สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ได้แก่อะไรบ้าง

ลิขสิทธิ์ คือ ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่คุ้มครองการสร้างสรรค์ที่ถูกถ่ายทอดออกมา (express) โดยความคุ้มครองจะเกิดขึ้นทันทีเมื่องานนั้นทุกถ่ายทอดออกมาในลักษณะหนึ่ง เช่น เขียนขึ้น วาดขึ้น เป็นต้น โดยจะคุ้มครองอัตโนมัติในทุกประเทศที่อยู่ภายใต้อนุสัญญากรุงเบิร์น ซึ่งงานลิขสิทธิ์มีด้วยกันหลายประเภท ได้แก่ งานวรรณกรรม นาฏกรรม ดนตรีกรรม ศิลปกรรม สิ่งบันทึกเสียง โสตทัศนวัสดุ ภาพยนต์ งนแพร่เสียงแพร่ภาพ เป็นต้น ซึ่งถ้ามีโอกาสเราสามารถไปจดแจ้งงานลิขสิทธิ์ได้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเป็นหลักฐานแห่งการสร้างสรรค์งานนี้ขึ้นมาได้

ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน

การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา มิได้ เป็นการรับรองสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่าตนเองเป็นเจ้าของสิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์ที่แจ้งไว้เท่านั้น โดยผู้แจ้งต้องรับรองตนเองว่าเป็นเจ้าของผลงานที่นำมาแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และหนังสือรับรองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้ ก็มิได้รับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์แต่อย่างใด หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้แจ้งจำเป็นต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ นั้นเอง

2. ประเภทของงานที่มีลิขสิทธิ์

กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่

  1. งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  2. งานนาฏกรรม เช่น งานที่เกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว รวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย
  3. งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม ภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ งานศิลปะประยุกต์ ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย
  4. งานดนตรีกรรม เช่น คำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสานรวมถึงโน้ตเพลงที่แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
  5. งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ (ซีดี) ที่บันทึกข้อมูลเสียง ทั้งนี้ไม่รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์ หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น
  6. งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดีโอเทป วีซีดี ดีวีดี แผ่นเลเซอร์ดิสก์ที่บันทึกข้อมูลประกอบด้วยลำดับของภาพหรือภาพและเสียงอันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก
  7. งานภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์นั้นด้วย (ถ้ามี)
  8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การกระจายเสียงวิทยุ การแพร่เสียง หรือภาพทางโทรทัศน์
  9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

3. ผลงานที่ไม่ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์

3.1 ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร เช่น วัน เวลา สถานที่ ชื่อบุคคล จำนวนคน ปริมาณ เป็นต้น

ทั้งนี้ หากมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาเรียบเรียงจนมีลักษณะเป็นงานวรรณกรรม อาทิ การวิเคราะห์ข่าว บทความ ผลงานนั้นอาจจะได้รับความคุ้มครองในลักษณะของงานวรรณกรรม

3.2 รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย

3.3 ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น

3.4 คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ

3.5 คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามข้อ 3.1 - 3.4 ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

3.6 ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

4. การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

เอกสารที่ใช้ประกอบการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

  1. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)
  2. สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือน ของเจ้าของลิขสิทธิ์ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
  3. ผลงานหรือภาพถ่ายงานลิขสิทธิ์ จำนวน 1 ชุด
  4. หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
  5. หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐบาลใช้สำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้บริหารหน่วยงานหรือองค์กรฯ รวมทั้งสำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นคำขอ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
หลักฐานการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ลำดับหลักฐาน1

แบบฟอร์มใบแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ --- ซึ่งศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้ เน้นสีเหลือง ได้แก่

  • ชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์
  • ชื่อผู้สร้างสรรค์ (ทุกท่าน)
  • ชื่อผลงาน
  • ประเภทของงาน
  • ผลงานที่ยื่นประกอบคำขอ (โดยถ้าข้อมูลมีจำนวนเกิน 20 แผ่น ให้ส่งเป็นซีดีแทนตัวเอกสาร)
  • ลักษณะการสร้างสรรค์
  • ปีที่สร้างสรรค์
  • แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานโดยย่อ (เป็นการสรุปข้อมูลที่ยื่นจดแจ้ง)
2ผลงานที่ยื่นประกอบคำขอ --- (โดยถ้าข้อมูลมีจำนวนเกิน 20 แผ่น ให้ส่งเป็นซีดีแทนตัวเอกสาร)3

หนังสือรับรองความเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์ --- ซึ่งศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้ เน้นสีเหลือง ส่วนที่ต้องแก้ไข ได้แก่

ตัวอย่างเช่น นายดำเป็นศิลปินวาดภาพบนผืนผ้าใบขึ้นมา 1 รูป แน่นอนว่ารูปภาพดังกล่าวย่อมเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายทันทีที่ได้ทำขึ้นโดยไม่ต้องทำการจดทะเบียนหรือดำเนินการตามขึ้นตอนของกฎหมายแต่อย่างใด และนายดำย่อมผู้สร้างสรรค์ย่อมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ซึ่งมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในรูปภาพดังกล่าว หากต่อมานายดำขายภาพนั้นให้กับนายแดง ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของนายดำไม่ได้โอนไปยังนายแดงด้วย นายแดงมีเพียงกรรมสิทธิ์คือเจ้าของรูปภาพดังกล่าวเท่านั้น แต่นายแดงไม่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะมีอำนาจทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่รูปภาพดังกล่าวเฉกเช่นนายดำได้ เพราะฉะนั้นประเด็นนี้ท่านผู้อ่านต้องแยกให้ดีว่าใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือเป็นเพียงเจ้าของทรัพย์สินเพราะผลในทางกฎหมายแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

2. ดัดแปลง การดัดแปลง หมายถึง การทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปแบบใหม่ ปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติม หรือจำลองงานต้นฉบับในส่วนที่เป็นสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วน

ตัวอย่างเช่น นายดำนักวาดการ์ตูนได้นำวรรณกรรมเรื่อง Harry potter มาดัดแปลงวาดเป็นหนังสือการ์ตูนของตนเอง และนำไปจัดพิมพ์วางขายโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก J.K. Rowling เป็นต้น

3. เผยแพร่ต่อสาธารณชน การเผยแพร่ต่อสาธารณชน หมายถึง การทำให้ปรากฏต่อสาธารณชนโดยการแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลง การทำให้ปรากฏด้วยเสียงและหรือภาพ การก่อสร้าง หรือการจำหน่าย

ตัวอย่างเช่น นายดำได้นำม้วนเทปภาพยนตร์ของนายแดงมานำออกฉายกลางแปลงให้กับประชาชนที่มาร่วมงานวัดได้เข้าชมโดยมีการเก็บค่าใช้จ่าย โดยนายดำไม่ได้รับอนุญาตจากนายแดงซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์นั้น เป็นต้น

4. ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานการให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานนั้นจำกัดไว้ที่งาน 4 ประเภทเท่านั้น คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง นั่นย่อมหมายความว่าผู้ที่ซื้องานอันมีลิขสิทธิ์ 4 ประเภทดังกล่าวนี้ไป นอกจากจะไม่สามารถทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่แล้ว ยังไม่สามารถนำงานอันมีลิขสิทธิ์ออกให้ผู้อื่นเช่าได้อีกด้วย

ตัวอย่างเช่น ร้านให้เช่าวีดิโอ ก่อนที่จะนำภาพยนตร์ที่ตนซื้อมานำออกให้ลูกค้าเช่าได้นั้นต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์นั้นๆก่อน ซึ่งอาจจะทำให้รูปแบบของสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์กับเจ้าของลิขสิทธิ์นั้น เป็นต้น

5. ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น

ตัวอย่างเช่น นายดำเจ้าของรูปถ่ายซึ่งได้ถ่ายรูปจากประสบการณ์การเดินทางของตนเอง ได้อนุญาตให้สถาบันศิลปกรรมแห่งหนึ่งนำรูปถ่ายของตนนำออกแสดงให้ประชาชนได้รับชมโดยเก็บค่าเข้าชมได้ แต่มีข้อแม้ว่าค่าเข้าชมครึ่งนึงนั้นจะต้องมอบให้กับองค์กรสาธารณกุศล ดังนี้ องค์กรสาธารณกุศลดังกล่าวย่อมเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากรูปถ่ายซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของนายดำ เป็นต้น

6. อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตามข้อ 1. ถึง ข้อ 5.

เจ้าของลิขสิทธิ์นอกจากจะมีสิทธิต่างๆตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ยังมีสิทธิในการอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งของตนต่องานอันมีลิขสิทธิ์ได้อีกด้วย ไม่ว่าจำเป็นการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางาน หรือให้ประโยชน์อันเกิดจากงานลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่นก็ได้ ซึ่งอาจเป็นการให้สิทธิโดยเด็ดขาด หรือไม่เด็ดขาดก็ได้ หรืออาจเป็นการให้สิทธิแก่ผู้อื่นแต่เพียงผู้เดียวในชั่วระยะเวลาหนึ่งก็ได้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงเป็นรายๆ ไป

โดยสรุปคือ งานไม่ว่าจะเป็น งานวรรณกรรม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่ภาพแพร่เสียง รวมถึงการแสดงของนักแสดง ผลงานที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์งานเหล่านั้นย่อมเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทั้งสิ้น บุคคลใดที่ต้องการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานในผลงานดังกล่าวจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนเสมอ มิฉะนั้นท่านอาจเข้าข่ายกระทำการอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอยู่ไม่ว่าจะเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ซึ่งเป็นความผิดทางกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญา

สุดท้ายนี้ขอฝากเอาไว้ว่าหากท่านผู้อ่านไม่มั่นใจว่างานใดเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์หรือไม่ท่านต้องทำให้มั่นใจได้ว่าการกระทำของท่านต่องานอันมีลิขสิทธิ์นั้นไม่ได้ทำไปเพื่อแสวงหากำไรและให้อ้างอิงแหล่งที่มาของงานนั้นให้ชัดเจน เท่านี้ก็เพียงพอต่อการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าจะเอาให้ชัวร์ การได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นย่อมเป็นการกระทำที่ปลอดภัยที่สุด - เทอร์ร่า บีเคเค