ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดหมายถึงอะไร

    ตลาดผูกขาด เป็นคำที่น่ากลัวสำหรับธุรกิจหลาย ๆ อย่าง เพราะถ้าเราได้ยินคำว่าธุรกิจนี้เป็น “ตลาดผูกขาด” หรือ “Monopoly Market” นั้นหมายความว่าโอกาสในการที่เจ้าเล็ก ๆ หรือธุรกิจขนาดย่อมจะหมดสิทธิ์ในการเข้าไป ดังนั้นตลาดโมโนโพลีนี้จะมีวิธีการบริหารธุรกิจที่แตกต่างกับการบริหารธุรกิจในตลาดอื่น ๆ
    คำว่า “ตลาด” ในวงการของ Marketing นั้นไม่ได้หมายถึงตลาดสดหรือที่ขายหมู ขายผัก แต่หมายถึงโลกของการค้าขาย เป็นสถานที่มีผู้ขายและผู้ซื้อ โดย 2 คนมีความต้องการตรงกันและยินยอมที่จะจ่ายเงินเพื่อแลกกับสินค้า เช่น ตลาดน้ำดื่ม ประกอบไปด้วยผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำดื่ม กับผู้บริโภคน้ำดื่ม เป็นต้น ตลาดมีแบบทั้งสถานที่ที่จับต้องได้ และแบบออนไลน์อีกด้วย เช่น เมื่อพูดถึงตลาด E-commerce ก็จะนึกถึงร้านค้าใน LAZADA, Shopee และนักชอปปิงนั่นเอง โดยที่ตลาดผูกขาด (Monopoly Market) ที่เราจะกล่าวถึงในวันนี้ จะเป็นตลาดที่มีผู้ขายเพียงแค่รายเดียว ไม่มีคู่แข่งในตลาดเลย และไม่มีสินค้าใดมาแทนได้ เช่น การให้บริการน้ำประปา, การไฟฟ้า, ยาสูบ, การรถไฟ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วตลาดผูกขาดนี้จะเป็นการบริหารของรัฐบาลเพื่อกำหนดราคาไม่ให้สูงเกินไป และควบคุมจำนวนการผลิตได้อย่างถูกกฎหมาย


สาเหตุของตลาดผูกขาด


    -เจ้าของหรือผู้ผลิต มีอิทธิพลและเป็นผู้ที่สามารถนำวัตถุดิบมาผลิตได้เพียวเจ้าเดียว
    -วัตถุดิบมักจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป จึงต้องจำกัดการใช้งาน ไม่ให้ใช้เยอะเกิน และอาจจะส่งผลต่อระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ
    -การเป็นธุรกิจขนาดใหญ่มาก และจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลและเทคโนโลยีที่ก้าวไกลมากระดับต้น ๆ ของประเทศ
    -เกิดจาดข้อกฎหมายที่เจ้าของธุรกิจได้ขออนุญาตสัมปทานกับรัฐบาล


ข้อดีของตลาดผูกขาด


1.มีเจ้าของธุรกิจเพียงรายเดียว ทำให้การกำหนดราคาและควบคุมตลาดเป็นไปได้ง่าย
2.ส่วนใหญ่ตลาดผูกขาดเป็นของรัฐบาล ดังนั้นโอกาสในการล้มเหลวทางธุรกิจต่ำกว่าตลาดทั่วไป
3.เมื่อเกิดวิกฤติเกิดขึ้น การลดราคาหรือกำหนดราคาให้ต่ำลงนั้นสามารถทำได้เลย ไม่ต้องกังวลเรื่องกลไกราคาและคู่แข่งในตลาด


ข้อเสียของตลาดผูกขาด


1.เนื่องจากมีผู้ผลิตเพียงรายเดียว ความเสี่ยงจึงเกิดกับผู้บริโภค เมื่อเกิดปัญหากับธุรกิจขึ้น จะทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อนในวงกว้าง
2.จำเป็นต้องมีการควบคุมทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับราคา มิเช่นนั้นเจ้าของตลาดอาจจะตั้งราคาสูงมาก จนถือเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค
3.ยิ่งตลาดใดผูกขาดมาก ยิ่งเสี่ยงต่อการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพต่ำออกมา เพราะถ้าหากไม่มีคู่แข่งในตลาดเลย ก็อาจจะผลิตสินค้าที่ต้นถูกมาจำหน่ายได้
4.สินค้าอาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากมีผู้ผลิตจำกัด (Demand มากกว่า Supply)

    เมื่อกล่าวถึงการบริหารธุรกิจแบบผูกขาดนี้ อาจจะไกลตัวมาก ๆ สำหรับผู้ประกอบการรายเล็กถึงกลางอย่างพวกเรา เพราะตลาดที่เรามีส่วนร่วมส่วนใหญ่จะเป็นตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligipoly) เช่น ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ, เครื่องบิน, น้ำมัน, รถยนต์ เป็นต้น และตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition) เช่น สบู่, อุปกรณ์ช่าง, เสื้อผ้า, ปากกา, ระบบออนไลน์, เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น


Author : Pajaree Kanmaneelert

ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดหมายถึงอะไร

     ตลาด (Market) หมายถึง สถานที่ชุมนุมทางสังคม เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายแลกเปลี่ยน สินค้า หรือ วัตถุดิบ แต่ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น ตลาด จะหมายถึงการแลกเปลี่ยนซื้อขาย ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีสถานที่ก็ได้

     เมื่อมีตลาดย่อมมีการซื้อขาย ซึ่งมักจะซื้อขายกันด้วยราคากลางในตลาด (Market price) ราคากลางนี้อาจเรียกว่าเป็น จุดดุลยภาพของราคา (Equilibrium price) ซึ่งจะถูกกำหนดจากทั้งผู้ซื้อ (Buyer) และผู้ขาย (Seller) หากจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือราคาที่ผู้ซื้อยินดีจะจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่ง สินค้า (Goods) หรือ บริการ (Service) และผู้ขายยินดีที่จะขายในราคานั้นๆด้วยเช่นกัน หากสินค้าหรือบริการใดไม่ได้ซื้อขายด้วยราคากลาง นั่นหมายถึงสินค้าหรือบริการนั้นๆ มีความต่างไปจากสินค้าปกติในตลาด ซึ่งมักเกิดจากปัจจัยทางด้านคุณภาพ (Quality) และ ยี่ห้อ (Brand)

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

  • ในเชิงเศรษฐศาสตร์ ตลาดจะถูกแบ่งด้วยโครงสร้าง ดังนี้
    • ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect competition market)
      • ข้อดีของตลาดแข่งขันสมบูรณ์
    • ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (Imperfect competition market)
      • ตลาดผูกขาดสมบูรณ์ (Pure Monopoly)
      • ตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly)
      • ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition)
    • สาเหตุที่ก่อให้เกิดการผูกขาด
    • ข้อดีของตลาดผูกขาด
    • ข้อเสียของตลาดผูกขาด

ในเชิงเศรษฐศาสตร์ ตลาดจะถูกแบ่งด้วยโครงสร้าง ดังนี้

ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect competition market)

  • มีจำนวนผู้ซือ-ผู้ขายในตลาดจำนวนมาก
  • สินค้าในตลาดมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ ผู้ซื้อจึงยอมรับราคาที่ตลาดกำหนด (Price taker)
  • ผู้ผลิต-ผู้ขาย สามารถเข้าออกจากตลาดได้โดยเสรี โดยไม่มีกำไรเป็นแรงจูงใจ
  • มีการเคลื่อนย้ายทรัพยากรการผลิตสินค้าและบริการได้อย่างเสรี
  • ผู้ซื้อ-ผู้ขายมีความรู้ และรับทราบข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะเรื่องราคาได้เป็นอย่างดี
  • ตัวอย่าง ตลาดสินค้าการเกษตร ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์และเงินตราต่างประเทศ

ข้อดีของตลาดแข่งขันสมบูรณ์

  • ด้านผู้บริโภค ราคาที่ถูกกำหนดขึ้นในสภาพการแข่งขัน เป็นราคาที่ยุติธรรมต่อผู้บริโภค
  • ด้านผู้ผลิต ส่งผลให้ผู้ผลิตปรับปรุงสินค้าและบริการของตน เพื่อการแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่นๆ
  • ด้านสังคม ทำให้สังคมมีการใช้ทรัพยากรต่างๆอย่างคุ้มค่า เพื่อประสิทธิภาพทางธุรกิจ

หมายเหตุ :: ในทางเศรษฐศาสตร์ ถือว่าตลาดแข่งขันสมบูรณ์เป็นตลาดในอุดมคติ

ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (Imperfect competition market)

     ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (Imperfect competition market) หมายถึง ตลาดที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายมีอิทธิพลในการกำหนดราคา หรือปริมาณซื้อสินค้า ขึ้นอยู่กับความไม่สมบูรณ์ของตลาดว่าไม่สมบูรณ์มากเพียงใด แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

ตลาดผูกขาดสมบูรณ์ (Pure Monopoly)

  • ตลาดที่มีผู้ผลิตหรือผู้ขาย เพียงรายเดียว
  • สินค้าหรือบริการ เป็นสินค้าที่ไม่มีสินค้าอื่นมาทดแทนได้เลย
  • มีการกีดกันการเข้าสู่ตลาดสูง (เงินทุน สัปทาน ใบประกอบวิชาชีพ )
  • ไม่จำเป็นต้องส่งเสริมการขายมากนัก
  • ผู้ผลิตหรือผู้ขาย มีอำนาจกำหนดราคาสูง
  • ตัวอย่าง ไฟฟ้า ประปา รถไฟ (มักจะเป็นของรัฐบาล)

ตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly)

  • ตลาดที่มีผู้ขายหรือผู้ผลิต เพียงไม่กี่ราย
  • สินค้าหรือหรือบริการมักมีความคล้ายคลึง แต่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
  • มีการกีดกันการเข้าสู่ตลาดพอสมควร
  • การแข่งขันมักจะเน้นการส่งเสริมการขาย และโฆษณา
  • ผู้ผลิตหรือผู้ขาย มีอำนาจกำหนดราคาพอสมควร
  • ตัวอย่าง น้ำมัน รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ

ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition)

  • ตลาดที่มีผู้ขายหรือผู้ผลิตจำนวนมาก แต่ไม่มากเท่ากับตลาดแข่งขันสมบูรณ์
  • สินค้าหรือหรือบริการ คุณภาพไม่ต่างกันมาก ใช้แทนกันได้
  • ผู้ผลิตหรือผู้ขายสามารถเข้าออกจากตลาดได้อย่างเสรี
  • การแข่งขันมักจะเน้นการส่งเสริมการขาย โฆษณา รวมทั้งการแข่งขันราคา
  • ผู้ผลิตแต่ละรายมีส่วนแบ้งในตลาดไม่มาก จึงไม่มีอำนาจในการกำหนดราคา
  • ตัวอย่าง สบู่ แชมพู น้ำตาล ผงชูรส ลูกอม

สาเหตุที่ก่อให้เกิดการผูกขาด

  • การกีดกันเนื่องจากการประหยัดต่อขนาด ผู้ผลิตรายย่อยไม่สามารถแข่งขันทางด้านราคาได้
  • ผู้ผลิตเป็นเป็นผู้ผูกขาดทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต จึงมีอำนาจผูกขาดตลาดสินค้าด้วย
  • มีการกีดกันจากภาครัฐ เช่น สัมปทาน สิทธิบัตร ใบอนุญาติ
  • ผู้ซื้อ-ผู้ขาย ไม่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการล่าช้า หรือไม่ทั่วถึง

ข้อดีของตลาดผูกขาด

  • ในกรณีต้องใช้เงินลงทุนเยอะ รัฐบาลต้องเข้ามาควบคุม เนื่องจากผู้ผูกขาดอาจตั้งราคาสูง จนผู้บริโภคเดือดร้อน
  • มีการผลิตสินค้าหรือบริการที่มีคุณประโยชน์จากภาครัฐ ซึ่งเอกชนจึงไม่สนใจผลิต เนื่องจากไม่มีแรงจูงใจทางด้านกำไร  
  • การมีอำนาจผูกขาด อาจช่วยส่งเสริมด้านการวิจัยพัฒนาต่อยอด ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมใหม่ๆในอุตสาหกรรม

ข้อเสียของตลาดผูกขาด

  • ผลผลิตอาจไม่พอต่อความต้องการ และอาจมีราคาสูง
  • ผู้ซื้อไม่มีตัวเลือกในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการมากนัก
  • ยิ่งระดับการผูกขาดมาก การผลิตอาจไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่มีคู่แข่งทางการค้า