ส่วนราชการประจำอำเภอ มีอะไรบ้าง

ประวัติสำนักบริหารการปกครองท้องที่

ส่วนราชการประจำอำเภอ มีอะไรบ้าง

การปกครองท้องที่

ความเป็นมา

การจัดการปกครองท้องที่ได้เริ่มต้นมาจากรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงมีพระราชดำริให้มีการฟื้นฟูการปกครองระดับ หมู่บ้านที่มาแต่เดิมขึ้นใหม่ เพราะ ทรงเล็งเห็นว่าการปกครองในระดับนี้จำเป็นและสำคัญยิ่งในการบริหารราชการแผ่นดิน เนื่องจากเป็น หน่วยการปกครองที่ใกล้ชิด กับราษฎรมากที่สุด โดยได้ทรงให้มีการ ทดลองจัดระเบียบการปกครองตำบล หมู่บ้าน ขึ้นที่อำเภอบางปะอิน จ. พระนครศรีอยุธยา เมื่อ ร.ศ. 111 (พ.ศ. 2435) โดยให้ราษฏรเลือก ผู้ใหญ่บ้านแทนการแต่งตั้งโดยเจ้าเมืองดังแต่ก่อน นับแต่นั้นมา จึงได้มีการจัดระเบียบการปกครองตำบล หมู่บ้าน ตามหัวเมืองต่าง ๆ โดยตราเป็น พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ขึ้นใช้บังคับแทน และได้มีการใช้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

การจัดระเบียบการปกครองท้องที่

การจัดการปกครองท้องที่ตามที่กำหนดไว้ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 จะประกอบไปด้วย

1. หมู่บ้าน

2. ตำบล

3. กิ่งอำเภอ

4. อำเภอ

หมู่บ้าน

การจัดตั้งหมู่บ้าน

หมู่บ้านตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ มี 2 ประเภท คือ หมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ กับ หมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราว

1) หมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ การจัดตั้งทำโดยประกาศจังหวัด ภายใต้หลักเกณฑ์ดังนี้

ส่วนราชการประจำอำเภอ มีอะไรบ้าง
 หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ที่ใช้อยู่ปัจจุบันนี้ ได้วางหลักเกณฑ์การตั้งหมู่บ้านขึ้นไว้กว้าง ๆ 2 ประการ คือ

(1) ถ้าเป็นที่มีคนอยู่รวมกันมากถึงจำนวนบ้านน้อย ให้ถือเอาจำนวนคนเป็นสำคัญประมาณ ราว 200 คน เป็นหมู่บ้านหนึ่ง

(2) ถ้าเป็นที่ผู้คนตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างไกลกัน ถึงจำนวนคนจะน้อย ถ้ามีจำนวนบ้านไม่ต่ำกว่า 5 บ้านแล้ว จะจัดเป็นหมู่บ้านหนึ่งก็ได้

ในการที่จะพิจารณาจัดตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่ ก็จำเป็นจะต้องถือหลักเกณฑ์ตามที่กฏหมาย บัญญัติไว้โดยอนุโลมเช่นเดียวกับการตั้งตำบลดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาถึง ความจำเป็น และความเหมาะสมจริงๆ โดยให้ถือความสะดวกแก่การปกครองเป็นประมาณ

ส่วนราชการประจำอำเภอ มีอะไรบ้าง
 หลักเกณฑ์ตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด กระทรวงมหาดไทยได้วางหลักเกณฑ์การจัดตั้งหมู่บ้านไว้ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2539

1.กรณีเป็นชุมชนหนาแน่น

1) เป็นชุมชนที่มีราษฎรไม่น้อยกว่า 1,200 คน หรือมีจำนวนบ้านไม่น้อยกว่า 240 บ้าน

2) เมื่อแยกหมู่บ้านใหม่แล้ว หมู่บ้านใหม่จะต้องมีราษฎรไม่น้อยกว่า 600 คน หรือมี จำนวนบ้านไม่น้อยกว่า 120 บ้าน

3) ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาตำบล หรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ

2.กรณีเป็นชุมชนห่างไกล

1) เป็นชุมชนที่มีราษฎรไม่น้อยกว่า 600 คน หรือมีจำนวนบ้านไม่น้อยกว่า 120 บ้าน

2) เมื่อแยกหมู่บ้านใหม่แล้ว หมู่บ้านใหม่จะต้องมีราษฎรไม่น้อยกว่า 200 คน หรือมี จำนวนบ้านไม่น้อยกว่า 40 บ้าน

3) ชุมชนใหม่ห่างจากชุมชนเดิมไม่น้อยกว่า 6 กิโลเมตร

4) ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาตำบล หรือสภาองค์การบริหาร ส่วนตำบล และที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ

2) หมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราวหมู่บ้านชั่วคราวเป็นหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นในกรณีที่ท้องที่อำเภอใดมีราษฎรไปตั้งชุมนุมทำการหาเลี้ยงชีพแต่ในบางฤดูและจำนวนราษฎรซึ่งไปตั้งทำการอยู่มากพอสมควร จะจัดเป็นหมู่บ้านตามหลักเกณฑ์การตั้งหมู่บ้านปกติได้ เพื่อความสะดวกแก่การปกครอง ให้นายอำเภอประชุมราษฎรในหมู่บ้านนั้นๆ เลือก ว่าที่ผู้ใหญ่บ้าน มีอำนาจและหน้าที่เหมือนผู้ใหญ่บ้านปกติ

การจัดระเบียบการปกครองหมู่บ้าน

ตามกฎหมายลักษณะการปกครองท้องที่การบริหารงานของหมู่บ้าน มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้

(1) ผู้ใหญ่บ้าน

(2) ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

(3) คณะกรรมการหมู่บ้าน

ผู้ใหญ่บ้าน ในหมู่บ้านหนึ่งมีผู้ใหญ่บ้าน 1 คน ทำหน้าที่ปกครองราษฎรในเขตหมู่บ้าน โดยมีที่มาจากการเลือกของราษฎรในหมู่บ้านนั้น คุณสมบัติของราษฎรผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน

(1) มีสัญชาติไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือก

(2) ไม่เป็นภิกษุสามเณร นักพรตหรือนักบวช

(3) ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

(4) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำ และมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฏหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ในหมู่บ้านนั้นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่าสามเดือนจนถึงวันเลือก

คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน

(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

(2) อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ ในวันรับเลือก

(3) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำ และมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการ ทะเบียนราษฎรในหมู่บ้านนั้นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี จนถึงวันเลือกและเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพเป็นหลักฐาน

(4) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ

(5) ไม่เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช

(6) ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ วิกลจริตจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ติดยาเสพติดให้โทษ หรือเป็นโรคตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา

(7) ไม่เป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือของรัฐวิสาหกิจ หรือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือลูกจ้างของส่วนราชการ หรือลูกจ้างของเอกชนซึ่งมีหน้าที่ทำงานประจำ

(8) ไม่เป็นผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาลหรือทางทุจริต หรือเสื่อมเสียในทางศีลธรรม

(9) ไม่เป็นผู้เคยถูกให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะทุจริตต่อหน้าที่ และยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปีนับแต่วันถูกให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก

(10) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ และยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปีนับแต่วันพ้นโทษ

(11) ไม่เป็นผู้เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำผิดเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า กฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยศุลกากร กฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน ในฐานความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ กฎหมายว่าด้วยที่ดิน ในฐานความผิดเกี่ยวกับที่สาธารณประโยชน์ กฎหมายว่าด้วยยาเสพติด กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง และกฎหมายว่าด้วยการพนัน ในฐานความผิดเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก

(12) ไม่เป็นผู้เคยถูกให้ออกจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านราษฎร เนื่องจากผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน ในหมู่บ้านนั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนร้องขอให้ออกจากตำแหน่ง หรือผู้ว่5าราชการจังหวัดสั่งให้ออกจากตำแหน่ง เมื่อได้สอบสวนเห็นว่าบกพร่องในทางความประพฤติ หรือความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง และยังไม่พ้นกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันถูกให้ออก

(13) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก จากตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล หรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปีนับแต่วันถูกให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก

(14) มีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ หรือที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ เว้นแต่ในท้องที่ใดไม่อาจเลือกผู้มีพื้นความรู้ดังกล่าวได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยอนุมัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาจประกาศในราชกิจจานุเบกษายกเว้นหรือผ่อนผันได้

การเลือกผู้ใหญ่บ้าน การเลือกผู้ใหญ่บ้านนั้นมีสาเหตุที่มา 2 ประการคือ

1. มีการจัดตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่

2. ผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านว่างลง ซึ่งจะต้องมีการเลือกผู้ใหญ่บ้านใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบการว่าง

วิธีการเลือกผู้ใหญ่บ้าน กฏหมายกำหนดให้นายอำเภอเป็นประธาน พร้อมด้วยกำนันหรือ ผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้นอย่างน้อย 1 คน ประชุมราษฏรในหมู่บ้านที่มี คุณสมบัติที่จะเลือกผู้ใหญ่บ้าน โดย วิธีลับหรือเปิดเผยก็ได้ ตามข้อบ้งคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2535 เมื่อเลือกผู้ใดแล้วถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ใหญ่บ้าน อยู่ในตำแหน่งคราว ละ 5 ปี

การพ้นจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านจะต้องออกจากตำแหน่งด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้

1.ขาดคุณสมบัติหรือเข้าลักษณะต้องห้ามของการเป็นผู้ใหญ่บ้าน ( ยกเว้นการลาบวช โดย ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด ไม่เกิน 120 วัน )

2.ออกตามวาระ ( 5 ปี )

3.ตาย

4.ได้รับอนุญาตให้ลาออก

5.หมู่บ้านที่ปกครองถูกยุบ

6.ไปเสียจากหมู่บ้านที่ตนปกครองเกิน 3 เดือน

7.ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านนั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ร้องขอให้ออกจากตำแหน่ง

8.ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ออกจากตำแหน่ง เมื่อได้สอบสวนเห็นว่า บกพร่องในทางความ ประพฤติหรือความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง

อำนาจหน้าที่ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านมีอำนาจหน้าที่ปกครองราษฎรที่อยู่ในเขตหมู่บ้าน และมีหน้าที่ 2 ประการคือ

1. อำนาจหน้าที่ในทางปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย สรุปได้ดังนี้ คือ

- รักษาความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน

- เมื่อเกิดทุกข์ภัยแก่ลูกบ้าน ให้แจ้งกำนันเพื่อหาทางป้องกัน

- นำประกาศ คำสั่งของรัฐบาลแจ้งลูกบ้าน

- ทำบัญชีทะเบียนราษฎรในหมู่บ้าน

- มีเหตุการณ์ประหลาดให้แจ้งกำนัน

- พบคนแปลกหน้าให้นำตัวส่งกำนัน

- เมื่อมีเหตุร้ายเกิดขึ้น ให้เรียกลูกบ้านช่วยกันป้องกันและระงับได้ และแจ้งกำนัน

- ควบคุมลูกบ้านให้ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ

- สั่งสอนลูกบ้านมิให้อาฆาตมาดร้ายกัน

- ฝึกอบรมลูกบ้านให้รู้จักหน้าที่และการทำการในเวลารบ

- ประชุมลูกบ้านเป็นครั้งคราวเพื่อแจ้งข้อราชการ

- ส่งเสริมอาชีพ

- ป้องกันโรคติดต่อ

- ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดี

- ตรวจตรารักษาประโยชน์ในการอาชีพราษฎร

- จัดหมู่บ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

- ประชุมกรรมการหมู่บ้าน

- ปฎิบัติตามคำสั่งของกำนัน

- ให้ราษฎรช่วยเหลือสาธารณประโยชน์

2.อำนาจในทางอาญา สรุปได้ดังนี้

-เมื่อทราบว่ามีการกระทำผิดกฎหมาย หรือสงสัยเกิดในหมู่บ้านให้แจ้งกำนัน

-เมื่อทราบว่ามีการทำผิดกฏหมายหรือสงสัยว่าเกิดในหมู่บ้านใกล้เคียง ให้แจ้งผู้ใหญ่บ้านนั้นทราบ

-พบของกลางทำผิดให้ส่งกำนัน

-เมื่อสงสัยผู้ใดว่าทำผิด หรือกำลังทำผิด ให้จับกุมส่งอำเภอหรือกำนัน

-เมื่อมีหมายสั่งจับผู้ใดหรือคำสั่งราชการให้จับผู้นั้นส่งกำนัน หรืออำเภอตามสมควร

-เจ้าพนักงานมีหน้าที่ออกหมายสั่งให้ค้น หรือให้ยึดผู้ใหญ่บ้าน ต้องจัดการให้

การรักษาการแทนผู้ใหญ่บ้าน ถ้าผู้ใหญ่บ้านจะทำการในหน้าที่ไม่ได้ในครั้งหนึ่งคราวหนึ่ง ให้มอบหน้าที่ให้แก่ผู้ช่วยผู้ใหญ่ บ้านฝ่ายปกครองคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทน จนกว่าจะทำการในหน้าที่ได้ และต้องรายงานให้กำนันทราบ และถ้าเกิน 15 วัน ก็ให้รายงานนายอำเภอทราบด้วย

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ในหมู่บ้านหนึ่งนอกจากจะมีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ปกครองหมู่บ้านแล้ว ยังมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ใหญ่บ้าน

ประเภทของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มี 2 ประเภทคือ

1. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง มีหมู่บ้านละ 2 คน เว้นแต่หมู่บ้านใดมีความจำเป็นต้องมีมากกว่า 2 คน ต้องขออนุมัติกระทรวงมหาดไทย ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

- ช่วยเหลือผู้ใหญ่บ้านปฎิบัติกิจการตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่ บ้านเท่าที่ได้รับ

- เสนอข้อแนะนำและให้คำปรึกษาต่อผู้ใหญ่บ้าน ในกิจการที่ผู้ ใหญ่บ้านมีอำนาจหน้าที่

2.ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ หมู่บ้านใดจะมีได้ต้องให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็น ผู้อนุมัติตามจำนวนที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. ตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน

2. ถ้ารู้เห็นหรือทราบเหตุการณ์เกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นในหมู่บ้านเกี่ยวกับความสงบ เรียบร้อย ให้แจ้งต่อผู้ใหญ่บ้าน

3. ถ้ามีคนจรเข้ามาในหมู่บ้านและสงสัยว่ามาโดยไม่สุจริตให้นำตัว ส่งผู้ใหญ่บ้าน

4. ระงับเหตุ ปราบปราม ติดตามจับผู้ร้าย

5. ตรวจจับสิ่งของที่ผิดกฎหมายส่งผู้ใหญ่บ้าน

6. ควบคุมตัวผู้สงสัยว่าได้กระทำผิดและกำลังจะหลบหนีส่งผู้ใหญ่บ้าน

7. ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ใหญ่บ้านซึ่งสั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย

คุณสมบัติของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ใหญ่บ้าน

ที่มาของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านและกำนันท้องที่ เป็นผู้ร่วมกันพิจารณาคัดเลือก ราษฎรที่มีคุณสมบัติ แล้วให้กำนันรายงานไปยังนายอำเภอ เพื่อออกหนังสือสำคัญแต่งตั้ง

วาระการดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี

การพ้นจากตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

1.ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 12

2.มีเหตุเช่นเดียวกับที่ผู้ใหญ่บ้านต้องออกจากตำแหน่งตามมาตรา 14 (2) ถึง (7)

3.เมื่อผู้ใหญ่บ้านต้องออกจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านต้องออกจากตำแหน่งด้วย

ถ้าตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านว่างลง ผู้ที่ได้รับคัดเลือกขึ้นมาแทนจะ อยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ที่ตนแทนคณะกรรมการหมู่บ้าน

คณะกรรมการหมู่บ้าน ประกอบด้วย

1.ผู้ใหญ่บ้าน เป็นประธาน

2.ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง เป็นกรรมการ

3.กรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งราษฎรเลือกตั้ง จำนวน 5 - 9 คน เป็นกรรมการโดย เลือกเป็นรองประธาน 1 คน เลือกเป็นเลขานุการ 1 คน และเลือกเป็นผู้ช่วยเลขานุการ 1 คน อยู่ในตำแหน่ง คราวละ 5 ปี

คุณสมบัติของกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีสัญชาติไทย และมีคุณสมบัติ เช่นเดียวกับผู้ที่มีสิทธิที่ จะได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ข้อ 2 ถึงข้อ 10

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิคือ ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน

การเลือกตั้งกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ วิธีการเลือกตั้งกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ กฏหมายกำหนดให้ นายอำเภอเป็นประธาน พร้อมด้วยกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้นอย่างน้อยหนึ่งคน ดำเนินการเลือกตั้งโดยวิธีลับหรือเปิดเผยก็ได้ ตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกตั้งกรรมการ หมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. 2533

การพ้นากตำแหน่งกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี นอกจาก ออกจากตำแหน่งตามวาระแล้ว กรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิต้องออกจากตำแหน่ง เพราะขาดคุณสมบัติของการเป็นผู้ใหญ่บ้านตามมาตรา 12 (3) ถึง (13) และเพราะเหตุเดียวกับการออกจากตำแหน่งของผู้ใหญ่บ้าน ตามมาตรา 14 (2) ถึง (7) ด้วย

หน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้านมีหน้าที่ เสนอข้อแนะนำและให้คำปรึกษาต่อผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวกับกิจการที่จะปฎิบัติตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน

ฝ่ายต่าง ๆ ในคณะกรรมการหมู่บ้าน กรรมการฝ่ายกิจการต่าง ๆ ให้คณะกรรมการหมู่บ้านตั้งฝ่ายกิจการ ต่างๆ ขึ้นเพื่อช่วยเหลือ ปฏิบัติภารกิจของคณะกรรมการหมู่บ้านในแต่ละสาขางาน ตามที่คณะกรรมการหมู่บ้านพิจารณาเห็น สมควร

การจัดระเบียบหมู่บ้านตามกฎหมายจัดระเบียบบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง

นอกจากการบริหารหมู่บ้านตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่แล้ว ยังมีการบริหารหมู่บ้านในแบบ หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง ( หมู่บ้าน อพป. ) ซึ่งเป็นไป ตาม พระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง พ.ศ. 2522

1) การกำหนดหมู่บ้าน อพป.

การบริหารหมู่บ้าน อพป.ถือเอาหมู่บ้านตามกฏหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่เป็นหลัก การจะกำหนดให้หมู่บ้านใดหมู่บ้านหนึ่งหรือตั้งแต่สองหมู่บ้านขึ้นไปเป็น หมู่บ้าน อพป.กระทรวงมหาดไทยต้องประกาศกำหนดเป็นคราวๆไป ตามความเหมาะสมแห่งสภาพท้องที่ แต่จะต้องเป็น หมู่บ้านในท้องที่อำเภอเดียวกัน การรวมหมู่บ้านต่างอำเภอกำหนดให้เป็นหมู่บ้าน อพป.จะกระทำมิได้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยุบเลิกหมู่บ้าน อพป.กระทำโดย ประกาศกระทรวงมหาดไทย

2) การจัดระเบียบบริหารหมู่บ้าน อพป.

หมู่บ้าน อพป.แต่ละหมู่บ้าน มี คณะกรรมการกลางหมู่บ้าน และคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เป็นผู้บริหารกิจการของหมู่บ้าน คณะกรรมการกลางหมู่บ้าน อพป.แต่ละแห่ง มี คณะกรรมการกลางคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานคณะกรรมการกลาง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กรรมการสภาตำบลผู้ทรงคุณวุฒิในหมู่บ้าน เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการกลางผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเลือกตั้งจากราษฎรในหมู่บ้านนั้นที่มีคุณสมบัติและไม่อยู่ในลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนดจำนวน 5-7 คน ซึ่งนายอำเภอเป็นผู้กำหนดตามสภาพเศรษฐกิจ และสังคมของหมู่บ้าน เป็นกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่ง คราวละ 4 ปี

หน้าที่ของคณะกรรมการกลาง

1) บริหารหมู่บ้าน หรือดำเนินการตามที่ได้รับอนุมัติ หรือได้รับมอบหมาย จากคณะกรรมการสภาตำบล นายอำเภอ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด

2) พิจารณาวางนโยบายในการปกครองหมู่บ้าน วางแผนและโครงการพัฒนาหมู่บ้านตาม ความต้องการของราษฎรในหมู่บ้านนั้น

3) ปฏิบัติหน้าที่ที่กำหนดไว้สำหรับคณะกรรมการหมู่บ้าน ตามกฏหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่

4) ดูแลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกฏหมายและระเบียบข้อบังคับ

5) ให้ความร่วมมือและประสานงาน ในแผนการและโครงการพัฒนาตำบลและหมู่บ้าน สนับสนุนให้มีการร่วมมือจากองค์การอาสาสมัคร หรือองค์การ สาธารณกุศลตลอดจนแก้ไขปัญหา ข้อขัด ข้องและอุปสรรคที่เกี่ยวกับการพัฒนาหมู่บ้าน

6) ร่วมมือช่วยเหลือการปฏิบัติงานของกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งทางราชการจัดตั้ง หรือ สนับสนุนและดำเนินงานในเขตหมู่บ้านนั้น

7) เผยแพร่การดำเนินงานพัฒนาของทางราชการให้ราษฎรในหมู่บ้านทราบ

8) ประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างราษฏรในหมู่บ้านเกี่ยวกับความแพ่ง เพื่อให้เกิดความ สงบเรียบร้อยและความยุติธรรม และเมื่อได้ดำเนินการอย่างใด แล้ว ต้องรายงานให้นายอำเภอทราบ

9) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ทางราชการมอบหมาย

หน้าที่ของคณะกรรมการกลาง คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ประจำหมู่บ้าน

นอกจากคณะกรรมการกลางแล้ว ยังมีคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือปฏิบัติภารกิจ ของคณะกรรมการกลางในแต่ละสาขาตามที่ได้รับมอบ คณะกรรมการฝ่าย ต่าง ๆ จะมีกี่คณะ แล้วแต่คณะกรรมการกลางจะพิจารณาเห็นสมคว

ตำบล

ตำบล เป็นหน่วยการปกครองท้องที่ ที่ย่อยรองจากอำเภอหรือ กิ่งอำเภอ การจัดการปกครองตำบลเป็นไปตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ซึ่ง กำหนดให้ตำบล ประกอบด้วยหลาย ๆ หมู่บ้านรวมกัน หลักเกณฑ์การจัดตั้งตำบล

ส่วนราชการประจำอำเภอ มีอะไรบ้าง
หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ. ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ได้วางหลักเกณฑ์การจัดตั้งตำบลไว้กว้างๆ ดังนี

(1) ตำบลหนึ่งประกอบด้วยหลายหมู่บ้านรวมกันราว 20 หมู่บ้าน

(2) ให้จัดทำเครื่องหมายเขตตำบลไว้ให้ชัดเจน โดยถือตามแนวลำห้วย ลำคลอง บึง บาง หรือ สิ่งใดเป็นสำคัญ เช่น ภูเขา

(3) ถ้าไม่มีหมายเขต ไม่มีแนวตามข้อ (2) ก็ให้จัดทำหลักปักหมายเขตไว้ทุกด้านเป็นสำคัญ

ส่วนราชการประจำอำเภอ มีอะไรบ้าง
หลักเกณฑ์ตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด กระทรวงมหาดไทยได้วางหลักเกณฑ์การจัดตั้งตำบลไว้ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2539 ดังนี้

ก.กรณีเป็นชุมชนหนาแน่น

1) เป็นชุมชนที่มีราษฎรไม่น้อยกว่า 4,800 คน

2) มีหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 8 หมู่บ้าน

3) ได้รับความเห็นชอบจากสภาตำบล หรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ

ข.กรณีเป็นชุมชนห่างไกล

1) เป็นชุมชนที่มีราษฎรไม่น้อยกว่า 3,600 คน

2) มีหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 6 หมู่บ้าน

3) ชุมชนใหม่ห่างจากชุมชนเดิมไม่น้อยกว่า 6 กิโลเมตร

4) ได้รับความเห็นชอบจากสภาตำบล หรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอการจัดระเบียบปกครองตำบล

การบริหารราชการตำบล

มีพนักงานปกครองตำบล ดังนี้คือ

1) กำนัน

2) แพทย์ประจำตำบล

3) สารวัตรกำนัน

กำนัน ในตำบลหนึ่งมีกำนันคนหนึ่งเป็นผู้ปกครองและรับผิดชอบในการดูแลทุกข์สุขของประชาชนทุกหมู่บ้านทั่วทั้งตำบลนั้นประชาชนในตำบลเป็นผู้เลือกกำนัน จากผู้ที่เป็นผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้น ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกกำนัน พ.ศ. 2524 กำนันได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นรายเดือน กำนันจะต้องออกจากตำแหน่งเมื่อ

ก.เมื่อต้องออกจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน

ข.ลาออก

ค.ตำบลที่ปกครองถูกยุบ

ง.ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ออกจากตำแหน่ง เพราะพิจารณาเห็นว่า มีความบกพร่อง หรือ ความสามารถไม่เพียงพอกับตำแหน่ง

จ.ถูกปลดหรือถูกไล่ออก>

ทั้งนี้ การออกจากตำแหน่งตาม ข้อ ข., ค., ง. ไม่ถือว่าต้องออกจาก ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านด้วย ถ้าตำแหน่งกำนันว่างลงต้องมีการเลือกกำนันขึ้นใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่นายอำเภอทราบการว่างนั้น

อำนาจและหน้าที่ของกำนัน

1.อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ กฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ กำหนดเป็นหลักไว้ ได้แก่ การตรวจตรา รักษาความสงบเรียบร้อยในตำบล ให้ราษฎรปฏิบัติตามกฎหมายการป้องกันภัยอันตราย ส่งเสริมความสุขของราษฎรรับเรื่องความเดือดร้อนของราษฎรแจ้งทางราชการและรับข้อราชการ ประกาศแก่ราษฎรหรือที่จะดำเนิน การให้ตามกฎหมาย เช่น การตรวจและเก็บภาษีอากร รวมทั้งการปกครองผู้ใหญ่บ้าน และแพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน

2. อำนาจหน้าที่ทุกอย่างเช่นเดียวกับผู้ใหญ่บ้าน

3. อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับความอาญา และรักษาความสงบเรียบร้อย

(1) มีการกระทำผิดอาญาหรือสงสัยจะเกิด แจ้งนายอำเภอ หรือถ้าเกิดในตำบลข้างเคียงแจ้งกำนันตำบลข้างเคียงนั้นทราบ

(2) พบคนกำลังกระทำผิดกฎหมาย หรือเหตุควรสงสัย หรือมีหมาย หรือคำสั่งให้จับผู้ใดในตำบลให้จับผู้นั้นส่งอำเภอ

(3) ค้นหรือยึดตามหมายที่ออกโดยกฎหมาย

(4) อายัดตัวคนหรือสิ่งของที่ได้มาด้วยการกระทำผิดกฎหมายแล้วนำส่งอำเภอ

(5) เหตุการณ์ร้ายหรือแปลกประหลาด รายงานต่อนายอำเภอ

(6) เกิดจราจล ปล้นฆ่า ชิงทรัพย์ ไฟไหม้หรือเหตุร้าย ฯลฯ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่

(7) เมื่อทราบว่ามีคนอาฆาตมาดร้าย คนจรจัด อาจเรียกประชุมผู้ใหญ่บ้านปรึกษาสืบสวนถ้ามีหลักฐานเอาตัวส่งอำเภอ

(8) คนจรแปลกหน้านอกทะเบียนราษฎร หารือกับผู้ใหญ่บ้าน ขับไล่ออกจากท้องทีตำบลได้

(9) ผู้ใดตั้งทับ กระท่อม หรือโรงเรือนโดดเดี่ยว อันอาจเป็นอันตรายอาจบังคับให้เข้ามาอยู่เสียในหมู่บ้านได้ และนำความแจ้งนายอำเภอ

(10) ผู้ใดปล่อยละทิ้งบ้านให้ชำรุดรุงรัง โสโครก อันอาจเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น หรืออาจเกิดอัคคีภัย ปรึกษากับผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล บังคับให้ผู้อยู่ในที่นั้นแก้ไข ถ้าไม่ปฏิบัติตามนำความร้องเรียนนายอำเภอ

(11) เวลาเกิดอันตรายแก่การทำมาหากินของราษฎร ให้ปรึกษากับผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล หาทางป้องกันแก้ไป ถ้า เหลือกำลังแจ้งนายอำเภอ

4. อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับคนเดินทางมาในตำบล กำนันมีหน้าที่จัดดูแลให้คนเดินทาง ซึ่งไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นผู้ร้าย ให้มีที่พักตาม สมควรและถ้าเป็นผู้เดินทางมาในราชการก็ต้องช่วยเหลือหาคนนำทาง หาเสบียงอาหารให้ ตามที่ร้องขอโดยเรียกค่าใช้จ่ายจากผู้นั้นตามธรรมดาได้

5. อำนาจหน้าที่ดูแลรักษาสิ่งซึ่งเป็นสาธารณประโยชน์ กำนันมีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ ที่มีไว้ให้ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น สระน้ำ ศาลาอาศัย ที่เลี้ยงปศุสัตว์ มิให้ผู้ใด รุกล้ำยึดถือครอบครองผู้เดียว หรือทำให้ทรัพย์เสียหาย

6. อำนาจเกี่ยวกับการทะเบียนต่าง ๆ ในตำบล กำนันมีส่วนรับผิดชอบงานทะเบียนราษฎรเกี่ยวกับการแจ้งคน เกิด คนย้าย คนตาย และทะเบียนลูกคอกสัตว์พาหนะ และมีหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนสมรส เพื่อนำส่งนายอำเภอให้จดทะเบียนสมรสให้ โดยคู่สมรสไม่ต้องไปที่ว่าการอำเภอ ในกรณีเป็นท้องที่ตำบลที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศไว้ ตลอดจนทำบัญชี ทะเบียนสิ่งสาธารณะประโยชน์ที่อยู่ใน ตำบลนั้น

7. อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับภาษีอากร ช่วยเหลือในการจัดเก็บภาษีอากร ในการสำรวจและประเมิน ราคาเพื่อเสียภาษีอากร โดย ทำบัญชีสิ่งของที่ต้องเสียภาษีอากรยื่นต่อนายอำเภอ เพื่อนำไป เสียภาษี ตามกฎหมายภาษีอากร

8. อำนาจหน้าที่เรียกประชุมและให้ช่วยงานตามหน้าที่ กำนันมีอำนาจหน้าที่เรียกประชุมประชาชน คณะกรรมการสภา ตำบล และผู้ใหญ่บ้าน เพื่อหารือร่วมกัน และเรียกบุคคลใดมาหารือให้ช่วยเหลืองาน ตามหน้าที่ได้

9. หน้าที่ทั่ว ๆ ไป หน้าที่ทั่วไป เป็นอำนาจหน้าที่ที่ปรากฎในกฎหมายอื่นๆ ที่ กระทรวงทบวงกรมอื่นให้ช่วยเหลือและเป็นที่น่าสังเกตว่า กระทรวงทบวงกรมอื่นส่วนใหญ่มัก กำหนดให้กำนันมีแต่หน้าที่ ส่วนอำนาจนั้นมักไม่มอบให้ จึงทำให้การปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายไม่ได้ผลเท่าที่ควร ไม่เหมือนกับการงานในหน้าที่ ของฝ่านปกครอง

แพทย์ประจำตำบล

การดำรงตำแหน่งของแพทย์ประจำตำบล ต้องให้กำนันและผู้ใหญ่บ้านประชุมพร้อมกันเลือก บุคคลผู้มีคุณสมบัติต่อไปนี้ คือ บุคคลผู้มีสัญชาติไทย และมีความรู้ใน วิชาแพทย์แผนปัจจุบันหรือแผนโบราณ ตลอดจนเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในตำบลนั้น (เว้นแต่ผู้ที่เป็น แพทย์ประจำตำบลใกล้เคียงกันกระทำการรวมเป็นสองตำบล) เมื่อเลือกผู้มีคุณสมบัติแล้ว จึงเสนอชื่อให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด แต่งตั้งเป็นแพทย์ประจำตำบล

แพทย์ประจำตำบลมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ การช่วยเหลือกำนันผู้ใหญ่บ้านคิดอ่าน และจัดการรักษาความสงบเรียบร้อยในตำบล ป้องกันและตรวจตราความเจ็บไข้ได้ป่วยที่เกิดขึ้นแก่ราษฎรในตำบลนั้นและตำบลใกล้เคียง ตลอดจนรายงานโรคระบาดร้ายแรง แก่กำนันและนายอำเภอท้องที่

สารวัตรกำนัน ในตำบลหนึ่ง ๆ ให้มีสารวัตรกำนันจำนวน 2 คน ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยและรับใช้สอยของกำนัน ผู้ที่จะเป็นสารวัตรกำนันนั้นแล้วแต่กำนันจะร้องขอให้เป็น แต่ต้องได้รับความเห็นชอบของผู้ว่าราชการจังหวัด และกำนันมีอำนาจเปลี่ยนสารวัตรกำนันได้

อำเภอ

อำเภอเป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด และไม่มีฐานะเป็น นิติบุคคล เหมือนจังหวัด ประกอบขึ้นจากท้องที่หลายตำบลรวมกันขึ้นเป็นอำเภอ

การจัดตั้งอำเภอ การจัดตั้งอำเภอจะต้องกระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา การตั้งอำเภอนอกจากจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้วยังต้องดำเนินการให้เป็นไป ตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ด้วย

หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 กำหนดไว้ดังนี้

(1) ให้กำหนดเขตท้องที่อำเภอ มีเครื่องหมายและจดเขตอำเภออื่นทุกด้าน อย่าให้มีที่ว่าง เปล่าอยู่นอกเขตอำเภอ

(2) ให้กำหนดจำนวนตำบลที่รวมเข้าเป็นอำเภอและให้กำหนดเขตตำบลให้ตรงกับเขต อำเภอ ถ้ามีที่ว่างเปล่าเช่นทุ่งหรือป่า เป็นต้น อยู่ใกล้เคียงที่อำเภอใด หรือจะตรวจตราปกครองได้สะดวกจาก อำเภอใด ก็ให้กำหนดที่ว่างนั้นเป็นที่อยู่ในเขตอำเภอนั้น

(3) ให้กำหนดที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอ ให้อยู่ในที่ซึ่งจะทำการปกครองราษฎรในอำเภอนั้นได สะดวก

นอกจากหลักเกณฑ์ข้างต้น กระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อ วันที่ 14 พฤษภาคม 2539 ยังได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งอำเภอไว้เป็นแนวทางปฏิบัติดังนี้

(1) เป็นกิ่งอำเภอมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ

(2) เป็นกิ่งอำเภอมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นทางการปกครอง และการบริการประชาชน คือ มีราษฎรคั้งแต่ 30,000 คนขึ้นไป

(3) ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด และสภาจังหวัด

การจัดระเบียบการปกครองอำเภอ ในอำเภอหนึ่งๆ มีเจ้าหน้าที่บริหารงานและดำเนินการปกครองดังนี้

1. นายอำเภอ

2. ปลัดอำเภอ

3. หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ

นายอำเภอ ในอำเภอหนึ่งๆ จะมีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และ รับผิดชอบ ในการบริหารราชการของอำเภอ นอกจากนั้นยังมีอำนาจปกครองบังคับบัญชาและควบคุมการปฏิบัติงานของกำนันผู้ใหญ่บ้านในเขตท้องที่อำเภอของตนอีกด้วย

นายอำเภอเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย (กรมการปกครอง) มีอำนาจและหน้าที่ ของนายอำเภอตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ดังต่อไปนี้

1. บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราการ ถ้ากฎหมายใด มิได้ บัญญัติว่าการปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะ ให้เป็นหน้าที่ของนายอำเภอที่จะต้อง รักษาการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นด้วย

2. บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมาย หรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล

3.บริหารราชการตามคำแนะนำและคำชี้แจงของผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้มีหน้าที่ตรวจการ อื่นซึ่งคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม และผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ในเมื่อไม่ขัด ต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการ ของนายกรัฐมนตรี

4. ควบคุมดูแลการบริหารราชการท้องถิ่นในอำเภอตามกฎหมาย

นอกจากนี้ตามมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ยังกำหนดให้นายอำเภอมีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับราชการของกรมการอำเภอหรือนายอำเภอตาม พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ดังนี้

1. ปกครองท้องที่

2. ป้องกันภยันตรายของราษฎรและรักษาความสงบในท้องที่

3. การเกี่ยวกับคดีแพ่งและคดีอาญา

4. ป้องกันโรคร้าย

5. บำรุงการทำนา ค้าขาย ป่าไม้ ทางไปมาต่อกัน

6. บำรุงการศึกษา

7. การเก็บภาษีอากร

8. หน้าที่เบ็ดเตล็ดอื่นๆ เช่น การช่วยเหลือราชการของอำเภอใกล้เคียง เป็นต้น

ปลัดอำเภอ ในอำเภอหนึ่งๆ นอกจากจะมีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาและรับผิดชอบงานบริหารราชการของอำเภอแล้วยังมี ปลัดอำเภอ เป็นผู้ช่วยเหลือในการปฏิบัติราชการของนายอำเภอ ปลัดอำเภอเป็นข้าราชการสังกัดกรมการปกครอง

อำเภอหนึ่งๆจะมีปลัดอำเภอ จำนวนมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปริมาณงานและความรับผิดชอบ รวมทั้งความสมควรแก่ราชการเป็นสำคัญ นอกจากนี้ปลัดอำเภอยังรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของกรมการปกครองที่ทำการปกครองอำเภอด้วย

หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ ในแต่ละอำเภอนอกจากจะมีนายอำเภอและปลัดอำเภอแล้ว ยังมีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ส่งไปประจำทำงานในหน้าที่ของตน หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ปกติให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอ และ มีอำนาจปกครอง บังคับบัญชา บรรดา ข้าราชการส่วนภูมิภาค ซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้นในอำเภอนั้น

หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับกฎหมาย และความจำเป็นของงานในอำเภอนั้นเป็นสำคัญ หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอที่สำคัญและจำเป็นจะต้องมี เช่น สาธารณสุขอำเภอ พัฒนาการอำเภอ เป็นต้น

การแบ่งส่วนราชการของอำเภอในกฎหมายได้กำหนดการแบ่งส่วนราชการในการบริหารราชการอำเภอออกเป็น 2 ส่วน

1. สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้นๆ โดยมีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการ

2. ส่วนราชการประจำอำเภอ ส่วนราชการประจำอำเภอ เป็นไปตามที่กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ได้จัดตั้งขึ้นในอำเภอนั้นเป็นสำคัญ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในส่วน ราชการนั้นๆ และมีหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของกร+ะทรวง ทบวง กรม นั้น

ส่วนราชการประจำอำเภอหลักๆ ที่สำคัญและจำเป็นจะต้องมีนอกจาก ที่ทำการปกครองอำเภอแล้ว เช่น สถานีตำรวจภูธรอำเภอ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ที่ทำการสัสดีอำเภอ เป็นต้น

กิ่งอำเภอ

ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ได้กำหนดการจัดรูปการปกครองในระดับภูมิภาคไว้แค่อำเภอ แต่กิ่งอำเภอเป็นรูปการปกครองที่ปรากฎอยู่ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457

"กิ่งอำเภอมีฐานะเป็นส่วนราชการที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐไปปฏิบัติงานประจำอยู่ เป็นส่วนย่อยของอำเภอ โดยอำเภอหนึ่งๆ อาจแบ่งพื้นที่ออกเป็นกิ่งอำเภอได้ตามความจำเป็นในการปกครองการจัดตั้งกิ่งอำเภอ

การตั้งกิ่งอำเภอทำโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยมีหลักเกณฑ์การจัดตั้งตามที่ กำหนดไว้ในมาตรา 64 ของพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ดังนี้

1. อำเภอใดมีท้องที่กว้างขวางซึ่งจะตรวจตราให้ตลอดท้องที่ได้โดยยาก แต่ในท้องที่นั้นมี ราษฎรไม่มากพอที่จะตั้งเป็นอำเภอหนึ่งต่างหาก หรือ

2. ท้องที่อำเภอใดมีราษฎรจำนวนมากอยู่ห่างไกลที่ว่าการอำเภอ ยากแก่การตรวจตรา แต่ ท้องที่เล็กเกินไปไม่สมควรจะตั้งเป็นอำเภอหนึ่งต่างหาก

นอกจากหลักเกณฑ์ข้างต้น กระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2539 ยังได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งกิ่งอำเภอไว้เป็นแนวทางปฏิบัติดังนี้

ก.กรณีเป็นชุมชนหนาแน่น

1.มีราษฎรไม่น้อยกว่า 30,000 คนขึ้นไป

2.มีตำบลไม่น้อยกว่า 5 ตำบล

3.ได้รับความเห็นชอบจากสภาตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดและสภาจังหวัด

ข.กรณีเป็นชุมชนห่างไกล

1.มีราษฎรไม่น้อยกว่า 15,000 คนขึ้นไป

2.มีตำบลไม่น้อยกว่า 4 ตำบล

3.ที่ว่าการกิ่งอำเภอใหม่ต้องห่างจากที่ว่าการอำเภอเดิมไม่น้อยกว่า 25 กิโลเมตร

4.ได้รับความเห็นชอบจากสภาตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดและสภาจังหวัด

ในการบริหารราชการของกิ่งอำเภอนั้น นอกจากมีนายอำเภอท้องที่เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาแล้ว จะมีปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ รับผิดชอบในการบริหารราชการรองจากนาย อำเภอและมีหน้าที่ปฏิบัติราชการแทนนายอำเภอในเวลาที่นายอำเภอมิได้มาอยู่ที่กิ่งอำเภอ

ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ เป็นข้าราชการในสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

องค์การส่วนภูมิภาค มีอะไรบ้าง

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด.
สำนักงานคลังจังหวัด.
สำนักงานสหกรณ์จังหวัด.
สำนักงานประมงจังหวัด.
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด.
สำนักงานเกษตรจังหวัด.
สำนักงานพาณิชย์จังหวัด.
สำนักงานขนส่งจังหวัด.

อำเภอมีสถานะเป็นอะไร

การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย จังหวัดและอาเภอ จังหวัดเกิดจากการรวมท้องที่หลาย ๆ อ าเภอตั้งขึ้นเป็นจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยการตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ (มาตรา 52) ในปัจจุบันมีจังหวัดทั้งสิ้น 77 จังหวัด ไม่รวมกรุงเทพมหานครที่มีฐานะเป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

อำเภอสังกัดหน่วยงานใด

กรมการปกครอง เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงมหาดไทย ดำเนินงานเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน การบริหารการปกครองท้องที่ในระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน การดำเนินการและพัฒนาระบบงานทะเบียนราษฎร และการขออนุญาตต่าง ๆ ตามกฎหมาย

นายอำเภอสังกัดข้อใด

นายอำเภอ สังกัดกรมการปกครอง ตามที่คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรง