Cloud Computing แยกตามกลุ่มผู้ใช้ได้กี่แบบ อะไรบ้าง

3+1 Types of Cloud Computing Services (IaaS-PaaS-SaaS-FaaS)

Photo by Vladimir Anikeev on Unsplash

ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการคลาวด์ หรือที่เรียกกันว่า Cloud Provider อยู่มากกว่า 20 เจ้า แต่ที่เราคุ้นหูคุ้นตากันดีก็คงเป็นสามเจ้ายักษ์ใหญ่ ที่ติดอันดับเป็น “Big Three” ของวงการคลาวด์ นั่นก็คือ Amazon Web Service (AWS), Google Cloud Platform (GCP) และ Microsoft Azure ซึ่งแต่ละเจ้าก็จะให้บริการคลาวด์ที่แตกต่างกันไป

อ้อ! ขอย้ำว่า นี่เรากำลังพูดถึง “ประเภทบริการคลาวด์” ไม่ใช่ “ประเภทของคลาวด์” นะ

Cloud Computing Service Types

ทีนี้เรามาทำความรู้จักประเภทของ Cloud Service กันดีกว่า ซึ่งบางครั้งพวกฝรั่งเขาก็เรียกกันว่า Cloud Computing Stack เผื่อใครเอา keyword ไปใช้ research ต่อ โดยทั่วไปจะแบ่งประเภทบริการคลาวด์ออกเป็น 3+1 ประเภท

ทำไมต้องบวกหนึ่ง?
ก็เพราะว่า.. ถ้าเอาแบบหลักๆ จริงๆ ที่คนพูดถึงบ่อยๆ จะมีแค่ 3 ประเภทแรก ส่วนข้อสี่ที่บวกเพิ่มมานั้นเหมือนมันเป็นตัวย่อยแยกออกมาทีหลังนั่นเอง

Step ถัดไป เพื่อให้สมองเรียบเรียงเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย เราต้องสร้างความคุ้นเคยกับชื่อ types ทั้งหมดก่อน โดยที่ยังไม่ต้องสนใจว่าแต่ละชื่อมันคืออะไร เริ่มค่ะ!!

  1. IaaS (Infrastructure as a Service)
  2. PaaS (Platform as a Service)
  3. SaaS (Software as a Service)
  4. FaaS (Functions as a Service)

อ่ะ! ก็ยังดูยาวๆ จำยากๆ อยู่ดีใช่มะ งั้นดูปาก thip นะคะ แล้วท่องตามวนไปค่ะ…

“ แอส-แพส-แซส-แฟส ”

“ แอส-แพส-แซส-แฟส ”

“ แอส-แพส-แซส-แฟส ”

Infra — Platform — Software — Function

บริการทั้งหมดนี้ ผู้ให้บริการคลาวด์บางเจ้า อาจจะเปิดทุก service ครอบคลุมทั้งสามสี่อย่างนี้ หรือบางเจ้าก็จะให้บริการแค่บางประเภท อันนี้ก็แล้วแต่เรา ว่าจะเลือกใช้บริการอะไร ของเจ้าไหน

source : en.wikipedia.org

Short Brief !!

ต่อไป สายย่อจะขอบรีฟใจความสำคัญสั้นๆ ของคลาวด์แต่ละประเภท ให้พอมองภาพออก

IaaS

  • เป็นบริการสายงาน Operation ล้วนๆ
  • อย่างพวก Server, Storage, VM, Network
  • ตัวอย่างผู้ให้บริการ: AWS, Microsoft Azure

PaaS

  • เป็นบริการสายงาน Development
  • ใช้ในการพัฒนาระบบ, ทดสอบระบบ, deploy ระบบทั้ง web/app/mobile ได้หมด
  • บริการที่มีให้ได้แก่ Web Server, Database, development runtime ต่างๆ
  • ตัวอย่างผู้ให้บริการ: AWS, Oracle Cloud, GCP, Azure, OpenShift, IBM Cloud

SaaS

  • เป็นบริการสำหรับ User
  • เน้นใช้งาน พูดง่ายๆ ก็ซอฟต์แวร์ทุกชนิดที่ออนไลน์อยู่บนคลาวด์
  • เช่น Office365, Google Doc, Webex

FaaS

  • เป็นบริการระดับ Function
  • คือมีแค่การทำงาน scope สั้นๆ เพียงอย่างเดียว เปิดรอไว้ให้ใครมาเรียกไปใช้งาน
  • เหมือนยก function ของ javascript ไป deploy อยู่บน cloud พอนึกภาพออกไหม๊คะ?
  • เช่น Google Cloud Function, Amazon Lambda

โดย cloud provider แต่ละเจ้าก็จะมี products ยิบย่อยและเยอะมากกก ชื่อผลิตภัณฑ์แต่ละเจ้าก็จะแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น Web Server ของ AWS จะชื่อ “EC2” แต่ถ้าเป็นของ Microsoft Azure จะชื่อ “App Service” ประมาณนี้

สรุป

สำหรับใครที่อ่านจบแล้ว แต่รู้สึกยังจำอะไรไม่ได้เท่าไหร่ เราแนะนำให้กลับมาอ่านวนไปวันละ 1 รอบ แล้วเลือกจำทำความเข้าใจแค่ครั้งละ 1 service

แต่ถ้าใครอ่านรอบเดียวแล้วรู้เรื่องงง นั่นแปลว่าเราบรีฟได้ดีมากกก555+ ไม่ต้องอ่านซ้ำแล้วก็ด่ะ แต่ก่อนออกไปกด clapsss ให้เรารู้หน่อย จะได้หาอะไรมาบรีฟบ่อยๆ เนอะ!

  • Cloud Computing แยกตามกลุ่มผู้ใช้ได้กี่แบบ อะไรบ้าง

เทคโนโลยีในการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์กำลังจะเปลี่ยนไป เปลี่ยนจากการที่ผู้ใช้งานต้องเตรียมหรือติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์เพื่อตอบสนองการทำงานไว้ที่สำนักงานด้วยตัวเอง ไปเป็นการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ Cloud Computing
Cloud Computing ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่เสียทีเดียว ในขณะนี้ Cloud Computing เป็นเทคโนโลยีที่พร้อมให้บริการแล้ว แต่อาจจะยังไม่แพร่หลายนักเนื่องจากกลุ่มผู้ใช้งานจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่รู้จักว่า Cloud Computing คืออะไร บ้างก็ยังไม่เข้าใจหรือยังมองไม่ออกว่า Cloud Computing จะให้ประโยชน์ต่อการดำเนินงานหรือธุรกิจขององค์กรได้อย่างไร
เช่นนั้นมาทำความรู้จักกับเทคโนโลยี Cloud Computing กันสักหน่อย
Cloud Computing เป็นเสมือนคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่เราใช้งานกันอยู่คือมีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการประมวลผลและเก็บข้อมูล แต่ Cloud Computing เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่มากๆ รองรับการใช้งาน การประมวลผล ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้อย่างมหาศาล
Cloud Computing สามารถจำแนกตามการใช้งานได้ 3 ประเภทคือ…

  • Infrastructure as a Service (IaaS) เป็นโครงสร้างพื้นฐานเหมือนกับระบบคอมพิวเตอร์คือ มีทั้งหน่วยประมวลผล ระบบเครือข่าย และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลให้ใช้งาน

  • Platform as a Service (PaaS) เป็นการใช้งานเกี่ยวกับแพลตฟอรม์ต่างๆ เช่น การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นหรือโมบายแอปพลิเคชั่น เป็นต้น

  • Software as a Service (SaaS) เป็นการใช้งานทางด้านซอฟต์แวร์ ซึ่งภายใต้ระบบหรือเทคโนโลยี Cloud Computing จะมีซอฟต์แวร์เฉพาะด้าน เช่น ซอฟต์แวร์ทางบัญชี ซอฟต์แวร์การบริหารจัดการโรงแรม และอื่นๆ ซึ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจประเภทต่างๆ ให้ใช้งาน

สรุปก็คือ Cloud Computing เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่พร้อมรองรับการทำงานของผู้ใช้งานในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นระบบเครือข่าย การจัดเก็บข้อมูล การทดสอบระบบหรือติดตั้งฐานข้อมูล หรือการใช้งานซอฟต์เฉพาะด้านในธุรกิจต่างๆ โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องติดตั้งระบบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไว้ที่สำนักงานให้ยุ่งยาก แต่สามารถใช้งานในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยการเชื่อมต่อกับระบบ Cloud Computing ผ่านอินเทอร์เน็ต
ในการเชื่อมต่อกับระบบหรือการใช้งานผ่าน Cloud นั้นแท้จริงไม่ใช่การทำงานผ่านก้อนเมฆหรืออากาศที่ไม่มีตัวตนแต่อย่างใด แต่เป็นการเชื่อมต่อกับศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือ Data Center ของผู้ให้บริการนั่นเอง ซึ่งศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์อยู่ภายใต้ระบบที่ีมีมาตรฐานและความปลอดภัยอย่างมาก
ไม่เพียงเท่านั้น การที่สามารถเชื่อมต่อและใช้งานระบบได้ผ่านอินเทอร์เน็ตทำให้การทำงานไม่ถูกจำกัดอยู่ในสถานที่หนึ่งสถานที่ใดอีกต่อไป แต่สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งโน้ตบุ้ก สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต
ในภาพรวมอาจจะดูเหมือนว่า Cloud Computing เป็นระบบที่เหมาะสำหรับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ แต่จริงๆ แล้ว Cloud Computing เหมาะสำหรับองค์กรธุรกิจทุกขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ เพราะบริการต่างๆ ของ Cloud Computing นอกจากแยกตามประเภทการใช้งานแล้ว ยังมีการคิดค่าบริการตามขอบเขตที่ใช้งานจริงของแต่ละองค์กรด้วย
เช่น บริการเกี่ยวกับ Cloud Computing ของ CS LOXINFO ในส่วนของซอฟต์แวร์อย่างแอปพลิเคชั่น More+ ซึ่งเป็นแอปพลิเคชั่นค้าปลีก แม้จะเป็นร้านค้าขนาดเล็กอย่างร้าน Kios ก็สามารถใช้งานได้ โดยมีค่าบริการเพียงหลักร้อยบาทต่อเดือนเท่านั้น
หรือบริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (Cloud Storage) อย่าง WeCloud ซึ่งช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลขององค์กรมีความสะดวกและความปลอดภัยมากกว่าการเก็บไว้ในฮาร์ดไดรฟ์ ผู้ใช้ก็สามารถเลือกใช้พื้นที่เท่าที่ต้องการและจ่ายค่าบริการตามที่ใช้งานจริง ซึ่งมีความคุ้มค่าอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับคุณสมบัติและประโยชน์ที่จะได้รับ

Cloud Computing แยกตามกลุ่มผู้ใช้ได้กี่แบบ อะไรบ้าง

Click image to preview

Cloud Computing แยกตามกลุ่มผู้ใช้มีกี่แบบอะไรบ้าง

Cloud Computing สามารถจำแนกตามการใช้งานได้ 3 ประเภทคือ… Infrastructure as a Service (IaaS) เป็นโครงสร้างพื้นฐานเหมือนกับระบบคอมพิวเตอร์คือ มีทั้งหน่วยประมวลผล ระบบเครือข่าย และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลให้ใช้งาน

Dropbox จัดเป็น Cloud Computing ประเภทใด

3.Cloudผสมผสาน เช่น Dropbox เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเก็บไพล์ส่วนบุคคล ผู้ใช้สามารถใส่ไพล์ใดๆ เข้าไปในพื้นที่ฝากไพล์ และสามารถโหลดจาก URL นั้นได้ นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งให้ผู้ใช้ทั่วไปดูหรือเลือกเฉพาะไพล์ที่ต้องการเผยแพร่ได้