พนักงานส่วนท้องถิ่น มีอะไรบ้าง

สรุปสาระสำคัญกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

โดย นายสุรศักดิ์  เกษงาม   ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์

          เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษา  หาความรู้เพิ่มเติม

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

1.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๑๒๐ ก/หน้า ๑/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๒

2.ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา  (มาตรา2)

3.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  หมายความว่า  (1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (2) เทศบาล  (3)องค์การบริหารส่วนตำบล  (4) กรุงเทพมหานคร   (5) เมืองพัทยา  และ (6) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง   (มาตรา3 ว.1)

4.พนักงานส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด   พนักงานเทศบาล   พนักงานส่วนตำบล   ข้าราชการกรุงเทพมหานคร   พนักงานเมืองพัทยา    และข้าราชการหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง ซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น    และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำมาจัดเป็นเงินเดือนของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น  (มาตรา3 ว.2)

5.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการ  (มาตรา ๔)

6.มีทั้งหมด 7 หมวด  และ 1 บทเฉพาะกาล

7.คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด  (มาตรา 5) (12 คน) ประกอบด้วย

1.ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน

2.หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด                  จำนวน 3 คน

3.ผู้แทน อบจ.(ผวจ.ดำเนินการจัดให้มีการคัดเลือก) วาระ 4 ปี จำนวน 4 คน

3.1นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

3.2สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด  1 คน

3.3ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด(เป็นเลขานุการ  ก.จ.)

3.4ผู้แทนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด  1 คน

4.ผู้ทรงคุณวุฒิ(มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี)  (เสนอชื่อโดย 1 และ 2 จำนวน 6 คน  และ 3  จำนวน 6 คน รวม12 คน เลือกกันเองเหลือ 4 คน) วาระ 4 ปี            จำนวน  4 คน

ด้านการบริหารงานท้องถิ่น  ด้านการบริหารงานบุคคล  ด้านระบบราชการ ด้านการบริหารและการจัดการหรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

8.อำนาจหน้าที่ ของ ก.จ. (มาตรา 13)

๑.กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามที่มีความจำเป็นเฉพาะสำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น

๒.กำหนดจำนวนและอัตราตำแหน่ง อัตราเงินเดือนและวิธีการจ่ายเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่น สำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

๓.กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้งการย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์

๔.กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการบริหารและการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

๕.กำกับ ดูแล ตรวจสอบ แนะนำและชี้แจง ส่งเสริมและพัฒนาความรู้แก่ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

9.อำนาจนายก อบจ. (มาตรา 15) (ตาม ก.จ. กำหนด)

          การออกคำสั่งเกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้ง(เห็นชอบจาก ก.จ.) การย้าย การโอนการรับโอน การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ(เห็นชอบจาก ก.จ.) การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ หรือการอื่นใดที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล

          นายก อบจ. อาจมอบอำนาจให้ข้าราชการใดใน อบจ.ก็ได้

10.คณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด (ก.ท.จ.) (มาตรา 23) (18 คน) ประกอบด้วย

1.ผู้ว่าราชการจังหวัด                         เป็นประธาน

2.หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด        จำนวน   5   คน  

3. ผู้แทนเทศบาล                             จำนวน  6 คน

3.1ประธานสภาเทศบาล  จำนวน  2 คน

3.2นายกเทศมนตรี        จำนวน  2 คน

3.3ผู้แทนพนักงานเทศบาล (ปลัดเทศบาล)   จำนวน   2 คน

4ผู้ทรงคุณวุฒิ              จำนวน   6   คน  

4.1ด้านการบริหารงานท้องถิ่น

4.2ด้านการบริหารงานบุคคล

4.3ด้านระบบราชการ

4.4ด้านการบริหาร

4.5ด้านการจัดการ

4.6ด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลของเทศบาล

11.คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล (มาตรา 24) (18 คน) ประกอบด้วย

          1.รมว.มท. หรือ รมช.มท  ซึ่งได้รับมอบหมาย         เป็นประธาน

2.ปลัดกระทรวงมหาดไทย

3.เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

4.ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

5.อธิบดีกรมบัญชีกลาง

6.อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น*

7.ผู้แทนเทศบาล(เลือกจากนายกเทศมนตรี)           จำนวน   3  คน

8.ผู้แทนเทศบาล(เลือกจากปลัดเทศบาล)              จำนวน   3  คน

9.ผู้ทรงคุณวุฒิ             จำนวน  6 คน (ด้านการบริหารงานท้องถิ่น ด้านการบริหารงานบุคคล ด้าน

การบริหารและการจัดการ หรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลของเทศบาล)

12.คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล (มาตรา 25) (28 คน)ประกอบด้วย

1.ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งได้รับมอบหมาย   เป็นประธาน

2.นายอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้น       จำนวน 8 คน

3.ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบล                              จำนวน 9 คน

3.1ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล                     จำนวน 3 คน

3.2ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล        จำนวน 3 คน

3.3ผู้แทนพนักงานส่วนตำบล (ปลัด อบต.)                     จำนวน 3 คน

4.ผู้ทรงคุณวุฒิ   จำนวน  9 คน

ด้านการบริหารงานท้องถิ่น ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านระบบราชการ ด้านการบริหารและการจัดการหรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล

13.คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบลคณะหนึ่ง (มาตรา26) (18 คน)     ประกอบด้วย

1.รมว.มท. หรือ รมช.มท.ซึ่งได้รับมอบหมาย                    เป็นประธาน

2.ปลัดกระทรวงมหาดไทย

3.เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

4.ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

5.อธิบดีกรมบัญชีกลาง

6.อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น*

7.ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบล (นายกฯ) จำนวน 3 คน

8.ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบล (ปลัดฯ)   จำนวน 3 คน

9.ผู้ทรงคุณวุฒิ   จำนวน 6 คน

ด้านการบริหารงานท้องถิ่น ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านระบบราชการ ด้านการบริหาร

และการจัดการหรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล

14.คณะกรรมการพนักงานเมืองพัทยา(มาตรา 28)  (12   คน) ประกอบด้วย

1.ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี         เป็นประธาน

2.นายอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดชลบุรี         จำนวน  3 คน

3.ผู้แทนเมืองพัทยา                                              จำนวน  4 คน

3.1นายกเมืองพัทยา

3.2สมาชิกสภา 1 คน

3.3ปลัดเมืองพัทยา(เลขานุการ ก.เมืองพัทยา)

3.4ผู้แทนพนักงานเมือง 1  คน

4.ผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวน  4  คน  

ด้านการบริหารงานท้องถิ่น     ด้านการบริหารงานบุคคล     ด้านระบบราชการ   ด้านการบริหารและการจัดการหรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลของเมืองพัทยา

15.คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น  (มาตรา 30  ) (18 คน) ประกอบด้วย

          1.บุคคลซึ่งได้รับการคัดเลือกตามมาตรา ๓๑          เป็นประธาน

2.กรรมการโดยตำแหน่ง                               จำนวน  6 คน

2.1เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

2.2เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2.3ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

2.4ปลัดกระทรวงการคลัง

2.5ปลัดกระทรวงมหาดไทย

2.6อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

3.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ(คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง)        จำนวน  5 คน

4.ผู้แทนคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด     จำนวน 1 คน

5.ผู้แทนคณะกรรมการกลางพนักเทศบาล             จำนวน  1 คน

6.ผู้แทนคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล      จำนวน  1 คน

7.ผู้แทนคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร   จำนวน  1 คน

8.ผู้แทนคณะกรรมการพนักงานเมืองพัทยา           จำนวน  1 คน

9.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น(ถ้ามี)                จำนวน  1 คน

10หัวหน้าสำนักงาน  ก.ถ.                             เป็นเลขานุการ ก.ถ.

16.อำนาจหน้าที่ คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น : ก.ถ. (มาตรา ๓๓)

1.กำหนดมาตรฐานกลางและแนวทางในการรักษาระบบคุณธรรมเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลโดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งและการให้พ้นจากตำแหน่งของพนักงานส่วนท้องถิ่น (มาตรา ๓๓  (1))

2.กำหนดโครงสร้างอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่น (มาตรา ๓๓  (1))

3.การกำหนดมาตรฐานกลางและแนวทาง        จะต้องไม่มีลักษณะเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคลโดยเฉพาะเจาะจง  ที่ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถบริหารงานบุคคลตามความต้องการและความเหมาะสมของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้  (มาตรา ๓๓  (1))

ข้าราชการท้องถิ่น มีอะไรบ้าง

ข้าราชการท้องถิ่น หมายความว่า[1] ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนตำบล ข้าราชการกรุงเทพมหานคร พนักงานเมืองพัทยา และข้าราชการหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง ซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนขององค์กรปกครอง ...

พนักงานเทศบาลมีกี่ประเภท

ตำแหน่งและมาตรฐานของตำแหน่ง ซึ่งกำหนดให้ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น มี 3 ประเภท คือ (1) ตำแหน่งประเภททั่วไป (2) ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กําหนด (3) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลาง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ

พนักงานส่วนตำบลมีกี่ประเภท

1. การกาหนดตำแหน่งพนักงานส่วนท้องถิ่นให้มีประเภท ได้แก่ ประเภท ทั่วไป ประเภทวิชาการ ประเภท านวยการท้องถิ่น และประเภทบริหาร ท้องถิน 2. การสรรหาบุคคล การแต่งตั้งและการให้พ้นจากตำแหน่ง การเพิ่มพูน ประสิทธิภาพ และเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ และการเลื่อน ขั้นเงินเดือน ให้พิจารณาโดยคำนึงถึงความรู้ ทักษะ และ ...

ท้องถิ่น มีตําแหน่งอะไรบ้าง

ตำแหน่งที่จะเปิดสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2564..
เจ้าพนักงานธุรการ.
เจ้าพนักงานทะเบียนและบัตร.
เจ้าพนักงานสุขาภิบาล.
เจ้าพนักงานทะเบียน.
นายช่างเขียนแบบ.
นายช่างสำรวจ.
เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์.
เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้.