัน

รายงานสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยน้ำหลากในเขตพื้นที่ลาดเชิงเขา

รายงานสถานการณ์น้ำสถานีลุ่มน้ำ

รายงานระดับน้ำ CCTV

รายงานเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์และแจ้งข้อมูลการเตือนภัย

รายงานการเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำ 24 ชั่วโมง

สถานการณ์ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำขนาดเล็ก ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สถานการณ์ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำขนาดเล็ก ในพื้นที่ภาคเหนือ

สถานการณ์ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำขนาดเล็ก ในพื้นที่ภาคตะวันตก

รายงานความช่วยเหลือ

ข้อมูลน่ารู้

คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน

คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ

ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ

รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ

มาตรการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ

มาตรการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม

บทความ

งานวิจัย

ข้อมูลเกษตรแปลงใหญ่

การเรียนรู้ด้วยตนเอง

เอกสาร/วีดีทัศน์ เผยแพร่

ดาวน์โหลด

รวมลิงค์

หน่วยงานภายใน

กระทรวง

หน่วยงานอื่นๆ

สมาคม/มูลนิธิ/เครือข่าย

นโยบายและมาตรฐานภาครัฐ

บริการภาครัฐ

เลือกทั้งหมด

       

ปัญหาความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมส่งผลให้ทั้งภาครัฐและเอกชนของประเทศต่างๆ  ทั่วโลกให้ความสำคัญต่อการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นที่

ตัวอย่างขององค์กรทั้งในและต่างประเทศต่อไปนี้ เป็นองค์กรที่ทำงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีบทบาทและมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับประเทศไทย  และได้รับการยอมรับในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ  ในปัจจุบัน

2.1 องค์กรในประเทศที่มีบทบาทในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

คำว่า  องค์กรในประเทศ ในที่นี้ หมายถึง  องค์กรที่ทำงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลเ้อม ทั้งที่เป็นองค์กรของรัฐ องค์กรของประชาชน แลัองค์กรของเอกชนที่มีจุดเริ่มต้นภายในประเทศไทย ส่วนองค์กรอื่นแม้จะมีสถานที่ตั้งในประเทศไทย แต่เป็นเพียงสาขาขององค์กรที่มีจุดเริ่มต้นภายนอกประเทศ องค์กรดังกล่าวเหล่านี้จะถือว่าเป็นองค์กรการจากต่างประเทศ

สำหรับประเทศไทย องคืกรที่มีบทบาทในการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีหลายองค์กรและหลายรูปแบบบ ในที่นี้กล่าวถึงองค์กร 2 กลุ่ม คือ องค์กรภาครัฐกับองค์กรประชาชนและองค์กรเอกชน

2.1.1 องค์กรภาครัฐ

องค์กรภาครัฐที่ดำเนินในด้านดารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยตรงในปัจจุบัน คือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประทรวงที่ตั้งขึ้นมาใหม่ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 โดยมีการยุบรวมและการจัดระบบงานที่เกี่ยวข้องกับในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่กระจายอยู่ในหน่วยงานอื่นให้เข้ามาร่วมกันเพื่อจัดระบบพันธกิจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

อำนาจและหน้าที่ ในหมวด 9 มาตรา 22 ของรพะราชบัญญัติปรับปรุ่งกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสงวน อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมาชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่าของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

จากภารกิจที่ได้รับมอบหมาย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจึงได้กำหนดนโยบายการดำเนินงาน ประเด็นยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานไว้ดังนี้

1. อนุรักษ์ ฟื้นฟูและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภท ทั้งดิน ป่าไม้ และ สัตว์ป่า ที่ตอบสนองต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2. อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและ ชายฝั่งอย่างยั่งยืน

3. บริหารจัดการเพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรธรรชาติอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน

4. การบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการให้มีการจัดการน้ำในรดับทั้งประเทศทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินอย่างมีประสิทธิภาพ

5. พัฒนาระบบบริหารจัดการพิบัติภัย พัฒนาระบบเตือนภัยทางธรรมชาติและสาธารณภัย

6. พัฒนาเครื่องมือและกลไกในการดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและจัดการมลพิษ

7. พัฒนาองค์ความร๔ู้และกลไกในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ

8. สร้างความตระหนัก จิตสำนึก และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2.1.2 องค์กรประชาชนและองค์กรเอกชน

องค์กรประชาชน หมายถึง องค์กรที่เกิดจากการรวมตัวของประชาชนในหมู่บ้านหรือในท้องถิ่น ที่มีเจตคติด้านการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนและท้องถิ่น ร่วมกัน องค์กรชุมชนบ้านเป็นองค์กรที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนตามกฎหมาย

องค์กรเอกชน หมายถึง องค์กรที่จัดตั้งจากการรวมตัวของเอกชนโดยมรการจดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

ทั้งองค์กรประชาชนและองค์กรเอกชนในประเทศไทยเริมมีบทบาทมากขึ้นสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์กรณีลักลอบการล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าใหญ่นเรศวร เมื่อ พ.ศ.2516 ซึ่งนับตังแต่นั้นมาประชาชนและองค์กรเอกชนเริ่มให้ความสนใจต่อเรื่องการรรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น

1. บทบาทองค์กรประชาชนและองค์กรเอกชนในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย

ภาคเหนือ เป็นภาคที่มีกลุ่มและเครือข่ายองค์กรประชาชนและองค์กรเอกชนที่มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง กิจกรรมที่ประสบความสำเร็จในด้านการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เห็นได้อย่างชัดเจน ได้แก่ การมีส่วนร่วมขององค์กรชาวบ้านและองค์กรพัฒนาเอกชนในการร่วมกันอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ตลอดจนการร่วมกันจัดการป่าชุมชน

องค์กรประชาชนและองค์กรเอกชนที่สำคัญในภาคเหนือมีหลายองค์กร เช่น กลุ่มฮักป่าเชียงดาว กลุ่มฮักเมืองน่าน คระกรรมการชาวบ้านอนุรักษ์และฟื้นฟูลุ่มน้ำโขง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภาคที่มีการเคลื่อนไหวขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและจัดการสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการรวมกลุ่มเพื่อการจัดการกับปัญหาทรัพยากรพื้นฐานที่เกียวข้องกับอาชีพ

องค์กรประชาชนและองค์กรเอกชนที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการเคลื่อนไหวและแสดงบทบาทที่สำคัญ เช่น องค์ฏรสมัชชาคนจนภาคอีสาน กลุ่มสมาพันธ์เกษตรกรฝายราษีไศล กลุ่มสมัชชาเกษตรกรภาคอีสาน คณะกรรมการเครือข่ายลุ่มน้ำมูล ซึ่งเป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวกันของชาวบ้านที่อาศัยตั้งแต่ต้นแม่น้ำมูล

ภาคใต้ เป็นภาคที่มีชุมชนมีควาสมเป็นท้องถิ่นสูง จากสภาพดังกล่าว ก่อให้เกิดกระบวนการพัฒนาการรวมกลุ่มที่มีคุณภาพ จนก่อให้เกิดเครือข่ายขององค์กรประชาชนที่เข้มแข็งใต้ชื่อสมาพันธ์ประมงพื้นบ้านใต้ นอกจากนี้ยังมีการรวมตัวกันจัดตั้งชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเมืองหลักชายฝั่งทะเล 5 จังหวัด ประกอบด้วย ภูเก็ต นครศรีธรรมราช ตรัง และสุราษฎร์ธานี

ภาคตะวันออก เป็นภาคที่มีการรวมตัวกันของประชาชนในท้องถิ่นจนเป็นองค์กรประชาชนที่มีบทบาทในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรชาวบ้านที่มีบทบาทและผลงานที่สำคัญ เช่น ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเมืองกาญจนบุรีกับผลงานในการรณรงค์เรียกร้องให้มีการระงับการก่อสร้างเขื่อินน้ำโจนในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร กลุ่มคนรักเมืองเพชร จังหวัดเพชรบุรีกับการจัดกิจกรรมสร้างความสนใจและกระตุ้นให้ชุมชนเกิดความคิดในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2. ตัวอย่างองค์กรเอกชนเพื่อการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1. มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งชาติแห่งประเทศไทย ในพระบรม ชินูปถัมภ์ มูลนิธินี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติให้คงไว้ซึ่งความหลากหลายของพรรณพืชและพันธุ์สัตว์รวมทั้งสภาวะสมดุลของธรรมชาติ เพื่อคุณค่าของชีวิตและความสำเร็จจากการพัฒนาประเทศในระยะยาวต่อไป

2. มูลนิธิสืบนาคะเสถียร มูลนิธินี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการก่อให้เกิดความรู้ความคิดเห็นและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ประชาชนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่เขตป่าอนุรักษ์ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า ให้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้น

3. สมาคมหยาดฝน สมาคมหยาดฝนเป็นองค์กรเอกชนที่วัตถุประสงค์มุ่งส่งเสริมและดำเนินการพัฒนาชนบท เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการพึ่งพาตนเองของชุมชน โดยสนับสนุนให้องค์กรชุมชนเกิดจิตสำนึกและตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรในท้องถิ่น และสร้างศักยภาพให้องค์กรชุมชนมีขีดความสามารถในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น โดยเฉพาะความหลากหลายทางชีวะภาพของทรัพยากรธรรมชายฝั่ง ป่าชายเลนชุมชนและวิถภีการประมงพื้นบ้าน รวมทั้งการส่งเสริมอาชีพท้องถื่นควบคู่ไปกับอนุรักษ์

4. มูลนิธิเพื่อนช้าง มูลนิธินี้มีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยเหลือช้างให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถดำรงพันธุ์และปรับตัวในสภาพธรรมชาติได้ นอกจากนี้ยังช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับช้างและเผยแพร่ข้อมูลรายงานสถานการณ์ช้าง ความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับช้างสู่สาธารณชน ตลอดจนช่วยเหลือผู้มีอาชีพเกี่ยวข้องกับช้าง  เช่น ผู้เลี้ยงช้่าง นักวิจัยช้าง สัตวแพทย์ช้าง

2.2 องค์กรต่างประเทศที่มีบทบาทในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

องค์กรนอกภาครัฐจากต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินกิจกรรมในประเทศไทยแบ่งตามจุดมุ่งหมายในด้านการดำเนินงานได้ 2 ลักษณะสำคัญ คือ เน้นการทำงานในด้านสิทธิมนุษยชนและเน้นการพัฒนาในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันองค์กรภาครัฐมีแนวโน้มในการบูรณาการและดำเนินกิจกรรมทั้งสองลักษณะเข้าด้วยกัน

ตัวอย่างองค์กรนอกภาครัฐจากต่างประเทศที่มีการดำเนินการด้านทรัพยากรธรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย เช่น 

1. องค์กรกรีนพืช เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนนานาชาติที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้หวังผลกำไร และไม่รับการสนับสนุนทางด้านการเงินจากภาครัฐหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการทำงานการเมืองต่างๆ แต่จะรับการสนับสนุนเฉพาะจากกลุ่มเอกชน และดอกผลจากกองทุนที่ตั้งไว้เท่านั้น โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อการฟื้นฟูสิ่งมีชีวิตในโลกให้มีความเข้มแข็ง ดำรงไว้ซึ่งความหลากหลายทางด้านชีวภาพและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

ตั้งแต่ พ.ศ. 2541 ที่กลุ่มกรีนพืชเริ่มแสดงบทบาทเพื่อให้มีการยุติการทดลองระเบิดนิเวคลียร์ของสหรัฐอเมริกาที่เกาะแอมซิตกา เป็นต้นมา กรีนพืชได้รณรงค์และดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับบทบาทของการป้องกันสิ่งแวดล้อมของโลกอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการทำงานที่เกี่ยวกับการรณรงค์ในด้านปัญหาของสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าที่เกิดขึ้นในแหล่างต่างๆ ของโลก ปัญหาการใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรที่เกินความจำเป็นปัญหาการเปลี่ยยนแปลงภูมิอากาศของโลก ตลอดจนการดำเนินโครงงานในการรณรงค์ปกป้องสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ โดยขจัดแหล่งกำเนินของมลพิษตกค้าง การปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล และความพยายามในการทำให้สาธารณชนสนใจต่ออันตรายด้านสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตที่ผ่านมากระบวนการทางพันธุวิศวกรรม โดยเฉพาะกระบวนการที่นำใช้ในการผลิตอาหาร

สำหรับประเทศไทย องค์กรกรีนพืชได้ให้ความสำคัญในการลือกประเทศไทยเป็นที่ตั้งสำนักงานเพื่อการประสานงานกับองค์กรกรีนพืชในเนเธอร์แลนด์ และการรณรงค์เกี่ยวกับปัญหาทางด้านมลพิษที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้จัดตั้งสำนักงานขึ้นในกรุงเทพมหานครใช้ชื่อว่า กรีนพืช เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2544

กรีนพืช เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เริ่มรณรงค์ด้านมลพิษและการเปลียนแปลงของสภาพแวดล้อมต่างๆ ในประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนามโดยจัดการรณรงค์เกี่ยวกับการยับยั้งการเคลื่อนย้ายกากสารพิษ  กากกัมมันตภาพรังสีข้ามพรมแดน และรณรงค์ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงภัยจากการใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะสมในการจัดการของเสียนอกจากนี้ยังมีการรณรงค์เกี่ยวกับเรื่องความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น ด้วยการกระตุ้นให้สาธารณชนได้ตระหนักในปัญหาที่เกิดขึ้น การรณรงค์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวทางของนโยบายด้านสังคมของภูมิอากาศในอนาคต โดยผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไปใช้เชื้อเพลิงที่เป็นพลังงานสะอาดและยั่งยืน เช่น การสนับสนุนนโยบายและโครงการพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์

ในประเทศไทย กรีนพืช เอเชียตะวันออกฌแียงใต้ได้ดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้

1.) รณรงค์ต่อต้านการจัดสร้างเตาเผาขยะที่ไม่ได้มาตฐาน ซึ่งส่งผลให้เกิดมลภาวะจากการปล่อยสารไดออกซิน ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ที่ปนเปื้อนออกสู่บรรยากาศ โดยรณรงค์ในจังหวัดภูเก็ตและกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นตัวอย่างให้จังหวัดอื่นๆ ได้ตระหนักและเกิดจิตสำนึกในเรื่องดังกล่าว

2.) รณรงค์ให้คนไทยลดการใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ได้ชื่อว่าเป็นพลังงานสกปรก แล้วแทนที่ด้วยพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ ลม และก๊าซชีวภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาภาะวะโลกร้อน 

3.) รณรงค์ให้เกิดความตระหนักถึงมวลภาวะทีเป็นพิษจากการใช้สารเคมี

4.) รณรงค์ให้คนไทยตื่นตัวกับการนำเอากระบวนการทางพันธุวิศวกรรมสร้างพันธุ์แล้วนำมาปลูกในพื้นที่ของประเทศไทย

2. กองทุนสัตว์ป่าโลก มีวัตถุประสงค์ในการทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่มีเครือข่ายในประเทศต่างๆ 

กองทุนสัตว์ป่าโลกปัจจุบันดำรงสถานะเป็นองค์กรที่ให้คำปรึกษาแก่สมัชชาเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติลำดับแรก นับตั้งแต่การก่อตั้งเป็นต้นมา กองทุนสัตว์ป่าได้ดำเนินโคงการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากกว่า 12000 โครงการใน 153 ประเทศทั่วโลก และได้ขยายเครืือข่ายจากกองทุนสัตว์ป่าโลกออกไปเป็นหน่วยงานบริหารและปฏิบัติการต่างๆ เช่น องค์กรระดับชาติ องค์กรภาคีรวมสำนักงานบริหารโครงการและสำนักงานดำเนินโครงการจนเป็นที่ยอมรับและได้รับการสนับสนุนจากทั้งหน่วยงานภาครัฐบาล องค์ฏรระหว่างประเทศ บริษัทเอกชนและสมาชิกทั่วไป

ใน พ.ศ. 2546 กองทุนสัตว์ป่าโลก ได้ประกาศให้ผืนป่า 200 แห่งทัวโลกเป็นพื้นที่ป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่ต้องมีการป้องกันและรักษาไว้ โดยกองทุนสัตว์ป่าโลกได้เข้าไปมีส่วนร่วมสนับสนุนดูแลพื้นที่ดังกล่าว ตลอดจนรณรงค์ให้ประชาชนและองค์กรต่างๆ รวมทั้งรัฐบาลของประเทศที่เกี่ยวข้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิบัติอย่างจริงจัง

ปัจจุบันโครงการกองทุนสัตว์ป่าโลกดำเนินการอนุรักษ์และแก้ปัญหาในด้านต่างๆ

1.) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

2.) ป่าไม้

3.) น้ำจืด

4.) ทะเล

5.) พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์

6.) การพัฒนาที่ยั่งยืน

สำหรับบทบาทของกองทุนสัตว์ป่าโลกในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2519 ในรูปแบบของการเสนอข่าวสารเพื่อการกระตุ้นเตือนในเรื่องการพัฒนาประเทศที่ต้องกระทำควบคู่ไปพร้อมกับการรักษาสภาพแวดล้อมและธรรมชาติให้อยู่คู่กัน ต่อมากองทุนสัตว์ป่าโลกได้เริ่มมีบทบาทในไทยมากยิ่งขึ้น โดยในระหว่าง พ.ศ. 2528-2537 กองทุนสัตว์ป่าโลกได้เข้ามาให้การสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแหงประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์หลายโครงการ ได้แก่ โครงการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและชายฝั่ง โครงการพระพุทธศาสนากับการอนุรักษ์ธรรมชาติ และยังได้สนับสนุนงานวิจัยด้านสัตว์ป่าและพืชป่าอีกหลายโครงการ

พ.ศ. 2526 กองทุนสัตว์ป่าโลกได้เข้ามาจัดตั้งสำนักงานเพื่อดำเนินงานขึ้นในประเทศไทยโดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่จังหวัดปทุมธานี ตลอดจนได้เริ่มโครงการอันเกื้อกูลประโยชน์แก่ระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านยอีกหลายโครงการ ได้แก่ โครงการอนุรักษ์แม่น้ำโขง โครงการอนุรักษ์ภูมิภาคทางนิเวศทิวเขาถนนธงชัยและทิวเขาตะนาวศรี โครงการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและชายฝั่งทะเล โครงการพัฒนาชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ป่าภูหลวง

องค์กรใดที่มีบทบาทปกป้องสิ่งแวดล้อม

WWF เป็นองค์กรเอกชนที่ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เริ่มเข้ามาสนับสนุนงานในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 โดยการสนับสนุนมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จนกระทั่งปี พ.ศ.2536.

องค์กรใดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของไทยในระดับปฏิบัติงาน

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อม ได้ดำเนินการสนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ดำเนินการรับจดทะเบียนองค์กรเอกชนเพื่อเป็นองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตามกฎกระทรวง ...

หน่วยงานใดของไทยที่ดูแลรับผิดชอบในการจัดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

เพื่อการจัดการการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และส่วนราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากภารกิจที่ได้รับมอบหมาย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงได้กำหนดนโยบายการดำเนินงานไว้อย่างชัดเจน ที่จะดำเนินการ ...

การจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของใคร

ปัจจุบันองค์กรที่ดำเนินการโดยตรงคือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสงวนอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ ...

องค์กรใดที่มีบทบาทปกป้องสิ่งแวดล้อม องค์กรใดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของไทยในระดับปฏิบัติงาน หน่วยงานใดของไทยที่ดูแลรับผิดชอบในการจัดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน การจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของใคร ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คนปัจจุบัน คือใคร ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2564 องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม มีอะไรบ้าง โครงสร้าง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานและองค์กรทางสิ่งแวดล้อม องค์กรสิ่งแวดล้อมภาครัฐ มีอะไรบ้าง สํานักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน้าที่ คําสั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2564