ต่อใบอนุญาตทํางาน work permit 2565 ออนไลน์

การจัดเรียงเอกสารการต่อวีซ่า (VISA) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564

    • กลุ่มเดิม มติ ครม.20 สิงหาคม 2562
      (วีซ่าเดิมสิ้นสุด 31 MAR 2021, 30 SEP 2021 และ 31 MAR 2022)
    • กลุ่มเดิม มติ ครม.4 สิงหาคม 2563
      (ยังไม่ได้ต่อวีซ่าดวงแรกหรือวีซ่าเดิมสิ้นสุด 31 MAR 2021, 30 SEP 2021 และ 31 MAR 2022)
    • กลุ่มเดิม มติ ครม.10 พฤศจิกายน 2563
      (วีซ่าเดิมสิ้นสุดระหว่างวันที่ 1 NOV 2020 – 31 DEC 2021)
    • กลุ่มตามบันทึกความเข้าใจฯ (MOU)
      (วีซ่าเดิมสิ้นสุดระหว่างวันที่ 1 JAN 2021 – 31 DEC 2021)

ลำดับ

รายการ

หมายเหตุ

1

หนังสือเดินทางตัวจริง + สำเนาหนังสือเดินทางทุกหน้าที่มีตราประทับ

พร้อมรับรองสำเนา

2

แบบฟอร์ม ตม.7 (กรอกรายละเอียดทั้งหมดพร้อมติดรูปถ่าย)

3

สำเนาใบอนุญาตทำงาน / ใบรับคำขอ + ใบเสร็จรับเงินจาก สนง.จัดหางานพื้นที่

พร้อมรับรองสำเนา

4

สำเนาบัตรประชาชนนายจ้าง พร้อมรับรองสำเนา

นายจ้างเป็นบุคคลธรรมดา

5

หนังสือรับรองบริษัท (อายุไม่เกิน 6 เดือน) + สำเนาบัตรประชาชนกรรมการผู้จัดการ พร้อมรับรองสำเนา

นายจ้างเป็นนิติบุคคล

6

หนังสือมอบอำนาจ + อากรแสตมป์ 10 บาท + สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนา

กรณีนายจ้างมอบหมายฯ

7

ค่าธรรมเนียม 1,900 บาท
    • กลุ่มมติ ครม. 20 ส.ค. 62, 4 ส.ค. 63 และ 10 พ.ย. 63
      ต้องต่อ VISA ให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 ส.ค. 65
    • กลุ่ม MOU ที่ VISA สิ้นสุดระหว่าง 1 ม.ค. – 2 ส.ค. 64
      ต้องต่อ VISA ให้แล้วเสร็จ ภายใน 3 ก.พ. 65
    • กลุ่ม MOU ที่ VISA สิ้นสุดระหว่าง 3 ส.ค. – 31 ธ.ค. 64
      ต้องต่อ VISA ให้แล้วเสร็จ ภายใน 6 เดือน นับจากวันที่ VISA สิ้นสุด
    • คนต่างด้าวต้องมาดำเนินการด้วยตนเองพร้อมนายจ้าง
      ทั้งนี้ นายจ้างอาจมอบหมายให้บุคคลอื่นที่มีสัญชาติไทยมาดำเนินการแทนตนเองได้

สิ่งที่ต้องดำเนินการ ก่อนมาต่อวีซ่า (ตามมติ ครม. 13 ก.ค.64)

✔ นายจ้าง/คนต่างด้าว ➡ ยื่นคำขอต่อใบอนุญาตทำงาน ณ สำนักงานจัดหางานฯ ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กรมการจัดหางานกำหนด

คำถามที่พบบ่อย - การต่อวีซ่า (Visa) และใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)

  • อัตราค่าธรรมเนียมในการต่อวีซ่าเป็นอย่างไร

อัตราค่าธรรมเนียมสำหรับการต่อวีซ่า ตม.7 ราคา 1,900 บาท และตม.8 สำหรับการเข้าเพียงครั้งเดียว (Single Re-entry) ราคา 1,000 บาท และสำหรับการเข้าหลายครั้ง (Multiple Re-entries) ราคา 3,800 บาท

  • การต่อวีซ่าประเภท Non-Immigrant "O" (BOI) ซึ่งก็คือ วีซ่าสำหรับผู้ติดตามของชาวต่างชาติที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อประกอบอาชีพ สำหรับธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารที่ต้องใช้ในการต่อวีซ่าประเภท Non-Immigrant "O" (BOI) มีดังนี้

1) แบบคำขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป (ตม.7) พร้อมรูปถ่ายขนาด 4x6 ซม. (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6เดือน)สามารถดาวน์โหลด ตม.7 ได้จาก ลิงก์นี้

2) แบบคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก (ตม.8) พร้อมรูปถ่ายขนาด 4x6 ซม. (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)สามารถดาวน์โหลด ตม.8 ได้จาก ลิงก์นี้

3) หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนาของผู้ยื่นคำขอ

4) หนังสือเดินทาง และใบอนุญาตทำงาน พร้อมสำเนา ของหัวหน้าครอบครัวที่เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร

5) สำเนาเอกสารแสดงความเป็นครอบครัว เช่น ทะเบียนสมรส สูติบัตร หรือหนังสือรับรองใดๆ ที่หน่วยงานราชการออกให้ พร้อมแสดงฉบับจริงที่รับรองโดยสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลประเทศนั้นๆประจำประเทศไทย

6) เอกสารหรือหลักฐานอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการติดตามปฏิบัติราชการของพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) กำหนดเอกสารอื่นๆ ที่เคยยื่นไปแล้วครั้งแรก เช่น ทะเบียนสมรส สูติบัตร หนังสือรับรองจากบริษัท นั้น ไม่จำเป็นต้องยื่นอีกครั้ง

  • การต่อวีซ่าประเภท Non-Immigrant "O" (Non-BOI) ซึ่งก็คือ วีซ่าสำหรับผู้ติดตามของชาวต่างชาติที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อประกอบอาชีพ สำหรับธุรกิจที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารที่ต้องใช้ในการต่อวีซ่าประเภท Non-Immigrant "O" (Non-BOI) มีดังนี้

1) แบบคำขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป (ตม.7) พร้อมรูปถ่ายขนาด 4x6 ซม. (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน) สามารถดาวน์โหลด ตม.7 ได้จาก ลิงก์นี้

2) แบบคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก (ตม.8) พร้อมรูปถ่ายขนาด 4x6 ซม. (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)สามารถดาวน์โหลด ตม.8 ได้จาก ลิงก์นี้

3) หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนาของผู้ยื่นคำขอ

4) หนังสือเดินทาง และใบอนุญาตทำงาน พร้อมสำเนา ของหัวหน้าครอบครัวที่เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร

5) สำเนาเอกสารแสดงความเป็นครอบครัว เช่น ทะเบียนสมรส สูติบัตร หรือหนังสือรับรองใดๆ ที่หน่วยงานราชการออกให้ พร้อมแสดงฉบับจริงที่รับรองโดยสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลประเทศนั้นๆประจำประเทศไทย

6) เอกสารหรือหลักฐานอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการติดตามปฏิบัติราชการของพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) กำหนดเอกสารอื่นๆ ที่เคยยื่นไปแล้วครั้งแรก เช่น ทะเบียนสมรส สูติบัตร หนังสือรับรองจากบริษัท นั้น ไม่จำเป็นต้องยื่นอีกครั้ง

  • การต่ออายุใบอนุญาตทำงาน สำหรับธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จำเป็นต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

การต่ออายุใบอนุญาตทำงาน สำหรับธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จะต้องใช้เอกสารดังนี้

1) หนังสือที่ได้แสดงว่าได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานตามกฎหมายอื่น

ก. หนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) หรือ

ข. หนังสือจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IEAT)

2) สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ (ไม่เกิน 6 เดือน)

3) รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 3x4 ซม. (ไม่เกิน 6 เดือน) จำนวน 3 รูป แต่งกายสุภาพ

4) สำเนาหนังสือเดินทาง/เอกสารแทนหนังสือเดินทาง, ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว, ใบสำคัญถิ่นที่อยู่

5) แบบฟอร์ม: รายละเอียดประกอบหนังสือแจ้งการอนุญาตตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551ซึ่งฟอร์มนี้สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ ของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ตามลิงค์ข้างล่างนี้

  • การขอขยายระยะเวลาใบอนุญาตทำงาน สำหรับธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จำเป็นต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

การขอขยายระยะเวลาใบอนุญาตทำงาน สำหรับธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จะต้องใช้เอกสารดังนี้

1) หนังสือที่ได้แสดงว่าได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานตามกฎหมายอื่น

ก. หนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) หรือ

ข. หนังสือจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IEAT)

2) สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ (ไม่เกิน 6 เดือน)

3) สำเนาหนังสือเดินทาง/เอกสารแทนหนังสือเดินทาง, ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว, ใบสำคัญถิ่นที่อยู่

4) แบบฟอร์ม: รายละเอียดประกอบหนังสือแจ้งการอนุญาตตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551ซึ่งฟอร์มนี้สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ตามลิงค์ข้างล่างนี้

  • ในการต่อใบอนุญาตทำงานนี้ จำเป็นต้องให้เจ้าของใบอนุญาตทำงานไปดำเนินการด้วยตนเองหรือไม่ สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการได้แทนหรือไม่

  • การขอต่อวีซ่า และใบอนุญาตทำงาน สามารถติดต่อได้ที่ไหน

การขอต่อวีซ่า และใบอนุญาตทำงาน แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

กรณี

ประเภทบริษัท

สถานที่ดำเนินการ

Visa

Work Permit

ได้รับอนุญาตตามกฏหมาย - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) 
- การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IEAT)
One-Stop Service Center for Visas and Work Permits อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 18 One-Stop Service Center for Visas and Work Permits อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 18
ขนาดธุรกิจ - ธุรกิจที่มีเงินจดทะเบียนหรือสินทรัพย์รวมมากว่า 30 ล้านบาท (ระดับบริหารขึ้นไป)
- ธุรกิจที่มีเงินทุนจดทะเบียนหรือสินทรัพย์รวมน้อยกว่า 30 ล้านบาท
กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ณ ศูนย์ราชการเฉลิงพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรมจัดหางานดินแดง

ที่มา: กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน : www.doe.go.th

การสืบค้นข้อมูล : เดือนมิถุนายน 2557

  • อัตราค่าธรรมเนียมในการต่อใบอนุญาตทำงาน เป็นอย่างไร

อัตราค่าธรรมเนียมในการต่อใบอนุญาตทำงาน มีหลายประเภท ดังนี้

1) การยื่นคำขอใบอนุญาต ฉบับละ 100 บาท

2) ใบอนุญาตแต่ละประเภท จะมีอัตราค่าธรรมเนียมต่างกัน ดังนี้

ก. ใบอนุญาตที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือน ฉบับละ 750 บาท

ข. ใบอนุญาตที่มีอายุเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน ฉบับละ 1,500 บาท

ค. ใบอนุญาตที่มีอายุเกิน 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี ฉบับละ 3,000 บาท