การทําธุรกรรมออนไลน์ มีอะไรบ้าง

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

Show

|

01 พ.ย. 2564 เวลา 8:11 น. 2.3k

สมาคมธนาคารไทยแนะ 10 แนวทาง ทำธุรกรรมออนไลน์อย่างปลอดภัย หลังพบกลุ่มมิจฉาชีพ พยายามแสวงหาวิธีการต่างๆ มาหลอกลวงประชาชน ผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้ง SMS Email Facebook Line และเว็บไซต์ปลอมต่อเนื่อง

หลังเกิดกรณีการตัดเงินที่ผิดปกติผ่านบัตรเดบิต บัตรเครดิตของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ จากกลุ่มมิจฉาชีพสุ่มข้อมูลบัตรและนำไปสวมรอยทำธุรกรรมผ่านร้านค้าออนไลน์ต่างประเทศที่ไม่มีระบบยืนยันตัวตนก่อนทำรายการ สมาคมธนาคารรวบรวม 10 แนวทางการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ที่จะช่วยให้ทำธุรกรรมอย่างปลอดภัย ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมการเงินได้อย่างมั่นใจ

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทยเปิดเผยว่า สมาคมธนาคารไทยร่วมกับ สำนักงานระบบการชำระเงิน  ศูนย์ประสานงานความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (TB-CERT) ชมรมธุรกิจบัตรเครดิตและชมรมตรวจสอบและป้องกันการทุจริตภายใต้สมาคมธนาคารไทย ได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาและวางมาตรการป้องกันปัญหาเชิงรุก พร้อมให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนถึงภัยทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ยังมีกลุ่มมิจฉาชีพพยายามแสวงหาวิธีการต่างๆ มาหลอกลวงประชาชน ผ่านช่องทางออนไลน์  ทั้ง SMS  Email  Facebook  Line  และเว็บไซต์ปลอม

การทําธุรกรรมออนไลน์ มีอะไรบ้าง

สมาคมฯ จึงได้รวบรวมแนวทางการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ที่จะช่วยให้ทำธุรกรรมอย่างปลอดภัย เพื่อให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมการเงินได้อย่างมั่นใจ ดังนี้  

  • ทำธุรกรรมการเงินออนไลน์กับร้านค้าออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ
  • พยายามหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมการเงิน หรือไม่ผูกข้อมูลบัตรเครดิตกับร้านค้าออนไลน์ หรือ แพลตฟอร์มที่ไม่มีระบบการยืนยันตัวตนด้วย OTP หรือที่ไม่ใช้เทคโนโลยี 3D Secure
  • ไม่ส่งต่อ OTP ให้กับบุคคลอื่น ไม่ว่ากรณีใดๆ
  • ตั้งรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดาในการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์

การทําธุรกรรมออนไลน์ มีอะไรบ้าง

  • ไม่ใช้รหัสผ่านร่วมกันในการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ และร้านค้าออนไลน์
  • ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว  รวมถึงข้อมูลทางการเงิน เช่น เลขบัญชี หมายเลขบัตรเดบิต บัตรเครดิต เลขท้ายหลังบัตรเครดิต (CVV) แก่บุคคลอื่น  (ธนาคารไม่มีนโยบายสอบถามข้อมูลลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์  SMS และโซเชียลมีเดีย)
  • ปรับวงเงินสำหรับการชำระสินค้าให้เหมาะสมกับการทำธุรกรรมการเงินในโลกออนไลน์ หรือปรับวงเงินชำระสินค้าเป็นศูนย์ชั่วคราว หากยังไม่มีความต้องการจะใช้ชำระค่าสินค้า
  • สังเกตุการแจ้งเตือนบัญชี เงินเข้า-เงินออก จากธนาคาร และหมั่นตรวจสอบยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตอย่างสม่ำเสมอ
  • หากพบรายการบัญชีผิดปกติ ควรติดต่อธนาคารเจ้าของบัตรโดยตรงทันที  หากมีข้อสงสัย ติดต่อสอบถามผ่านช่องทางบริการต่าง ๆ ของธนาคาร หรือ ธปท.
  • ติดตามข่าวสารจาก TB-CERT และช่องทางที่เป็นทางการของทางธนาคาร

“สมาคมธนาคารไทย ขอให้ความมั่นใจว่า การให้บริการแก่ลูกค้าธนาคารพาณิชย์ของไทย  มีความมั่นคงปลอดภัย ในระดับมาตรฐานสากล  โดยขอให้ลูกค้าดำเนินการตาม 10 ข้อแนะนำอย่างสม่ำเสมอ”นายผยงกล่าว

อย่างไรก็ตาม หากพบรายการผิดปกติให้ติดต่อธนาคารทันที โดยธนาคารพร้อมให้บริการที่ดีและมีความรับผิดชอบ    อย่างไรก็ตาม จากการตวจสอบที่ผ่านมาพบว่า มีบางรายโพสต์ข้อความ  “ที่เป็นเท็จ”  ในสื่อโซเชียล ขอให้หยุดการกระทำนั้น  เพราะไม่เป็นผลดีกับการดูแลความเสียหายให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ และสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชน

ธุรกรรมทางการเงินออนไลน์

การทำ ธุรกิจทางการเงินออนไลน์  ดูเหมือนจะเป็นเทรนด์ใหม่ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการในยุคปัจจุบันได้ดีที่สุด และผู้ให้บริการทางการเงินเองก็ตื่นตัวและตอบสนองความต้องการในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์กันมากขึ้นเช่นกัน เรียกได้ว่า สังคมไร้เงินสด ได้กลายมาเป็น New Normal ในยุคปัจจุบันไปแล้ว 

ธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ มีอะไรบ้าง?

ตามที่ได้เกริ่นไปในบทความที่แล้ว ธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ คือ การทำธุรกรรมเกี่ยวกับการเงิน-การธนาคารผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งก็มีข้อดีหลายอย่าง เพราะช่วยอำนวยความสะดวกสบายในการทำ ธุรกรรมทางการเงิน ให้แก่ผู้ใช้บริการได้เป็นอย่างมาก   

ตัวอย่าง การทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ที่ขาดไม่ได้ตอนนี้ มีอะไรบ้าง? … ไกดูกัน

1.Online-Banking

ธนาคารเริ่มต้นการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ด้วยบริการ Online-banking ผ่านเว็บไซต์ของธนาคาร จนปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นการใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือหรือ Mobile-Banking กันมากขึ้น เพราะสะดวกและพกพานำไปใช้งานได้ทุกหนทุกแห่ง ซึ่งการทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านระบบ Online-Banking ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถอัพเดทสถานะความเคลื่อนไหวของบัญชี, ถอนเงิน, โอนเงิน, จ่ายบิล เป็นต้น  

2.Debit & Credit card

แน่นอนว่าใครที่ต้องทำธุรกกรมทางการเงินออนไลน์ หรือใช้จ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ก็คงจะไม่มีบัตรสองใบนี้ไม่ได้ ทั้งบัตรเดบิต และบัตรเครดิต โดยมากบนบัตรทั้งสองใบ จะมีข้อมูลของผู้ใช้บัตร เช่น ลายเซ็น ชื่อเจ้าของบัตร เป็นต้น 

โดยผู้ถือบัตรจะมีอำนาจในใช้บัตรในการซื้อสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ซึ่งระบบจะดึงเอาข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครื่องรูดบัตร หรือผ่านการกรอกข้อมูลในการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้ถือบัตร เพื่อทำการสั่งจ่ายเงิน หรือดำเนินการทำธุรกรรมทางการเงินอื่น ๆ 

โดยบัตรเดบิตจะตัดเงินออกจากบัญชีผู้ถือบัตร ในขณะที่บัตรเดบิตจะเป็นวงเงินที่ธนาคารอนุมัติให้ผู้ถือบัตรใช้จ่ายได้ เป็นสินเชื่อส่วนบุคคลที่เมื่อครบกำหนด ผู้ถือบัตรต้องนำเงินไปจ่ายคืนธนาคารตามยอดค้างชำระที่ใช้ไปนั่นเอง 

3.E-wallet

E-wallet หรือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมาในรูปแบบของ Application โดยที่เราสามารถเติมเงินด้วยการโอนเงินเข้าไปใน กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความปลอดภัยสูงเพื่อใช้ในการทำธุรกรรมออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นใช้ช้อปปิ้งสินค้าออนไลน์ จ่ายแทนเงินสดตามห้างร้านโดยการสแกน QR code หรือ Barcode เป็นต้น จะได้อารมณ์เหมือนพกกระเป๋าตังค์ไว้ในแอพบนมือถือก็ว่าได้ ยกตัวอย่าง E-wallet เช่น Rabbit LINE Pay หรือ Samsung Pay 

ธุรกรรมทางการเงินออนไลน์มีการรักษาความปลอดภัยแบบไหนบ้าง

จากตัวอย่างการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ด้านบน เพื่อน ๆ คงเห็นแล้วว่า จริงๆ แล้วเรื่องพวกนี้อยู่ไม่ไกลตัวเราเลย หลายคนทำธุรกรรมการเงินออนไลน์อยู่เป็นประจำทุกวัน แล้วเพื่อน ๆ รู้มั้ยว่า ธุรกรรมทางการเงินออนไลน์มีการรักษาความปลอดภัยแบบไหนบ้าง? การทำธุรกรรมการเงินผ่านระบบออนไลน์ มีมาตรการรักษาความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน ไปหาคำตอบกันเลย

1.ยืนยันตัวตนด้วยรหัสผ่านส่วนตัวเมื่อทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์

การใช้รหัสผ่าน ถือเป็นเรื่องที่คุ้นเคยกันอยู่แล้วในมาตรการรักษาความปลอดภัย ปัจจุบันการเข้ารหัสเพื่อทำ ธุรกรรมการเงินออนไลน์ ถูกออกแบบให้มีความรัดกุมและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เช่น อดีต ธนาคารให้กรอกรหัสตัวเลขเพียง 4 ตัว แต่เดี๊ยวนี้ต้องตั้งรหัสผ่านเป็น 6 ตัว หรือการใช้เทคโนโลยี Touch ID ของสมาร์ทโฟนในการสแกนลายนิ้วมือ เป็นการยืนยันตัวตนเข้าใช้แอปพลิเคชั่น Internet Banking เป็นต้น 

นอกจากนี้ยังมีบางธนาคารที่ให้สามารถตั้งรหัสเป็น รหัสส่วนบุคคล หมายถึงรหัสผ่านที่ไม่จำเป็นต้องใช้เพียงตัวเลขเท่านั้นได้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ทำให้ยากต่อการเข้าใช้ข้อมูลจากบุคคลอื่นนั่นเอง   

2.ยืนยันรหัสผ่าน OTP เมื่อทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์

ชุดรหัสผ่านใช้ครั้งเดียวภายในระยะเวลาจำกัด OTP หรือ One Time Password ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็น เพื่อใช้ยืนยันตัวตนเมื่อสมัครหรือลงทะเบียนออนไลน์ หรือเพื่อยืนยันการชำระเงินผ่านบัตรเมื่อซื้อสินค้าออนไลน์ เป็นต้น 

โดยเราจะได้รหัส OTP ส่งเป็น SMS เข้าไปยังเบอร์มือถือ หรือส่งผ่าน E-mail ที่ได้ลงทะเบียนหรือผูกกับบัตรไว้ เมื่อเราต้องการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ รหัส OTP มักมีกำหนดระยะเวลาที่สามารถใช้งานรหัสผ่านนี้ได้อย่างจำกัด เช่น 30 วินาที เป็นต้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการใช้งาน รหัส OTP เดิมก็จะหมดอายุ และต้องขอรหัส OTP ใหม่ซึ่งจะไม่ซ้ำกันในแต่ละครั้งที่ทำการขอใหม่ 

4.บริการ SMS หรือ Email แจ้งเตือนเมื่อทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์

อีกหนึ่งระบบความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ คือ การแจ้งเตือนผ่าน SMS หรือ Email เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของบัญชีธนาคารหรือ Internet Banking ของเรานั่นเอง ซึ่งเพื่อน ๆ ก็จะสามารถเช็คสถานะเงินเข้า เงินออกได้อย่างใกล้ชิด หากมีรายการโอนเงินที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง ก็สามารถสอบถาม และติดตามได้ทันท่วงที

นอกจากข้างต้นที่ทางผู้ให้บริการออกแบบระบบให้มีความรัดกุม ปลอดภัยในการให้บริการธุรกรรมการเงินออนไลน์แล้ว การดูแลความปลอดภัยจากผู้ใช้งานเองก็เป็นสิ่งที่จำเป็น และควรปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงจากการใช้บริการทางการเงินผ่านระบบออนไลน์ ดังนี้

-ใช้เว็บไซต์ และแอพพลิเคชั่นที่เป็นทางการของผู้ให้บริการเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าเว็บไซต์ปลอมเพื่อโจรกรรมข้อมูลผู้ใช้งาน

-ตั้งวงเงินในการโอนและถอนให้เหมาะสม เพื่อจำกัดความเสี่ยง

-ไม่ควรเขียนรหัสผ่านหรือบอกรหัสผ่านกับใครก็ตาม

-เปลี่ยนรหัสผ่านบ่อย ๆ

-ซื้อสินค้าหรือบริการออนไลน์จากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ  

จะว่าไปการทำ ธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ ก็มีข้อดีอยู่มาก แต่หากใช้ไม่ระวัง และไม่ถูกวิธี ก็อาจเพิ่มความเสี่ยง ถูกโจรกรรมข้อมูลไปได้ง่าย ๆ แบบที่ไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นอย่าลืมรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ของตัวเองให้รัดกุมกันด้วยนะ !

การทำธุรกรรมออนไลน์อย่างปลอดภัยประกอบด้วยอะไรบ้าง

“สมาคมธนาคารไทย” แนะ “10 แนวทาง” ทำธุรกรรมออนไลน์อย่างปลอดภัย.
ทำธุรกรรมการเงินออนไลน์กับร้านค้าออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ.
พยายามหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมการเงิน หรือไม่ผูกข้อมูลบัตรเครดิตกับร้านค้าออนไลน์ หรือ แพลตฟอร์มที่ไม่มีระบบการยืนยันตัวตนด้วย OTP หรือที่ไม่ใช้เทคโนโลยี 3D Secure..

การทำธุรกรรมออนไลน์มีความหมายอย่างไร

E-Banking คือ การทำธุรกรรมต่างๆ กับธนาคาร โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงิน หรือ สอบถามยอดเงิน เป็นต้น E-Banking อาจเรียกด้วยชื่ออื่น เช่น Internet Banking (ธนาคารอินเตอร์เน็ต), Online Banking (ธนาคารออนไลน์), Electronic Banking (ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์), Cyber Banking (ธนาคารไซเบอร์) เป็นต้น

การทำธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ตมีกี่รูปแบบ ได้แก่อะไรบ้าง *

2. รูปแบบการท าธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ต รูปแบบการท าธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ตหลักๆก็คือรูปแบบของธนาคารอินเทอร์เน็ต(Internet Banking)การช าระเงินออนไลน์(Payment Gateway or Bill payment)และธนาคารมือถือ (Mobile Banking) โดยมีรูปแบบการให้บริการที่ต่างกัน

การทำธุรกรรมมีอะไรบ้าง

ธุรกรรมทางการเงิน คือ การทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการทำนิติกรรมสัญญา หรือการดำเนินการใด ๆ ทางการเงินกับผู้อื่น ซึ่งเป็นการกระทำที่มีผลทางกฎหมาย ธุรกรรมทางการเงิน ที่เรามักคุ้นเคย และทำกันอยู่เป็นประจำ เช่น การโอนเงิน ถอนเงิน การจ่ายบิล การซื้อหน่วยลงทุน การเปิดบัญชีธนาคาร การกู้เงิน