ธุรกิจ e-commerce ใน ประเทศไทย มี อะไร บ้าง

ขณะนี้คุณอยู่ที่: หน้าหลัก

ธุรกิจ e-commerce ใน ประเทศไทย มี อะไร บ้าง
บทความเด่น
ธุรกิจ e-commerce ใน ประเทศไทย มี อะไร บ้าง
เทิศทาง e – Commerce ไทย
:: ผู้ให้บริการข้อมูล 0 214-17500 - 03

ในยุคปัจจุบันเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าอินเทอร์เน็ตได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของใครหลายๆคนไปแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีและอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสาร รวมถึงระบบเครือข่ายสัญญาณต่างๆ ทำให้การติดต่อสื่อสารทำได้ง่ายและสะดวกขึ้นอย่างมาก

ธุรกิจ e-commerce ใน ประเทศไทย มี อะไร บ้าง

วัตถุประสงค์ของการใช้อินเทอร์เน็ตมีความหลากหลายแตกต่างกันไป เช่น ค้นหาข้อมูล ติดตามข่าวสาร รับส่งข้อมูล เล่นเกมส์ เป็นต้น แต่ที่น่าสนใจ คือ มีการนำอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มช่องทาง ในการทำธุรกิจซื้อขายสินค้าและบริการผ่านออนไลน์ หรือที่เรียกว่า ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ซึ่งมีการดำเนินการอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ B2B (Business to Business) คือ การทำธุรกิจระหว่างภาคธุรกิจด้วยกัน B2C (Business to Customer) คือ ระหว่างภาคธุรกิจกับผู้บริโภค B2G (Business to Government) คือระหว่างภาคธุรกิจกับภาครัฐ การทำธุรกิจ e-Commerce เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่มีเงินทุนน้อยและต้องการลดต้นทุน เพราะเพียงแค่มีเว็บไซต์หนึ่งเว็บไซต์ ก็เปรียบเสมือนว่าคุณมีร้านค้าอยู่ทั่วโลกและสามารถเปิดการค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน ไม่มีวันหยุด สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้โดยตรง รวมทั้งให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในอดีตการทำธุรกิจการค้านิยมกันเพียงการขายผ่านทางหน้าร้านเท่านั้น ซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนสูง ไม่ว่าจะเป็นการจัดการร้าน การจ้างคนดูแล หน้าร้าน ค่าเช่าพื้นที่ ข้อจำกัดทางด้านเวลาในการเปิดร้าน ทำเลที่ตั้งร้านค้า ซึ่งในการตั้งร้านค้าในรูปแบบเดิมนั้นส่วนใหญ่จะเป็นที่รู้จักและเข้าถึงได้เฉพาะลูกค้าในพื้นที่นั้นเท่านั้น

ธุรกิจ e-commerce ใน ประเทศไทย มี อะไร บ้าง

หลายคนคงสงสัยว่า สินค้าและบริการประเภทไหนที่ควรทำในรูปแบบของ e-Commerce คำตอบคือ สินค้าทุกชนิดสามารถนำมาทำได้ แต่ขึ้นอยู่ว่าสินค้าชนิดนั้นจะได้รับความนิยมมากน้อยแค่ไหน การทำธุรกิจนั้นไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใดก็ตามสิ่งสำคัญคือ ต้องรู้ก่อนว่าใครคือกลุ่มลูกค้าของเรา และสินค้าที่จะขายเหมาะกับกลุ่มลูกค้ากลุ่มไหน และลูกค้ากลุ่มนั้นมีโอกาสมากน้อยในการเข้าถึงเทคโนโลยี

ธุรกิจ e-commerce ใน ประเทศไทย มี อะไร บ้าง

จากการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2554 ยังพบอีกว่า มีคนที่อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปที่เคยจองหรือซื้อสินค้าและบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 3.8 โดยมีสินค้าและบริการที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด คือ เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ ร้อยละ 30.8รองลงมาคือ e-Ticket ร้อยละ 14.8 หนังสือ และ อาหาร เครื่องดื่ม สินค้าสุขภาพ ร้อยละ 13.4 และ 13.3 ตามลำดับ

ถ้าพิจารณาอายุของผู้ที่ซื้อหรือจองสินค้าและบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต พบว่า ส่วนใหญ่เป็นคนวัยทำงานคือ อายุ 25 – 49 ปี ร้อยละ 68.8 และ ร้อยละ 57.0 มีค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าที่มีราคาไม่เกิน 3,000 บาท

ธุรกิจ e-commerce ใน ประเทศไทย มี อะไร บ้าง

สำหรับยอดขายของธุรกิจ e–Commerce ในประเทศไทยมีแนวโน้มที่น่าสนใจมาก โดยพบว่า ผู้ประกอบการ B2B มีมูลค่า ขายผ่าน e–Commerce เพิ่มขึ้น จาก 79,726 ล้านบาท ในปี 2550 เป็น 217,458 ล้านบาท ในปี 2553 ผู้ประกอบการ B2C มีมูลค่าขาย เพิ่มขึ้นจาก 47,501 ล้านบาท ในปี 2550 เป็น 67,783 ล้านบาท ในปี 2553 และผู้ประกอบการ B2G มีมูลค่า ขายเพิ่มขึ้น จาก 177,932 ล้านบาท ในปี 2550 เป็น 344,370 ล้านบาท ในปี 2553 จากข้อมูลข้างต้นคงจะพอสรุปได้ว่า ธุรกิจ e–Commerce ของไทยมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและการเติบโตของธุรกิจส่วนใหญ่ยังคงอยู่ที่ ผู้ประกอบการประเภท B2G รองลงมาคือ B2B และ B2C ตามลำดับ และส่วนใหญ่เป็นการซื้อขายภายในประเทศมากกว่าต่างประเทศ

อย่างไรก็ตามการทำธุรกิจ e–Commerce ก็ยังพบปัญหาอุปสรรคที่ต้องการการแก้ไข คือ การที่ผู้รับบริการบางรายถูกหลอกลวง การได้รับสินค้าไม่ตรงตามโฆษณา ขั้นตอนการสั่งซื้อยุ่งยาก เป็นห่วงความปลอดภัยทางด้านข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลบัตรเครดิต การส่งของที่ล่าช้าและไม่เห็นสินค้าก่อนสั่งซื้อหรือ สั่งจอง ฯลฯ

ถึงกระนั้นก็ตาม ธุรกิจ e–Commerce ยังเป็นธุรกิจที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับผู้ที่สนใจอยากมีธุรกิจเป็นของตนเอง โดยหัวใจสำคัญของการประกอบธุรกิจประเภทนี้คือ การตระหนักและให้ความสำคัญกับการรักษาความลับของลูกค้า รวมทั้งการจัดทำเว็บไซต์ให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีขั้นตอนในการส่งสินค้าที่ ไม่ยุ่งยาก ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ธุรกิจประเภทนี้ประสบความสำเร็จได้

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบัน โลกออนไลน์มีผลต่อการใช้ชีวิตของคนเราอย่างมาก การทำธุรกิจก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภค จึงมีร้านค้าที่ก้าวเข้าสู่โลก E-Commerce (อีคอมเมิร์ซ) กันมากขึ้น การศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจออนไลน์และกลยุทธ์การตลาดในการโปรโมทสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะทำให้สามารถขายสินค้าและเอาชนะคู่แข่งที่มีจำนวนมากได้

ธุรกิจ e-commerce ใน ประเทศไทย มี อะไร บ้าง

E-Commerce คืออะไร?

E-Commerce ย่อมาจากคำว่า Electronic Commerce แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือการทำธุรกิจโดยซื้อขายสินค้าหรือโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่นิยมคือ วิทยุ โทรทัศน์ และที่มีการใช้งานมากที่สุดในปัจจุบันก็คืออินเทอร์เน็ต โดยสามารถใช้ทั้งข้อความ เสียง ภาพ และคลิปวิดีโอในการทำธุรกิจได้ การทำธุรกิจแบบ E-commerce สามารถเข้าถึงลูกค้าได้กว้างขวางและทำให้ลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดำเนินการได้เป็นอย่างดี

ประเภทของ E-Commerce

  1. ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีก หรือ บีทูซี (B-to-C = Business to Consumer) คือ ผู้ซื้อปลีกซื้อสินค้าจากผู้ขายผ่านอินเตอร์เน็ต เช่น การขายเสื้อผ้า รองเท้า เครื่องสำอาง เป็นต้น
  2. ธุรกิจกับธุรกิจ หรือ บีทูบี (B-to-B = Business to Business) คือ ผู้ประกอบการสองฝ่ายทำการติดต่อซื้อขายกัน โดยการขายในที่นี้เป็นการขายส่ง ซึ่งทำการสั่งซื้อผ่านอินเทอร์เน็ต
  3. ธุรกิจกับรัฐบาล หรือ บีทูจี (B-to-G = Business to Government) คือ ธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ เช่น การจัดจ้างของภาครัฐโดยประกาศผ่านทางเว็บไซต์ของรัฐเพื่อลดค่าใช้จ่าย
  4. รัฐบาลกับรัฐบาล หรือ จีทูจี (G-to-G = Government to Government) คือ การติดต่อกันระหว่างหน่วยงานในรัฐบาล เป็นการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกระทรวง
  5. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค หรือ ซีทูซี (C-to-C = Consumer to Consumer) คือ การติดต่อซื้อขายระหว่างผู้บริโภคด้วยกันเอง กล่าวคือ ผู้บริโภคที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจประกาศขายสินค้าของตนเอง และผู้บริโภคอีกคนก็สนใจสั่งซื้อไป การประกาศขายนี้ส่วนใหญ่ทำผ่านอินเทอร์เน็ตเพราะมีพื้นที่ให้ติดต่อซื้อขายได้สะดวก รวมถึงหาคนที่มีความสนใจเหมือนกันได้ง่ายอีกด้วย
  6. ภาครัฐกับประชาชน หรือ จีทูซี (G-to-C = Government to Consumer) คือ การให้บริการจากทางภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต เช่น การคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต การดาวน์โหลดแบบฟอร์มเพื่อลงทะเบียนต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์

ทำไมจึงควรทำ E-Commerce?

ปัจจุบัน ผู้คนสามารถเข้าถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในโลกออนไลน์ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และการใช้งานอินเตอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นกิจกรรมหลักในชีวิตประจำวันของผู้คนส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นโซเชียลมีเดีย ค้นหาข้อมูล เช็คอีเมล ดูโทรทัศน์หรือฟังเพลงออนไลน์ เป็นต้น ทำให้หลายธุรกิจจึงหันมาทำ E-Commerce กันมากขึ้นเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าดังกล่าว อีกทั้งธุรกิจ E-Commerce ยังมีข้อดีและประโยชน์ในหลายด้านซึ่งสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

  1. ไม่ต้องมีหน้าร้าน สามารถโชว์ตัวอย่างสินค้าเป็นรูปหรือคลิปวิดีโอบนเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียได้
  2. ไม่ต้องใช้พนักงานขาย สามารถแสดงข้อมูลต่างๆ พร้อมระบบที่สามารถทำการซื้อขายได้อัตโนมัติ หรือติดต่อทางร้านได้ผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้เปิดขายและรองรับลูกค้าได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
  3. เพิ่มโอกาสในการขาย ร้านค้ามีโอกาสเข้าถึงทุกคนที่มีอินเทอร์เน็ตได้ จึงสามารถมีลูกค้าได้จากทั้งประเทศและทั่วโลก หมดปัญหาเรื่องการเดินทาง
  4. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ จึงสามารถนำเงินไปลงทุนในด้านอื่นๆ เพิ่มขึ้นได้ เช่น การขยายธุรกิจ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
  5. ทำการตลาดได้แม่นยำและสามารถวัดผลได้ สามารถใช้เว็บไซต์ขายสินค้าและโชเชียลมีเดียเก็บข้อมูลลูกค้ารวมถึงผู้เยี่ยมชม และนำไปใช้ในการทำการตลาดออนไลน์ได้ตรงเป้าหมาย อีกทั้งยังมีระบบที่สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพได้ซึ่งต่างจากการลงโฆษณาในสื่อออฟไลน์ เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น

เว็บไซต์ E-Commerce ที่ดีควรเป็นอย่างไร?

เว็บไซต์ถือเป็นตัวกลางระหว่างร้านค้าและลูกค้า การจะขายสินค้าได้หรือไม่ได้นั้นส่วนหนึ่งก็มาจากเว็บไซต์ นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้าทางออนไลน์เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง E-commerce แบบธุรกิจกับผู้ซื้อปลีก (B-to-C) ทำให้มีการแข่งขันสูง การทำเว็บไซต์ให้มีระบบการจัดการที่ดีต่อเจ้าของธุรกิจและเป็นมิตรกับลูกค้าผู้ใช้งาน จะช่วยลดภาระต่างๆ ของผู้ประกอบการได้มากและปิดการขายได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถสรุปรายละเอียดของเว็บไซต์ E-Commerce ที่ดีได้เป็นหัวข้อดังนี้

  1. หน้าเว็บไซต์ต้องเป็นระเบียบ นอกจากความสวยงามแล้ว เว็บไซต์จะต้องใช้งานง่าย มีการแบ่งหมวดหมู่สินค้าอย่างเป็นระบบ ไม่ซับซ้อน
  2. ระบบเว็บไซต์หรือระบบหลังร้านต้องจัดการและควบคุมได้ง่าย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ขาย
  3. มีรายละเอียดของสินค้าครบถ้วนชัดเจน ทั้งรูปภาพ ข้อความอธิบาย ราคา นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มส่วนของรีวิวจากลูกค้าก็ได้เพื่อช่วยในการตัดสินใจซื้อ
  4. สถานะสินค้าต้องแสดงแบบ Real Time กล่าวคือ ถ้าสินค้าหมด หรือเหลือจำนวนน้อย ต้องขึ้นแสดงให้ลูกค้าเห็น เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อ
  5. มีขั้นตอนการสั่งซื้อที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก มีการระบุชัดเจนว่าต้องทำอย่างไรบ้าง
  6. อำนวยความสะดวกในการสั่งซื้อด้วยระบบตะกร้าสินค้า (Shopping Cart) ที่สามารถจดจำข้อมูลและจำนวนสินค้าของลูกค้าเอาไว้
  7. สามารถสรุปรายการสั่งซื้อให้ลูกค้าได้ เช่น ราคาสินค้าทั้งหมด ค่าจัดส่ง เป็นต้น
  8. การชำระเงินต้องมีความปลอดภัย และควรมีช่องทางให้ลูกค้าชำระเงินได้หลายช่องทาง เช่น บัตรเครดิต โอนผ่านธนาคาร เป็นต้น
  9. มีระบบการติดตามการจัดส่ง เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
  10. เว็บไซต์ต้องรองรับการทำ SEO (Search Engine Optimization) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ค้นเจอเว็บไซต์และเพิ่มผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งจะทำให้มีโอกาสขายสินค้าได้มากขึ้น (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ SEO (Search Engine Optimization) คือ?)

ธุรกิจ e-commerce ใน ประเทศไทย มี อะไร บ้าง

กลยุทธ์การตลาดโปรโมทสินค้าออนไลน์

นอกจากการมีเว็บไซต์ E-Commerce ที่ดีแล้ว การใช้กลยุทธ์การตลาดในการโปรโมทสินค้าทางช่องทางออนไลน์ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากไม่มีคนรู้จักและไม่มีคนเข้าชมเว็บไซต์หรือสินค้า การขายสินค้าก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ สำหรับกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ทำแล้วได้ผลและช่วยเพิ่มยอดขายได้ก็มีดังนี้

1. SEO (Search Engine Optimization)

เป็นการใช้ประโยชน์จาก Search Engine อย่าง Google เนื่องจากในปัจจุบันคนนิยมหาข้อมูลผ่าน Search Engine กันจำนวนมาก การทำ SEO คือการทำให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับแรกๆ บน Search Engine เพื่อให้มีคนสนใจคลิกเข้ามาดูข้อมูลภายในเว็บไซต์ของเรา ช่วยให้สินค้าและบริการของเราเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น รวมทั้งยังเพิ่มการรับรู้และความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ได้อีกด้วย

แนวทางในการทำ SEO เบื้องต้นคือเราต้องมีเว็บไซต์ที่เป็นมิตรต่อ SEO ทั้งโครงสร้างเว็บไซต์ เช่น การทำ Responsive Design เพื่อรองรับการเปิดบนโทรศัพท์มือถือ การสร้างเนื้อหาภายในเว็บไซต์ เช่น การกำหนดชุด Keyword ที่คาดว่าลูกค้าจะใช้เมื่อค้นหาสินค้าหรือบริการ แล้วใส่ Keyword เหล่านั้นลงในบทความ เป็นต้น (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ SEO (Search Engine Optimization) คือ?)

2. Google Ads (Google AdWords)

เป็นบริการโฆษณาออนไลน์ของ Google ที่เก็บค่าโฆษณาตามจำนวนครั้งที่ปรากฏหรือจำนวนครั้งที่ผู้ใช้งานคลิกเข้ามา ช่วยทำให้มียอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยมีช่องทางในการลงโฆษณาหลักๆ คือ

  1. Search Network ที่จะแสดงโฆษณาแบบข้อความบนหน้าผลการค้นหาของ Google บางครั้งการลงโฆษณาในรูปแบบนี้ก็เรียกกันว่า SEM (Search Engine Marketing) หรือ Pay Per Click (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ PPC (Pay Per Click) คือ?) วิธีการนี้ต่างกับ SEO ตรงที่เราสามารถแสดงเว็บไซต์ได้บนหน้าแรกผลการค้นหาของ Google ได้ทันทีโดยการประมูล Keyword ที่ต้องการ แต่ในการทำ SEO จะต้องมีการปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีคุณภาพและต้องใช้เวลาระยะหนึ่งกว่าเว็บไซต์จะติดอันดับบนผลการค้นหา
  2. Display Network ที่จะแสดงโฆษณาบนเว็บไซต์อื่นๆ โดยมีทั้ง ข้อความ รูปภาพ และวิดีโอ วิธีการนี้เหมาะสำหรับการโปรโมทเว็บไซต์หรือสินค้าให้เป็นที่รู้จัก โดยสามารถเลือกได้ว่าจะให้โฆษณาปรากฏที่ไหน กลุ่มเป้าหมายคือใคร และสามารถลงโฆษณาในเว็บไซต์สื่อดังๆ ได้ในราคาที่ถูกกว่าการซื้อพื้นที่โดยตรง (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ GDN (Google Display Network) คือ?)

3. SMM (Social Media Marketing)

เป็นการใช้โซเชียลมีเดียที่คนนิยมเล่น อย่าง Facebook, Instagram, Twitter, LINE เป็นสื่อกลางระหว่างเว็บไซต์หลักของธุรกิจและผู้ใช้งาน ทำให้ผู้ขายสินค้าสามารถโต้ตอบกับลูกค้าได้ทันที ซึ่งโซเชียลมีเดียเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงช่องทางการติดต่อซื้อขายเท่านั้น แต่ยังเป็นช่องทางสำหรับโปรโมทสินค้า และให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับสินค้า รวมถึงการเพิ่มยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์หลัก ซึ่งมีส่วนช่วยให้ติดอันดับบน SEO ให้ดีขึ้นได้อีกด้วย

นอกจากนี้ โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook ก็ยังเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมในการลงโฆษณา โดยสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้และมีรูปแบบให้เลือกใช้ตามความต้องการ เช่น เพิ่มการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness), เพิ่มจำนวนผู้เข้าชมที่คลิกเข้าสู่เว็บไซต์ (Website Clicks) เป็นต้น ส่วน YouTube ก็ยังเป็นสื่อที่มาแรงสำหรับการลงโฆษณาแบบวิดีโอ ซึ่งสามารถกำหนดเป้าหมายและวัดผลได้ ต่างจากการลงโฆษณาทางโทรทัศน์ในรูปแบบเดิม (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ SMM (Social Media Marketing) คือ?)

4. Content Marketing

เป็นการสร้างเนื้อหาที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์และอาศัยช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้กลายมาเป็นลูกค้าของเรา โดยคอนเทนต์นั้นมีอยู่หลากหลายรูปแบบ ได้แก่ บทความ อินโฟกราฟิก คลิปวิดีโอ รวมถึง รายการวิทยุหรือ Podcast ซึ่งคอนเทนต์ต่างๆ นั้นต้องมีความน่าดึงดูดแก่การเข้ามารับชมรับฟัง มีคุณค่าสร้างความประทับใจในตัวสินค้าหรือบริการ

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าทำธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ การทำ Content Marketing อาจเขียนเกี่ยวกับข้อดีของบ้านและคอนโด การเลือกซื้อบ้าน โดยต้องทำคอนเทนต์ออกมาอย่างสม่ำเสมอ จนกลุ่มเป้าหมายเริ่มสนใจเพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ และเริ่มสนใจในตัวสินค้าของเรานั่นเอง นอกจากนี้การทำคอนเทนต์ในรูปแบบบทความในเว็บไซต์ E-Commerce ยังช่วยในการทำ SEO ได้อีกด้วย  (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ Content Marketing คือ?)

5. Influencer Marketing

เป็นการตลาดที่อาศัย Influencer หรือผู้มีอิทธิพลบนโลกอินเตอร์เน็ต เช่น บิวตี้บล็อกเกอร์ ยูทูบเบอร์ นักแคสต์เกม เป็นต้น เพื่อช่วยโปรโมตสินค้าหรือธุรกิจของเรา ซึ่งผู้ติดตามของ Influencer จะได้รับอิทธิพลว่า สินค้าหรือบริการนั้นน่าใช้ตาม เพราะคนที่ตนชื่นชอบใช้ หรืออาจคิดว่าสินค้านั้นน่าจะดี เพราะ Influencer ที่มีชื่อเสียงก็ยังใช้ หรือคนอาจใช้สินค้าอยู่แล้ว เมื่อเห็นว่า Influencer ใช้เหมือนกัน ก็จะยิ่งคิดว่าสินค้านั้นดี มีคุณภาพ และยิ่งไว้วางใจในสินค้านั้นมากขึ้น

หลักในการทำตลาดแบบนี้คือ ต้องหา Influencer ที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ติดตามจำนวนมากเสมอไปเพื่อต้องการยอดผู้เข้าชมให้เยอะที่สุด ควรเน้นคอนเทนต์ที่ดีซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์สินค้าด้วย จึงต้องดูคุณภาพงานของ Influencer ประกอบการพิจารณา (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ Influencer Marketing คือ?)

6. Affiliate Marketing

การตลาดนี้มีความคล้ายคลึงกับ Influencer Marketing ตรงที่ใช้ตัวกลางในโลกออนไลน์ช่วยโปรโมทหรือรีวิวสินค้า แต่ Affiliate Marketing นั้นมีหลักการสำคัญคือการให้ค่าตอบแทนเป็นค่าคอมมิสชั่นจากการช่วยขาย การทำ Affiliate Marketing อาจไม่ต้องใช้ Influencer ก็ได้ เพียงเป็น Publisher หรือเจ้าของสื่อที่มีเว็บไซต์ที่มีผู้เยี่ยมชมอย่างสม่ำเสมอหรือช่องทางบนโซเชียลมีเดียซึ่งมีผู้ติดตามประมาณหนึ่ง

อีกอย่างที่แตกต่างกับ Influencer Marketing คือ Affiliate Marketing จำเป็นมีระบบตัวกลางระหว่างเจ้าของสินค้ากับเจ้าของสื่อที่ช่วยขายสินค้า ไม่ว่าจะเป็น Affiliate Program ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เจ้าของธุรกิจสร้างเอง หรือใช้บริการผ่าน Affiliate Network ซึ่งเป็นเครือข่ายตัวกลาง เพื่อให้ทราบว่าลูกค้าคลิกสั่งซื้อสินค้าอะไรผ่านสื่อไหน แล้วคำนวณออกมาเป็นเงินค่าตอบแทนในรูปแบบค่าคอมมิสชั่น

โดยทั่วไปแล้ว ในการทำ Affiliate Marketing เจ้าของสินค้าจะไม่สามารถเลือกสื่อได้ แต่สื่อจะเป็นผู้เลือกสินค้าไปช่วยโปรโมทเอง โดยพิจารณาจากหลายๆ ปัจจัย เช่น โอกาสในการขายสินค้า ความเกี่ยวข้องของสินค้าและสื่อนั้นๆ ค่าคอมมิสชั่นที่จะได้รับ เป็นต้น ดังนั้นเจ้าของธุรกิจจึงสามารถใช้ Influencer Marketing ในการเจาะจงสื่อที่จะช่วยโปรโมทสินค้า และใช้ Affiliate Marketing ในการเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าก็ได้ หรือถ้าอยากเจาะจงให้สื่อใดเข้าร่วม Affiliate Program กับทางธุรกิจ ก็อาจใช้การติดต่อผ่านสื่อโดยตรงเพื่อยื่นข้อเสนอต่างๆ ก็ย่อมได้

สรุป

จะเห็นได้ว่าการทำธุรกิจ E-Commerce นั้นมีประโยชน์หลายๆ ด้าน โดยมีสิ่งสำคัญอยู่ที่เว็บไซต์ขายสินค้าที่สามารถอำนวยความสะดวกทั้งแก่เจ้าของธุรกิจและลูกค้า หลายคนอาจจะสงสัยว่าสามารถใช้โซเชียลมีเดียที่เปิดให้ใช้งานได้ฟรีอย่าง Facebook หรือ Instagram ขายสินค้าแทนเว็บไซต์ได้หรือไม่ บางธุรกิจหรือผู้ที่ยังไม่มีทุนทรัพย์ไม่พร้อม สามารถเริ่มต้นจากการใช้โซเชียลมีเดียก็ได้ แต่เนื่องจากการใช้บริการโซเชียลมีเดีย ก็มีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน การมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองย่อมดีกว่าอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ

หลังจากมีเว็บไซต์ E-Commerce หรือโซเชียลมีเดียที่พร้อมในการขายสินค้าเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนในการโปรโมทสินค้า ซึ่งกลยุทธ์การตลาดบนโลกออนไลน์ด้านบนทั้ง 6 ข้อนั้นก็เป็นแนวทางเบื้องต้นที่พอจะช่วยให้เห็นภาพรวมว่าวิธีการแบบไหนบ้างที่เหมาะกับธุรกิจของตนเอง ทั้งนี้ในการลงโฆษณาของแต่ละธุรกิจหรือแม้แต่สินค้าแต่ละชนิดก็ย่อมได้ผลลัพธ์ที่ต่างกันไป ผู้ประกอบการจึงต้องศึกษาเพิ่มเติมและทดลองใช้จริง ซึ่งถ้าไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรก็ต้องมีการวิเคราะห์แล้วปรับปรุงโฆษณาหรือปรับเปลี่ยนกลยุทธ์กันต่อไป ตรงส่วนนี้ก็เป็นข้อดีของการทำโฆษณาออนไลน์นั่นเอง!

บริษัท อาอุน ไทย ให้บริการด้าน E-Commerce อย่างครบวงจร ตั้งแต่การทำเว็บไซต์ไปจนถึงการลงโฆษณาออนไลน์ กรุณาติดต่อฝ่ายขายเพื่อขอคำปรึกษาในการเลือกกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมกับธุรกิจของลูกค้า

บทความแนะนำ

  • การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) คืออะไร มีช่องทางการทำอย่างไร?
  • Customer Journey คืออะไร? สำคัญอย่างไรกับการตลาดออนไลน์
  • Website Traffic คืออะไร? จะเพิ่มยอด Traffic ได้อย่างไร?
  • Omni Channel คืออะไร? ใช้กับการตลาดออนไลน์ได้อย่างไร?
  • WordPress คืออะไร? ทำไมจึงได้รับความนิยมในการใช้ทำเว็บไซต์
  • Responsive Web Design คืออะไร?

ประเภทสินค้าไหนใน E

อันดับ 1 สินค้าแฟชั่น (เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า นาฬิกา เครื่องประดับ) 68.60 2 สินค้าไอที (โทรศัพท์คอมพิวเตอร์อุปกรณ์เสริม ฯลฯ) 47.12 3 สินค้ามือสอง (เสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ) 44.94 4 อาหาร / อาหารสุภาพ 38.29 5 สินค้าเพื่อความงาม ( เครื่องสาอาง ครีม ฯลฯ ) 33.96 Page 2 เมื่อจ าแนกตามช่วงอายุของแต่ละช่วงวัย สินค้ายอดนิยม ...

E

มูลค่า e-Commerce จำแนกตามประเภทผู้ประกอบการ พบว่า ในปี 2561 ผู้ประกอบการ กลุ่ม B2B ยังคงครองแชมป์มูลค่าสูงสุดต่อเนื่อง 6 ปีซ้อน มีมูลค่าสูงถึง 1.80 ล้านล้านบาท รองลงมา คือ กลุ่ม B2C 1.41 ล้านล้านบาท และกลุ่ม B2G 5.55 แสนล้านบาท โดยคาดการณ์ปี 2562 มูลค่าจะเพิ่มขึ้น โดยกลุ่ม B2G เพิ่มมากสุดถึง 11.53% เป็น 6.19 แสนล้าน ...

ประเภทของธุรกิจ e

ประเภทของ E-commerce 1. Business to Business – B2B) 2. Business to Consumer - B2C 3. Business to Government – B2G 4. Consumer to Consumer - C2C 5. Government to Consumer -G2C 6. Government to Government -G2G.

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีอะไรบ้าง

ร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing).
การโฆษณา.
แคตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic catalog).
ธนาคารไซเบอร์ (Cyberbanking) หรือ Electronic banking หรือ Virtual bangking..
ตลาดแรงงานออนไลน์ (Online job market).
การท่องเที่ยว.
อสังหาริมทรัพย์.
การประมูล (Auctions).