หน้าที่ของ cloud computing

รู้จักคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)

       หากพูดถึงว่า คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) คืออะไร? หลายคนอาจจะนึกถึงแค่บริการพื้นที่ฝากไฟล์บนอินเทอร์เน็ต อย่าง iCloud บน iPhone, iPad หรือ Google Drive บน Android หรือ OneDrive บนมือถือ Windows Phone ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือบริการ Cloud Storage อันเป็นบริการ Cloud ประเภทหนึ่งเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้ว บริการ Cloud Computing มีความหมายกว้างขวางกว่านั้นมาก

       Cloud computing คือบริการที่ครอบคลุมถึงการให้ใช้กำลังประมวลผล หน่วยจัดเก็บข้อมูล และระบบออนไลน์ต่างๆจากผู้ให้บริการ เพื่อลดความยุ่งยากในการติดตั้ง ดูแลระบบ ช่วยประหยัดเวลา และลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเอง ซึ่งก็มีทั้งแบบบริการฟรีและแบบเก็บเงิน หรือพูดให้ง่าย Cloud Computing คือการที่เราใช้ซอฟต์แวร์, ระบบ, และทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยสามารถเลือกกำลังการประมวลผล เลือกจำนวนทรัพยากร ได้ตามความต้องการในการใช้งาน และให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลบน Cloud จากที่ไหนก็ได้ "Anywhere! Anytime!" คือทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าคุณจะอยู่ตรงไหนก็ตาม ขอแค่มี Internet กับ Computer คุณก็ทำงานได้แบบ 24/7 (24 ชั่วโมง 7วัน)

หน้าที่ของ cloud computing

           จากภาพด้านบนนี้ จะเห็นว่าด้านในของกรอบที่เป็นก้อนเมฆก็คือทรัพยากรของผู้ให้บริการที่มีทั้ง Hardware และ Software (ซึ่งก็ทำงานบน Hardware ของผู้ให้บริการเช่นกัน) ผู้ใช้บริการเพียงแค่ต่อเชื่อมเข้าไปใช้ผ่าน Network ด้วยเว็บบราวเซอร์ หรือ Client แอพพลิเคชั่น บนอุปกรณ์ต่างๆของตน เช่น มือถือ, Tablet, Notebook, หรือ Chromebook เป็นต้น

            Google Apps for Education เป็นชุดโปรแกรมการประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing) สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการทำงานร่วมกัน และเป็นซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์ที่ Google ให้บริการสำหรับสถานศึกษาใช้งานได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งชุดโปรแกรมนี้รวมเว็บแอปพลิเคชันยอดนิยมของ Google ต่างๆ เช่น Google Plus, Google Sites, Gmail, Google Calendar,Google Drive, Google Docs,Google Classroom  ผู้ใช้งานเพียงแค่เข้าถึง Application ผ่านระบบเครือข่ายด้วยเว็บบราวเซอร์ หรือ Client แอพพลิเคชั่น จาก Tablet, Notebook, หรือ smart phone ก้จะสามารถใช้งาน application ได้โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใด ๆ เพิ่มเติม (รวมถึงการกำลังประมวลผล หน่วยจัดเก็บข้อมูล จากทางฝั่ง google ด้วย )

 

หน้าที่ของ cloud computing

Cloud หรือ Cloud Computing คืออะไร 

         ก่อนเข้าสู่บทความอยากให้ทุกคนลองเข้าไปดู Video สั้นๆนี้เพื่อให้เข้าในพื้นฐาน และ Concept  ของ Cloud Computing กันก่อน 

         เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับ Concept ของ Cloud Computing หากเนื้อหายังไม่พอเราไปดูนิยามของ Cloud Computing กันต่อเลยได้เลย...

นิยามของ Cloud Computing 

         เนื่องจากข้อมูลข่าวสารที่เพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณในปัจจุบัน ความซับซ้อนที่เกิดขึ้นจากความไม่เป็นระเบียบของข้อมูล ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นจากการลงทุน ความหลากหลายของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การดูแลรักษา ค่าไฟฟ้า ค่า Bandwidth บุคลากรและอื่นๆ จึงทำให้เกิด Cloud Computing ขึ้นมาเพื่อทดแทนและแก้ไขความซับซ้อนของข้อมูลเหล่านี้ 

Cloud Computing ถูกนิยามและให้คำจัดกัดความว่า 

         การประมวลผลใดๆ ผ่านเครือข่าย Internet ที่พร้อมให้บริการกับผู้ใช้งาน เมื่อไรก็ตามที่มีความต้องการใช้ โดยไม่ยึดติดกับสถานที่ อุปกรณ์ และไม่มีข้อจำกัดเรื่องปริมาณและเวลา 

แผนภาพของ Cloud Computing 

 
 

หน้าที่ของ cloud computing

คุณลักษณะของ Cloud Computing 

  1. On-demand self-serviceCloud Computingต้องสามารถจัดการได้ด้วยตัวเอง ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ 
  2. Broad Network AccessCloud Computingต้องสามารถเข้าถึงได้จากที่ใดก็ได้ โดยไม่มีข้อจำกัดของสถานที่และอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อ 
  3. Resource PoolingCloud Computingต้องสามารถนำทรัพยากรมารวมกันและใช้งานร่วมกันได้ 
  4. Rapid ElasticityCloud Computingต้องมีความยืดหยุ่นสูง สามารถเพิ่มลดทรัพยากรได้ทันที โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องปริมาณและระยะเวลา 
  5. Measured ServiceCloud Computingต้องสามารถวัดปริมาณการใช้งานได้ และสามารถคิดค่าใช้งานได้ตามการใช้งานจริง 

ประเภทของ Cloud Technology 

แบ่งตามรูปแบบการใช้งาน 

  1. Private Cloud เป็นการใช้งานภายในองค์กร สำหรับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ผู้ใช้บริการเป็นผู้บริหารจัดการระบบ สามารถปรับเปลี่ยนระบบต่างๆได้ด้วยตนเอง ผู้ให้บริการจะมีหน้าที่ติดตั้งและดูแลรักษาให้เท่านั้น ข้อดีของบริการนี้คือมีความปลอดภัยสูงสุด
    หน้าที่ของ cloud computing
  2. Community Cloud บริการ Cloud แบบกลุ่ม ประกอบไปด้วย Private Cloud ตั้งแต่ 2 ขึ้นไป ซึ่งมีการกำหนดข้อตกลงและแชร์ข้อมูลร่วมกัน 
  3. Public Cloud เป็นบริการเข้าถึงข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะ โดยปกติจะใช้งานผ่านผู้ให้บริการซึ่งให้บริการผ่านเครือข่ายสาธารณะ จุดเด่นของบริการนี้คือ ประสิทธิภาพสูงและต้นทุนต่ำ 
    หน้าที่ของ cloud computing
  4. Hybrid Cloud เป็นการผสมผสานกันระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud โดยการนำข้อดีของแต่ละบริการมาใช้งานร่วมกัน 
    หน้าที่ของ cloud computing

แบ่งตามรูปแบบการให้บริการ 

  1. SaaS (Software as a service) เป็นรูปแบบการให้บริการใช้ซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชัน ผู้ใช้สามารถใช้บริการได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ ผ่านผู้ให้บริการ เช่น Google Docutment, Office365, Gmail เป็นต้น 
  2. PaaS (Platform as a service) เป็นรูปแบบการให้บริการแพลตฟอร์ม สำหรับนักพัฒนาในการพัฒนาโปรแกรม เช่น บริการ Google App EngineAzure DB และ Amazon RDS เป็นต้น 
  3. IaaS (Infrastructure as a Service) เป็นรูปแบบการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน การประมวณผล Storage และ Network เป็นต้น ตัวอย่างผู้ให้บริการเช่น Azure, AWS และ Netway Cloud เป็นต้น  

ประโยชน์ของ Cloud Computing 

  1. ประหยัดการลงทุนทรัพยากรคอมพิวเตอร์ เพราะใช้รูปแบบบริการแบบเช่าผ่านผู้ให้บริการ สามารถใช้บริการได้เท่าที่ต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้ง พัฒนาและขึ้นระบบเองทั้งหมด 
  2. สามารถสร้างระบบใหม่ขึ้นมาทันที ผู้ให้บริการจะจัดเตรียมทรัพยากรเพื่อรองรับผู้ใช้บริการ การสร้างและลบจึงสามารถทำได้ทันที โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา 
  3. เพิ่มขนาดทรัพยากรได้ง่ายดายและรวดเร็ว ตามปริมาณการใช้งานหรือลดการใช้งานของผู้ที่ต้องการใช้ 
  4. เข้าถึงบริการได้จากทุกที่ ด้วยการเชื่อมต่อข้อมูลผ่านเครือข่าย Internet ผ่านผู้ให้บริการจึงไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่และอุปกรณ์ 
  5. ลดปัญหาการดูแลระบบ เนื่องจากบริการเป็นรูปแบบของการเช่าใช้ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการที่จะต้องดูแลระบบแทน ซึ่งจะช่วยลดทั้งความยุ่งยากของการดูแลและลดจำนวนบุคลากรที่ต้องจ้างมาเพื่อมาดูแลระบบ 

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Cloud ในองค์กร 

  1. Compute Engine – ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือการสร้าง Cloud Server สำหรับทำ Web Server รือ Mail Server เป็นต้น 
  2. Test and Developmnet – องค์กรที่มีการพัฒนาแอปพลิเคชันขึ้นมาใช้งานด้วยตนเองอาจพบปัญหาระบบที่มีอยู่ที่ไม่เพียงพอ หรือต้องเสียเวลาในการขึ้นระบบซึ่งค่อนข้างยาก ซับซ้อนและใช้เวลานาน เมื่อใช้ Cloud นักพัฒนาสามารถทดสอบระบบบน Cloud ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังสามารถย้าย Application จากระบบหนึ่งไปอีกระบบหนึ่งได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องจำเป็นต้องขึ้นระบบขึ้นใหม่ 
  3. Big Data Analytics - เนื่องจากข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกๆ ปี องค์กรขนาดใหญ่จึงเลือกที่จะลงทุนหรือพัฒนา Big Data เพื่อรองรับการเติบโตและการประมวลผลในอนาคต ซึ่งในปัจจุบันก็มีผู้ให้บริการ Big Data เป็นจำนวนมาก ตัวอย่างที่เรารู้จักเช่น Google เป็นต้น 
  4. Disaster Recovery – ในสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง อาจเกิดจากความไม่สงบ สงคราม หรือภัพิบัติทางธรรมชาติ การมองหาไซต์สำรองหรือ DR Site จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมาก ทำให้เรามั่นใจได้ว่าไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ระบบของเราจะยังสามารถทำงานต่อไปได้ 
  5. Storage and Backup - การเก็บข้อมูลบน Data Center ของตนเองอาจยังปลอดภัย หรือมีข้อจำกัดเรื่องของพื้นที่การจัดเก็บ การใช้บริการ Cloud ช่วยให้เรามั่นใจได้ว่ามีข้อมูลสำรองกรณีที่ต้องการใช้ โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องของการปรับขนาดในอนาคต 

    ___________________________________________________________________________________________

            Netway Communication ให้บริการด้าน Cloud และ IT พื้นฐานสำหรับธุรกิจ เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย ทั้ง Microsoft, Google, Zendesk, Digicert, ฯลฯ

            เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

    Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netway
    Facebook : m.me/netway.offcial

    Tel : 02-055-1095
    Email :  
    Web Chat : https://netway.co.th/ #ให้เราช่วยคุณเรื่องไอที ​​#การสื่อสาร Netway  #มีครบจบที่เดียว #Office365 #Microsoft #Google #Zendesk #Digicer

หน้าที่ของ Cloud Computing มีอะไรบ้าง

Cloud Computing คือการใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อส่งมอบบริการผ่านเครือข่าย (โดยทั่วไปคืออินเทอร์เน็ต) ด้วยการประมวลผลแบบคลาวด์ผู้ใช้สามารถเข้าถึงไฟล์และใช้แอพพลิเคชั่นจากอุปกรณ์ใดก็ได้ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

การประมวลผลแบบคลาวด์มีหลักการทำงานอย่างไร

การประมวลผลบนระบบคลาวด์คือการให้บริการทรัพยากรด้านไอทีตามการกำหนดราคาค่าบริการที่ใช้ตามจริง คุณสามารถเข้าถึงบริการเทคโนโลยี เช่น พลังงานในการประมวลผล พื้นที่จัดเก็บ และฐานข้อมูลได้ตามความต้องการจากผู้ให้บริการระบบคลาวด์เช่น Amazon Web Services (AWS) แทนการซื้อ การเป็นเจ้าของ รวมถึงการดูแลรักษาศูนย์ข้อมูลจริงและ ...

การทำงานของ Cloud มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

Cloud Computing คือ อะไรกันแน่ ?.
Private Cloud. ... .
Public Cloud. ... .
Hybrid Cloud. ... .
Multi Cloud. ... .
Software as a Service (SaaS) ... .
Infrastructure as a Service (IaaS).

คุณลักษณะของ Cloud Computing มีอะไรบ้าง

คุณลักษณะของคลาวด์ คอมพิวติ้ง.
การบริการที่สั่งการได้เอง (On-demand Self- service) ผู้ใช้งานสามารถกำหนดได้เอง.
การเข้าถึงระบบเครือข่ายแบบวงกว้าง (Broad. ... .
การรวมทรัพยากรไว้ด้วยกัน (Resource Pooling) ... .
การยืดหยุ่นและรวดเร็ว (Rapid Elasticity) สามารถ.