กาลกิณี 4 ประการ ในเรื่อง พระไชยสุริยา มีอะไรบ้าง

โจทย์ปัญหา

กาลกิณี 4 ประการ ในเรื่อง พระไชยสุริยา มีอะไรบ้าง

  • มัธยมต้น
  • ภาษาไทย

ไม่รู้เรื่องซักอย่างเลยครับ

กาลกิณี 4 ประการ ในเรื่อง พระไชยสุริยา มีอะไรบ้าง


โลภมาก ค่ะ ขอโทษทีค่ะเขียนตก

กาลกิณี 4 ประการ ในเรื่อง พระไชยสุริยา มีอะไรบ้าง

  • #วิธีแก้ กาลกิณี 4 ประการ
  • #กาลกิณี 4 ประการ
  • #กาลกิณี 4 หมาย ถึง อะไร
  • #กาลกิณี 4 คืออะไร
  • #กาลกิณี 4 ประการมีอะไรบ้าง

ยังไม่เข้าใจใช่ไหม?

ลองถามคำถามกับคุณครู QANDA!

โจทย์ที่คล้ายกันกับโจทย์ข้อนี้

กาลกิณี 4 ประการ ในเรื่อง พระไชยสุริยา มีอะไรบ้าง

  • มัธยมต้น
  • ภาษาไทย

กาลกิณี 4 ประการ ในเรื่อง พระไชยสุริยา มีอะไรบ้าง

  • มัธยมต้น
  • ภาษาไทย

กาลกิณี 4 ประการ ในเรื่อง พระไชยสุริยา มีอะไรบ้าง

เพื่อน ๆ อาจคุ้นเคยกับหนังสือเรียนภาษาไทยอย่าง ภาษาพาที วรรณคดีวิจักษ์ หรือภาษาเพื่อชีวิตกันดี แต่รู้ไหมว่าเด็ก ๆ ในอดีตก็มีแบบเรียนภาษาไทยใช้เหมือนกันนะ แถมยังอยู่ในรูปแบบนิทานสนุก ๆ ที่เราจะพาเพื่อน ๆ ไปเรียนรู้กันในวันนี้ด้วย

ใช่แล้ว ! เรากำลังพูดถึง ‘กาพย์พระไชยสุริยา’ วรรณคดีไทยที่กระทรวงศึกษาธิการเลือกหยิบมาให้เพื่อน ๆ ได้เรียนกันในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ นั่นเอง

ผู้แต่งและประวัติความเป็นมาของกาพย์เรื่องพระไชยสุริยา

ผู้แต่งกาพย์เรื่องพระไชยสุริยาคือสุนทรภู่หรือพระสุนทรโวหารที่เพื่อน ๆ รู้จักกันดี สุนทรภู่เป็นกวีไทยที่มีความชำนาญด้านกาพย์กลอนเป็นอย่างยิ่ง ชีวิตของสุนทรภู่รุ่งเรืองและเฟื่องฟูมากขณะรับราชการตำแหน่งอาลักษณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ก่อนจะออกบวชเมื่อมีการผลัดแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ ๓ และกลับเข้ามารับราชการอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๔ 

กาลกิณี 4 ประการ ในเรื่อง พระไชยสุริยา มีอะไรบ้าง
รูปปั้นสุนทรภู่ที่อนุสาวรีย์สุนทรภู่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ขอบคุณรูปภาพจาก Anoyama บน commons.wikimedia

ตลอดอายุขัย ๖๙ ปี สุนทรภู่ได้สร้างสรรค์งานวรรณกรรมไว้มากมาย นอกเหนือจาก ‘พระอภัยมณี’ ที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดแห่งกลอนนิทาน สุนทรภู่ยังมีงานวรรณกรรมอื่น ๆ อีกหลายเรื่อง หนึ่งในนั้นก็คือ ‘กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา’ ที่มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับช่วงเวลาในการแต่งไว้ถึง ๓ แบบด้วยกัน ได้แก่

๑. แต่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๘ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๒) ขณะบวชและจำพรรษาอยู่ที่วัดในจังหวัดเพชรบุรี โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นหนังสือเรียนสำหรับเด็ก ๆ ที่ท่านสอน

๒.​ แต่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๒ - ๒๓๘๕ ขณะบวชอยู่ที่วัดเทพธิดาราม

๓. แต่งขณะเป็นฆราวาสและเป็นครูอยู่ที่เพชรบุรี

ถึงช่วงเวลาในการแต่งจะไม่เป็นที่แน่ชัด แต่กาพย์เรื่องพระไชยสุริยามีจุดประสงค์ที่ชัดเจนในการแต่งคือ ‘เพื่อใช้เป็นหนังสือหัดอ่านเขียนคำที่สะกดตามมาตราสำหรับเด็ก’ ดังที่เนื้อความที่กล่าวไว้ว่า…

๏ ภุมราการุญสุนทร ไว้หวังสั่งสอน
เด็กอ่อนอันเยาว์เล่าเรียน  
๏ ก ข ก กา ว่าเวียน หนูน้อยค่อยเพียร
อ่านเขียนผสมกมเกย  

โดยเบื้องต้นสุทรภู่ได้แต่งกาพย์พระไชยสุริยาเพื่อถวายพระอักษรแก่เจ้าฟ้าชายกลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี พระอัครชายา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้แต่งมูลบทบรรพกิจ (หนึ่งในตำราภาษาไทยที่ใช้ในโรงเรียนหลวงขณะนั้น) ก็มีการสอดแทรกกาพย์พระไชยสุริยาลงไปในบทเรียนนี้ด้วย แถมในปัจจุบัน กาพย์พระไชยสุริยายังปรากฏในบทเรียนที่เพื่อน ๆ กำลังเรียนกันอยู่ในตอนนี้อีก เรียกได้ว่ากาพย์เรื่องพระไชยสุริยานั้นเป็นบทเรียนที่อยู่กับเด็กไทยในยุครัตนโกสินทร์มาอย่างยาวนานจริง ๆ

เรื่องย่อของกาพย์พระไชยสุริยา

ณ เมืองสาวัตถี ‘พระไชยสุริยา’ เป็นกษัตริย์ปกครองเมืองมีพระนางสุมาลีเป็นมเหสี ทั้งสองปกครองเมืองอย่างผาสุกจนกระทั่งเหล่าเสนาข้าราชการจนถึงเหล่าภิกษุสงฆ์เริ่มประพฤติตนมิชอบ บ้านเมืองเริ่มวุ่นวาย ประชาชนเดือดร้อนเพราะเกิดอาเพศ พระไชยสุริยา พระนางสุมาลีและชาวเมืองจึงต้องหนีลงเรือสำเภาออกจากเมืองไป แต่ระหว่างทางก็เกิดพายุพัดจนเรือแตก พระไชยสุริยาและพระนางสุมาลีขึ้นฝั่งได้และรอนแรมอาศัยอยู่ในป่า จนกระทั่งพระฤาษีเล็งเห็นกาลกิณี ๔ ประการที่ทำให้บ้านเมืองเกิดภัยพิบัติ จึงโปรดเทศนาพระไชยสุริยาและพระนางสุมาลี ทั้งสองพระองค์เลื่อมใสจึงออกบวช ประพฤติตนตั้งมั่นในศีลในธรรม และได้เสวยสุขบนสวรรค์ในท้ายที่สุด

ลักษณะคำประพันธ์ของกาพย์พระไชยสุริยา

กาพย์เรื่องพระไชยสุริยาเป็นวรรณคดีเพียงเรื่องเดียวของสุทรภู่ที่ใช้กาพย์ในการแต่งทั้งเรื่อง โดยแต่งด้วยคำประพันธ์ถึง ๓ ชนิด ได้แก่ กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ซึ่งมีฉันทลักษณ์ดังนี้

กาลกิณี 4 ประการ ในเรื่อง พระไชยสุริยา มีอะไรบ้าง

๏ สะธุสะจะขอไหว้ พระศรีไตรสรณา
พ่อแม่แลครูบา เทวดาในราศี
๏ ข้าเจ้าเอา ก ข เข้ามาต่อ ก กา มี
แก้ไขในเท่านี้ ดีมิดีอย่าตรีชา

กาพย์ยานี ๑๑ หนึ่งบาทจะมี ๑๑ คำพอดี โดยแบ่งเป็นวรรคหน้า ๕ คำ และวรรคหลังอีก ๖ คำ คำสุดท้ายของวรรค ๑ จะสัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ จะสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ และมีคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสระหว่างบทไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทถัดไปเพื่อเชื่อมสัมผัสระหว่างบท การแต่งกาพย์ยานี ๑๑ จะพบในแม่ ก กา แม่กก แม่กด แม่กบ  และนอกจากกาพย์พระไชยสุริยา เพื่อน ๆ สามารถพบกาพย์ยานี ๑๑ ได้อีกในวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ เช่น คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน และกาพย์เห่เรือ

กาลกิณี 4 ประการ ในเรื่อง พระไชยสุริยา มีอะไรบ้าง

๏ ขึ้นกงจงจำสำคัญ ทั้งกนปนกัน
รำพันมิ่งไม้ในดง  
๏ ไกรกร่างยางยูงสูงระหง ตลิงปลิงปริงประยงค์
คันทรงส่งกลิ่นฝิ่นฝาง

ส่วนกาพย์ฉบัง ๑๖ หนึ่งบทจะมี ๑๖ คำ/พยางค์ โดย ๑ บท มี ๓ วรรค มีสัมผัสบังคับอยู่ที่คำสุดท้ายของวรรคแรกและวรรคที่สอง ส่วนคำสุดท้ายของวรรคที่สามใช้ส่งเข้าบทถัดไป เพื่อน ๆ สามารถพบกาพย์ฉบัง ๑๖ ในวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น บทพากย์เอราวัณ ที่เพื่อน ๆ จะได้เรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ก็แต่งด้วยกาพย์ฉบัง ๑๖ เช่นเดียวกัน ส่วนในกาพย์พระไชยสุริยาเราจะพบกาพย์ฉบัง ๑๖ ได้ในบทของแม่ ก กา แม่กง แม่กม และแม่เกย

กาลกิณี 4 ประการ ในเรื่อง พระไชยสุริยา มีอะไรบ้าง

  ๏ วันนั้นจันทร
มีดารากร เป็นบริวาร
เห็นสิ้นดินฟ้า ในป่าท่าธาร
มาลีคลี่บาน ใบก้านอรชร
  ๏ เย็นฉ่ำน้ำฟ้า
ชื่นชะผกา วายุพาขจร
สารพันจันทน์อิน รื่นกลิ่นเกสร
แตนต่อคลอร่อน ว้าว่อนเวียนระวัน

กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ หนึ่งวรรคจะมี ๔ คำ หนึ่งบทมีทั้งหมด ๗ วรรค รวมเป็น ๒๘ คำพอดี โดยคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ จะสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ จะสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๕ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ จะสัมผัสกับคำที่ ๒ ของวรรคที่ ๕ และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๕ จะสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๖ เราสามารถพบกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ได้ในบทแม่กน

ถอดคำประพันธ์เรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

กาพย์พระไชยสุริยามีเนื้อเรื่องอย่างนิทาน การเล่าเรื่องจะเริ่มจากมาตราตัวสะกดแรกอย่างแม่ ก กา ไล่ตามมาตราไปจนถึงแม่เกยเป็นมาตราสุดท้าย โดยแม่ ก กา ส่วนแรกจะแต่งด้วยกาพย์ยานี ๑๑ และกาพย์ฉบัง ๑๖ ประกอบด้วยบทนำจากกวี บรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมือง จนถึงตอนที่พระไชยสุริยาและพระนางสุมาลีต้องรอนแรมในป่า

กาพย์ยานี ๑๑  
๏ สะธุสะจะขอไหว้ พระศรีไตรสรณา
พ่อแม่แลครูบา เทวดาในราศี
๏ ข้าเจ้าเอา ก ข เข้ามาต่อ ก กา มี
แก้ไขในเท่านี้ ดีมิดีอย่าตรีชา

เริ่มด้วยบทนำจากกวี การแสดงความเคารพนบนอบครูบาอาจารย์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์

๏ จะร่ำคำต่อไป พอล่อใจกุมารา
ธรณีมีราชา เจ้าพาราสาวะถี
๏ ชื่อพระไชยสุริยา มีสุดามเหสี
ชื่อว่าสุมาลี อยู่บุรีไม่มีภัย
๏ ข้าเฝ้าเหล่าเสนา มีกิริยาอัชฌาศัย
พ่อค้ามาแต่ไกล ได้อาศัยในภารา
๏ ไพร่ฟ้าประชาชี ชาวบุรีก็ปรีดา
ทำไร่เขาไถนา ได้ข้าวปลาแลสาลี

จากนั้นจึงเล่าถึงพระไชยสุริยาและพระนางสุมาลีซึ่งปกครองเมืองสาวัตถี บ้านเมืองสงบสุขร่มเย็น เหล่าข้าราชการก็ปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดี มีการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าจากต่างแดน ชาวเมืองก็ประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้ผลผลิตดีและมีความสุขโดยถ้วนหน้า

๏ อยู่มาหมู่ข้าเฝ้า ก็หาเยาวนารี
ที่หน้าตาดีดี ทำมโหรีที่เคหา
๏ ค่ำเช้าเฝ้าสีซอ เข้าแต่หอล่อกามา
หาได้ให้ภริยา โลโภพาให้บ้าใจ
๏ ไม่จำคำพระเจ้า เหไปเข้าภาษาไสย
ถือดีมีข้าไทย ฉ้อแต่ไพร่ใส่ขื่อคา
๏ คดีที่มีคู่ คือไก่หมูเจ้าสุภา
ใครเอาข้าวปลามา ให้สุภาก็ว่าดี
๏ ที่แพ้แก้ชนะ ไม่ถือพระประเวณี
ขี้ฉ้อก็ได้ดี ไล่ด่าตีมีอาญา
๏ ที่ซื่อถือพระเจ้า ว่าโง่เง่าเต่าปูปลา
ผู้เฒ่าเหล่าเมธา ว่าใบ้บ้าสาระยำ
๏ ภิกษุสมณะ เหล่าก็ละพระสธรรม
คาถาว่าลำนำ ไปเร่ร่ำทำเฉโก
๏ ไม่จำคำผู้ใหญ่ ศีรษะไม้ใจโยโส
ที่ดีมีอะโข ข้าขอโมทนาไป
๏ พาราสาวะถี ใครไม่มีปราณีใคร
ดุดื้อถือแต่ใจ ที่ใครได้ใส่เอาพอ
๏ ผู้ที่มีฝีมือ ทำดุดื้อไม่ซื้อขอ
ไล่คว้าผ้าที่คอ อะไรล่อก็เอาไป
๏ ข้าเฝ้าเหล่าเสนา มิได้ว่าหมู่ข้าไท
ถือน้ำร่ำเข้าไป แต่น้ำใจไม่นำพา
๏ หาได้ใครหาเอา ไพร่ฟ้าเศร้าเปล่าอุรา
ผู้ที่มีอาญา ไล่ตีด่าไม่ปราณี
๏ ผีป่ามากระทำ มรณกรรมชาวบุรี
น้ำป่าเข้าธานี ก็ไม่มีที่อาศัย
๏ ข้าเฝ้าเหล่าเสนา หนีไปหาพาราไกล
ชีบาล่าลี้ไป ไม่มีใครในธานี


อยู่มาวันหนึ่งเหล่าเสนาข้าราชการก็เริ่มจัดปาร์ตี้มโหรีในบ้าน มีการจัดหาหาหญิงสาวมาบำรุงบำเรอตนจนหมกมุ่นอยู่แต่ในกาม โลภมากและไม่ซื่อตรงต่อภรรยา รับติดสินบนคดีความต่าง ๆ ผู้คนเลิกนับถือพระเจ้า พระภิกษุก็หันไปใช้มนต์ดำและไสยเวทย์ ผู้น้อยลบหลู่ไม่ฟังคำผู้ใหญ่ เมืองสาวัตถีจึงเริ่มวุ่นวาย เกิดการฉกชิงวิ่งราว ข้าราชการถือน้ำพิพัฒสัตยาแต่ว่าจิตใจกลับไม่ซื่อตรง ประชาชนไร้ที่พึ่งพา เมื่อศีลธรรมของผู้คนในเมืองเสื่อมลง ผีป่าก็บันดาลให้เกิดอาเพศทำให้น้ำท่วมเมืองครั้งใหญ่ ประชาชนล้มตาย ไม่มีที่อยู่อาศัย และต้องลี้ภัยออกจากเมือง

กาลกิณี 4 ประการ ในเรื่อง พระไชยสุริยา มีอะไรบ้าง

กาพย์ฉบัง ๑๖  
๏ พระไชยสุริยาภูมี พาพระมเหสี
มาที่ในลำสำเภา  
๏ ข้าวปลาหาไปไม่เบา นารีที่เยาว์
ก็เอาไปในเภตรา  
๏ เฒ่าแก่ชาวแม่แซ่มา เสนีเสนา
ก็มาในลำสำเภา  
๏ ตีม้าล่อช่อใบใส่เสา วายุพยุเพลา
สำเภาก็ใช้ใบไป  
๏ เภตรามาในน้ำไหล ค่ำเช้าเปล่าใจ
ที่ในมหาวารี  
๏ พสุธาอาศัยไม่มี ราชานารี
อยู่ที่พระแกลแลดู  
๏ ปลากะโห้โลมาราหู เหราปลาทู
มีอยู่ในน้ำคล่ำไป  
๏ ราชาว้าเหว่หฤทัย วายุพาคลาไคล
มาในทะเลเอกา  
๏ แลไปไม่ปะพสุธา เปล่าใจนัยนา
โพล้เพล้เวลาราตรี  
๏ ราชาว่าแก่เสนี ใครรู้คดี
วารีนี้เท่าใดนา  
๏ ข้าเฝ้าเล่าแก่ราชา ว่าพระมหา
วารีนี้ไซร้ใหญ่โต  
๏ ไหลมาแต่ในคอโค แผ่ไปใหญ่โต
มโหฬาร์ล้ำน้ำไหล  
๏ บาลีมิได้แก้ไข ข้าพเจ้าเข้าใจ
ผู้ใหญ่ผู้เฒ่าเล่ามา  
๏ ว่ามีพระยาสกุณา ใหญ่โตมโหฬาร์
กายาเท่าเขาคีรี  
๏ ชื่อว่าพระยาสำภาที ใคร่รู้คดี
วารีนี้โตเท่าใด  
๏ โยโสโผผาถาไป พอพระสุริใส
จะใกล้โพล้เพล้เวลา  
๏ แลไปไม่ปะพสุธา ย่อท้อรอรา
ชีวาก็จะประลัย  
๏ พอปลามาในน้ำไหล สกุณาถาไป
อาศัยที่ศีรษะปลา  
๏ ชะแง้แลไปไกลตา จำของ้อปลา
ว่าขอษมาอภัย  
๏ วารีที่เราจะไป ใกล้หรือว่าไกล
ข้าไหว้จะขอมรคา  
๏ ปลาว่าข้าเจ้าเยาวภา มิได้ไปมา
อาศัยอยู่ต่อธรณี  
๏ สกุณาอาลัยชีวี ลาปลาจรลี
สู่ที่ภูผาอาศัย  
๏ ข้าเฝ้าเล่าแก่ภูวไนย พระเจ้าเข้าใจ
ฤทัยว้าเหว่เอกา  

พระไชยสุริยาจึงพาพระนางสุมาลีขึ้นเรือสำเภา ขนเสบียง ผู้คน และข้ารับใช้เพื่อลี้ภัยออกจากเมืองสาวัตถี เรือแล่นไปในทะเลกว้างวันแล้ววันเล่าก็ไม่พบแผ่นดิน เมื่อถามเหล่าเสนาถึงความกว้างของทะเลก็ไม่มีใครตอบได้ ผู้ที่รู้ว่าทะเลกว้างใหญ่เพียงใดก็มีแต่พญาสัมพาที ซึ่งเป็นพญานกขนาดใหญ่เท่านั้น แม้กระทั่งนกและปลาที่อยู่ในทะเลนั้นก็ยังเด็กมาก ไม่รู้เช่นกันว่าทะเลกว้างใหญ่เพียงไหน เรือแล่นไปในทะเลเรื่อย ๆ ทั้งสองพระองค์ทอดถอนพระทัยและรู้สึกว้าเหว่เป็นอย่างมาก

๏ จำไปในทะเลเวรา พายุใหญ่มา
เภตราก็เหเซไป  
๏ สมอก็เกาเสาใบ ทะลุปรุไป
น้ำไหลเข้าลำสำเภา  
๏ ผีน้ำซ้ำไต่ใบเสา เจ้ากรรมซ้ำเอา
สำเภาระยำคว่ำไป  
๏ ราชาคว้ามืออรไท เอาผ้าสะไบ
ต่อไว้ไม่ไกลกายา  
๏ เถ้าแก่ชาวแม่เสนา น้ำเข้าหูตา
จระเข้เหราคร่าไป  
๏ ราชานารีร่ำไร มีกรรมจำใจ
จำไปพอปะพะสุธา  
๏ มีไม้ไทรใหญ่ใบหนา เข้าไปไสยา
เวลาพอค่ำรำไร

เรือสำเภาแล่นไปจนเจอกับพายุใหญ่พัดจนเรือแตกกระจาย ผีน้ำก็เข้ามาซ้ำเติมทำให้เรือล่มและอับปางลง พระไชยสุริยาคว้ามือพระนางสุมาลีและใช้ผ้าสไบมาต่อเข้าไว้กับตัวเพื่อไม่ให้พลัดออกจากกัน ส่วนคนอื่น ๆ ก็จมน้ำ ถูกจระเข้และตัวเหราคาบไปกิน ในเวลาค่ำพระไชยสุริยาและพระนางสุมาลีจึงพบกับแผ่นดิน พบต้นไทรและได้อาศัยเป็นที่นอน

กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘  
  ๏ ขึ้นใหม่ใน กน
ก กา ว่าปน ระคนกันไป
เอ็นดูภูธร มานอนในไพร
มณฑลต้นไทร แทนไพชยนต์สถาน
  ๏ ส่วนสุมาลี
วันทาสามี เทวีอยู่งาน
เฝ้าอยู่ดูแล เหมือนแต่ก่อนกาล
ให้พระภูบาล สำราญวิญญาณ์
  ๏ พระชวนนวลนอน
เข็ญใจไม้ขอน เหมือนหมอนแม่นา
ภูธรสอนมนต์ ให้บ่นภาวนา
เย็นค่ำร่ำว่า กันป่าภัยพาล
  ๏ วันนั้นจันทร
มีดารากร เป็นบริวาร
เห็นสิ้นดินฟ้า ในป่าท่าธาร
มาลีคลี่บาน ใบก้านอรชร
  ๏ เย็นฉ่ำน้ำฟ้า
ชื่นชะผกา วายุพาขจร
สารพันจันทน์อิน รื่นกลิ่นเกสร
แตนต่อคลอร่อน ว้าว่อนเวียนระวัน
  ๏ จันทราคลาเคลื่อน
กระเวนไพรไก่เถื่อน เตือนเพื่อนขานขัน
ปู่เจ้าเขาเขิน กู่เกริ่นหากัน
สินธุพุลั่น ครื้นครั่นหวั่นไหว
  ๏ พระฟื้นตื่นนอน
ไกลพระนคร สะท้อนถอนทัย
เช้าตรู่สุริยน ขึ้นพ้นเมรุไกร
มีกรรมจำไป ในป่าอารัญ

บทต่อมาเป็นแม่กนและมีแม่ ก กา ผสมเพื่อให้เด็ก ๆ ได้ทบทวนตัวสะกดที่เรียนไปแล้ว เหตุการณ์เล่าถึงพระไชยสุริยาและพระนางสุมาลีต้องอาศัยและนอนในป่า พระนางสุมาลีก็ถวายงานปรนนิบัติดูแลให้พระไชยสุริยาได้รับความสะดวกสบาย ทั้งสองพระองค์ใช้ขอนไม้นอนแทนหมอน เมื่ออยู่ในป่าที่เต็มไปด้วยอันตราย พระไชยสุริยาจึงสอนพระนางสุมาลีสวดมนต์เพื่อป้องกันภัย จากนั้นจึงเป็นการบรรยายทิวทัศน์และความสวยงามของป่าในยามค่ำคืน จนกระทั่งรุ่งเช้า พระไชยสุริยาและพระนางสุมาลีจึงเริ่มออกเดินทางต่อไปในป่า 

กาพย์ฉบัง ๑๖  
๏ ขึ้นกงจงจำสำคัญ ทั้งกนปนกัน
รำพันมิ่งไม้ในดง  
๏ ไกรกร่างยางยูงสูงระหง ตลิงปลิงปริงประยงค์
คันทรงส่งกลิ่นฝิ่นฝาง  
๏ มะม่วงพวงพลองช้องนาง หล่นเกลื่อนเถื่อนทาง
กินพลางเดินพลางหว่างเนิน  
๏ เห็นกวางย่างเยื้องชำเลืองเดิน เหมือนอย่างนางเชิญ
พระแสงสำอางข้างเคียง  
๏ เขาสูงฝูงหงส์ลงเรียง เริงร้องก้องเสียง
สำเนียงน่าฟังวังเวง  
๏ กลางไพรไก่ขันบรรเลง ฟังเสียงเพียงเพลง
ซอเจ้งจำเรียงเวียงวัง  
๏ ยูงทองร้องกะโต้งโห่งดัง เพียงฆ้องกลองระฆัง
แตรสังข์กังสะดานขานเสียง  
๏ กะลิงกะลางนางนวลนอนเรียง พระยาลอคลอเคียง
แอ่นเอี้ยงอีโก้งโทงเทง  
๏ ค้อนทองเสียงร้องป๋องเป๋ง เพลินฟังวังเวง
อีเก้งเริงร้องลองเชิง  
๏ ฝูงละมั่งฝังดินกินเพลิง คางแข็งแรงเริง
ยืนเบิ่งบึ้งหน้าตาโพลง  
๏ ป่าสูงยูงยางช้างโขลง อึงคะนึงผึงโผง
โยงกันเล่นน้ำคล่ำไป

บทต่อมาแต่งด้วยตัวสะกดในแม่กง พร้อมทบทวนแม่กนไปด้วย บทนี้บรรยายธรรมชาติและกล่าวถึงพรรณไม้และสัตว์ในป่า ต้นไม้ที่อยู่ในบทนี้ เช่น ต้นไกร ต้นกร่าง ต้นยางยูง ต้นตะลิงปลิง ต้นมะปริง ต้นประยงค์ ต้นคันทรง ฝิ่น ต้นฝาง ต้นมะม่วง ต้นพลวง ต้นพลอง และต้นช้องนาง 

สัตว์ทั้งหลายเช่น กวาง หงส์ ไก่ป่า นกยูงทอง นกกะลิง นกกะลาง นกนางนวล ไก่ฟ้าพญาลอ นกนางแอ่น นกเอี้ยง นกอีโก้ง นกค้อนทอง อีเก้ง ละมั่ง และช้าง ก็เดินเล่นและส่งเสียงร้องกันอยู่ในป่า

กาพย์ยานี ๑๑  
๏ ขึ้นกกตกทุกข์ยาก แสนลำบากจากเวียงไชย
มันเผือกเลือกเผาไฟ กินผลไม้ได้เป็นแรง
๏ รอนรอนอ่อนอัสดง พระสุริยงเย็นยอแสง
ช่วงดังน้ำครั่งแดง แฝงเมฆเขาเงาเมรุธร
๏ ลิงค่างครางโครกครอก ฝูงจิ้งจอกออกเห่าหอน
ชะนีวิเวกวอน นกหกร่อนนอนรังเรียง
๏ ลูกนกยกปีกป้อง อ้าปากร้องซ้องแซ่เสียง
แม่นกปกปีกเคียง เลี้ยงลูกอ่อนป้อนอาหาร
๏ ภูธรนอนเนินเขา เคียงคลึงเคล้าเยาวมาลย์
ตกยากจากศฤงคาร สงสารน้องหมองพักตรา
๏ ยากเย็นเห็นหน้าเจ้า สร่างโศกเศร้าเจ้าพี่อา
อยู่วังดังจันทรา มาหม่นหมองละอองนวล
๏ เพื่อนทุกข์สุขโศกเศร้า จะรักเจ้าเฝ้าสงวน
มิ่งขวัญอย่ารัญจวน นวลพักตร์น้องจะหมองศรี
๏ ชวนชื่นกลืนกล้ำกลิ่น มิรู้สิ้นกลิ่นมาลี
คลึงเคล้าเย้ายวนยี ที่ทุกข์ร้อนหย่อนเย็นทรวง

ในแม่กก เล่าถึงความลำบากของพระไชยสุริยาและพระนางสุมาลีที่ต้องรอนแรมในป่า กินเผือก มันเผา และผลไม้เป็นอาหาร ท่ามกลางบรรยากาศน่าวังเวงของป่ายามเย็นที่เต็มไปด้วยฝูงลิงค่างและฝูงสุนัขจิ้งจอก ทั้งสองพระองค์นอนเคียงกันอยู่บนเนินเขา พระไชยสุริยารู้สึกสงสารพระนางสุมาลีเป็นอย่างมากที่ต้องมาตกระกำลำบาก พร้อมปลอบใจและสัญญาว่าจะดูแลพระนางเป็นอย่างดี

กาพย์ยานี ๑๑  
๏ ขึ้นกดบทอัศจรรย์ เสียงครื้นครั่นชั้นเขาหลวง
นกหกตกรังรวง สัตว์ทั้งปวงง่วงงุนโงง
๏ แดนดินถิ่นมนุษย์ เสียงดังดุจเพลิงโพลง
ตึกกว้านบ้านเรือนโรง โคลงคลอนเคลื่อนเขยื้อนโยน
๏ บ้านช่องคลองเล็กใหญ่ บ้างตื่นไฟตกใจโจน
ปลุกเพื่อนเตือนตะโกน ลุกโลดโผนโดนกันเอง
๏ พิณพาทย์ระนาดฆ้อง ตะโพนกลองร้องเป็นเพลง
ระฆังดังวังเวง โหง่งหง่างเหง่งเก่งก่างดัง
๏ ขุนนางต่างลุกวิ่ง ท่านผู้หญิงวิ่งยุดหลัง
พัลวันดันตึงตัง พลั้งพลัดตกหกคะเมน
๏ พระสงฆ์ลงจากกุฏิ วิ่งอุดตลุตฉุดมือเณร
หลวงชีหนีหลวงเถร ลงโคลนเลนเผ่นผาดโผน
๏ พวกวัดพลัดเข้าบ้าน ล้านต่อล้านซานเซโดน
ต้นไม้ไกวเอนโอน ลิงค่างโจนโผนหกหัน
๏ พวกผีที่ปั้นลูก ติดจมูกลูกตาพลัน
ขิกขิกระริกกัน ปั้นไม่ทันมันเดือดใจ
๏ สององค์ทรงสังวาส โลกธาตุหวาดหวั่นไหว
ตื่นนอนอ่อนอกใจ เดินไม่ได้ให้อาดูร


บทต่อมาแต่งด้วยแม่กด และมีแม่กน แม่กงร่วมด้วยเพื่อให้ได้ทบทวนตัวสะกดเช่นเดิม บทนี้เป็นบทอัศจรรย์ แสดงฉากร่วมรักระหว่างพระไชยสุริยาและพระนางสุมาลี โดยกวีไม่ได้กล่าวถึงหรือบรรยายเหตุการณ์โดยตรง แต่ใช้การพรรณาภาพธรรมชาติรอบ ๆ ที่อุตลุตวุ่นวาย และแตกต่างไปจากเดิมแทน

กาพย์ยานี ๑๑  
๏ ขึ้นกบจบแม่กด พระดาบสบูชากูณฑ์
ผาสุกรุกขมูล พูนสวัสดิ์สัตถาวร
๏ ระงับหลับเนตรนิ่ง เององค์อิงพิงสิงขร
เหมือนกับหลับสนิทนอน สังวรศีลอภิญญาณ
๏ บำเพ็งเล็งเห็นจบ พื้นพิภพจบจักรวาล
สวรรค์ชั้นวิมาน ท่านเห็นแจ้งแหล่งโลกา
๏ เข้าฌานนานนับเดือน ไม่เขยื้อนเคลื่อนกายา
จำศีลกินวาตา เป็นผาสุกทุกเดือนปี
๏ วันนั้นครั้นดินไหว เกิดเหตุใหญ่ในปถพี
เล็งดูรู้คดี กาลกิณีสี่ประการ
๏ ประกอบชอบเป็นผิด กลับจริตผิดโบราณ
สามัญอันธพาล ผลาญคนซื่อถือสัตย์ธรรม์
๏ ลูกศิษย์คิดล้างครู ลูกไม่รู้คุณพ่อมัน
ส่อเสียดเบียดเบียนกัน ลอบฆ่าฟันคือตัณหา
๏ โลภลาภบาปบ่คิด โจทก์จับผิดริษยา
อุระพสุธา ป่วนเป็นบ้าฟ้าบดบัง
๏ บรรดาสามัญสัตว์ เกิดวิบัติปัตติปาปัง
ไตรยุคทุกขตรัง สังวัจฉระอวสาน

ในแม่กบ กวีกล่าวถึงพระฤาษีบูชาไฟที่อาศัยอยู่ในป่า จากการบำเพ็ญเพียรยาวนานทำให้พระฤาษีเป็นผู้รู้แจ้ง เห็นความเป็นไปต่าง ๆ ในโลกและจักรวาล เมื่อเกิดแผ่นดินไหวและอาเพศครั้งใหญ่ในเมืองสาวัตถี พระฤาษีก็รู้ว่าเหตุเหล่านี้เกิดจาก ‘กาลกิณี ๔ ประการ’ ได้แก่ 

๑. การเห็นผิดเป็นชอบ คนชั่วทำร้ายคนดี 

๒. ลูกศิษย์คิดล้มล้างครูอาจารย์ ลูกไม่รู้บุญคุณพ่อแม่ 

๓. การเบียดเบียน ฆ่าฟันกันเองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน

๔. โลภมากและมีจิตริษยาไม่เกรงกลัวบาป

กาพย์ฉบัง ๑๖  
๏ ขึ้นกมสมเด็จจอมอารย์ เอ็นดูภูบาล
ผู้ผ่านพาราสาวะถี  
๏ ซื่อตรงหลงเล่ห์เสนี กลอกกลับอัปรีย์
บุรีจึงล่มจมไป  
๏ ประโยชน์จะโปรดภูวไนย นิ่งนั่งตั้งใจ
เลื่อมใสสำเร็จเมตตา  
๏ เปล่งเสียงเพียงพิณอินทรา บอกข้อมรณา
คงมาวันหนึ่งถึงตน  
๏ เบียนเบียดเสียดส่อฉ้อฉล บาปกรรมนำตน
ไปทนทุกข์นับกัปกัลป์  
๏ เมตตากรุณาสามัญ จะได้ไปสวรรค์
เป็นสุขทุกวันหรรษา  
๏ สมบัติสัตว์มนุษย์ครุฑา กลอกกลับอัปรา
เทวาสมบัติชัชวาล  
๏ สุขเกษมเปรมปรีดิ์วิมาน อิ่มหนำสำราญ
ศฤงคารห้อมล้อมพร้อมเพรียง  
๏ กระจับปี่สีซอท่อเสียง ขับรำจำเรียง
สำเนียงนางฟ้าน่าฟัง  
๏ เดชะพระกุศลหนหลัง สิ่งใดใจหวัง
ได้ดังมุ่งมาดปรารถนา  
๏ จริงนะประสกสีกา สวดมนต์ภาวนา
เบื้องหน้าจะได้ไปสวรรค์  
๏ จบเทศน์เสร็จคำรำพัน พระองค์ทรงธรรม์
ด้นดั้นเมฆาไคล  
   
กาพย์ฉบัง ๑๖  
๏ ขึ้นเกยเลยกล่าวท้าวไท ฟังธรรมน้ำใจ
เลื่อมใสศรัทธากล้าหาญ  
๏ เห็นภัยในขันธสันดาน ตัดห่วงบ่วงมาร
สำราญสำเร็จเมตตา  
๏ สององค์ทรงหนังพยัคฆา จัดจีบกลีบชะฎา
รักษาศีลถือฤๅษี  
๏ เช้าค่ำทำกิจพิธี กองกูณฑ์อัคคี
เป็นที่บูชาถาวร  
๏ ปถพีเป็นที่บรรจถรณ์ เอนองค์ลงนอน
เหนือขอนเขนยเกยเศียร  
๏ ค่ำเช้าเอากราดกวาดเตียน เหนื่อยยากพากเพียร
เรียนธรรมบำเพ็งเคร่งครัน  
๏ สำเร็จเสร็จได้ไปสวรรค์ เสวยสุขทุกวัน
นานนับกัปกัลป์พุทธันดร  


ในแม่กม พระฤาษีสงสารพระไชยสุริยาและพระนางสุมาลีที่หลงกลเหล่าเสนาที่ประพฤติมิชอบจนบ้านเมืองล่มจมไป พระฤาษีจึงเสด็จมาโปรดทั้งสองพระองค์ให้เมตตากรุณาและหมั่นทำแต่ความดี เพื่อที่ภายภาคหน้าจะได้ไปสวรรค์ พระไชยสุริยาและพระนางสุมาลีได้ฟังดังนั้นก็รู้สึกเลื่อมใส จึงออกบวชบำเพ็ญธรรม และได้ไปเสวยสุขบนสวรรค์ในท้ายที่สุด

๏ ภุมราการุญสุนทร ไว้หวังสั่งสอน
เด็กอ่อนอันเยาว์เล่าเรียน  
๏ ก ข ก กา ว่าเวียน หนูน้อยค่อยเพียร
อ่านเขียนผสมกมเกย  
๏ ระวังตัวกลัวครูหนูเอ๋ย ไม้เรียวเจียวเหวย
กูเคยเข็ดหลาบขวาบเขวียว  
๏ หันหวดปวดแสบแปลบเสียว หยิกซ้ำช้ำเขียว
อย่าเที่ยวเล่นหลงจงจำ  
๏ บอกไว้ให้ทราบบาปกรรม เรียงเรียบเทียบทำ
แนะนำให้เจ้าเอาบุญ  
๏ เดชะพระมหาการุญ ใครเห็นเป็นคุณ
แบ่งบุญให้เราเจ้าเอย ฯ.

บทส่งท้ายของกวีเล่าถึงจุดประสงค์ในการแต่งกาพย์พระไชยสุริยาที่ตั้งใจให้เป็นตำราอ่านเขียนสำหรับเด็ก พร้อมสั่งสอนให้ตั้งใจศึกษา รู้จักเกรงกลัวครูอาจารย์ แนะนำเรื่องบุญบาป และหากผู้ใดเห็นว่ากาพย์เรื่องพระไชยสุริยานี้มีประโยชน์ก็ขอให้แบ่งบุญนั้นให้กวีด้วย

คุณค่าและข้อคิดจากกาพย์พระไชยสุริยา

นอกจากจะเป็นบทเรียนเขียนอ่านสำหรับเด็กที่สนุกสนาน สอดแทรกคุณธรรมและคำสอนทางศาสนา กาพย์พระไชสุริยายังมีคุณค่าในแง่อื่น ๆ อีกมาก เช่น

๑. สะท้อนรูปแบบของหนังสือสำหรับเด็กหัดอ่านเขียนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่ออ่านจบจะได้เรียนรู้ฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ได้เรียนรู้ตัวสะกดครบทุกมาตรา ทั้งแม่ ก กา แม่กน แม่กง แม่กก แม่กด แม่กบ แม่กม และแม่เกย 

๒. สะท้อนค่านิยมการเคารพพระรัตนตรัย พ่อแม่ และครูบาอาจารย์ ดังที่ปรากฎในบทนำนี้

๏ สะธุสะจะขอไหว้ พระศรีไตรสรณา
พ่อแม่แลครูบา เทวดาในราศี

๓. สะท้อนอัจฉริยภาพของกวีในการแต่งบทเรียนที่สนุกและคำนึงถึงลำดับการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น การทบทวนตัวสะกดในมาตราก่อนหน้า การสอดแทรกข้อคิดและคติธรรมลงไปในบทเรียน ซึ่งทั้งหมดนี้ปรากฏอยู่ในเส้นเรื่องหลักตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องอย่างเป็นธรรมชาติ

๔. มีการประมวลพรรณไม้และชื่อสัตว์ป่ามาให้เด็ก ๆ ได้รู้จัก เช่น

๏ ไกรกร่างยางยูงสูงระหง ตลิงปลิงปริงประยงค์
คันทรงส่งกลิ่นฝิ่นฝาง
๏ เห็นกวางย่างเยื้องชำเลืองเดิน เหมือนอย่างนางเชิญ
พระแสงสำอางข้างเคียง

๕. มีการใช้วรรณศิลป์โดยใช้ภาพพจน์ประเภทสัทพจน์ (เลียนเสียงธรรมชาติ) ทำให้ผู้อ่านได้ยินเสียงธรรมชาติ เช่น

๏ ยูงทองร้องกะโต้งโห่งดัง เพียงฆ้องกลองระฆัง
แตรสังข์กังสะดานขานเสียง

๏ ค้อนทองเสียงร้องป๋องเป๋ง เพลินฟังวังเวง
อีเก้งเริงร้องลองเชิง

๖. มีการเล่นสัมผัสพยัญชนะเพื่อความไพเราะ เช่น

๏ ขึ้นกงจงจำสำคัญ ทั้งกนปนกัน
รำพันมิ่งไม้ในดง

๗. สร้างจินตภาพให้ผู้อ่านได้เห็นภาพตาม โดยเฉพาะในบทพรรณา เช่น 

  ๏ วันนั้นจันทร
มีดารากร เป็นบริวาร
เห็นสิ้นดินฟ้า ในป่าท่าธาร
มาลีคลี่บาน ใบก้านอรชร

นอกจากนี้กาพย์เรื่องพระไชยสุริยายังแฝงแนวคิดและประเด็นอื่น ๆ อย่างศาสนาและการเมืองไว้ในเนื้อเรื่องด้วย และอีกความโดดเด่นที่เรามองข้ามไปไม่ได้ก็คือการใช้กาพย์พระไชยสุริยาเป็นบทสวดในการสวดโอ้เอ้วิหารราย ซึ่งเป็นการสวดที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมทีการสวดโอ้เอ้วิหารรายนั้นใช้มหาชาติคำหลวงเป็นบทสวด จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ก็ได้มีการ สวดรอบศาลารายรอบพระอุโบสถในวัดพระศรีรัตนศาสดารามทั้ง ๑๒ ศาลา ซึ่งกรมธรรมการ (หน่วยงานที่รับผิดชอบการสวดในขณะนั้น) มีจำนวนข้าราชการในกรมค่อนข้างน้อย และผู้ฟังก็ไม่ค่อยสนใจการสวดเทียบมูลบทนัก รัชกาลที่ ๔ จึงโปรดเกล้าให้นักเรียนโรงทานมาสวดตามหนังสือกาพย์เรื่องพระไชยสุริยาของสุนทรภู่ การสวดโอ้เอ้วิหารรายจึงใช้กาพย์เรื่องพระไชยสุริยาเป็นบทสวดมาจนถึงทุกวันนี้ ว่าแต่การสวดโอ้เอ้วิหารรายจะเป็นอย่างไร ? ถ้าเพื่อน ๆ สนใจก็ตามไปสวดโอ้เอ้วิหารรายกับครูหนึ่งในแอปพลิเคชัน StartDee ได้เลย !

กาลกิณี 4 ประการ ในเรื่อง พระไชยสุริยา มีอะไรบ้าง

ขอบคุณข้อมูลจาก:

  1. ธีรศักดิ์ จิระตราชู (ครูหนึ่ง)

Reference: 

“พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร).” Wikipedia, Wikimedia Foundation, 25 Aug. 2020, th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3_%28%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2_%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A3%29. 

พระสุนทรโวหาร (ภู่). th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3_%28%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%88%29#cite_note-thingsasian-2. 

กาลกิณี ๔ ประการที่เกิดขึ้นกับเมืองสาวะถีประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

เมืองสาวัตถีของพระไชยสุริยาก่อนที่จะล่มจมลงนั้น สุนทรภู่ได้บรรยายเอาไว้ว่า มีแต่ “ค่ำเช้าเฝ้าสีซอ เข้าแต่หอล่อกามา” นับว่าเป็นเมืองบาปหนา น้ำฟ้าดินจึงได้ลงโทษ ด้วยเกิดเหตุเป็นกาลกิณี 4 ประการคือ 1.เห็นผิดเป็นชอบ 2.อันธพาลครองเมือง 3.ข่มเหงรังแกฆ่าฟันกันเอง 4.โลภมากและมีแต่จับผิดริษยากันไปมา

กาลกิณี 4 ประการ คือ อะไร มี อะไร บ้าง

ประเด็นของน้ำท่วมและแผ่นดินไหวที่ปรากฏในเมืองสาวัตถีนั้น เป็นเหตุมาจาก”กาลกิณีสี่ประการ ได้แก่ ๑. การเห็นผิดเป็นชอบ ไม่อยู่ในธรรมเนียมประเพณี ขาดความซื่อสัตย์ ๒. ความไม่มีสัมมา-คารวะของผู้อ่อนอาวุโส ๓. การประพฤติส่อเสียด ทำร้ายกัน ๔.ความโลภ ริษยา “ หนทางที่จะรอดพ้นจากกาลกิณีดังกล่าวนั้น บุคคลควรเป็นผู้มีความศรัทธาต่อ ...

อุทกภัยในเรื่องกาพย์พระไชยสุริยาเกิดจากอะไร

พระไชยสุริยาเป็นกษัตริย์ครองเมืองสาวัตถีมีมเหสีชื่อสุมาลี บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์เป็นสุขมานาน ต่อมาข้าราชบริพารและผู้มีอำนาจพากันลุ่มหลงใน กิเลสตัณหา และอบายมุขนานา เที่ยวข่มเหงราษฎรจนเดือดร้อนไปทั่วทุกหย่อมหญ้า เป็นเหตุให้ธรรมชาติเกิดวิปริต น้ำป่าไหลบ่าท่วมเมือง ผู้คนล้มตาย สาวัตถีกลายเป็นเมืองร้าง

กาพย์เรื่องพระไชยสุริยามีคุณค่าในเรื่องใดบ้าง

กาพย์พระไชยสุริยา เป็นผลงานประพันธ์ของสุนทรภู่ แต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ เพื่อใช้สำหรับเป็นแบบเรียนเรื่องตัวสะกด อย่างไรก็ตาม เนื้อหาของวรรณคดีเรื่องนี้ สะท้อนให้เห็นคุณค่าในด้านสังคมและการเมือง กล่าวคือ เสนอภาพการล่มสลายของเมือง อันเนื่องมาจากการประพฤติทุจริตของผู้มีอำนาจ เหตุการณ์ในเมืองสาวัตถีจึงเป็นอุทาหรณ์ให้แก่ ...