เหตุ ใด พระ ไชย สุริยา จึง ไม่ กลับ ไป เมือง สา วัต ถี หลังจาก รอดชีวิต จาก พายุ ใหญ่

รหัสข้อมูล

TLD-001-134

ชื่อเรื่องหลัก

กาพย์พระไชยสุริยา

ยุคสมัย

ผู้แต่ง

คำประพันธ์

นิทาน 

ฉันทลักษณ์

กาพย์ยานี 

เนื้อเรื่องย่อ

พระไชยสุริยาเป็นพระราชาครองเมืองสาวะถี (สาวัตถี) มีมเหสีชื่อว่าสุมาลี  บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์  มีพ่อค้าต่างเมืองมาค้าขาย  ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุข  ต่อมาพวกขุนนางผู้ใหญ่และข้าราชบริพารพากันประพฤติผิด ลุ่มหลงในกามคุณและอบายมุขต่าง ๆ ผู้มีอำนาจกดขี่ข่มเหงราษฎรจนเดือดร้อนกันไปทั่ว  การปกครองขาดความยุติธรรม  บ้านเมืองอยู่ในภาวะที่ขาดเสถียรภาพ ในที่สุดเกิดน้ำป่าไหลท่วมบ้านเมืองทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก  ผู้ที่รอดชีวิตก็หนีออกจากเมืองไปหมด  พระไชยสุริยาพามเหสีและบริวารพร้อมเสบียงลงเรือสำเภาหนีออกจากเมือง  เรือแตกเพราะถูกพายุ  บริวารทั้งหลายพลัดไปหมด  พระไชยสุริยาและนางสุมาลีขึ้นฝั่งได้พากันรอนแรมไปในป่า  ตกทุกข์ได้ยากอยู่หลายวัน  พระดาบสรูปหนึ่งเข้าฌานเห็นทั้งสองพระองค์เร่ร่อนอยู่ในป่าก็สงสาร  เพราะทราบว่าพระไชยสุริยาเป็นกษัตริย์ที่ดี  แต่ต้องเคราะห์ร้ายเช่นนี้เพราะหลงเชื่ออำมาตย์ที่ฉ้อฉล  พระดาบสจึงเทศนาโปรดทั้งสององค์ให้ศรัทธาถือเพศเป็นฤษีบำเพ็ญธรรมอย่างเคร่งครัดจนได้ไปเสวยสุขในสวรรค์

วัตถุประสงค์

ผู้เรียบเรียง

เอกสารอ้างอิง

รวมนิทาน บทเห่กล่อม และสุภาษิตของสุนทรภู่. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529. (จัดพิมพ์เผยแพร่เพื่อร่วมโครงการฉลอง 200 ปี กวีเอกสุนทรภู่  พ.ศ.2529)

ภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย, สมาคม. กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา. กรุงเทพฯ : สมาคมภาษาและหนังสือ, 2529.

คำสำคัญ

เรื่องน่ารู้ที่ปรากฎใน”สุนทรภู่บอกเหตุน้ำท่วมจากพุทธทำนาย”

                                                                           เอกวัฒน์ พัฒนวิบูลย์

..........................................................................................................................................................    

          วันที่ ๒๖ มิถุนายน ของทุกปีนับได้ว่าเป็นวันที่มีความสำคัญยิ่งวันหนึ่งของคนไทย ทั้งนี้เพราะเป็นวันที่ทุกคนต่างน้อมรำลึกถึงพระคุณของสุนทรภู่ กวีเอกของไทยที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ยกย่องว่าเป็นกวีเอกคนหนึ่งของโลกนับตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๙ เป็นต้นมา หากเราได้ย้อนกลับไปศึกษาถึงผลงานที่สุนทรภู่ได้สร้างสรรค์ไว้จะพบว่า ท่านได้รจนางานประพันธ์หลายเรื่องและหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นนิราศ กลอนนิทาน บทเสภาพระราชพงศาวดาร กลอนสุภาษิต แบบเรียนสอนอ่านภาษาไทย บทเห่กล่อม บทละคร เป็นต้น ผลงานดังกล่าวนับได้ว่ามีคุณค่าต่อการเรียนรู้ทั้งด้านภาษาและวรรณคดีไทยเป็นสำคัญ ทั้งนี้เพราะผลงานของท่านมิใช่จะนำเสนอเนื้อหาสาระในเชิงจินตนาการเพื่อสร้างความบันเทิงเริงใจเท่านั้น แต่เรื่องราวที่ท่านได้ร้อยเรียงขึ้นเป็นเรื่องราวนั้น ได้รังสรรค์ขึ้นจากประสบการณ์ที่ท่านได้ประสบเพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตทั้งด้านสุขและด้านทุกข์ผสานเนื่องเอาไว้ได้อย่างน่าชื่นชม สะท้อนให้เห็นถึงเรื่องราวในอดีต สมัยที่ท่านสร้างสรรค์ผลงานไว้ได้อย่างแจ่มชัด นับได้ว่าผลงานของสุนทรภู่ทรงคุณค่าทั้งทางด้านวรรณศิลป์ ที่เป็นแบบอย่างแห่งการแต่งกลอนสุภาพในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของสุนทรภู่ที่สละสลวยด้วยลีลาของสัมผัสในได้อย่างงดงาม ในขณะเดียวกันก็แสดงถึงคุณค่าทางสังคมที่จัดได้ว่าเป็นการบันทึกข้อมูลทางประวัติศาสตร์อีกรูปแบบหนึ่ง ผลงานของสุนทรภู่หลายเรื่องได้นำมาเป็นบทเรียนอยู่ในแบบเรียนหรือหนังสือเรียนมาทุกหลักสูตร และมีผู้ศึกษารายละเอียดในเชิงวิเคราะห์วิจัยอย่างมากมาย นับแต่อดีตต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน

            “สุนทรภู่บอกเหตุน้ำท่วมจากพุทธทำนาย” เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของสุนทรภู่ที่มีต่อการสร้างสรรค์ผลงานด้านวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประวัติและเรื่องราวของสุนทรภู่จากวรรณกรรมเรื่องเอกของท่านคือเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา “สุนทรภู่บอกเหตุน้ำท่วมจากพุทธทำนาย”เล่มนี้เป็นผลงานของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ทศพร วงศ์รัตน์ ราชบัณฑิต ผู้สนใจศึกษาผลงานของสุนทรภู่และเรียบเรียงข้อคิดความเห็นไว้ในหนังสือเล่มต่าง ๆ ได้แก่ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ และสึนามิในพระอภัยมณี, พระอภัย-มณี...มาจากไหนและ ลายแทงของสุนทรภู่ สำหรับแก่นหลักที่ปรากฏในหนังสือ”สุนทรภู่บอกเหตุน้ำท่วมจากพุทธทำนาย” จัดพิมพ์โดยห้างหุ้นส่วนจำกัดวันทูปริ้นท์ เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๔ มีรายละเอียดสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผลงานของสุนทรภู่โดยตรง และมีคุณค่าต่อการศึกษาวรรณคดีในมุมมองของผู้แต่งที่น่าสนใจหลายประเด็น ดังจะได้สรุปสาระสำคัญเฉพาะประเด็นหลักวรรณคดีของกวีดังนี้
                 

การศึกษากาพย์พระไชยสุริยาผลงานของพระสุนทรโวหาร(ภู่)

           ๑. การศึกษาระยะเวลาการแต่ง

               ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ทศพร วงศ์รัตน์ ราชบัณฑิต ได้ให้ความสำคัญของระยะเวลาในการแต่งกาพย์พระไชยสุริยาว่า สุนทรภู่แต่งกาพย์เรื่องนี้ในราวปีชวด ถึงต้นปีฉลู พ.ศ.๒๓๘๓-๒๓๘๔ขณะนั้นสุนทรภู่มีอายุประมาณ ๕๓-๕๔ ปี โดยกล่าวว่า “ เมื่อแล้วเสร็จในผลงานเป็นกาพย์ สุนทรภู่ก็คิดแสดงความสามารถให้ปรากฏไว้ในโลกอีกทันที ด้วยผลงานเป็นโคลง ว่าตนก็ทำได้เช่นกัน และเป็นเรื่องที่ยาวมาก ทั้งนี้เพราะมีหลักฐานว่า ต่อจากต้นปีฉลูนั้น สุนทรภู่มีการเดินทางไปสุพรรณบุรีและแต่ง โคลงนิราศสุพรรณ” จึงมิใช่แต่งในช่วงต้นของชีวิตหรือในปีพ.ศ.๒๓๖๘ โดยอาศัยคำบอกเล่าประกอบของพระยาธรรมปรีชา(บุญ) ผู้เคยบวชอยู่ที่วัดเทพธิดารามในสมัยที่สุนทรภู่จำพรรษาอยู่ในอารามเดียวกัน ก็ได้เล่าประสบการณ์ที่ท่านทราบมาว่าสุนทรภู่แต่งกาพย์พระไชยสุริยาขณะบวชอยู่ที่วัดเทพธิดาราม นับเป็นการบวชครั้งที่สองพร้อมด้วยบุตรสองคนน่าจะได้แก่หนูพัด และหนูตาบ การแต่งวรรณคดีเรื่องนี้น่าจะแต่งใกล้เคียงกับการแต่งเรื่องสุภาษิตสอนสตรี ซึ่งแต่งขึ้นระหว่างปีพ.ศ.๒๓๘๐-๒๓๘๓” ทั้งนี้เพราะ” เรื่องทั้งสองเป็นเรื่องทำนองเดียวกันในด้านผลดีผลเสียทางระดับจริยธรรม”

            ๒. การศึกษาเนื้อหาและที่มาของกาพย์พระไชยสุริยา

                 กาพย์พระไชยสุริยาแต่งเป็นคำประพันธ์ประเภท กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์สุนทรภู่แต่งขึ้นเพื่อใช้เป็นแบบสอนอ่านภาษาไทย คำที่ใช้แต่งสร้างจากคำในมาตราตัวสะกดต่าง ๆ เช่น

                        ...ใช้คำในมาตราแม่กน ผสมกับแม่ ก กา ที่เรียนแล้วบรรยายถึงตอนที่

                        พระไชยสุริยาและนางสุมาลีนอนในป่า มาตราต่อมาจะใช้คำในมาตรานั้นๆ

                        ผสมกับคำในมาตราที่เรียนมาแล้ว มาตราแม่กง และแม่กนเป็นบทพรรณนา

                        สภาพป่า มาตราแม่กกเป็นบทพรรณนาความทุกข์ยากลำบากของทั้งสอง

                        พระองค์ มาตราแม่กดเป็นบทอัศจรรย์เมื่อทั้งสองเสพสังวาส มาตราแม่กบ

                        เป็นตอนที่พระดาบสเข้าญานเล็งเห็นความเป็นมา และความทุกข์ของ

                        พระไชยสุริยา มาตราแม่กมเป็นบทที่พระดาบสเทศนาโปรด มาตราแม่เกย

                        ใช้บรรยายความตอนที่พระไชยสุริยาและนางสุมาลีบำเพ็ญเพียรจนได้ขึ้น

                        สวรรค์ ตอนท้ายมีบทสรุปเตือนให้นักเรียนตั้งใจเรียน...

                   
ดังกาพย์ฉบับที่กล่าวไว้ตอนท้ายเรื่องว่า

                                                ภุมราการุณสุนทร                        ไว้หวังสั่งสอน

                                    เด็กอ่อนอันเยาว์เล่าเรียน                                                                                                             

                                                ก ข ก กา ว่าเวียน                        หนูน้อยค่อยเพียร

                             อ่านเขียนผสมกมเกย

                                          ระวังตัวกลัวครูหนูเอ๋ย                       ไม้เรียวเจียวเหวย

                                กูเคยเข็ดหลาบขวาบเขวียว

            ประเด็นหลักของเรื่องกล่าวถึงพระไชยสุริยา ครองเมืองสาวัตถีอย่างมีความสุข ต่อมาเกิดเหตุอาเพศ เนื่องจากข้าราชการและข้าราชสำนักประพฤติบาป กระทำผิดศีลธรรมอันดีงาม พระสงฆ์ขาดวินัยปฏิบัติ “ผีป่าฟ้าดินจึงลงโทษ ด้วยให้มีน้ำป่าไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเมือง “พระไชยสุริยาและพระมเหสีต้องทรงลงเรือหนีภัยจนได้ทรงพบพระฤาษีเทศนาสั่งสอน เมื่อทั้งสองพระองค์ทรงเลื่อมใสในคำสอน จึงทรงออกบวชเป็นฤาษี ทรงตั้งมั่นในหลักศีลธรรมอย่างเคร่งครัดจนดับขันธ์และได้ไปสถิตยังสรวงสวรรค์สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของน้ำท่วมเมืองสาวัตถีที่กล่าวในเรื่องนั้น ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ทศพร วงศ์รัตน์ ราชบัณฑิต ตั้งข้อสังเกตว่า สุนทรภู่น่าจะได้รับแนวคิดมาจาก “พระบาลีมหาสุบินชาดกนิบาต” ที่กล่าวถึงคำพยากรณ์ ๑๖ ประการของพระเจ้าปเสนทิโกศล แห่งแคว้นโกศล ที่มีเมืองสาวัตถีเป็นเมืองหลวง อีกทั้งเรื่อง”พระสุบินแห่งพระยาปัตถเวน”มาเป็นแรงบันดาลใจสำหรับการแต่งกาพย์พระไชยสุริยา ดังตัวอย่างคำทำนายที่ปรากฏใน “พระสุบินแห่งพระยาปัตถเวน”ตอนหนึ่งว่า

                                                หนึ่งฝันว่าประชาชนขนน้ำ            ช่วยกันปล้ำเทส่งลงตุ่มใหญ่

                                    ตุ่มน้อยร้อยพันเรียงกันไป                      หามีใครเข้าใส่แต่สักคน

                                    พระวรญาณโปรดประทานปกาสิต          แนะนิมิตทายเข็ญให้เห็นผล

                                    ว่าภายหน้าเสนาเป็นนายพล                    ราษฎรจะปล้นทรัพย์ใส่ตุ่มโต

                                    ยิ่งมีก็ยิ่งได้ออกล้นเหลือ                         ยิ่งจนก็ยิ่งยากลงอักโข

                                    จะรุ่งงานตระการหน้าแต่พาโล                 ที่ซื่อก็จะโซดังตุ่มน้อย

            นอกจากคำพยากรณ์ในพระบาลีที่กล่าวมาแล้ว สุนทรภู่น่าจะได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก”เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา” ผลงานพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.๒๑๙๙-๒๒๓๑) เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างจินตนาการแต่งเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา ดังตัวอย่างคำพยากรณ์ถึงความเสื่อมที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมืองตอนหนึ่งว่า

                                                คือเดือนดาวดินฟ้าจะอาเพศ        อุบัติเหตุเกิดทั่วทุกทิศาน

                                    มหาเมฆจะลุกเป็นเพลิงกาล                     เกิดนิมิตพิศดารทุกบ้านเมือง

                                    พระคงคาจะแดงเดือดดั่งเลือดนก           อกแผ่นดินเป็นบ้าฟ้าจะเหลือง

                                    ผีป่าก็จะวิ่งเข้าสิงเมือง                              ผีเมืองนั้นจะออกไปอยู่ไพร

                                                                        ๔

            แรงบันดาลใจที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่สุนทรภู่ได้รับจากประสบการณ์โดยตรงก็คือ การเกิดน้ำท่วมใหญ่และเกิดแผ่นดินไหว “ในปีกุน พ.ศ.๒๓๘๒ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับแผ่นดินไหว และทำให้ผู้เขียนคิดว่า เรื่องนี้ใน “วันนั้น” น่าจะเป็นการจุดประกายให้สุนทรภู่ได้คิดสร้างเรื่อง “กาพย์พระไชยสุริยา” ได้อย่างน่าสนใจและน่าตื่นเต้นสมเหตุสมผลยิ่งขึ้น” ดังคำประพันธ์ที่ว่า

                                                ข้าเฝ้าเหล่าเสนา                         มิได้ว่าหมู่ข้าไทย

                                    ถือน้ำร่ำเข้าไป                                        แต่น้ำใจไม่นำพา

                                                หาได้ใครหาเอา                          ไพร่ฟ้าเศร้าเปล่าอุรา

                                    ผู้ที่มีอาญา                                              ไล่ตีด่าไม่ปรานี  

                                                ผีป่ามากระทำ                             มรณกรรมเข้าบุรี

                                    น้ำป่าเข้าธานี                                           ก็ไม่มีที่อาศัย

            ๓. แนวคิดสำคัญของกาพย์พระไชยสุริยา

               ประเด็นของน้ำท่วมและแผ่นดินไหวที่ปรากฏในเมืองสาวัตถีนั้น เป็นเหตุมาจาก”กาลกิณีสี่ประการ ได้แก่ ๑. การเห็นผิดเป็นชอบ ไม่อยู่ในธรรมเนียมประเพณี ขาดความซื่อสัตย์ ๒. ความไม่มีสัมมา-คารวะของผู้อ่อนอาวุโส ๓. การประพฤติส่อเสียด ทำร้ายกัน ๔.ความโลภ ริษยา “ หนทางที่จะรอดพ้นจากกาลกิณีดังกล่าวนั้น บุคคลควรเป็นผู้มีความศรัทธาต่อหลักธรรมความดี ประพฤติบำเพ็ญธรรม ใช้ความเมตตาปราณี เพื่อนำไปสู่ความสุขนิรันดร ดังคำสอนที่ว่า

                                                วันนั้นครั้นดินไหว                        เกิดเหตุใหญ่ในปฐพี

                                    เล็งดูรู้คดี                                                 กาลกิณีสี่ประการ

                                    ประกอบชอบเป็นผิด                               กลับจริตผิดโบราณ

                                    สามัญอันธพาล                                       ผลาญคนซื่อถือสัตย์ธรรม์

            “สุนทรภู่บอกเหตุน้ำท่วมจากพุทธทำนาย” นับได้ว่าเป็นหนังสือในเชิงคิดวิเคราะห์ผลงานกาพย์พระไชยสุริยา วรรณกรรมเรื่องเอกเรื่องหนึ่งของสุนทรภู่ แสดงให้เห็นถึงความรักในวรรณศิลป์ของผู้ศึกษาและความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ผลงานเพื่อธำรงไว้ซึ่งวรรณคดีที่เป็นวัฒนธรรมของชาติไทยที่ควรเชิดชูควบคู่ไปกับกวีที่สร้างสรรค์ผลงานไว้จนได้เป็นกวีเอกของโลกคือสุนทรภู่ และในขณะเดียวกันข้อคิดจากการศึกษาเรื่องกาพย์พระไชยสุริยายังจะได้เป็นข้อคิดข้อเตือนใจให้แก่ไพร่ฟ้าประชาชนไทย ได้น้อมนำเอาไปยึดถือปฏิบัติตนเพื่อ ป้องกันหรือแก้ไขเหตุการณ์ร้ายทั้งผองในยามวิกฤต เพื่อให้ภัยพิบัติทั้งหลายทั้งปวงผ่านพ้นไปได้อันจะเป็นการสร้างสรรค์สังคมไทยให้สงบสุขภายใต้ร่มเศวตฉัตรที่มั่นคงยั่งยืนสืบไป

..................................................................

ทศพร วงศ์รัตน์. สุนทรภู่บอกเหตุน้ำท่วมจากพุทธทำนาย. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์

            วันทูปริ้น์, ๒๕๕๔.

พระไชยสุริยาต้องออกจากเมืองไปเพราะเหตุใด

เนื้อเรื่อง (กาพย์พระไชยสุริยา) พระไชยสุริยาพามเหสีและบริวารพร้อมเสบียงลงเรือ ส าเภาหนีออกจากเมือง เรือแตกเพราะถูกพายุ บริวาร ทังหลายพลัดไปหมด พระไชยสุริยาและนางสุมาลีขึนฝั่งได้ พากันรอนแรมไปในป่า ตกทุกข์ได้ยากอยู่หลายวัน

เหตุการณ์ในเรื่องกาพย์พระไชยสุริยาเกิดขึ้นในเมืองใด

พระไชยสุริยาเป็นพระราชาครองเมืองสาวะถี (สาวัตถี) มีมเหสีชื่อว่าสุมาลี บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ มีพ่อค้าต่างเมืองมาค้าขาย ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุข ต่อมาพวกขุนนางผู้ใหญ่และข้าราชบริพารพากันประพฤติผิด ลุ่มหลงในกามคุณและอบายมุขต่าง ๆ ผู้มีอำนาจกดขี่ข่มเหงราษฎรจนเดือดร้อนกันไปทั่ว การปกครองขาดความยุติธรรม บ้านเมืองอยู่ในภาวะที่ขาด ...

ข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เมืองสาวัตถีล่มจม

1. พระดาบสสั่งสอนพระไชยสุริยาและพระมเหสี 2. พระไชยสุริยาและพระมเหสีต้องทุกข์ยากลำบากอยู่ในป่า 3. บ้านเมืองเกิดภัยพิบัติ ผู้คนล้มตาย น้ำป่าไหลท่วมเมือง 4. เหล่าขุนนางเมืองสาวัตถีไม่ตั้งตนอยู่ในศีลธรรม

กาลกิณี 4 ประการที่กล่าวถึงในเรื่องพระไชยสุริยามีอะไรบ้าง

บีบีซีไทย - BBC Thai.
เห็นผิดเป็นชอบ.
อกตัญญู.
ข่มเหงรังแกฆ่าฟันกัน.
โลภมากและมีแต่จับผิดริษยากันไปมา.