ธนาคารกรุงเทพ วัตถุประสงค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกรุงเทพ วัตถุประสงค์
ธนาคารกรุงเทพ วัตถุประสงค์
ประเภทบริษัทมหาชน

การซื้อขาย

(SET:BBL)
ISINTH0001010014 
ธนาคารกรุงเทพ วัตถุประสงค์
อุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน
ธนาคาร
ก่อตั้ง1 ธันวาคม พ.ศ. 2487 (77 ปี)
ผู้ก่อตั้งเจ้าพระยารามราฆพ
หลวงรอบรู้กิจ
ชิน โสภณพนิช
สำนักงานใหญ่เลขที่ 333 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร

พื้นที่ให้บริการ

ธนาคารกรุงเทพ วัตถุประสงค์
ประเทศไทย

ธนาคารกรุงเทพ วัตถุประสงค์
ประเทศอังกฤษ

ธนาคารกรุงเทพ วัตถุประสงค์
ประเทศจีน

บุคลากรหลัก

(ว่าง)(ประธานกรรมการ)
เดชา ตุลานันท์ (ประธานกรรมการบริหารและกรรมการ)
ชาติศิริ โสภณพนิช (กรรมการผู้จัดการใหญ่)
รายได้
ธนาคารกรุงเทพ วัตถุประสงค์
158,310.64 ล้านบาท (2562)[1]
สินทรัพย์
ธนาคารกรุงเทพ วัตถุประสงค์
3,216,743.10 ล้านบาท (2562)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ธนาคารกรุงเทพ วัตถุประสงค์
427,751.21 ล้านบาท (2562)[1]
อันดับความน่าเชื่อถือFitch: AA+(tha)[2]
เว็บไซต์www.bangkokbank.com

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: BANGKOK BANK PUBLIC COMPANY LIMITED) (SET:BBL)[3] จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 โดยข้าราชการ นักธุรกิจ และกลุ่มบุคคลที่มีแนวคิดเดียวกัน มีสโลแกนที่ว่า "เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน"

รายงานผลการสำรวจธนาคารยอดเยี่ยมในประเทศกำลังพัฒนาประจำปี 2546 ซึ่งตีพิมพ์ใน นิตยสารโกลบอล ไฟแนนซ์ ฉบับประจำเดือนพฤษภาคม 2546 ได้กล่าวถึง ธนาคารกรุงเทพ ว่าเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[4] ธนาคารกรุงเทพเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศประจำปี 2560[5] ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 17/2560

ประวัติ[แก้]

ธนาคารกรุงเทพ วัตถุประสงค์

เสาป้ายของธนาคารกรุงเทพ สาขาบุรีรัมย์

ธนาคารกรุงเทพเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2487 มีสำนักงานใหญ่แห่งแรกเป็นอาคารพาณิชย์ 2 คูหาในย่านราชวงศ์ ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร โดยเจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ร่วมกับคุณหลวงรอบรู้กิจ มีทุนจดทะเบียน 4.0 ล้านบาท มีพนักงานรุ่นแรก 23 คน คณะกรรมการบริหารประกอบด้วย พล.อ.เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เป็นประธาน และหลวงรอบรู้กิจ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่คนแรกและเป็นผู้ริเริ่มสร้างฐานลูกค้าของธนาคารด้วยการบริการให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย

กรรมการผู้จัดการใหญ่ ท่านที่ 2 คือ ชิน โสภณพนิช ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารที่ครอบครองตำแหน่งได้นานที่สุดถึง 25 ปี (พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2520) นายชิน โสภณพนิช เป็นบุคคลที่มีแนวคิดริเริ่มที่ให้ธนาคารขยายเครือข่ายสาขาไปยังท้องที่ที่ห่างไกลทั่วประเทศ ที่มีผลผลิตทางการเกษตรที่สมบูรณ์ จนทำให้ธนาคารเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนอุตสาหกรรมการส่งออก และต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ธนาคารได้เปลี่ยนตราสัญลักษณ์เป็นรูป ดอกบัวหลวง ซึ่งใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ธนาคารกรุงเทพได้ไปเปิดสาขาที่ต่างประเทศ แห่งแรกคือที่ ฮ่องกง ต่อมาได้ไปเปิดที่ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ต่อมาได้ไปเปิดที่ สิงคโปร์

กรรมการผู้จัดการใหญ่ ท่านที่ 3 คือ บุญชู โรจนเสถียร เป็นผู้ที่ปรับเปลี่ยนการบริหารงานครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อให้ธนาคารมีมาตรฐานเท่าเทียมกับต่างประเทศ รวมทั้งนโยบายมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคล

กรรมการผู้จัดการใหญ่ ท่านที่ 4 คือ ชาตรี โสภณพนิช เป็นผู้นำธนาคารกรุงเทพเข้าสู่ยุคทอง ผลประกอบการของธนาคารกรุงเทพในปี พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2535 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นถึง 12 เท่า และเป็นครั้งแรกที่ธนาคารพาณิชย์ไทยที่ทำกำไรสุทธิมากกว่า 10,000 ล้านบาท ธนาคารกรุงเทพคือบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ณ ช่วงสมัยนั้น และ เป็น 1 ใน 200 ธนาคารชั้นนำของโลก และในปี พ.ศ. 2525 ได้ย้ายสำนักงานใหญ่ของธนาคารกรุงเทพ จากซอยธนาคารกรุงเทพ ถนนเสือป่า (ปัจจุบันพื้นที่ที่เคยเป็นอาคารสำนักงานใหญ่แห่งเดิมนั้น ก็ได้ถูกลดฐานะมาเป็นสาขาพลับพลาไชย และบางส่วนกลายมาเป็นอาคารพลับพลาไชย)[ต้องการอ้างอิง] มาตั้งอยู่ที่ เลขที่ 333 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ใช้สำนักงานแห่งนี้มาตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน

กรรมการผู้จัดการใหญ่ ท่านที่ 5 คือ ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย เป็นผู้ที่มีผลงานด้านกิจการธนาคารในต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้ธนาคารกรุงเทพเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก

กรรมการผู้จัดการใหญ่ ท่านที่ 6 คือ ชาติศิริ โสภณพนิช เป็นบุตรชายคนโตของ ชาตรี โสภณพนิช เพียงระยะเวลาแค่ 3 ปีในการบริหารตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เศรษฐกิจไทยที่รุ่งเรืองมานานถึง 30 ปี ก็ได้อวสานลง ด้วยวิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นในทวีปเอเชีย ซึ่งค่าเงินบาทลดลงอย่างมาก หลังจากที่ประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว สถาบันการเงินหลายรายไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ประสบปัญหาล้มละลาย สถาบันการเงินที่เหลือประสบปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพราะลูกค้าหลายราย ล้วนประสบปัญหาทางการเงิน ท่ามกลางอุปสรรคเช่นนี้ นายชาติศิริ โสภณพนิช กลับแก้ "วิกฤติ" ให้เป็น "โอกาส" โดยการเสริมสร้างรากฐานทางการเงินให้แข็งแรงขึ้นอีกครั้ง

ธนาคารกรุงเทพ วัตถุประสงค์

อาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารกรุงเทพ

ปัจจุบัน ธนาคารกรุงเทพ เป็นธนาคารที่มีสินทรัพย์มากที่สุดในประเทศ[6] มีสินทรัพย์ทั้งหมดประมาณ 3.80 ล้านล้านบาท มีสาขาทั้งหมดกว่า 1,135 สาขา เครื่องเอทีเอ็มกว่า 9,362 เครื่อง สาขาไมโคร (Micro Branch) ที่เปิดให้บริการ 7 วัน มีเครือข่ายสาขาต่างประเทศ 31 แห่ง ในเขตเศรษฐกิจสำคัญ 14 แห่ง นอกเหนือจากสาขาอีกประมาณ 300 แห่ง ของธนาคารเพอร์มาตา ประเทศอินโดนีเซีย ที่เข้ามาอยู่ในกลุ่มธุรกิจการเงินของธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2563 (ข้อมูลเมื่อปี 2565)

1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ประธานกรรมการบริษัทได้เสียชีวิตส่งผลให้ธนาคารกรุงเทพต้องสรรหาประธานกรรมการบริษัทคนใหม่

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่[แก้]

ข้อมูล ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[7]
ลำดับที่รายชื่อผู้ถือหุ้นจำนวนหุ้นสามัญสัดส่วนการถือหุ้น
1 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 448,535,678 23.50%
2 SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED 98,649,920 5.17%
3 สำนักงานประกันสังคม 85,852,300 4.50%
4 UOB KAY HIAN (HONG KONG) LIMITED - Client Account 39,837,220 2.09%
5 STATE STREET EUROPE LIMITED 36,715,127 1.92%
6 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) 34,287,030 1.80%
7 THE BANK OF NEW YORK MELLON 32,663,005 1.71%
8 BNY MELLON NOMINEES LIMITED 31,094,920 1.63%
9 MORGAN STANLEY & CO. INTERNATIONAL PLC 25,988,223 1.36%
10 STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 25,690,400 1.35%

ดูเพิ่ม[แก้]

  • สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 1.2 งบการเงิน/ผลประกอบการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  2. อันดับเครดิต ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  3. สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  4. "รางวัลแห่งเกียรติยศ 2546 โดยเว็บไซต์ของธนาคาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-07. สืบค้นเมื่อ 2007-06-08.
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/235/38.PDF
  6. อนาคตแบงก์ไทย เดินหน้า'ฝ่ามรสุม'
  7. ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

หนังสือและบทความ[แก้]

  • ณัฏฐพงษ์ เลี่ยววิวัฒน์อุทัย. (2551, ส.ค.). การ “ปรับตัว” ของ “นายทุนจีน”: ภาพสะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมไทยในทศวรรษ 2490. ศิลปวัฒนธรรม. 29(10): 72-95.

เว็บไซต์[แก้]

  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)