ข้อใดคือประโยชน์ของสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมในด้านการแพทย์ *

เมื่อ :

วันอังคาร, 28 มกราคม 2563

        GMO  ย่อมาจาก Genetically Modified Organism หมายถึง จุลินทรีย์พืชและสัตว์ที่มีการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรม โดยใช้หลักการและเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมในเชิงวิทยาศาสตร์ คือกระบวนการตัดต่อและปลูกถ่ายยีนจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งหรือชนิดเดียวกัน และยีนที่ถูกถ่ายทอดไปนั้นสามารถทำงานสร้างโปรตีนได้เช่นเดิม ดังนั้นการถ่ายยีนจึงทำให้สิ่งมีชีวิตที่ได้รับยีนนั้นเข้าไปสามารถแสดงลักษณะใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนได้ พืชที่ได้รับการถ่ายยีนเข้าไป เรียกว่า พืชตัดต่อยีน (Transgenic plant) และสัตว์ที่ได้รับการถ่ายยีนเข้าไปเรียกว่า สัตว์ตัดต่อยีน

ข้อใดคือประโยชน์ของสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมในด้านการแพทย์ *

ภาพ พืช GMO
ที่มา https://pixabay.com , breathingaloha

        (Transgenic animal) ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบันประสบความสำเร็จอย่างมากในพืช (Transgenic plant) แต่ยังสามารถทำได้อย่างจำกัดใน สัตว์

พืช GMO หรือ พืชดัดแปรพันธุกรรม

         คือ พืชที่ได้รับการคัดเลือกให้มาผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) เพื่อที่จะให้พืชชนิดนั้นมีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่จำเพาะเจาะจงตรงตามความต้องการ พืชดัดแปรพันธุกรรม ซึ่งอาจเป็นข้อดีคือ  มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมหรือมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนสารโภชนาการหรือชีวโมเลกุลบางชนิด เช่น วิตามิน โปรตีน ไขมัน เป็นต้น พืชดัดแปรพันธุกรรมถือเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) ประเภทหนึ่ง

ตัวอย่าง พืชดัดแปรพันธุกรรม

สตอเบอรี่ GMOs  

        เราสามารถทำให้สตอเบอรี่มีลักษณะที่ดีขึ้น  โดยสตอเบอรี่ที่ตัดต่อพันธุกรรมแล้ว จะส่งผลให้สตอเบอรี่มีระยะยะเวลาในการเน่าเสียช้า ซึ่งทำให้สามารถสะดวกในการขนส่งเคลท่อนย้าย  ส่งผลให้สตอเบอรี่มีสารอาหารเพิ่มมากขึ้น  หรืออาจส่งผลให้สตอเบอรี่มีความต้านทานต่อโรคมากขึ้น เป็นต้น

มันฝรั่ง GMOs 

        เราสามารถทำให้มันฝรั่งมีลักษณะที่ดีขึ้น เมื่อมีการตัดแต่งพันธุกรรมของมันฝรั่งซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของไทย ที่มีการตัดต่อทางพันธุกรรมเช่นเดียวกันกับข้าวโพด โดยใช้การตัดต่อยีนของแบคทีเรียที่ชื่อว่า Bacillus thuringiensis เข้าไปในยีนของมันฝรั่ง ก็มีผลทำให้มันฝรั่งมีคุณค่าทางสารอาหารเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีการค้นพบวิจัยว่าสามารถ ผลิตวัคซีนที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ได้อีกด้วย อีกทั้งยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นได้

ฝ้าย GMOs

        เราสามารทำให้ฝ้ายมีลักษณะที่ดีขึ้นได้เช่นเดียวกัน เมื่อนำฝ้ายมาทำ GMOs แล้วทำให้ได้ฝ้ายสามารถฆ่าหนอนที่เป็นศัตรูของฝ้ายได้ ด้วยวิธีการใช้ยีนของแบคทีเรียที่ชื่อ Bacillus thuringiensis var. kurataki (B.t.k) แทรกเข้าไปในโครโมโซมของต้นฝ้าย ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีทำให้ฝ้ายสามารถที่จะสร้างโปรตีน Cry 1A ที่สามารถฆ่าหนอนที่เป็นศัตรูของฝ้ายได้ ทำให้ได้ฝ้ายที่สมบูรณ์และทนต่อศัตรูพืช พวกหนอนและแมลงได้

ข้าวโพด GMOs

         เราสามารถทำให้ได้ข้าวโพดที่มีลักษณะที่ดีขึ้น สามารถสร้างสารพิษทำให้แมลงที่มากัดกินข้าวโพดตายได้ โดยได้ใส่ยีน(gene)ของแบคทีเรียที่ชื่อ Bacillus thuringiensis แทรกเข้าไปในยีน(gene)ของเมล็ดข้าวโพด จึงสามารถทำให้ข้าวโพดสร้างสารที่เป็นพิษต่อแมลงที่เป็นศัตรูของข้าวโพดได้ โดยเมื่อแมลงที่เป็นศัตรูของข้าวโพดมากัดกินข้าวโพด GMOs แมลงก็จะตายลง

อ้อย GMOs

         เราสามารถทำให้อ้อยที่มีลักษณะที่ดีขึ้น มีความต้านต่อสารเคมียาฆ่าแมลงได้ และมีปริมาณน้ำตาลซูโครสในปริมาณที่สูงขึ้น

ข้าว GMOs

         เราสามารถทำให้ได้ข้าวที่มีลักษณะที่ดีขึ้น มีความต้านทานต่อสภาพอากาศ  สามารถทนแล้ง ทนเค็มได้ หรือ ทำให้มีสารอาหารเพิ่มขึ้นอย่างบีต้าแคโรทีน (beta-carotene) ที่เป็นสารเริ่มต้น (precursor) ของวิตามิน A ได้

พริกหวาน GMOs

         เราสามารถทำให้ได้พริกหวานที่มีลักษณะที่ดีขึ้น จากการที่ใส่ยีน(gene) coat protein ของไวรัสลงไปในดีเอ็นเอ (DNA) ทำให้สามารถต้านทานไวรัสได้

ข้อดีของ GMOs

         ความก้าวหน้าของวิทยาการทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ในรูปแบบของ GMO ซึ่งเป็นวิทยาการชีววิทยาในระดับโมเลกุล (molecular biology) โดยเฉพาะพันธุวิศวกรรมศาสตร์ เป็นสิ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญที่นักวิทยาศาสตร์ และสถาบันวิจัยทั่วโลกให้ความสำคัญและศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรโลก ในด้านต่าง ๆ เช่น โภชนาการ การแพทย์ และสาธารณสุข

         ความสำเร็จที่เห็นได้ชัดเจนคือเรื่องของการยกระดับคุณภาพอาหาร ยา และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ที่เรียกว่า genomic revolution และการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

         GMOs ที่ได้รับการพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว และกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในหลายด้าน ได้แก่

ประโยชน์ต่อเกษตรกร

  1. ทำให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่น ทนต่อศัตรูพืช หรือมีความสามารถในการ ป้องกันตนเองจากศัตรูพืช
  2. ทำให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การเก็บรักษาเป็นเวลานาน ทำให้สามารถอยู่ได้นานวัน และขนส่งได้เป็นระยะทางไกลโดยไม่เน่าเสีย

ประโยชน์ต่อผู้บริโภค

  1. ทำให้เกิดธัญพืช ผัก หรือผลไม้ที่มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นในทางโภชนาการ
  2. ทำให้เกิดพันธุ์พืชใหม่ๆ ที่มีคุณค่าในเชิงพาณิชย์

ประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม

  1. คุณสมบัติของพืชที่ทำให้ลดการใช้สารเคมี และช่วยให้ได้พืชผลมากขึ้นกว่าเดิมมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง วัตถุดิบที่มาจากภาคเกษตร
  2. การผลิตวัคซีน หรือยาชนิดอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมยาทำให้ลดต้นทุนการผลิตและเวลาที่ต้องใช้ลงทั้งสิ้น

ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม

  1. พืชมีคุณสมบัติสามารถป้องกันศัตรูพืชได้เอง อัตราการใช้สารเคมีเพื่อ ปราบศัตรูพืชก็จะลดน้อย
  2. มีผลทำให้เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพขึ้นเช่นกัน เนื่องจากยีนที่มีคุณสมบัติ เด่นได้รับการคัดเลือกให้มีโอกาสแสดงออกได้ในสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์มากขึ้น

ข้อเสียของ GMOs

  1. สารอาหารจาก GMOs อาจมีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตราย
  2. ความกังวลในเรื่องของการเป็นพาหะของสารพิษ
  3. สารอาหารจาก GMOs อาจมีคุณค่าทางโภชนาการไม่เท่าอาหารปกติ
  4. ความกังวลต่อการเกิดสารภูมิแพ้ (allergen) ซึ่งอาจได้มาจากแหล่งเดิมของยีนที่นำมาใช้ทำ GMOs นั้น
  5. ความกังวลเกี่ยวกับการดื้อ

แหล่งที่มา

พืช GMOs คือ อะไร (What is Transgenic Plant ?. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2561. จาก http://www.thaibiotech.info/what-is-transgenic-plant.php

ตัวอย่างของ พืช GMOs หรือ พืชดัดแปลงพันธุกรรม (Examples of GMOs, Plants). สืบค้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2561. จาก http://www.thaibiotech.info/examples-of-gmos-plants.php

พืชดัดแปรพันธุกรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2561. จาก https://th.wikipedia.org/wiki/พืชดัดแปรพันธุกรรม

มธุรา สิริจันทรัตน์. ข้อดีและข้อเสียของ GMOs.สืบค้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2561. จาก http://digital.lib.kmutt.ac.th/magazine/issue4/articles/article2.html

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

GMO,  จุลินทรีย์, พืช ,สัตว์ ,สารพันธุกรรม ,พันธุวิศวกรรม, วิทยาศาสตร์ ,ตัดต่อ, ปลูกถ่าย, ยีน, สิ่งมีชีวิต, ถ่ายทอด

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันจันทร์, 20 สิงหาคม 2561

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

ชีววิทยา

ระดับชั้น

ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6

ช่วงชั้น

มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย

กลุ่มเป้าหมาย

ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป

ดูเพิ่มเติม