ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการประยุกต์

ความหมายของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
วิทยาศาสตร์ (Science) หมายถึง ความรู้ที่เกี่ยวกับสิ่งต่างหรือปรากฏการณ์ในธรรมชาติที่ได้จากการสืบค้นด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีลักษณะเป็นข้อเท็จจริง มโนมติ หลักการ กฎ สมมติฐานทางวิทยาศาสตร์ และทฤษฎี เรียกได้ว่าเป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ เพราะไม่ใช่การศึกษาเพื่อธุรกิจ
เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์สร้างสรรค์เป็นสิ่งประดิษฐ์เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในรูปแบบต่างๆต่อมนุษย์ จึงเป็นการศึกษาเพื่อธุรกิจ
นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง ความสามารถในการนำความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะและประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาใช้เพื่อการพัฒนาด้านการจัดการ การผลิต กระบวนการผลิต หรือการบริการแนวใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้หรือตลาด จึงมีความหมายที่เป็นการคิดค้นในเชิงธุรกิจด้วย
ความสำคัญของนวัตกรรม
1. ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนาเทคโนโลยีให้เจริญรุดหน้า
2. ทำให้มีการนำความรู้ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ไปใช้อย่างมีประโยชน์
3. ทำให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ ผลผลิต ผลงานและการบริการใหม่ๆ ที่ตรงตามความต้องการของตลาด
4. ทำให้เกิดการส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญาให้มีคุณค่ามากขึ้น
5. ทำให้ผู้คิดค้นมีชื่อเสียงและร่ำรวยได้
6. ช่วยส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของมนุษยชาติ
7. ช่วยพัฒนาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่าและยาวนานยิ่งขึ้น
8. ช่วยให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมตามความต้องการ
9. ช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติในระยะยาว
10. ช่วยปกป้องคุ้มครองโลกให้มีสมดุลธรรมชาติได้ยาวนาน
รูปแบบของนวัตกรรม
1. เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือพัฒนาจากความรู้เดิม หรือดัดแปลง หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น ได้แก่ สิ่งแวดล้อม หรือวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ
2. เป็นผลิตผลเพื่อการบริการ ได้แก่
- สุขภาพอนามัย เช่น เครื่องออกกำลังกาย ข้อมูลโภชนาการ อาหาร ยาและสมุนไพร และเครื่องสำอาง ฯลฯ
- อำนวยความสะดวกในบ้านเรือน สำนักงาน และยานพาหนะ ฯลฯ
3. เป็นสิ่งที่เกี่ยวกับพลังงาน การใช้พลังงาน และพลังงานทดแทน ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์ อุปกรณ์ เครื่องมือ ต้นแบบผลิตภัณฑ์ กรรมวิธี กระบวนการ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่เป็นประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ ฯลฯ
ที่มา :โครงการรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทยครั้งที่ 7 , 2007 ; www.tia.scisoc.or.th

นวัตกรรมเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรกับเทคโนโลยี

เมื่อ :

วันพฤหัสบดี, 15 เมษายน 2564

          หลายๆท่านอาจมีคำถามอยู่ในหัว และมีความสงสัยว่านวัตกรรมนั้นมีความแตกต่างมากน้อยเพียงใดกับเทคโนโลยี  เมื่อเราพูดถึงนวัตกรรมนั้น ความเข้าใจของผู้คนส่วนมากมักเกี่ยวข้องอยู่กับนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ที่เป็นสิ่งใหม่และสร้างความเปลี่ยนแปลง เช่น เทคโนโลยีการสื่อสารออนไลน์ที่ช่วยให้ผู้คนติดต่อกันได้ง่ายขึ้น หรือนวัตกรรมยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อความปลอดภัยด้านสุขภาพ เป็นต้น นวัตกรรมจึงมีความเกี่ยวเนื่องกับ “ชีวิตที่ดีขึ้น” และเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน เหล่านี้เป็นนวัตกรรมที่ “ส่งผลต่อสังคม” เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน บทความนี้ผู้เขียนจึงขออธิบายความแตกต่างของนวัตกรรมกับเทคโนโลยีให้ท่านผู้อ่านได้ทำความเข้าใจกัน ติดตามกันได้เลย

ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการประยุกต์
 

ภาพชุดว่ายน้ำลดแรงเสียดทาน LZR RACER นวัตกรรมชุดว่ายน้ำบอดี้สูท ที่ช่วยในการว่ายน้ำได้เร็วขึ้น
ที่มา https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Unveiling_of_LZR_Racer_in_NYC_2008-02-13.jpg ,Kathy Barnstorff

          นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovate ในภาษาละติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา นวัตกรรมหมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งนี้ยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้อีกด้วย  เราสามารถแบ่งนวัตกรรมออกได้เป็น 3 ระยะ นั่นคือ

          ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย

          ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)

          ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

          ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้โดยสรุปว่า “นวัตกรรม” เป็นการปรับปรุงดัดแปลงวิธีการเดิม หรือนำเอาวิธีการใหม่มาใช้ในกระบวนการดำเนินงานใดๆ แล้วทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้กับงานใดหรือสาขาใดก็จะเรียกชื่อตามสาขาที่นำมาใช้นั้น เช่น นวัตกรรมทางการเกษตร นวัตกรรมด้านการสื่อสาร นวัตกรรมการเรียนการสอน และนวัตกรรมด้านการศึกษา เป็นต้น

          เทคโนโลยี (Technology) จะเป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ มาผสมผสานกันเพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ โดยการนำทรัพยากรต่างๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ ดังนั้นเทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยีนั้นๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล

          ดังนั้นจึงน่าจะสรุปได้ว่านวัตกรรมกับเทคโนโลยีแตกต่างกันในประเด็นดังนี้

  1. จุดกำเนิดของนวัตกรรมนั้นเกิดจากแนวความคิดและความรู้ใหม่ ๆ ที่เกิดจากการคิดสร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นมาใหม่ที่ยังไม่มี ส่วนเทคโนโลยีเกิดจากการนำนวัตกรรมมาพิสูจน์ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์และถูกนำมาใช้อย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้เพื่อเกิดประสิทธิภาพ

  2. นิยาม นวัตกรรม คือ แนวคิดแนวปฏิบัติหรือการกระทำสิ่งใหม่ ๆ ส่วนเทคโนโลยีเป็นนวัตกรรมที่เป็นที่ยอมรับและใช้เป็นแนวปฏิบัติในการดำรงชีวิต

  3. การนำนวัตกรรมกับเทคโนโลยีไปใช้ นวัตกรรมถูกนำไปใช้ในกลุ่มย่อยเพียงบางส่วนเท่านั้นยังไม่แพร่หลาย ส่วนเทคโนโลยีนำไปใช้อย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวัน

          อาจกล่าวได้ว่านวัตกรรมและเทคโนโลยีนั่นคือสิ่งเดียวกัน  แต่อยู่ที่มุมมองของบุคคลคนในแต่ละกลุ่มสังคมโดยนวัตกรรมหนึ่งอาจเป็นเทคโนโลยีของอีกกลุ่มสังคมหนึ่งก็ได้

แหล่งที่มา

Astrid Callegaro, Associate Programme. (2017, 13 March).  Why innovation and technology aren’t the same. : a review.  Retrieved June 2, 2020, from https://www.unhcr.org/innovation/innovation-technology-arent-the-same/

Ecology: Organizations. Technological Innovation. : a review.  Retrieved June 2, 2020, from https://www.sciencedirect.com/topics/psychology/technological-innovation

Technological innovation. : a review.  Retrieved June 3, 2020, from https://en.wikipedia.org/wiki/Technological_innovation

นาย ขวัญพนม ชูจันทร์. (2013, 15 Jan).  ความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยี.  สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2563, จาก https://www.gotoknow.org/posts/516341

khwankongoup. (2017, 15 Oct).  แนวคิดทฤษฎี เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้.  สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2563, จาก https://khwankongoup.wordpress.com/2017/10/15/เทคโนโลยีและนวัตกรรมกา/

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

นวัตกรรม,เทคโนโลยี, Innovation,Technology

ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.

บทความ

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันพุธ, 03 มิถุนายน 2563

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

เทคโนโลยี

ระดับชั้น

ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6

ช่วงชั้น

มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย

กลุ่มเป้าหมาย

ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป

ดูเพิ่มเติม

คุณอาจจะสนใจ

ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการประยุกต์

Hits

ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการประยุกต์
(5045)

เพื่อน ๆ ที่มีเตาแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำอยู่ที่บ้าน เคยสงสัยกันรึเปล่าว่า เตาแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำท ...

ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการประยุกต์

Hits

ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการประยุกต์
(1684)

วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2367 เป็นวันคล้ายวันเกิดของ William Thomson, 1st Baron Kelvin นักฟิสิกส์และ ...

ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการประยุกต์

Hits

ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการประยุกต์
(3225)

เมื่อโลกเริ่มก้าวเข้าสู่ทศวรรษใหม่ (ค.ศ.2011-2021) ที่นับว่าเป็นทศวรรษแห่งการเริ่มต้นนวัตกรรมใหม่แล ...