ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง

ในบทความนี้จะกล่าวถึงแนวทางในการเตรียมเอกสารในตัวชี้วัดที่ 3.1 การพัฒนาตนเอง จากด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพดังนี้ครับ

ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ หมายถึง กระบวนการพัฒนาสมรรถนะ และวิชาชีพครู โดยมีแผนการพัฒนาตนเอง และดำเนินการพัฒนาตนเองตามแผนอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงานความต้องการจำเป็น องค์ความรู้ใหม่ นโยบาย แผนกลยุทธ์ของหน่วยงานการศึกษา หรือส่วนราชการต้นสังกัด มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในระดับสถานศึกษา หรือระดับเครือข่าย หรือระดับชาติ และแสดงบทบาทในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ด้วยความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร ที่มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมายและภารกิจร่วมกัน ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน เพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร และสร้างนวัตกรรมจากการเข้าร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

สมรรถนะ

สมรรถนะ เป็นคุณลักษณะพื้นฐานของ บุคคลซึ่งมี ความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล หรือเป็นไปตามเกณฑห์ หรือการมีผลงานโดดเด่นกว่า ในการทำงาน หรือสถานการณ์

สมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษา (Teacher and personal competency) หมายถึง พฤติกรรมซึ่งเกิดจากการรวม ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) คุณลักษณะ (Character) ทัศนคติ (Attitude) และแรงจูงใจ (Motivation) ของ บุคคลและส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามบทบาทอย่างโดดเด่น

องค์ประกอบของสมรรถนะ มี 3 ประการคือ

  1. ความรู้ (Knoeledge)
  2. ทักษะ (Skills)
  3. คุณลักษณะส่วนบุคคล (Attriutes)

ประเภทของสมรรถนะ มี 2 ประเภท คือ

  1. สมรรถนะหลัก (Core Competency)
  2. สมรรถนะประจำสายงาน (Function Competency)

การพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ

การพัฒนาตนเองรายบุคคล  เป็นการพัฒนาบุคลากรโดยยึดหลักการประเมินสมรรถนะ  (Competency Based  Approach) จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถรู้จุดเด่น  จุดด้อยของความสามารถในการปฏิบัติงานของตนและสามารถพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของหน่วยงาน และของตนเองอย่างแท้จริง  อีกทั้งจะทำให้การพัฒนาครูดำเนินไปอย่างประหยัด และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยสมรรถนะจะแบ่งเป็น 2 สมรรถนะ คือ


      1. สมรรถนะหลัก (Core Competency) หมายถึง สมรรถนะที่ทุกคนต้องมีหรือปฏิบัติได้ เป็นคุณลักษณะร่วมกันของบุคคลทุกตำแหน่ง ซึ่งสมรรถนะหลักของครูและบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย 
           1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน 
           1.2 การบริการที่ดี 
           1.3 การพัฒนาตนเอง 
           1.4 การทำงานเป็นทีม 
           1.5 จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ 
       2.  สมรรถนะประจำสายงาน (Functional Competency) เป็นสมรรถนะที่กำหนดเฉพาะสำหรับแต่ละตำแหน่ง เพื่อให้บุคคลที่ดำรงตำแหน่งนั้น แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมกับหน้าที่และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น  ซึ่งสมรรถนะประจำสายงานของครู ประกอบด้วย 
           2.1 การบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 
           2.2 การพัฒนาผู้เรียน 
           2.3 การบริหารจัดการชั้นเรียน 
           2.4 การวิเคราะห์ สังเคราะห์และการวิจัย เพื่อการพัฒนาผู้เรียน
           2.5 ภาวะผู้นำครู
           2.6 การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน


สมรรถนะหลัก (Core Competency) 

สมรรถนะที่ 1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน (Working Achievement Motivation) หมายถึง ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้มีคุณภาพ ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยมีการวางแผน กำหนดเป้าหมาย ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน และปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพและผลงานอย่างต่อเนื่อง

ตัวบ่งชี้รายการพฤติกรรม1.1 ความสามารถในการวางแผนการกำหนดเป้าหมาย การวิเคราะห์  สังเคราะห์ภารกิจงาน1. วิเคราะห์ภารกิจงานเพื่อวางแผนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
2. กำหนดเป้าหมายในการปฏิบัติงานทุกภาคเรียน
3. กำหนดแผนการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน1.2 ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่
ให้มีคุณภาพ ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์1. ใฝ่เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้
2. ริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
3. แสวงหาความรู้ที่เกี่ยวกับวิชาชีพใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนาตนเอง1.3 ความสามารถในการติดตามประเมิน
ผลการปฏิบัติงาน1. ประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเอง1.4 ความสามารถในการพัฒนา
การปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อให้งานประสบความสำเร็จ1. ใช้ผลการประเมินการปฏิบัติงานมาปรับปรุง/พัฒนาการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
พัฒนาการปฏิบัติงานเพื่อตอบสนอง
2. ความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน

ตัวอย่างการเขียน

ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ที่มา : แผนพัฒนาตนเอง (Individual Development Plan) ปีการศึกษา 2559 โรงเรียน ลำปางกัลยาณี  

สมรรถนะที่ 2 การบริการที่ดี (Service Mind) หมายถึง ความตั้งใจและความเต็มใจในการให้บริการ และการปรับปรุงระบบบริการให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ  

ตัวบ่งชี้รายการพฤติกรรม2.1 ความตั้งใจและเต็มใจใน
การให้บริการ1. ทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมเมื่อมีโอกาส
2. เต็มใจ ภาคภูมิใจ และมีความสุขในการให้บริการแก่ผู้รับบริการ2.2 การปรับปรุงระบบบริการให้มีประสิทธิภาพ1. ศึกษาความต้องการของผู้รับบริการ และนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุง
2. ปรับปรุงและพัฒนาระบบการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างการเขียน

ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ที่มา : แผนพัฒนาตนเอง (Individual Development Plan) ปีการศึกษา 2559 โรงเรียน ลำปางกัลยาณี  

สมรรถนะที่ 3 การพัฒนาตนเอง (Self- Development) หมายถึง การศึกษาค้นคว้า หาความรู้ ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ๆ ทางวิชาการและวิชาชีพ มีการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อพัฒนาตนเอง และพัฒนางาน 

ตัวบ่งชี้รายการพฤติกรรม3.1 การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ติดตามองค์ความรู้ใหม่ๆ ทางวิชาการและวิชาชีพ1. ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ มุ่งมั่นและแสวงหาโอกาสพัฒนาตนเองด้วยวิธีการ
ที่หลากหลาย เช่น การเข้าร่วมประชุม/สัมมนา การศึกษาดูงาน การค้นคว้า
ด้วยตนเอง3.2 การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมในการพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ1. รวบรวม สังเคราะห์ข้อมูล ความรู้ จัดเป็นหมวดหมู่ และปรับปรุงให้ทันสมัย
2. สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ องค์กรและวิชาชีพ3.3 การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างเครือข่าย1. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นเพื่อพัฒนาตนเอง และพัฒนางาน
2.ให้คำปรึกษา แนะนำ นิเทศ และถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ
แก่ผู้อื่น
3. มีการขยายผลโดยสร้างเครือข่ายการเรียนรู้

ตัวอย่างการเขียน

ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ที่มา : แผนพัฒนาตนเอง (Individual Development Plan) ปีการศึกษา 2559 โรงเรียน ลำปางกัลยาณี  

สมรรถนะที่ 4 การทำงานเป็นทีม (Team Work) หมายถึง การให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ สนับสนุนเสริมแรงให้กำลังใจแก่เพื่อนร่วมงาน การปรับตัวเข้ากับผู้อื่นหรือทีมงาน แสดงบทบาทการเป็นผู้นำหรือผู้ตามได้อย่างเหมาะสมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อสร้างและดำรงสัมพันธภาพของสมาชิก ตลอดจนเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย

ตัวบ่งชี้รายการพฤติกรรม4.1 การให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อนร่วมงาน1. สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
2. ทำงานร่วมกับผู้อื่นตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3. ช่วยเหลือ สนับสนุน เพื่อนร่วมงานเพื่อสู่เป้าหมายความสำเร็จร่วมกัน4.2 การเสริมแรงให้กำลังใจเพื่อนร่วมงาน1. ให้เกียรติ ยกย่องชมเชย ให้กำลังใจแก่เพื่อนร่วมงานในโอกาสที่เหมาะสม4.3 การปรับตัวเข้ากับกลุ่มคนหรือสถานการณ์ที่หลากหลาย1. มีทักษะในการทำงานร่วมกับบุคคล/กลุ่มบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา และในสถานการณ์ต่างๆ4.4 การแสดงบทบาทผู้นำหรือผู้ตาม1. แสดงบทบาทผู้นำหรือผู้ตามในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมตามโอกาส4.5 การเข้าไปมีส่วนร่วมกับผู้อื่นใน
การพัฒนาการจัดการศึกษาให้บรรลุ
ผลสำเร็จตามเป้าหมาย1. แลกเปลี่ยน/รับฟังความคิดเห็นและประสบการณ์ภายในทีมงาน
2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้/รับฟังความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างเครือข่ายและทีมงาน
3. ร่วมกับเพื่อนร่วมงานในการสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมให้เกิดขึ้นในสถานศึกษา

ตัวอย่างการเขียน

ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ที่มา : แผนพัฒนาตนเอง (Individual Development Plan) ปีการศึกษา 2559 โรงเรียน ลำปางกัลยาณี  

สมรรถนะที่ 5 จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู (Teacher’s Ethics and Integrity) หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนถูกต้องตามหลักคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน และสังคม เพื่อสร้างความศรัทธาในวิชาชีพครู

ตัวบ่งชี้รายการพฤติกรรม1. ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ1. สนับสนุน และเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพ 
2. เสียสละ อุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
3. ยกย่อง ชื่นชมบุคคลที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพ
4. ยึดมั่นในอุดมการณ์ของวิชาชีพ ปกป้องเกียรติและศักดิ์ศรีของวิชาชีพ2. มีวินัย และความรับผิดชอบในวิชาชีพ1. ซื่อสัตย์ต่อตนเอง ตรงต่อเวลา วางแผนการใช้จ่าย และใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
2. ปฏิบัติตนตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวัฒนธรรมที่ดีขององค์กร
3. ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ และมุ่งมั่นพัฒนาการประกอบวิชาชีพให้ก้าวหน้า
4. ยอมรับผลอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง และหาแนวทางแก้ไขปัญหา อุปสรรค3. การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม1. ปฏิบัติตน/ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้เหมาะสมกับสถานะของตน
2. รักษาสิทธิประโยชน์ของตนเอง และไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
3. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือ และไม่เบียดเบียนผู้อื่น4. การประพฤติปฏิบัติตน เป็นแบบอย่างที่ดี1. ปฏิบัติตนได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ และสถานการณ์
2. มีความเป็นกัลยาณมิตรต่อผู้เรียน เพื่อนร่วมงาน และผู้รับบริการ
3. ปฏิบัติตนตามหลักการครองตน ครองคน ครองงานเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุผลสำเร็จ 
4. เป็นแบบอย่างที่ดีในการส่งเสริมผู้อื่นให้ปฏิบัติตนตามหลักจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับ

ตัวอย่างการเขียน

ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ที่มา : แผนพัฒนาตนเอง (Individual Development Plan) ปีการศึกษา 2559 โรงเรียน ลำปางกัลยาณี  

สมรรถนะประจำสายงาน (Functional Competency)

สมรรถนะที่ 1 การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ (Curriculum and Learning Management) หมายถึง ความสามารถในการสร้างและพัฒนาหลักสูตรการออกแบบการเรียนรู้อย่างสอดคล้องและเป็นระบบจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี และการวัด ประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ตัวบ่งชี้รายการพฤติกรรม1. การสร้างและพัฒนาหลักสูตร1. สร้าง/พัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางและท้องถิ่น
2. ประเมินการใช้หลักสูตรและนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตร2. ความรู้ ความสามารถใน
การออกแบบการเรียนรู้ 1. กำหนดผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เน้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์ ริเริ่มเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้ ความแตกต่างและธรรมชาติของผู้เรียนเป็นรายบุคคล 
2. ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลายเหมาะสมสอดคล้องกับวัย และความต้องการของผู้เรียน และชุมชน
3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนรู้  การจัดกิจกรรมและการประเมินผลการเรียนรู้
4. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบโดยบูรณาการอย่างสอดคล้องเชื่อมโยงกัน
5. มีการนำผลการออกแบบการเรียนรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ และปรับใช้ตามสถานการณ์อย่างเหมาะสมและเกิดผลกับผู้เรียนตามที่คาดหวัง
6. ประเมินผลการออกแบบการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ปรับปรุง/พัฒนา3. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ1. จัดทำฐานข้อมูลเพื่ออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. ใช้รูปแบบ/เทคนิควิธีการสอนอย่างหลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
3. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ปลูกฝัง/ส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะของผู้เรียน
4. ใช้หลักจิตวิทยาในการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข และพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
5.ใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนในการจัดการเรียนรู้
6. พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง และชุมชน 4. การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้1. ใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย เหมาะสมกับเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้
2. สืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้
3. ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อ/นวัตกรรมที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้5. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้1.  ออกแบบวิธีการวัดและประเมินผลอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับเนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ และผู้เรียน
2. สร้างและนำเครื่องมือวัดและประเมินผลไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม
3. วัดและประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง
4. นำผลการประเมินการเรียนรู้มาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ 

ตัวอย่างการเขียน

ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ที่มา : แผนพัฒนาตนเอง (Individual Development Plan) ปีการศึกษา 2559 โรงเรียน ลำปางกัลยาณี  

สมรรถนะที่ 2 การพัฒนาผู้เรียน (Student Development) หมายถึงความสามารถในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การพัฒนาทักษะชีวิต สุขภาพกาย และสุขภาพจิต ความเป็นประชาธิปไตย ความภูมิใจในความเป็นไทย การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ

ตัวบ่งชี้รายการพฤติกรรม1. การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่ผู้เรียน1. สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมแก่ผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
2. จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรม
3. จัดทำโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ผู้เรียน2. การพัฒนาทักษะชีวิต และสุขภาพกาย และสุขภาพจิตผู้เรียน1. จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านการดูแลตนเอง มีทักษะในการเรียนรู้ การทำงาน การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง3. การปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตย  ความภูมิใจใน
ความเป็นไทยให้กับผู้เรียน1. สอดแทรกความเป็นประชาธิปไตย  ความภูมิใจในความเป็นไทย ให้แก่ผู้เรียน
2. จัดทำโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ความภูมิใจในความเป็นไทย 4. การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน1. ให้ผู้เรียน คณะครูผู้สอน และผู้ปกครองมีส่วนร่วมในดูแลช่วยเหลือนักเรียนรายบุคคล
2. นำข้อมูลนักเรียนไปใช้ช่วยเหลือ/พัฒนาผู้เรียนทั้งด้านการเรียนรู้และปรับพฤติกรรมเป็นรายบุคคล
3. จัดกิจกรรมเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหา และส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้แก่นักเรียนอย่างทั่วถึง
4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมกับค่านิยมที่ดีงาม 
5. ดูแล ช่วยเหลือ ผู้เรียนทุกคนอย่างทั่วถึง ทันการณ์

ตัวอย่างการเขียน

ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ที่มา : แผนพัฒนาตนเอง (Individual Development Plan) ปีการศึกษา 2559 โรงเรียน ลำปางกัลยาณี  

สมรรถนะที่ 3 การบริหารจัดการชั้นเรียน (Classroom Management) หมายถึง การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ การจัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียน/ประจำวิชา การกำกับดูแลชั้นเรียนรายชั้น/รายวิชา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุข และความปลอดภัยของผู้เรียน  

ตัวบ่งชี้รายการพฤติกรรม1. จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ความสุขและความปลอดภัยของผู้เรียน1. จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน และภายนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้
2. ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียน
3. ตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องเรียนให้พร้อมใช้และปลอดภัยอยู่เสมอ2. จัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียน/ประจำวิชา1. จัดทำข้อมูลสารสนเทศของนักเรียนเป็นรายบุคคลและเอกสารประจำชั้นเรียนอย่างถูกต้อง  ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน
2. นำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ3. จัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียน/ประจำวิชา1. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดกฎ กติกา ข้อตกลงในชั้นเรียน
2. แก้ปัญหา/พัฒนานักเรียนด้านระเบียบวินัยโดยการสร้างวินัยเชิงบวกในชั้นเรียน
3. ประเมินการกำกับดูแลชั้นเรียน และนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนา

ตัวอย่างการเขียน

ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ที่มา : แผนพัฒนาตนเอง (Individual Development Plan) ปีการศึกษา 2559 โรงเรียน ลำปางกัลยาณี  

สมรรถนะที่ 4  การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน (Analysis & Synthesis & Classroom Research) หมายถึง ความสามารถในการทำความเข้าใจ แยกประเด็นเป็นส่วนย่อย รวบรวม ประมวลหาข้อสรุปอย่างมีระบบและนำไปใช้ในการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งสามารถวิเคราะห์องค์กรหรืองานในภาพรวมและดำเนินการแก้ปัญหา เพื่อพัฒนางานอย่างเป็นระบบ

ตัวบ่งชี้รายการพฤติกรรม1. การวิเคราะห์  1. สำรวจปัญหาเกี่ยวกับนักเรียนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนเพื่อวางแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
2. วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาเกี่ยวกับนักเรียนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนเพื่อกำหนดทางเลือกในการแก้ไขปัญหาระบุสภาพปัจจุบัน
3. มีการวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย อุปสรรคและโอกาสความสำเร็จของการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน2. การสังเคราะห์1. รวบรวม จำแนกและจัดกลุ่มของสภาพปัญหาของผู้เรียน แนวคิดทฤษฎีและวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้
2. มีการประมวลผลหรือสรุปข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาในชั้นเรียนโดยใช้ข้อมูลรอบด้าน3. การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน1. จัดทำแผนการวิจัย และดำเนินกระบวนการวิจัย อย่างเป็นระบบตามแผนดำเนินการวิจัยที่กำหนดไว้
2. ตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของผลการวิจัยอย่างเป็นระบบ
3. มีการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในกรณีศึกษาอื่น ๆ ที่มีบริบทของปัญหาที่คล้ายคลึงกัน

ตัวอย่างการเขียน

ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ที่มา : แผนพัฒนาตนเอง (Individual Development Plan) ปีการศึกษา 2559 โรงเรียน ลำปางกัลยาณี  

สมรรถนะที่ 5 ภาวะผู้นำครู (Teacher Leadership) หมายถึง คุณลักษณะและพฤติกรรมของครูที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ส่วนบุคคล และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนโดยปราศจากการใช้อิทธิพลของผู้บริหารสถานศึกษา ก่อให้เกิดพลังแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ

ตัวบ่งชี้รายการพฤติกรรม1. วุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่ที่เหมาะสมกับความเป็นครู (Adult Development)1. พิจารณาทบทวน ประเมินตนเองเกี่ยวกับพฤติกรรมที่แสดงออกต่อผู้เรียนและผู้อื่น  และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
2. เห็นคุณค่า ให้ความสำคัญในความคิดเห็นหรือผลงาน และให้เกียรติแก่ผู้อื่น
3. กระตุ้นจูงใจ ปรับเปลี่ยนความคิดและการกระทำของผู้อื่นให้มีความผูกพันและมุ่งมั่นต่อเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน2. การสนทนาอย่างสร้างสรรค์
(Dialogue)1. มีปฏิสัมพันธ์ในการสนทนา มีบทบาท และมีส่วนร่วมในการสนทนาอย่างสร้างสรรค์กับผู้อื่นโดยมุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้ของผู้เรียนและการพัฒนาวิชาชีพ
2. มีทักษะการฟัง การพูด และการตั้งคำถาม เปิดใจกว้าง ยืดหยุ่น ยอมรับทัศนะที่หลากหลายของผู้อื่น เพื่อเป็นแนวทางใหม่ๆ ในการปฏิบัติงาน
3. สืบเสาะข้อมูล ความรู้ทางวิชาชีพใหม่ๆ ที่สร้างความท้าทายในการสนทนาอย่างสร้างสรรค์กับผู้อื่น3. การเป็นบุคคลแห่ง
การเปลี่ยนแปลง (Change Agency)1. ให้ความสนใจต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นปัจจุบัน โดยมีการวางแผนอย่างมีวิสัยทัศน์ซึ่งเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และพันธกิจของโรงเรียนร่วมกับผู้อื่น 
2. ริเริ่มการปฏิบัติที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนานวัตกรรม
3. กระตุ้นผู้อื่นให้มีการเรียนรู้และความร่วมมือในวงกว้างเพื่อพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษา และวิชาชีพ
4. ปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นภายใต้ระบบ/ขั้นตอนที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมได้4. การปฏิบัติงานอย่างไตร่ตรอง
(Reflective Practice)1. พิจารณาไตร่ตรองความสอดคล้องระหว่างการเรียนรู้ของนักเรียน และการจัดการเรียนรู้
2. สนับสนุนความคิดริเริ่มซึ่งเกิดจากการพิจารณาไตร่ตรองของเพื่อนร่วมงาน และมีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ 
3. ใช้เทคนิควิธีการหลากหลายในการตรวจสอบ ประเมินการปฏิบัติงานของตนเอง และผลการดำเนินงานสถานศึกษา5. การมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน
(Concern for improving pupil achievement)1. กำหนดเป้าหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ที่ท้าทายความสามารถของตนเองตามสภาพจริง และปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จได้
2. ให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นรอบด้านของผู้เรียนต่อผู้ปกครองและผู้เรียนอย่างเป็นระบบ 
3. ยอมรับข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับความคาดหวังด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนจากผู้ปกครอง
4. ปรับเปลี่ยนบทบาทและการปฏิบัติงานของตนเองให้เอื้อต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน
5. ตรวจสอบข้อมูลการประเมินผู้เรียนอย่างรอบด้าน รวมไปถึงผลการวิจัย หรือองค์ความรู้ต่างๆ  และนำไปใช้ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนอย่างเป็นระบบ

ตัวอย่างการเขียน

ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ที่มา : แผนพัฒนาตนเอง (Individual Development Plan) ปีการศึกษา 2559 โรงเรียน ลำปางกัลยาณี  

สมรรถนะที่ 6 การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้(Relationship & Collaborative – Building for Learning Management) หมายถึง การประสานความร่วมมือ สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และเครือข่ายกับผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้รายการพฤติกรรม1. การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน
เพื่อการจัดการเรียนรู้1. กำหนดแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และความร่วมมือกับชุมชน
2. ประสานให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของสถานศึกษา
3. ให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน
4. จัดกิจกรรมที่เสริมสร้าง ความสัมพันธ์และความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อการจัดการเรียนรู้2. การสร้างเครือข่าย
ความร่วมมือเพื่อการจัดการเรียนรู้)1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างครู ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรอื่นๆ ทั้งภาครัฐ และ เอกชน เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้

ตัวอย่างการเขียน

ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ที่มา : แผนพัฒนาตนเอง (Individual Development Plan) ปีการศึกษา 2559 โรงเรียน ลำปางกัลยาณี  

กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดสมรรถนะครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 ไว้คือสมรรถนะหลัก 5 ประการ ได้แก่

  1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติงาน
  2. การบริการที่ดี
  3. การพัฒนาตนเอง
  4. การทำงานเป็นทีม
  5. จริยธรรมและจรรยาบรรณของครู

รวมทั้งต้องมีสมรรถนะตามสายปฏิบัติงาน 6 ประการ (แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579, 2560) ได้แก่

  1. การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
  2. การพัฒนาผู้เรียน
  3. การบริหารการจัดการชั้นเรียน
  4. การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
  5. ภาวะผู้นำ
  6. การสร้างความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับ
  7. ชุมชน

ภาสกร เรืองรองและประหยัด จิระวรพงศ์ (2556) ได้กล่าวถึง เสนอทักษะที่จำเป็นของครูในอนาคต (C-Teacher) ไว้ 8 ประการ ของ รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ดังนี้

  1. Content ครูต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องที่สอนเป็นอย่างดี
  2. Computer (ICT) Integration ครูต้องมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน
  3. Constructionist ครูผู้สอนต้องเข้าใจแนวคิดที่ว่า ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเองโดยเชื่อมโยงความรู้เดิม
  4. Connectivity จัดกิจกรรมให้เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนกับเพื่อนและผู้สอน ทั้งในชั้นเรียนเดียวกัน สถานศึกษาเดียวกัน หรือต่างสถานศึกษา หรือเชื่อมโยงกับ สถานศึกษา บ้าน หรือชุมชน เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ของผู้เรียน
  5. Collaboration จัดกิจกรรมการเพื่อฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม
  6. Communication ครูต้องมีทักษะการสื่อสาร
  7. Creativity ครูต้องออกแบบ สร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้
  8. Caring ครูต้องมีมุทิตาจิตต่อนักเรียน ต้องแสดงออกถึงความรัก ความห่วงใยต่อผู้เรียน
ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง

ขั้นตอนการพัฒนาสมรรถนะด้วยตนเอง

จากเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมีเป้าหมายให้เป็นผู้ที่มีความรู้ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับวิชาชีพ การที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ครบ ครูควรจะต้องมีศักยภาพในการพัฒนาสมรรถนะของตนเองด้วย โดยขั้นตอนของการพัฒนาสมรรถนะของตนเองนั้นประกอบด้วย 6 ขั้นตอน (สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา, 2554: 1-2) ดังต่อไปนี้

1. การรวบรวมข้อมูลป้อนกลับ เพื่อใช้ในการจัดทำแผนพัฒนาตนเอง เริ่มจากการประเมินระดับสมรรถนะปัจจุบันเพื่อทราบจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส หรือความต้องการที่จะพัฒนาโดยสอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของครูและเป้าหมายของงาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ หาความแตกต่างของสมรรถนะที่เป็นจริงและสมรรถนะที่คาดหวัง เพื่อค้นหาสมรรถนะและคุณลักษณะที่จำเป็น ต้องได้รับการพัฒนาทางสมรรถนะหลัก และสมรรถนะประจำสายงานครู และสมรรถนะเฉพาะของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้

2. การเลือกสมรรถนะที่จะพัฒนา ควรเริ่มจากการเน้นสมรรถนะเพียง 1 หรือ 2 สมรรถนะที่จะเกิดประโยชน์ต่อตนเองให้มากที่สุดก่อน เช่น สมรรถนะที่จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลของงาน ควรเลือกหลักสูตรการพัฒนาที่ดี

3. การเลือกกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เลือกกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถทำให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะตามที่กำหนดไว้ โดยกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะพัฒนานั้นมีหลากหลาย เช่น การเรียนรู้ในงานการฝึกอบรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง

4. การจัดทำแผนพัฒนาตนเอง ควรประกอบด้วยสมรรถนะสำคัญที่ควรพัฒนาซึ่งอาจเป็นสมรรถนะประจำสายงานของครู เช่น การจัดการเรียนรู้การพัฒนาผู้เรียนการบริหารจัดการชั้นเรียนการวิจัยเพื่อพัฒนางานเป็นต้น หรือสมรรถนะเฉพาะของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้

5. การพัฒนาสมรรถนะตามแผน ดำเนินงานตามแผนที่ได้วางเอาไว้

6. การประเมินการพัฒนา หลังจากที่ดำเนินงานตามแผนแล้ว ควรมีการติดตาม ประเมินดูว่าสมรรถนะเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนามาแล้วนั้น เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสถานศึกษาอย่างไร

ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง

ตัวชี้วัดที่ 3.1 การพัฒนาตนเอง

ตัวชี้วัดที่ 3.1 การพัฒนาตนเอง หมายถึง กระบวนการพัฒนาสมรรถนะของครูรายบุคคล โดยมีแผนการพัฒนาตนเองและดำเนินการตามแผนอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงาน ความต้องการจำเป็น องค์ความรู้ใหม่ หรือตามนโยบาย หรือแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานการศึกษาหรือส่วนราชการต้นสังกัด โดยนำความรู้ ความสามารถ ทักษะ ที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน

ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง
ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจรรยาบรรณในเรื่องใดได้บ้าง

ดังนั้นแนวทาง การพัฒนาตนเองในตัวชี้วัดที่ 3.1 ครูจะต้องมีร่องรอย ในการดำเนินการกระบวนการพัฒนาสมรรถนะของครูรายบุคคล โดยมีแผนการพัฒนาตนเองและดำเนินการตามแผนอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงาน อย่างน้อยที่สุดจะต้องผ่านระดับคุณภาพ 2 ขึ้นไป 1 ตัวชี้วัด ดังตารางคุณภาพ ต่อไปนี้

ระดับคุณภาพ 1ข้อกำหนดระดับคุณภาพตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอยจัดทำแผนพัฒนาตนเอง ที่สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงาน ความต้องการจำเป็น หรือตามแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานการศึกษา หรือส่วนราชการต้นสังกัดแผนพัฒนาตนเองระดับคุณภาพ 2ข้อกำหนดระดับคุณภาพตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย1. จัดทำแผนพัฒนาตนเอง ที่สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงาน ความต้องการจำเป็น หรือตามแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานการศึกษา หรือส่วนราชการต้นสังกัด

2. พัฒนาตนเองตามแผน1. แผนพัฒนาตนเอง
2. หลักฐานการพัฒนาตนเอง ตามแผนพัฒนาตนเองระดับคุณภาพ 3ข้อกำหนดระดับคุณภาพตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย1. จัดทำแผนพัฒนาตนเอง ที่สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงาน ความต้องการจำเป็น หรือตามแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานการศึกษา หรือส่วนราชการต้นสังกัด

2. พัฒนาตนเองตามแผน

3. นำความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน1. แผนพัฒนาตนเอง
2. หลักฐานการพัฒนาตนเอง ตามแผนพัฒนาตนเอง
3. หลักฐาน ร่องรอยการนำความรู้ความสามารถและทักษะมาพัฒนา นวัตกรรมการเรียนรู้ที่เกิดจากการพัฒนาตนเองระดับคุณภาพ 4ข้อกำหนดระดับคุณภาพตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย1. จัดทำแผนพัฒนาตนเอง ที่สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงาน ความต้องการจำเป็น หรือตามแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานการศึกษา หรือส่วนราชการต้นสังกัด

2. พัฒนาตนเองตามแผน

3. นำความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน

4. สร้างองค์ความรู้ใหม่ ที่ได้จากการพัฒนาตนเอง

5. เป็นแบบอย่างที่ดี1. แผนพัฒนาตนเอง
2. หลักฐานการพัฒนาตนเอง ตามแผนพัฒนาตนเอง

3. หลักฐาน ร่องรอยการนำความรู้ ความสามารถและทักษะมาพัฒนา นวัตกรรมการเรียนรู้ที่เกิดจากการพัฒนาตนเอง

4. หลักฐาน ร่องรอยการสร้างองค์ความรู้ใหม่

5. หลักฐาน ร่องรอยการเป็นที่ยอมรับ หรือได้รับการยกย่องในวงวิชาชีพระดับคุณภาพ 5ข้อกำหนดระดับคุณภาพตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย1. จัดทำแผนพัฒนาตนเอง ที่สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงานความต้องการจำเป็น หรือตามแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานการศึกษา หรือส่วนราชการต้นสังกัด

2. พัฒนาตนเองตามแผน

3. นำความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน

4. สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการพัฒนาตนเอง

5. เป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นผู้นำ1. แผนพัฒนาตนเอง
2. หลักฐานการพัฒนาตนเอง ตามแผนพัฒนาตนเอง
3. หลักฐาน ร่องรอยการนำความรู้ ความสามารถและทักษะมาพัฒนา นวัตกรรมการเรียนรู้ที่เกิดจากการพัฒนาตนเอง
4. หลักฐาน ร่องรอยการสร้างองค์ความรู้ใหม่
5. หลักฐาน ร่องรอยการเป็นที่ยอมรับ หรือได้รับการยกย่องในวงวิชาชีพ
6. หลักฐาน ร่องรอยการสร้างเครือข่าย ในการด้านพัฒนาตนเอง

หมายเหตุ:: Link เอกสารต่าง ๆ เป็นเพียงตัวอย่างเพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมเอกสารเท่านั้น ทั้งนี้ผู้ที่กำลังจะเตรียมเอกสารเข้ารับการประเมิน ควรต้องศึกษาเอกสารและแนวทางเพิ่มเติม โดยประสานงานกับ สำนักเขตพื้นที่การศึกษา หรือ แนวทางของเอกสารจาก กศจ. แต่ละจังหวัดก่อนครับ